กรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา การศึกษาปฐมวัย ฉบับลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566
กรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา การศึกษาปฐมวัย ฉบับลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566

กรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา การศึกษาปฐมวัย ฉบับลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566

กรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา การศึกษาปฐมวัย ฉบับลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566
กรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา การศึกษาปฐมวัย ฉบับลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566 3

กรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา การศึกษาปฐมวัยกรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา การศึกษาปฐมวัย

ประกาศคณะกรรมการสานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา เรื่อง กรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา การศึกษาปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และด้านการอาชีวศึกษา ฉบับลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566

กรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา การศึกษาปฐมวัย ฉบับลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566
กรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา การศึกษาปฐมวัย ฉบับลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566 4

เอกสารหมายเลข 1

ตัวชี้วัดการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา การศึกษาปฐมวัย ฉบับลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566

กรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา การศึกษาปฐมวัย มีจำนวน 3 มาตรฐาน 19 ตัวชี้วัด ดังนี้

มาตรฐานที่ 1 ผลลัพธ์คุณภาพของเด็กปฐมวัย (5 ตัวชี้วัด)

ตัวชี้วัดที่ 1.1 เด็กเจริญเติบโตสมวัย สุขภาพแข็งแรง และมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว คำอธิบาย

เด็กเจริญเติบโตสมวัย มีน้ำหนัก ส่วนสูงและรูปร่างสมส่วนตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย กล้ามเนื้อมัดใหญ่มีความแข็งแรง เคลื่อนไหวและทรงตัวได้ดี ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กได้ดี มีการใช้มือกับตาประสานสัมพันธ์ได้ เหมาะสมตามวัย มีสุขภาวะที่ดี สามารถดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายและช่องปาก ช่วยเหลือตนเองได้ และเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

ตัวชี้วัดที่ 1.2 เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา เรียนรู้ และสร้างสรรค์

คำอธิบาย

เด็กมีความสามารถในการจำ การบอกเล่าประสบการณ์ของตนเอง การเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลอื่น สถานที่ สิ่งแวดล้อมและสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้สมวัย มีความสามารถในการคิดและการใช้เหตุผล ในการแก้ปัญหาได้สมวัย มีพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ สามารถสังเกต รู้จักจำแนกสิ่งของและเปรียบเทียบจำนวน เข้าใจมิติสัมพันธ์ของพื้นที่ เวลา และเรียงลำดับเหตุการณ์ได้ มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ที่แสดงออกสมวัย และมีความพยายามในการทำกิจกรรมให้สำเร็จ

ตัวชี้วัดที่ 1.3 เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร

คำอธิบาย

เด็กสามารถพูดสื่อสารโต้ตอบ ตั้งคำถาม เล่าเรื่อง แสดงความคิดเห็น สื่อความหมาย บอกความต้องการด้วยคำพูดและท่าทางได้เหมาะสมกับวัย สามารถบอกเล่าเรื่องราว รูปภาพ และสัญลักษณ์ได้ วาดภาพ ขีดเขียนตามลำดับขั้นตอน รู้จักตัวอักษร ออกเสียงตัวอักษร และอ่านเบื้องต้นได้สมวัย

ตัวชี้วัดที่ 1.4 เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ

คำอธิบาย

เด็กแสดงความร่าเริง แจ่มใส แสดงความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น รู้สึกมั่นคงปลอดภัย รู้จักการดูแลความปลอดภัยของตนเอง มีความระมัดระวังอันตรายจากอุบัติเหตุต่าง ๆ เข้าใจความรู้สึก ของตนเองและคำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น สามารถอดทนรอคอย ยับยั้งชั่งใจ ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนด ควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสม มีความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ และปรับตัว เข้ากับสถานการณ์ใหม่ได้เหมาะสมตามวัย

ตัวชี้วัดที่ 1.5 เด็กมีพัฒนาการด้านสังคมและคุณธรรม

คำอธิบาย

เด็กสามารถแสดงการยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นและแก้ไขข้อขัดแย้งได้เหมาะสมตามวัย มีค่านิยมที่พึงประสงค์ตามวัย มีความเมตตา กรุณา เห็นใจผู้อื่น รู้จักแบ่งปัน มีวินัยในตนเอง มีความซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น มีความภาคภูมิใจ ในการเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัวและชุมชน และปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของสังคมได้อย่างเหมาะสมกับวัย

มาตรฐานที่ 2 การบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย (11 ตัวชี้วัด)

ตัวชี้วัดที่ 2.1 วิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยมของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย

คำอธิบาย

สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยจัดให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งภายในและภายนอกกำหนด และสื่อสารวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยมที่สะท้อนให้เห็นถึงการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการ ทุกด้านอย่างเหมาะสมตามวัย มีสวัสดิภาพและความปลอดภัย

ตัวชี้วัดที่ 2.2 กลยุทธ์และเป้าหมายของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย

คำอธิบาย

สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยกำหนดกลยุทธ์และเป้าหมายที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ มีการจัดทำแผนการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยและแผนปฏิบัติการ มีการดำเนินงานตามแผน ให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด มีการกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผน มีการประเมินคุณภาพภายใน และนำผลจากการประเมินไปพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการนำผลการประเมินคุณภาพภายนอกครั้งก่อนมาเป็นส่วนหนึ่งในการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามข้อเสนอแนะอย่างเป็นรูปธรรม และรายงานผลการดำเนินงานของสถานศึกษาต่อสาธารณชนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

ตัวชี้วัดที่ 2.3 ผู้บริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีภาวะผู้นำทางวิชาการ และบริหารจัดการ ด้วยหลักธรรมาภิบาล

คำอธิบาย

ผู้บริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีภาวะผู้นำทางวิชาการ มีกระบวนการบริหารจัดการ ด้วยหลักธรรมาภิบาล สามารถสร้างแรงบันดาลใจและความร่วมมือของบุคลากรในการปฏิบัติงาน ด้วยความรับผิดชอบ และรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย

ตัวชี้วัดที่ 2.4 การพัฒนาวิชาชีพผู้บริหาร ครู ผู้ดูแลเด็ก และบุคลากรทางการศึกษา

คำอธิบาย

ผู้บริหาร ครู ผู้ดูแลเด็ก และบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาวิชาชีพ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ การพัฒนาความรู้และทักษะในการจัดการความเสี่ยง และการคุ้มครองความปลอดภัยของเด็กจากการถูกรังแกหรือการถูกคุกคาม

ตัวชี้วัดที่ 2.5 การนิเทศครู ผู้ดูแลเด็ก และการประเมินการปฏิบัติงาน

คำอธิบาย

ผู้บริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยนิเทศและประเมินการปฏิบัติงานของครู ผู้ดูแลเด็ก และนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

ตัวชี้วัดที่ 2.6 การจัดสภาพแวดล้อม และแหล่งเรียนรู้ที่มีความมั่นคง และปลอดภัย

คำอธิบาย

สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยจัดสภาพแวดล้อมด้านอาคารสถานที่ สนามเด็กเล่น เครื่องเล่น ให้มีความมั่นคงและปลอดภัย ถูกสุขอนามัย มีพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมการเรียนรู้ มีแหล่งเรียนรู้ทั้งภายใน และภายนอกห้องเรียน และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก มีการประเมินความเสี่ยง ตรวจสอบความปลอดภัย และบำรุงรักษาอาคาร สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก

ตัวชี้วัดที่ 2.7 การใช้สื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์เรียนรู้อย่างพอเพียงและปลอดภัย

คำอธิบาย

สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยี เครื่องเล่นที่เพียงพอและปลอดภัยสำหรับใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามพัฒนาการของเด็ก และจัดสภาพแวดล้อมให้ใช้สื่อส่งเสริมการเรียนรู้ อย่างมีปฏิสัมพันธ์

ตัวชี้วัดที่ 2.8 ระบบการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ อุบัติเหตุ ภัยพิบัติ และอัคคีภัย

คำอธิบาย

สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีระบบ มาตรการ แนวทางการป้องกันในการควบคุมโรคติดต่อ และมีการติดตามเฝ้าระวังป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ภัยพิบัติ และอัคคีภัยร่วมกับผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานภายนอก มีการประเมินความเสี่ยง สามารถตรวจสอบระบบป้องกันภัยและการควบคุมโรคติดต่อ ซักซ้อมขั้นตอนในการรักษาความปลอดภัยและปรับปรุงมาตรการดำเนินงานทุกด้าน

ตัวชี้วัดที่ 2.9 สวัสดิการและสวัสดิภาพของเด็กปฐมวัย

คำอธิบาย

สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีการจัดการโภชนาการที่ดี มีน้ำดื่มน้ำใช้ที่สะอาดเพียงพอ มีห้องน้ำ สถานที่รับประทานอาหาร และมุมของใช้ส่วนตัวที่ถูกสุขลักษณะ มีห้องหรือมุมปฐมพยาบาล ยาเวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการปฐมพยาบาลเด็ก มีการตรวจสุขภาพอนามัยประจำวัน จัดให้มีบริการตรวจสุขภาพร่างกายและสุขภาพช่องปากประจำปี มีมาตรการป้องกันความเจ็บป่วยของเด็ก และจัดกิจกรรมส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพแข็งแรงและพัฒนาการเหมาะสมตามวัย

ตัวชี้วัดที่ 2.10 กระบวนการเฝ้าระวัง การคัดกรองเบื้องต้นสำหรับเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ

คำอธิบาย

สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีการเฝ้าระวัง พิจารณาและคัดกรองเบื้องต้นเพื่อให้ความช่วยเหลือระยะแรกแก่เด็กที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ครู ผู้ดูแลเด็กสังเกตและบันทึกลักษณะพฤติกรรม ของเด็กอย่างต่อเนื่อง มีการสอบถามข้อมูลจากผู้ปกครองเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็ก และมีกระบวนการส่งต่อให้ดำเนินการช่วยเหลือตามขั้นตอน เพื่อให้เด็กได้รับโอกาสในการพัฒนาอย่างมีคุณภาพโดยผู้ปกครอง มีส่วนร่วม

ตัวชี้วัดที่ 2.11 การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานภายนอก

คำอธิบาย

สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบ้าน ชุมชน และหน่วยงานภายนอก สื่อสารให้ความรู้ สร้างความเข้าใจแก่ผู้ปกครองและชุมชนให้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขอนามัย สวัสดิภาพ ความปลอดภัยของเด็ก มีการส่งเสริมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และพัฒนาเด็กให้เจริญเติบโต มีการสร้างเครือข่ายสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การดำเนินการร่วมกันของผู้บริหาร ครู ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง บุคคล องค์กร และหน่วยงานต่าง ๆ ที่อยู่ในชุมชน ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพ การจัดการศึกษาปฐมวัย

มาตรฐานที่ 3 การพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ (3 ตัวชี้วัด)

ตัวชี้วัดที่ 3.1 สถานศึกษามีการออกแบบหลักสูตรที่เสริมสร้างสมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และคำนึงถึงความต้องการของผู้เรียน

คำอธิบาย

สถานศึกษาออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องเพื่อเสริมสร้าง สมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความต้องการ ความสนใจของผู้เรียน และบริบทสถานศึกษา รวมทั้งมีการประเมินเพื่อปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นปัจจุบัน

ตัวชี้วัดที่ 3.2 ครูออกแบบและใช้แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง

คำอธิบาย

ครูออกแบบและใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความต้องการ ความถนัดและความสนใจ ของผู้เรียน จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์ในกิจกรรมการเรียนรู้

ตัวชี้วัดที่ 3.3 ครูประเมินพัฒนาการของผู้เรียนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

คำอธิบาย

ครูประเมินพัฒนาการของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลายอย่างเป็นระบบและสม่ำเสมอ ให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนนำคำแนะนำไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนาตนเอง

ขอบคุณที่มา:

ประกาศคณะกรรมการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา เรื่อง กรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา การศึกษาปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และด้านการอาชีวศึกษา ฉบับลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่