กรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566
กรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566

กรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566

กรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566
กรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566 3

กรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ประกาศคณะกรรมการสานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา เรื่อง เรื่อง กรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา การศึกษาปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และด้านการอาชีวศึกษา ฉบับลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566

เอกสารหมายเลข 2

ตัวชี้วัดการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน แนบท้ายประกาศคณะกรรมการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา เรื่อง กรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา การศึกษาปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และด้านการอาชีวศึกษาฉบับลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566

กรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566
กรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566 4

กรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีจำนวน 3 มาตรฐาน 18 ตัวชี้วัด ได้แก่มาตรฐานที่ 1 ผลลัพธ์ของการเรียนรู้ (3 ตัวชี้วัด)

ตัวชี้วัดที่ 1.1 ผู้เรียนมีสมรรถนะตามหลักสูตรสถานศึกษา

คำอธิบาย

ผู้เรียนมีสมรรถนะตามหลักสูตรสถานศึกษา สามารถประยุกต์ใช้ทั้งความรู้ ทักษะ และเจตคติ ในการพัฒนาการเรียนรู้ การแก้ปัญหา การปรับตัวให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม

ตัวชี้วัดที่ 1.2 ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา

คำอธิบาย

ผู้เรียนมีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย และมีจิตสาธารณะ รวมทั้งมีจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม ให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น สิ่งแวดล้อม ประเพณีวัฒนธรรมไทย ปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความเคารพ และมีความพร้อมใช้ชีวิตในบริบทต่าง ๆ ของการเป็นพลโลก

ตัวชี้วัดที่ 1.3 ผู้เรียนสามารถนำตนเองในการเรียนรู้

คำอธิบาย

ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ สามารถคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ พัฒนากระบวนการเรียนรู้ แบบนำตนเอง ไม่ย่อท้อในการเรียนรู้ แสวงหาแหล่งเรียนรู้ และสามารถประเมินการเรียนรู้ของตนเองได้

มาตรฐานที่ 2 การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษา (12 ตัวชี้วัด)

ตัวชี้วัดที่ 2.1 วิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยมของสถานศึกษา

คำอธิบาย

ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งภายในและภายนอกมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยมของสถานศึกษาที่สะท้อนผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา

ตัวชี้วัดที่ 2.2 นโยบายและทิศทางการบริหารสถานศึกษาที่กำหนดสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และพันธกิจ

คำอธิบาย

สถานศึกษานำวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยมไปกำหนดนโยบายและทิศทางการบริหารสถานศึกษา การจัดทำแผน และสื่อสารให้กับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายรับทราบทั่วถึง

ตัวชี้วัดที่ 2.3 ผู้บริหารสถานศึกษามีภาวะผู้นำทางวิชาการ

คำอธิบาย

ผู้บริหารสถานศึกษามีความมุ่งมั่นในการดำเนินงานด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ด้านการสื่อสารแผนงานวิชาการ ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรการสอนและการประกันคุณภาพการศึกษา การสร้างบรรยากาศทางวิชาการ การส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองของครู บุคลากรทางการศึกษา ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน รวมทั้งส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีของครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้มีความรับผิดชอบ

ตัวชี้วัดที่ 2.4 ผู้บริหารสถานศึกษากำหนดกลยุทธ์และแผนงานของสถานศึกษาอย่างมีส่วนร่วมของครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

คำอธิบาย

ผู้บริหารสถานศึกษามีการบริหารงานอย่างมีส่วนร่วมระหว่างครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการกำหนดกลยุทธ์และแผนงานที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยม ของสถานศึกษา สามารถวัดความสำเร็จได้ มีการประเมินกลยุทธ์การบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา อย่างต่อเนื่อง โดยมีการนำผลการประเมินคุณภาพภายนอกครั้งก่อนมาเป็นส่วนหนึ่งในการปรับปรุงพัฒนา ตามข้อเสนอแนะอย่างเป็นรูปธรรม และรายงานผลการดำเนินงานของสถานศึกษาต่อสาธารณชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

ตัวชี้วัดที่ 2.5 สถานศึกษาบริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาล

คำอธิบาย

สถานศึกษาบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ซึ่งประกอบด้วย 1) หลักนิติธรรม 2) หลักคุณธรรม 3) หลักความโปร่งใส 4) หลักความมีส่วนร่วม 5) หลักความรับผิดชอบ และ 6) หลักความคุ้มค่า เพื่อสะท้อนความรับผิดชอบต่อคุณภาพและสวัสดิภาพของผู้เรียน

ตัวชี้วัดที่ 2.6 สถานศึกษาจัดทำแผนงานและดำเนินงานด้านการพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา

คำอธิบาย

สถานศึกษาจัดทำแผนงานพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา มีการดำเนินงานตามแผนงาน ในการพัฒนาความรู้ ทักษะวิชาชีพ การจัดการความเสี่ยง ความปลอดภัย และการดูแลคุ้มครองผู้เรียนจากการถูกรังแก และถูกคุกคามที่สอดคล้องกับสภาพและบริบทของสถานศึกษา

ตัวชี้วัดที่ 2.7 สถานศึกษามีกระบวนการนิเทศการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างเป็นระบบ

คำอธิบาย

สถานศึกษามีการนิเทศและประเมินผลการปฏิบัติงาน นำผลการประเมินการปฏิบัติงานไปใช้ ในการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ และช่วยเหลือ แนะนำ ส่งเสริมกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างสม่ำเสมอ

ตัวชี้วัดที่ 2.8 สถานศึกษามีอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ

คำอธิบาย

สถานศึกษามีอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อม พื้นที่สำหรับทำกิจกรรมการเรียนรู้ สิ่งอำนวยความสะดวกที่พอเพียง ปลอดภัย ถูกสุขอนามัย เหมาะสมต่อการจัดการเรียนรู้และสนับสนุน การพัฒนาตนเองของผู้เรียน มีแผนการบำรุงรักษาอาคารสถานที่ มีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ตรวจสอบได้ มีการประเมินความเสี่ยง ซักซ้อมขั้นตอนในการรักษาความปลอดภัยและปรับปรุงมาตรการการดำเนินงานทุกด้าน

ตัวชี้วัดที่ 2.9 สถานศึกษามีสื่อ อุปกรณ์ และระบบเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษา

คำอธิบาย

สถานศึกษามีระบบเทคโนโลยีที่สนับสนุนการจัดการศึกษา มีการใช้สื่อ อุปกรณ์ที่เหมาะสมต่อการจัดการเรียนรู้และส่งเสริมการพัฒนาตนเองของครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้เรียน มีการประเมินผลการใช้ระบบเทคโนโลยี สื่อ อุปกรณ์ และปรับปรุงพัฒนาอย่างเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา

ตัวชี้วัดที่ 2.10 สถานศึกษามีระบบและกระบวนการช่วยเหลือผู้เรียน

คำอธิบาย

สถานศึกษามีระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน มีการประเมินความเสี่ยงของพัฒนาการ ในการเรียนรู้ มีการคัดกรองเบื้องต้นอย่างเป็นระบบเพื่อช่วยเหลือและส่งต่อผู้เรียนกรณีที่มีความจำเป็น

ตัวชี้วัดที่ 2.11 การให้คำปรึกษาและการพัฒนาผู้เรียนของสถานศึกษา

คำอธิบาย

สถานศึกษามีระบบการให้คำปรึกษาแนะแนวแก่ผู้เรียนตามความต้องการ และความสนใจ ของผู้เรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนทุกคนได้รับโอกาสและพัฒนาในการเรียนรู้ตามความสนใจและความถนัด มีการดูแลสวัสดิการและสวัสดิภาพของผู้เรียนทุกคนอย่างทั่วถึง ทั้งด้านสุขภาพร่างกาย การพัฒนาจิตใจ อารมณ์ และสังคม

ตัวชี้วัดที่ 2.12 สถานศึกษาเสริมสร้างเครือข่ายผู้ปกครอง องค์กร และชุมชน เพื่อความร่วมมือ ในการสนับสนุนการจัดการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียน

คำอธิบาย

สถานศึกษามีฐานข้อมูล มีการสร้างเครือข่ายและการร่วมมือกับผู้ปกครอง องค์กร และชุมชนเพื่อให้เกิดความร่วมมือ สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาในการพัฒนาผู้เรียน

มาตรฐานที่ 3 การพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ (3 ตัวชี้วัด)

ตัวชี้วัดที่ 3.1 สถานศึกษามีการออกแบบหลักสูตรที่เสริมสร้างสมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และคำนึงถึงความต้องการของผู้เรียน

คำอธิบาย

สถานศึกษาออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องเพื่อเสริมสร้าง สมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความต้องการ ความสนใจของผู้เรียน และบริบทสถานศึกษา รวมทั้งมีการประเมินเพื่อปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นปัจจุบัน

ตัวชี้วัดที่ 3.2 ครูออกแบบและใช้แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง

คำอธิบาย

ครูออกแบบและใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความต้องการ ความถนัดและความสนใจ ของผู้เรียน จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์ในกิจกรรมการเรียนรู้

ตัวชี้วัดที่ 3.3 ครูประเมินพัฒนาการของผู้เรียนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

คำอธิบาย

ครูประเมินพัฒนาการของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลายอย่างเป็นระบบและสม่ำเสมอ ให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนนำคำแนะนำไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนาตนเอง

ขอบคุณที่มา:

ประกาศคณะกรรมการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา เรื่อง กรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา การศึกษาปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และด้านการอาชีวศึกษา ฉบับลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่