การลงโทษนักเรียน นักศึกษา โดยเจตนาเพื่อแก้ไขความประพฤติ
การลงโทษนักเรียน นักศึกษา โดยเจตนาเพื่อแก้ไขความประพฤติ

การลงโทษนักเรียน นักศึกษา โดยเจตนาเพื่อแก้ไขความประพฤติ

บทความโดย…ลุงเป็นธรรม
สายด่วนศาลปกครอง 1355

ส่วนที่ 1 ครสถาบันการศึกษา : กับบทบาทในโลกยุคใหม่

ณ วันนี้โรงเรียนและสถานศึกษาต่าง ๆ ที่ต้องเลื่อนการเปิดภากเรียนตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดของการติดเชื้อไวรัสโควิด-1 9 ก็ได้เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่วันที่ 1 กรกฏาคม ที่ผ่านมา และเพื่อให้ผู้ปกครองมั่นใจว่าบุตรหลานจะปลอดภัยจากการกลับมาระบาดของโรคดังกล่าวอีก หลายโรงเรียนจึงได้เตรียมพร้อมทั้งในเรื่องของการจัดสถานที่ การแบ่งนักเรียนเข้ารียนในแต่ละห้อง การสลับกันเรียนของแต่ละชั้นในแต่ละวัน เป็นต้น แต่ทั้งนี้การจัดการเรียนการสอนหรือกิจกรรมต่าง ๆ ล้วนต้องอยู่กายใต้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing) ทั้งสิ้น

ปัจจุบันเนื้อหาการเรียนการสอนดูมีความซับซ้อนและหลากหลายมากขึ้น เนื่องจากโลกยุดใหม่ การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและเกิดขึ้นได้กับทุกคน และแม้หน้าที่ของครูในทุกยุคสมัยคือ การสอนให้ความรู้ควบคู่กับการเป็นแบบอย่างที่ดี แต่เมื่อบริบทของสังคมเปลี่ยนแปลงไป การจัดการสอนของครูจึงควรสอดคล้องกับสภาพสังคมให้มากที่สุดยุดนี้…ครูต้องเปลี่ยนมาสอนให้นักรียนค้นหาความสามารถของตัวเอง คิดเป็นทำปีน มีวิจารณญาณของตนเอง ครูจะต้องสอนวิธีหาความรู้อันมากมายที่ไม่อาจสอนได้หมดใน โลกยุคดิจิตอล ตลอดจนบทบาทการเป็นที่ปรึกษาให้แก่นักเรียน บทบาทของครูจึงไม่ใช่การถ่ายทอดความรู้แต่เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป !!

ครับที่ลุงเป็นธรรมเกรื่นมาขีดยาวเกี่ยวกับบทบาทของครู ก็เพราะอุทาหรณ์ที่นำมาเสนอในวันนี้เป็นกรณีพิพาทระหว่างผู้บริหารสถาบันการศึกษากับนักเรียนในประเด็นบทบาทเกี่ยวกับการลงโทษ นักเรียน โดยเป็นกรณีที่ผู้อำนวยการโรงเรีขนได้มีคำสั่งให้นักเรียนประจำของโรงเรีขน ซึ่งประพฤติผิดระเบียบหอพักเนื่องจากดื่มสุราในห้องพักพ้นจากสถานภาพการเป็นนักเรียนหอพัก (นักเรียนประจำ) แต่นักเรียน ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งลงโทษดังกล่าว เพราะเมื่อตนถูกลงโทษให้ออกจากหอพักก็ต้องออกจากโรงเรียนด้วย เนื่องจากตนเป็นนักเรียนต่างจังหวัดจึงต้องเป็นนักเรียนประจำและ พักที่หอพักของโรงเรียนเท่านั้น เมื่อถูกลงโทยให้ออกจากหอพักก็เท่ากับขาคคุณสมบัติการเป็นนักเรียนและต้องพ้นจากสถานภาพการเป็นนักเรียนของโรงเรียนด้วย

รายละเอียดของคดีนี้จะเป็นอย่างไร…และเรื่องจะคลี่คลายไปทาง ไหน เชิญติดตามครับ

เรื่องนี้มูลคดีเกิดจาก …ขณะที่นายเอ (ผู้ฟืองกดี) เป็นนักเรียนประจำหอพักในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนแห่งหนึ่ง ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิคระเบียบหอพักเนื่องจากผู้ฟ้องคดีได้ร่วมกับเพื่อนอีก 5 คน ดื่มสุราในห้องพัก

ผู้อำนวยการโรงเรียน (ผู้ถูกฟ้องกดีที่ 1) จึงมีหนังสือเชิญผู้ปกครองของผู้ฟืองคดีไปพบและแจ้งให้ทราบว่า ผู้ฟ้องคดีกระทำผิดระเบียบโรงเรียนว่าด้วยการอยู่ประจำของนักเรียน จึงถูกลงโทษให้ออกจากหอพักของโรงเรียนผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวและต่อมาได้รับแจ้งผลอุทธรณ์ โดยยืนยันการลงโทษตามเดิม ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งลงโทษดังกล่าวไม่ชอบดั่วยกฎหมาย เนื่องจากระเบียบกระทรวงศึกษา ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2548 กำหนดโทษที่จะลงโทษแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำผิดไ ว้ 4 สถานเท่านั้น คือ 1. ว่ากล่าวตักเตือน 2. ทำทัณฑ์บน 3. ตัดคะแนนความประพฤติ และ 4. ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม คำสั่งลงโทษให้ผู้ฟ้องคดีออกจากหอพักจึงเป็นการลงโทษที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงนำคดีมาฟ้องโดยขอให้ศาลปกครองเพิกถอนคำสั่งลงโทษดังกล่าว

ส่วนที่ 2 ลงโทษ นร. – นศ. เจตนาเพื่อแก้ไขความประพฤติ

คดีนี้จึงมีประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัขว่า การที่ผู้อำนวยการโรงเรียนได้มีกำสั่งลงโทษให้นายเอพ้นสภาพจากการเป็นนักเรียนหอพัก (นักเรียนประจำ) ของโรงเรียน เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ?

ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีถูกกล่าวหาว่าร่วมกับพวกดื่มสุราในหอพักของโรงเรียนในเวลาประมาณ 23 นาฬิกา โดยครูประจำหอพักเป็นผู้พบเห็นเหตุการณ์ แม้หากเป็นความจริงดังที่ถูกกล่าวหา กรณีจะถือเป็นความผิดฐานดื่มสุรา ของมึนเมา หรือมีสุราไว้ในครอบกรอง ซึ่งเป็นการฝ้าฝืนระเบียบโรงเรียน ว่าด้วยการอยู่ประจำของนักเรียน แต่เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ฟ้องคดีเคยกระทำความผิดฐานดังกล่าวมาก่อน กรณีจึงเป็นการกระทำความผิดฐานดื่มสุราครั้งแรก ซึ่งควรถูกลงโทษตัดคะแนน 30 กะแนน และเชิญผู้ปกครองมาพบ และแม้ผู้ฟ้องคดีจะเคยกระทำผิดระเบียบโรงเรียนมาแล้ว เช่น ในเรื่องซอยผม ตื่นสาย นำกระทะไฟฟ้ามาประกอบอาหารบนหอพัก โดขผู้ปกครองของผู้ฟ้องคดีได้ทำทัณฑ์บนไว้แล้วก็ตาม กรณีก็ถือเป็นการกระทำคนละฐานความผิด ต่างกรรมต่างวาระกันกับการกระทำความผิดในคดีนี้ ผู้อำนวยการโรงเรียนจึงไม่อาจอ้างการที่ผู้ปกครองของผู้ฟ้องกดีและผู้ฟ้องคดีได้ทำทัณท์บนไว้แล้วสำหรับการกระทำผิดระเบียบในครั้งก่อนดังกล่าวมารวมพิจารณาเป็นเหตุในการออกคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากสถานภาพการเป็นนักเรียนประจำหอพักของโรงเรียนได้

โดยที่การลงโทษนักรียนที่กระทำความผิดฐานดื่มสุรา ระเบียบดังกล่าวได้กำหนดมาตรการลงโทย คือการตัดคะแนนความประพฤติ และการสะสมคะแนนความผิด ตลอดจนการแจ้งให้ผู้ปกครองทราบเพื่อหาทางแก้ไข โดยมีความมุ่งหมายเพื่อการอบรมสั่งสอนและเพื่อเจตนาที่จะแก้นิสัยและความประพฤติไม่ดีของนักเรียนให้รู้สำนึกในความผิดและกลับประพฤติตนในทางที่ดีต่อไปเป็นสำคัญ อีกทั้ง ระเบียบดังกล่าวยังได้กำหนดให้การเป็นนักเรียนหอพักโรงเรียนสิ้นสุดลงเพียงกรณีเดียว คือ เมื่อนักเรียนสิ้นสภาพการเป็นนักเรียนของโรงเรียนเท่านั้น หาได้ให้อำนาจผู้อำนวยการโรงเรียนออกคำสั่งให้นักเรียนที่ยังมีสภาพเป็นนักเรียนของโรงเรียน และเป็นนักเรียนประจำหอพักโรงเรียนให้พ้นจากความเป็นนักเรียนประจำหอพักได้แต่อย่างใด

นอกจากนี้ การลงโทษ นักเรียน ยังต้องอยู่ภายใต้ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548 ซึ่งกำหนดโทษสูงสุดที่จะลงแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำความผิดได้ คือ ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทั้งนี้ ระเบียบโรงเรียน ว่าด้วยการอยู่ประจำของนักเรียนดังกล่าวได้กำหนด การลงโทษ นักเรียน ที่กระทำผิดข้อบังกับหอพักด้วยการให้ทำกิจกรรม โดยกำหนดคำว่า ” การทำกิจกรรม” หมายความว่า การให้นักเรียนหอพักที่กระทำความผิด ทำกิจกรรมเพื่อบำเพ็ญประ โยชน์ต่อตนเองหรือต่อสังคม ซึ่งสอดคล้องกับระเบียบกระทรวงศึกษาธิการดังกล่าว

ดังนั้น การที่ผู้อำนวยการโรงเรียนมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีพ้นจากสภาพการเป็นนักเรียนหอพักจึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจและไม่ชอบด้วยกฎหมาย พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งที่พิพาท (รายละเอียดอ่านได้ในคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 1 606/2559 และสามารถสืบค้นบทความย้อนหลังได้ที่ wาw.admincour. go.1h เมนูวิชาการ เมนูย่อยอุทาหรณ์จากคดีปกครอง)

คดีนี้…จึงเป็นแนวทางการปฏิบัติราชการที่ดีสำหรับผู้มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาลงโ ทษนักเรียนและนักศึกษาที่กระทำผิดระเบียบ ซึ่งต้องอยู่ภายใต้บังกับของระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2548 ซึ่งกำหนดโทษสูงสุดที่จะลงแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำความผิดได้ คือ ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ทั้งนี้ เนื่องเพราะการลงโทษนักเรียนและนักศึกษานั้น มีความมุ่งหมายเพื่อการอบรมสั่งสอน แก้นิสัยและความประพฤติไม่ดีของนักเรียนให้รู้สำนึกในความผิดและปรับปรุงแก้ไขตนเองให้กลับมาประพฤติตนในทางที่ดีต่อไป การพิจารณาโทษจึงต้องกระทำภายในขอบเขตที่กฎหมายให้อำนาจและเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายนั่นเองครับ

ส่วนที่ 3 กฎหมายเกี่ยวกับการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา

ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษ นักเรียน และนักศึกษา พ.ศ. 2548 ข้อ 4 กำหนดว่า ในระเบียบนี้ “กระทำความผิด” หมายความว่า การที่นักเรียนหรือนักศึกษาประพฤติฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของสถานศึกษา หรือของกระทรวงศึกษาธิการ หรื อกฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา “การลงโทษ” หมายความว่า การ ลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำความผิด โดยมีความมุ่งหมายเพื่อการอบรมสั่งสอน ข้อ 5 กำหนดว่า โทษที่จะลงโทษแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำความผิด มี 4 สถาน อังนี้ (1) ว่ากล่าวตักเตือน (2) ทำทัณฑ์บน (3) ตัดคะแนนความประพฤติ (4) ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ข้อ 6 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า ห้มลงโทยนักเรียนและนักศึกษาด้วยวิธีรุนแรง หรือแบบกลั่นแกล้ง หรือลงโทษด้วยความโกรธ หรือด้วยความพยาบาท โดยให้คำนึงถึงอายุของนักเรียนหรือนักศึกษา และความร้ายแรงของพฤติการณ์ประกอบการลงโทษด้วย วรรคสอง กำหนดว่า การลงโทษ นักเรียนหรือนักศึกษาให้เป็นไปเพื่อเจตนาที่จะแก้นิสัยและความประพฤติไม่ดีของนักเรียนหรือนักศึกษาให้รู้สำนึกในความผิด และกลับประพฤติตนในทางที่ดีต่อไป

ขอบคุณที่มา : ลงโทษนักเรียนเจตนาเพื่อแก้ไขความประพฤติ – สำนักนิติการ สพฐ. (obec.go.th)

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่