ดาวน์โหลดเอกสาร สมรรถนะการเรียน​รู้เชิงรุก​แบบรวมพลัง​ สร้างเสริมสมรรถนะ​ของผู้เรียน​ โดย รศ.ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดาวน์โหลดเอกสาร สมรรถนะการเรียน​รู้เชิงรุก​แบบรวมพลัง​ สร้างเสริมสมรรถนะ​ของผู้เรียน​ โดย รศ.ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดาวน์โหลดเอกสาร สมรรถนะการเรียน​รู้เชิงรุก​แบบรวมพลัง​ สร้างเสริมสมรรถนะ​ของผู้เรียน​ โดย รศ.ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดาวน์โหลดเอกสาร สมรรถนะการเรียน​รู้เชิงรุก​แบบรวมพลัง​ สร้างเสริมสมรรถนะ​ของผู้เรียน​ โดย รศ.ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดาวน์โหลดเอกสาร สมรรถนะการเรียน​รู้เชิงรุก​แบบรวมพลัง​ สร้างเสริมสมรรถนะ​ของผู้เรียน​ โดย รศ.ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เนื้อหา

  • นโยบายการศึกษาของชาติ
  • สมรรถนะกับการสร้างสมรรถนะ
  • สมรรถนะของครูมืออาชีพกับ 15 ตัวชี้วัดของการปฏิบัติงานครู
  • การจัดการเรียนรู้เน้นเด็กเป็นสำคัญ (Child-Oriented Learning Management)
  • การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบ Co-5STEPs และวิธีสอนอื่น ๆ
  • การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเสริมสร้างสมรรถนะหลักของผู้เรียน
  • การจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามวงจร ADWIE ควบคู่ PLC
  • กิจกรรม สี่อ ประเมินแบบออนไลน์สร้างห้องเรียนแห่งคุณภาพสำหรับครูยุค Post-Covid
  • คุณค่าของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้วย Co-5STEPs
  • ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง
  • ภาคผนวกพิเศษ
  • เอกสารอ้างอิง

การเรียนรู้ (Learning) หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ (Learning Process) กับองค์ความรู้ (Body of Learning) หรือการใช้กระบวนการเรียนรู้ และบ่มเพาะนิสัย แล้วสร้างองค์ความรู้ทำให้เกิดการเรียนรู้ ได้ความรู้ (K) ทักษะ (P) และนิสัย (A)

ดาวน์โหลดเอกสาร สมรรถนะการเรียน​รู้เชิงรุก​แบบรวมพลัง​ สร้างเสริมสมรรถนะ​ของผู้เรียน​ โดย รศ.ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดาวน์โหลดเอกสาร สมรรถนะการเรียน​รู้เชิงรุก​แบบรวมพลัง​ สร้างเสริมสมรรถนะ​ของผู้เรียน​ โดย รศ.ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

*Pคิด กระบวนการคิด
Pทำ กระบวนการทำ/ปฏิบัติ
Pสังคม กระบวนการทำงานรวมพลัง
A คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และเจตคติ (Attribute & Attitude)

การเรียนรู้เชิงรุก คือ การดำเนินการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการคิด การปฏิบัติ การได้รับคำปรึกษาชี้แนะ การนำความรู้ไปใช้การถอดบทเรียน การสะท้อนคิด รวมทั้งการมีปฏิสัมพันธ์ การทำงาน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น เกิดแรงบันดาลใจ เกิดทักษะในการเรียนรู้ด้วยตนเองค้นพบศักยภาพของตนเอง สามารถสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความเชี่ยวชาญได้ตามความถนัดของตนและบ่มเพาะนิสัย ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามระดับช่วงวัย

เป้าหมายของการเรียนรู้เชิงรกเป็นการเรียนรู้อย่างตื่นตัว มีชีวิตชีวาสู่ การพัฒนาทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา

กลยุทธ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก

ในการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ หรือเรียกว่าการจัดการเรียนรู้เชิงรุก นี้ นักการศึกษา ครูสามารถใช้วิธีสอน รูปแบบการเรียนการสอน แนวการสอน รวมทั้งเทคนิคการสอน นำไปใช้ออกแบบ เขียนแผนฯตลอดจนปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ คำจำกัดความของกลยุทธ์ข้างต้นเป็นดังนี้ซึ่งมีความแตกต่างกัน แต่มีความสัมพันธ์กันให้สังเกตว่าวิธีสอน แนวการสอน และรูปแบบการเรียนการสอนที่มีการพัฒนากันมาอาจไม่พบขั้นประยุกต์ ดังนั้น ผู้สอนจึงต้องเพิ่มให้เด็ก หรือผู้เรียนนำการเรียนรู้ที่เกิดไปใช้ หรือประยุกต์ในกิจวัตรประจำวันด้วยวิธีสอน (teaching method)

วิธีสอน คือ ขั้นตอนที่ผู้สอนดำเนินการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไปตามองค์ประกอบ และขั้นตอนสำคัญอันเป็นลักษณะเด่น หรือลักษณะเฉพาะที่ขาดไม่ได้ของวิธีนั้น ๆ เช่น วิธีการสอนโดยใช้บรรยายองค์ประกอบสำคัญของการบรรยาย คือ เนื้อหาสาระ ที่จะบรรยาย และการบรรยาย และขั้นตอนสำคัญ คือ การเตรียมเนื้อหาการบรรยาย (พูด บอก เล่า อธิบาย) และการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากการบรรยาย

รูปแบบการเรียนการสอน (instructional model)

รูปแบบการเรียนการสอน/รูปแบบการสอน คือ รูปแบบแผนการดำเนินการสอนที่ได้รับการจัดเป็นระบบ อย่างสัมพันธ์สอดคล้องกับทฤษฎี/หลักการเรียนรู้ หรือการสอนที่รูปแบบนั้นยึดถือ และได้รับการพิสูจน์ ทดสอบว่ามีประสิทธิภาพสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายเฉพาะรูปแบบนั้น ๆ โดยทั่วไปแบบแผนการดำเนินการสอนดังกล่าวมักประกอบด้วยทฤษฎี/หลักการที่รูปแบบนั้นยึดถือ และกระบวนการสอนที่มีลักษณะเฉพาะอันจะนำผู้เรียนไปสู่จุดมุ่งหมายเฉพาะที่รูปแบบนั้นกำหนด ซึ่งผู้สอนสามารถนำไปใช้เป็นแบบแผน หรือแบบอย่างในการจัด และดำเนินการสอนอื่น ๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะเช่นเดียวกันได้ (ทิศนา แขมมณี, 2552)

เทคนิคการสอน (teaching techniques)

เทคนิค คือ กลวิธีต่าง ๆ ที่ใช้เสริมกระบวนการ ขั้นตอน วิธีการ หรือการกระทำใด ๆ เพื่อช่วยให้กระบวนการ ขั้นตอน วิธีการ หรือ การกระทำนั้นมีคุณภาพ และประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น เทคนิคการสอนจึงหมายถึง กลวิธีต่าง ๆ ที่ใช้เสริมกระบวนการสอน ขั้นตอนการสอน วิธีการสอน หรือการดำเนินการทางการสอนใด ๆ เพื่อช่วยให้การสอนมีคุณภาพ และประสิทธิภาพมากขึ้นเช่น ในการบรรยายผู้สอนใช้เทคนิคต่าง ๆ ที่สามารถช่วยให้การบรรยายมีคุณภาพ และประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การยกตัวอย่าง การใช้สื่อ การใช้คำถาม เป็นต้น (ทิศนา แขมมณี, 2552)

ดาวน์โหลดเอกสาร สมรรถนะการเรียน​รู้เชิงรุก​แบบรวมพลัง​ สร้างเสริมสมรรถนะ​ของผู้เรียน​ โดย รศ.ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดาวน์โหลดเอกสาร สมรรถนะการเรียน​รู้เชิงรุก​แบบรวมพลัง​ สร้างเสริมสมรรถนะ​ของผู้เรียน​ โดย รศ.ดร.พิมพันธ์ เดชะคุปต์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แนวการสอนสำคัญที่เป็นที่นิยม และง่ายต่อการปฏิบัติอันเป็นแนวการสอนหนึ่งของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก คือ กระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน เรียกว่า แนวการสอน Co-5STEPร (กระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน)

กระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน (5 STEPs Collaborative Learning Process) หรือเรียกสั้น ๆ คือ Collaborative 5 STEPs เป็นแนว การสอนที่มีการดัดแปลงมาจากกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ซึ่งนำมาร้อยเรียงจากบันได 5 ขั้นของหลักสูตรในโรงเรียนมาตรฐานสากลโดยพิมพันธ์ เดชะคุปต์ (พ.ศ. 2556) ต่อมามีการเพิ่มเติมการทำงานกลุ่มแบบรวมพลัง เพื่อการจัดการเรียนรู้อีกทั้งเน้นการให้นักเรียนร่วมมือกันทำงาน ช่วยเหลือกัน เด็กเก่ง ช่วยเด็กเรียนช้า เด็กถนัดกว่าช่วยเด็กฤนัดน้อย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความเสมอภาค (Equity)

ความหมายของ Co-5 STEPs

กระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอนเป็นแนวการสอนหนึ่งของการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งอาจมีการประยุกต์ได้ผลผลิต บนฐานวิธีการทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนมีการปฏิบัติกิจกรรมแบบทำงานกลุ่มรวมพลัง โดยทุกคนร่วมด้วยช่วยกัน เด็กเก่งช่วยเด็กเรียนช้ากว่า เด็กถนัดกว่าช่วยเด็กถนัดน้อย เพื่อให้มีความสุขในการเรียนบทบาทของผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้ (Learner) บทบาทของครูเป็นผู้อำนวยการความสะดวก (Facilitator) ผู้ซี้แนะ (Coach) และเป็นพี่เลี้ยง (Mentor) ลักษณะเด่น หรือลักษณะเฉพาะ

  1. เป็นแนวการสอนอยู่บนฐานวิธีการทางวิทยาศาสตร์
  2. หลักการสร้างความรู้แล้วครูต้องมีการจัดกิจกรรมให้นักเรียนนำการเรียนรู้ไปใช้ หรือประยุกต์ได้ผลงาน/ภาระงานไปตอบแทนสังคม
  3. เป็นการจัดการเรียนรู้ เน้นการทำงานกลุ่มแบบรวมพลัง เด็กร่วมมือช่วยเหลือกันและกัน เพื่อให้เกิดความเสมอภาคกัน
  4. วิธีสอนสำคัญที่ใช้ใน Co-5 STEPs คือ
    1) วิธีสอนแบบสืบสอบ
    2) วิธีสอนแบบโครงงาน
    3) วิธีสอนต่าง ๆ ใช้กิจกรรมเป็นฐาน เช่น
    -เกม
    -กรณีตัวอย่าง
    -บทบาทสมมุติ
    -สถานการณ์จำลอง
    -ใช้ประเด็นทางสังคม



5 ขั้นตอนของการกระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน

ในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5ขั้นตอนนั้น พบว่า พฤติกรรมการสอน และพฤติกรรมการเรียนรู้มีความสำคัญยิ่งในแต่ละขั้นตอน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

  1. ขั้นเสนอสิ่งเร้า และรวมพลังระบุคำถามสำคัญ (Stimulating and Key Questioning Collaboratively)
  2. ขั้นรวมพลังแสวงหาสารสนเทศและวิเคราะห์ (Searching and Analyzing Collaboratively)
  3. ขั้นรวมพลังอภิปรายและสร้างความรู้ (Discussing and Constructing Collaboratively)
  4. ขั้นรวมพลังสื่อสารและสะท้อนคิด (Communicating and Reflecting Collaboratively)
  5. ขั้นรวมพลังประยุกต์และตอบแทนสังคม (Applying and Serving Collaboratively)

ดาวน์โหลดไฟล์

ขอบคุณไฟล์ :: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่