ล่าสุด มติ ครม. แจกเงินเยียวยาโควิด 19 แรงงานฟรีแลนซ์ ม.39-40 คนละ 5000 บาท
ล่าสุด มติ ครม. แจกเงินเยียวยาโควิด 19 แรงงานฟรีแลนซ์ ม.39-40 คนละ 5000 บาท

ล่าสุด มติ ครม. แจกเงินเยียวยาโควิด 19 แรงงานฟรีแลนซ์ ม.39-40 คนละ 5000 บาท

วันที่ 13 กรกฎาคม 2564 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันนี้ ซึ่งมีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหมเป็นประธาน ได้อนุมัติมาตรการเยียวยาประชาชนรอบใหม่ ดังนี้

กลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่สถานการณ์ควบคุมสูงสุด 10 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา

ทั้งนี้ มีรูปแบบการให้ความช่วยเหลือ คือ กลุ่มแรงงานสัญชาติ ที่อยู่ในระบบผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 จะได้รับความช่วยเหลือเงินจำนวน 2,500 บาท จำนวน 1 เดือน ขณะที่แรงงานผู้ประกันตน มาตรา 39 และมาตรา 40 สัญชาติไทย จะได้รับความช่วยเหลือ คนละ 5,000 บาท จำนวน 1 เดือน

ส่วนผู้ที่ประกอบอาชีพที่ไม่ได้อยู่ในมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ที่ยังประกอบอาชีพอยู่ในปัจจุบัน ให้เตรียมหลักฐานเพื่อลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 กับสำนักงานประกันสังคมภายในเดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อให้ได้รับได้รับช่วยเหลือจำนวน 5,000 บาทจำนวน 1 เดือนเช่นเดียวกัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้สั่งการให้เร่งออกมาตรการเยียวยาทางเศรษฐกิจให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์เพื่อป้องกันการระบาดของโควิด-19 ระลอก 4 โดยเฉพาะพื้นที่ 10 จังหวัดสีแดงเข้มที่เพิ่งประกาศล็อกดาวน์และประกาศเคอร์ฟิวออกไป

โดยสั่งการให้นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน กระทรวงการคลัง กระทรวงแรงงาน และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบให้ครอบคลุมทุกกลุ่มและรวดเร็วที่สุด

ทั้งนี้ จากเอกสารรายงานการประชุม เรื่องมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอก 4 มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2564 ได้พิจารณาเห็นชอบการใช้จ่ายเงินกู้ ที่มีนายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒน์ เป็นประธานไปแล้ว

ได้แก่ โครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (กทม. และปริมณฑล) นายจ้างรายละ 3,000 บาทต่อหัวลูกจ้างไม่เกิน 200 คน จำนวน 41,940 ราย ลูกจ้างคนละ 2,000 บาท จำนวน 663,916 ราย วงเงิน 2,519 ล้านบาท

ขอบคุณที่มา : เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 13 กรกฎาคม 2564

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่