เปิดโครงการเงินกู้ กบข. เพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ของกระทรวงศึกษาธิการ
เปิดโครงการเงินกู้ กบข. เพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ของกระทรวงศึกษาธิการ "สร้างโอกาสใหม่ ให้ครูไทย" พ.ศ. 2565 ดอกเบี้ยร้อยละ 0.50 - 1.00 บาท ต่อปี

เปิดรายละเอียดโครงการเงินกู้ กบข. เพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ของกระทรวงศึกษาธิการ “สร้างโอกาสใหม่ ให้ครูไทย” พ.ศ. 2565 ดอกเบี้ยร้อยละ 0.50 – 1.00 บาท ต่อปี พร้อมแบบแสดงความประสงค์เข้าร่วมโครงการ

โครงการเงินกู้ กบข. เพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ของกระทรวงศึกษาธิการ “สร้างโอกาสใหม่ ให้ครูไทย” พ.ศ. 2565

ความเป็นมา

ตามที่รัฐบาลโดย พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กำหนดให้ปี 2565 เป็นปีแห่งภาคครัวเรือน และมีการบูรณาการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้ปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการเยียวยาช่วยเหลือ เพื่อทุกครัวเรือนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการคลัง และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมกันกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา กอปรกับคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อย โดยกระทรวงศึกษาธิการในฐานะกรรมการของคณะกรรมการฯ ดังกล่าวมีภารกิจรับผิดชอบส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการด้วย นั้น

ปัจจุบันครูและบุคลากรทางการศึกษากว่า 9 แสนราย มีหนี้สินรวมกันประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท กระทรวงศึกษาธิการจึงเห็นควรดำเนินง่น เปิดโครงการเงินกู้ กบข. เพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ของกระทรวงศึกษาธิการ “สร้างโอกาสใหม่ ให้ครูไทย” พ.ศ. 2565 ดอกเบี้ยร้อยละ 0.50 – 1.00 บาท ต่อปี เพื่อสนองนโยบายรัฐบาล โดยจัดทำแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้แต่งตั้งค์ณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการฯ ตังกล่าวโดยใช้สหกรณ์ออมทรัพย์ครูตันแบบเป็นฐาน รวมทั้งแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาระดับจังหวัต และจัดตั้งสถานีแก้หนี้ครูและบุคลากรทางการศึกษาระดับเขตพื้นที่การศึกษาและหน่วยงานทางการศึกษา โดยบูรณาการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาร่วมกับกระทรวงกรคลัง ธนาคารแห่งประทศไทย กรมส่งเสริมสหกรณ์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐเพื่อเร่งแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาตามแนวทางโครงการฯ อย่างจริงจังและต่อเนื่อง

การแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบให้เกิดประสิทธิผลจำเป็นต้องพิจารณาในภาพรวมทั้ง 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนของครูและบุคลากรทางการศึกษา ส่วนของเจ้าหนี้ และส่วนของน่ายจ้างหรือกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งจะเป็นสื่อกลางและประสานงานกับ 2 ส่วนแรก เพื่อให้การดำเนินงานโครงการบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยมีแนวทางการแก้ใขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษารวม 4 แนวทาง ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการใช้ในการดำเนินงาน ประกอบด้วย

(1) การลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้ให้อยู่ในระดับต่ำเพื่อให้เป็นสวัสดิการที่แท้จริง
(2) การควบคุมการหักเงินเดือน ณ ที่จ่ยและควบคุมยอดหนี้ไมให้เกินความสามารถในการชำระหนี้
(3) การจัดตั้งสถานีแก้หนี้ระดับจังหวัดและเขตพื้นที่การศึกษา
(4) การอบรมให้ความรู้ทางการเงินและการบริหารจัดการหนี้

กระทรวงศึกษาธิการได้จัดตั้งสถานีแก้ปัญหาหนี้สินครู่และบุคลากรทางการศึกษาระตับจังหวัด ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และหน่วยงานทางการศึกษาทั่วประเทศขึ้น จำนวน 558 แห่ง พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ลงทะเบียนแจ้งความจำนงในการแก้ปัญหาหนี้สินผ่านเว็บไซต์ http://td.moe.go.th โดยมีครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ลงทะเบียนจำนวนทั้งสิ้น 41,128 คน รวมมูลค่าหนี้ 58,835,199,322 บาท ประกอบด้วยเจ้าหนี้ ดังต่อไปนี้

เปิดโครงการเงินกู้ กบข. เพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ของกระทรวงศึกษาธิการ "สร้างโอกาสใหม่ ให้ครูไทย" พ.ศ. 2565 ดอกเบี้ยร้อยละ 0.50 - 1.00 บาท ต่อปี
เปิดโครงการเงินกู้ กบข. เพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ของกระทรวงศึกษาธิการ “สร้างโอกาสใหม่ ให้ครูไทย” พ.ศ. 2565 ดอกเบี้ยร้อยละ 0.50 – 1.00 บาท ต่อปี

(1) สหกรณ์ออมทรัพย์ครู จำนวน 32,788,9 15,276 บาท คิดเป็นร้อยละ 55.73
(2) ธนาคารออมสิน จำนวน 12,311,227,899 บาท คิดเป็นร้อยละ 20.92
(3) ธนาคารกรุงไทย จำนวน 4,806,071,621 บาท คิดเป็นร้อยละ 8.17
(4) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ จำนวน 1,923, 142,160 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.27
(5) สกสค. จำนวน 1,103,681, 162 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.88
(6) เจ้าหนี้อื่น จำนวน 5,902,161,204 บาท คิดเป็นร้อยละ 10.03

ครูและและบุคลากรทางการศึกษามีความประสงค์ให้สถานีแก้หนี้แก้ไขปัญหาหนี้สินในแนวทางดังต่อไปนี้

(1) ปรับลตอัตราตอกเบี้ย จำนวน 35,188 คน คิดเป็นร้อยละ85.56
(2) จัดหาสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ จำนวน 25,107 คน คิดเป็นร้อยละ 61.05
(3) ลดค่าธรรมเนียมการประกันที่ไม่จำเป็น จำนวน 15,002 คน คิดเป็นร้อยละ 36.48
(4) ปรับโครงสร้างหนี้สำหรับกลุ่มที่เงินเดือนเหลือไม่ถึงร้อยละ 30 จำนวน 24,189 คน คิดเป็นร้อยละ 58.81
(5) ปรับโครงสร้างหนี้สำหรับกลุ่มครูและบุคลากรทางการศึกษาที่กำลังเกษียณอายุ จำนวน 16,994 คน คิดเป็นร้อยละ 41.32
(6) ลดยอดหนี้จากรายได้ในอนาคต จำนวน 14,142 คน คิดเป็นร้อยละ 34.39
(7) ช่วยไกล่เกลี่ยกรณีถูกฟ้องร้องดำเนินคดีจากสถาบันการเงิน จำนวน 10,674 คน คิดเป็นร้อยละ 25.95
(8) จัดอบรมให้ความรู้ทางการเงินและการบริหารจัดการหนี้ จำนวน 6,582 คน คิดเป็นร้อยละ 16

ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นสมาชิก กบข. และมีปัญหหนี้วิกฤตมีความประสงค์จะขอกู้เงิน กบข. ในส่วนของเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโชน์ตอบแทน เพื่ อนำไปลดยอดหนี้ และให้มีเงินเดือนคงเหลือไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ซึ่งจะช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่เหมาะสม ทั้งนี้ เป็นการกู้เงินตามมาตรา 93 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 และไม่ให้เกิดผลกระทบต่อวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายเฉพาะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ ลงทะเบียนแก้ไขปัญหาหนี้ สินครูกับกระทรวงศึกษาธิการเท่านั้น

วัตถุประสงค์

เพื่อช่วยเหลือข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาแก้ไขปัญหาหนี้สิน ผู้ถูกฟ้องร้อง ผู้มีหนี้สินวิกฤติและมียอดเงินเดือนเหลือไม่ถึงร้อยละ 30 ซึ่งจะต้องมีสถานะเป็นสมาชิก กบข. สามารถกู้เงิน กบข. ในส่วนของเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ตอบแทน เพื่อไปลดย่อดหนี้

กลุ่มเป้าหมาย

(1) ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งข้าราชการพลเรือน สังกัดกระทวงศึกษาธิการ ที่เป็นสมาชิกกบข. และเป็นผู้ลงทะเบียนแก้ไขปัญหาหนี้สินครูผ่านเว็บไซต์ http://td.moe.go.th และลงทะเบียนเพิ่มเติมผ่านสถานีแก้หนี้ครู
กลุ่มที่ 1 จำนวน 14,142 ราย
กลุ่มที่ 2 จำนวน 10,000 ราย

(2) ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งข้ราชกรพลเรือน สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ เป็นผู้ถูกฟ้องร้อง ทั้งในฐานะผู้กู้และผู้ค้ำประกัน หรือผู้มีปัญหาหนี้สินวิกฤติ คือ มียอดเงินเดือนคงเหลือไม่ถึงร้อยละ 30

ขั้นตอนการดำเนินงานโครงการฯ

(1) คณะกรรมการแก้ขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาจัดทำโครงการเงินกู้ กบข. เพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูและบุคลากรของกระทรวงศึกษาธิการ เสนอต่อ กบข. พิจารณา
(2) กบข. พิจารณาให้ความเห็นชอบและอนุมัติโครงการกู้เงิน กบข, เพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูและบุคลากรของกระทรว่งศึกษาธิการ
(3) กระทรวงศึกษาธิการและ กบข. จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินงานโครงการฯ
(4) กระทรวงศึกษาธิการและ กบข.ดำเนินงานโครงการฯ ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ
(5) การติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงกรฯ ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ คณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา และ กบข.
(6) กระทรวงศึกษาธิการจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการฯ เป็นรายไตรมาส

ระยะเวลาดำเนินโครงการฯ

การใช้สิทธิเข้าร่วมโครงการฯ ต้องดำเนินการระหว่างวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 31 มกราคม 2566 ดังต่อไปนี้
(1) ผู้ลงทะเบียนโครงการแก้ปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา “สร้างโอกาสใหม่ให้ครูไทย”
รอบที่ 1 สามารถยื่นกู้ได้ตั้งแต่เดือนกันยายน 2565 ถึงเตือนธันวาคม 2565
รอบที่ 2 สามารถยื่นกู้ได้ตั้งแต่เดือนกันยายน 2565 ถึงเดือนมกราคม 2566

(2) ผู้ลงทะเบียนโครงการแก้ปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา “สร้างโอกาสใหม่ให้ครูไทย”

ขั้นตอนการกู้ยืมเงิน กบข.

(1) ครูและบุคลากรทางการศึกษาซึ่งเป็นสมาชิก กบข. ที่ประสงค์ขอรับเงินกู้จาก กบข. ต้องเป็นผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งกำลังถูกฟ้องร้องบังคับคดี รวมทั้งครูและและบุคลากรทางการศึกษาที่มีหนี้สินกับสถาบันการเงินหรือสหกรณ์ออมทรัพย์ในชั้นวิกฤติ โดยมียอดเงินเดือนหัก ณ ที่จ่ายรายเดือนเหลือไม่ถึงร้อยละ 30
(2) สถานีแก้หนี้วิเคราะห์ข้อมูลหนี้รายบุคคล โดยตรวจสอบข้อมูลจากเครดิตบูโร ข้อมูลสมาชิก กบข.และโปรแกรมคำนวณเงินกู้ หลังจากนั้นจึงจัดกลุ่มผู้ลงทะเบียนกู้เงิน กบข. เสนอความเห็น และแนวทางการให้ความช่วยเหลือ
(3) ครูและบุคลากรทางการศึกษาชื่งเป็นสมาชิก กบข. ที่มีคุณสมบัติถูกต้องกรอกข้อมูลแสดงความประสงค์ขอกู้เงินจาก กบข. และลงชื่อในแบบ “โครงการเงินกู้ กบข: เพื่อช่วยเหลือข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ โดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการและ กบข.” ตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
(4) สถานีแก้หนี้ระดับเขตพื้นที่การศึกษาหรือหน่วยงานทางการศึกษาตรวจสอบข้อมูลสมาชิก กบข.และมูลหนี้ที่จำเป็นต้องใช้เงินกู้ กบช. มาลดยอดหนี้ตามความประสงค์ของผู้ขอกุ้
(5) คณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูระดับเขตพื้นที่การศึกษาหรือหน่วยงานทางการศึกษาเห็นชอบให้กู้เงิน กบข.
(6) สถานีแก้หนี้ส่งข้อมูลการเห็นชอบให้สมาชิก กบข. กู้เงินเพื่อลดยอดหนี้ให้ กบข. พิจารณา
(7 กบข. แจ้งผลการพิจารณาให้กู้เงินแก่ผู้ขอกู้ทราบทาง SMS และแจ้งให้สถานีแก้หนี้ทราบทางอีเมล
(8) สถานีแก้หนี้แจ้งผู้ขอกู้ทำสัญญากู้ยืมเงินกับ กบข. โดยผ่านแอพพลิเคชันของ กบข. พร้อมทั้งจัดทำหนังสือยินยอมให้หักเงินเดือน ณ ที่จ่าย เพื่อชำระดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่ กบข. ณ สถานีแก้หนี้

(9) กบข. พิจารณาเห็นชอบจ่ายเงินกู้ให้แก่ผู้ขอกู้ตามบัญชีรายชื่อและสัญญากู้ยืมเงิน และโอนเงินให้แก่
สถานีแก้หนี้ โดยการที่ กบข. จ่ายเงินกู้ให้แก่สถานีแก้หนี้ ผู้กู้ยินยอมให้ถือว่าผู้กู้ได้รับเงินกู้จาก กบข. โดยถูกต้อง
ครบถ้วนแล้ว
(10) สถานีแก้หนี้โอนเงินให้เจ้าหนี้ตามที่ ระบุไว้ในสัญญา รวมทั้งแจ้งให้ กบข. และสมาชิก กบข.
ทราบ พร้อมหลักฐานการโอนเงิน
(11) กบข. ส่งข้อมูลหนี้บุคคลที่ 3 (ดอกเบี้ยที่ต้องชำระแต่ละเดือนให้แก่ กบข. ของผู้กู้แต่ละราย)
ให้แก่หน้วยเบิกของกระทรวงศึกษาธิการตามหนังสือยินยอมของผู้กู้
(12) หน่วยเบิกของกระทรวงศึกษาธิการจัดทำรายการหักเงิน ณ ที่จ่ายรายเดือน แจ้งไปยังกรมบัญชีกลาง
(13) กรมบัญชีกลางนำส่งดอกเบี้ยที่ต้องชำระแต่ละเดือนให้แก่ กบข. พร้อมกับรายการส่งเงินสะสม
เงินสมทบ และเงินชดเชยรายเดือนจนกว่าสมาชิกเกษียณอายุราชการ

เงื่อนไขการกู้ยืมเงิน กบข.

(1) วงเงินกู้ยืมไม่เกินยอดเงินรวมของเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ตอบแทน
(2) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 0.50 – 1.00 บาท ต่อปี
(3) หลังจากการปรับโครงสร้างหนี้แล้วต้องไม่ก่อหนี้สินเพิ่มภายในระยะเวลา 12 เดือน

เงื่อนไขระยะเวลาชำระคืนเงินกู้

ผู้กู้ชำระเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือน โดยกำหนดระยะเวลาผ่อนผันการชำระคืนเงินตันไปจนใกล้เกษียณอายุราชการและจะหักชำระหนี้เงินกู้ทั้งหมดตามสัญญาเมื่อสมาชิกสิ้นสุดสมาชิกภาพ (ออกจากราชการ) และขอรับเงินจาก กบข.ในกรณีที่ผู้กู้ประสงค์จะขอปิดบัญชีเงินกู้โดยชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเงินกู้ยืมทั้งหมดก่อนครบกำหนดตาม
สัญญา ให้ประสานงานกับ กบข. เพื่อตรวจสอบข้อมูลจำนวนเงินที่ต้องชำระก่อนดำเนินการทุกครั้ง แต่ในกรณีที่จะขอชำระเงินต้นบางส่วน กบข. จะกำหนดเลขที่บัญชีให้ผู้กู้โอนเงินมาให้ กบข. โดยผู้กู้จะต้องประสานงานแจ้งให้กบข. ทราบด้วยทุกครั้ง

หลักประกัน

เงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ตอบแทนที่อยู่ในบัญชีเงินรายบุคคลของสมาชิก กบข. ที่เป็นผู้กู้โดย กบข. จะหักชำระหนี้เงินกู้ทั้งหมดตามสัญญาเมื่อสมาชิกสิ้นสุดสมาชิกภาพ (ออกจากราชการ) และขอรับเงินจาก กบข.

การอนุมัติ

การพิจารณาอนุมัติให้สมาชิก กบข. รายใดกู้เงินจาก กบข. ได้ ให้เป็นอำนาจของ กบข. ซึ่งต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินระดับเขตพื้นที่การศึกษาหรือหน่วยงานทางการศึกษาก่อน

การทำสัญญา

เมื่อผู้ขอกู้เงิน กบข. ได้รับอนุมัติการกู้เงินจาก กบข. แล้ว กบข. จะแจ้งผลการอนุมัติให้กู้เงินให้ผู้ขอกู้ทราบทาง SMS และแจ้งให้สถานีแก้หนี้ทราบทางอีเมล หลังจากนั้นให้สถานีแก้หนี้แจ้งผู้ขอกู้ให้จัดทำสัญญาการกู้ยืมเงินกับกบข. ตามแบบที่ กบข. กำหนด โดยผ่านแอพพลิเคชันของ กบข. พร้อมทั้งจัดทำหนังสือยินยอมให้หักเงินเดือน ณ ที่จ่าย เพื่อชำระดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่ กบข. ณ สถานีแก้หนี้ ทั้งนี้ ให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการอนุมัติจาก กบข.

การจ่ายเงินกู้

1) เมื่อผู้ขอกู้ทำสัญญาการกู้ยืมเงินและหนังสือยินยอมให้หักเงินเดือน ณ ที่จ่าย โดยถูกต้องจะโอนเงินกู้ให้สถานีแก้หนี้และแจ้งชัอมูลให้สถานีแก้หนี้ทราบทางอีมล และแจ้งให้ผู้ผู้ทราบทาง SMS
(2) สถานีแก้หนี้จ่ายเงินให้เจ้าหนี้ของผู้กู้ตามที่ระบุในสัญญากู้ยืมเงิน โดยใช้หลักฐานการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารเป็นหลักฐานการจ่ายเงิน
หมายเหตุ : การที่ กบช. จ่ยเงินกู้ให้แก่สถานีแก้หนี้ ผู้กู้ยินยอมให้ถือว่าผู้กู้ได้รับเงินกู้จาก กบข. โดยถูกต้องครบถ้วนแล้ว

การส่งเงินชำระหนี้

ให้หน่วยเบิกของกระทรวงศึกษาธิการตามหนังสือยินยอมของผู้กู้
(1) กบข. ส่งข้อมูลหนี้บุคคลที่ 3 (ดอกเบี้ยที่ต้องชำระแต่ละเดือนให้แก่ กบข, ของผู้กู้แต่ละราย)
(2) หน่วยเบิกจัดทำข้อมูลรายการหักเงินเดือนของผู้กู้แต่ละเดือนแจ้งไปยังกรมบัญชีกลาง
(3) กรมบัญชีกลางหักเงินเดือนของผู้กู้นำส่งให้แก่ กบข. พร้อมกับรายการนำส่งเงินสะสม เงินสมทบและเงินชดเชยรายเดือนจนกว่าสมาชิกจะสิ้นสุดสมาชิกภาพ (ออกจากราชการ)

ค่าธรรมเนียมการโอนเงิน

(1) การโอนเงินกู้ให้สถานีแก้หนี้ ให้ กบข. เป็นผู้รับผิดชอบ
(2) การโอนเงินจากสถานีแก้หนี้ไปยังเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้เงินกู้ของผู้กู้ ให้ผู้กู้เป็นผู้รับผิดชอบ
(3) กรณีผิดนัดชำระหนี้ ให้ผู้กู้เป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมทุกรายการที่เกิดขึ้น

การติดตามผลการดำเนินงานโครงการฯ

สถานีแก้หนี้จัดทำสรุปรายงานสถานะการกู้ยืมเงิน กบข. การชำระดอกเบี้ยหรือต้นเงินกู้ และการปิดบัญชีเงินกู้ พร้อมทั้งปัญหาอุปสรรคและความต้องการ (ถ้ามี) ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัด คณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และ กบช. ทราบเป็นรายไตรมาส

เอกสารแนบ

แบบแสดงความประสงค์เข้าร่วมโครงการเงินกู้ กบข. เพื่อช่วยเหลือข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ โดยความร่วมมือของกระทรวงศึกษาธิการและ กบข. (กบข. 1)

แบบสรุปชัอมูลช้าราชการครูที่แสดงความประสงค์เข้าร่วมโครงการเงินกู้ กบข. เพื่อช่วยเหลือข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ โดยความร่วมมือของกระทรวงศึกษาธิการและ กบข.(กบข. 2)

แบบแสดงความประสงค์เข้าร่วมโครงการเงินกู้ กบข. เพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ “สร้างโอกาสใหม่ ให้ครูไทย” พ.ศ. 2565

เปิดโครงการเงินกู้ กบข. เพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ของกระทรวงศึกษาธิการ "สร้างโอกาสใหม่ ให้ครูไทย" พ.ศ. 2565 ดอกเบี้ยร้อยละ 0.50 - 1.00 บาท ต่อปี
เปิดโครงการเงินกู้ กบข. เพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ของกระทรวงศึกษาธิการ “สร้างโอกาสใหม่ ให้ครูไทย” พ.ศ. 2565 ดอกเบี้ยร้อยละ 0.50 – 1.00 บาท ต่อปี
เปิดโครงการเงินกู้ กบข. เพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ของกระทรวงศึกษาธิการ "สร้างโอกาสใหม่ ให้ครูไทย" พ.ศ. 2565 ดอกเบี้ยร้อยละ 0.50 - 1.00 บาท ต่อปี
เปิดโครงการเงินกู้ กบข. เพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ของกระทรวงศึกษาธิการ “สร้างโอกาสใหม่ ให้ครูไทย” พ.ศ. 2565 ดอกเบี้ยร้อยละ 0.50 – 1.00 บาท ต่อปี
เปิดโครงการเงินกู้ กบข. เพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ของกระทรวงศึกษาธิการ “สร้างโอกาสใหม่ ให้ครูไทย” พ.ศ. 2565 ดอกเบี้ยร้อยละ 0.50 – 1.00 บาท ต่อปี

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่