ศธ.รื้อสอบซ้ำซ้อนเด็กม.6 เหลือข้อสอบชุดเดียวใช้วัดมาตรฐาน สมรรถผู้เรียน และสอบเข้ามหา'ลัย เริ่มปี 2566
ศธ.รื้อสอบซ้ำซ้อนเด็กม.6 เหลือข้อสอบชุดเดียวใช้วัดมาตรฐาน สมรรถผู้เรียน และสอบเข้ามหา'ลัย เริ่มปี 2566

ศธ.รื้อสอบซ้ำซ้อนเด็กม.6 เหลือข้อสอบชุดเดียวใช้วัดมาตรฐาน สมรรถผู้เรียน และสอบเข้ามหา’ลัย เริ่มปี 2566

เมื่อวันที่ 20 เม.ย.ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมแนวทางดำเนินการการจัดทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) ทดสอบความถนัดทั่วไปหรือแกต และความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ หรือแพต และการทดสอบวิชาสามัญ 9 วิชา ประจำปีการศึกษา 2563 ร่วมกับสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)  ที่มีนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน เมื่อเร็วๆนี้นั้น

ที่ประชุมได้หารือถึงการจัดทดสอบต่างๆ โดยเฉพาะการจัดทดสอบของเด็กระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อเข้าสู่สถาบันอุดมศึกษาจะต้องมีการทดสอบหลายครั้งส่งผลให้เด็กมีความเครียดและผู้ปกครองมีความกังวล เพราะเด็กบางคนต้องมีภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางและการสอบ ดังนั้นที่ประชุมจึงมีข้อสรุปร่วมกันว่าจะกลับไปทบทวนการจัดทดสอบต่างๆในกลุ่มเด็กม.6 ให้เหลือการสอบเดียว แต่วิธีการดำเนินการจะเป็นข้อสอบ

เลขาธิการกพฐ. กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้ในเบื้องต้นทปอ.แสดงความเห็นว่า การทดสอบโอเน็ตและการทดสอบวิชาสามัญ 9 วิชา น่าจะนำมารวมเป็นข้อสอบเดียวได้ เนื่องจากตอบโจทย์การวัดทักษะและสมรรถนะผู้เรียน โดยทปอ.และ สทศ.จะไปประเมินข้อสอบของเด็กทุกระดับอีกครั้งว่าข้อสอบแบบไหนจะสามารถวัดทักษะและสมรรถนะเด็กได้ไปพร้อมกันได้

เพราะสพฐ.เองจะมีการปรับหลักสูตรใหม่เป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะ ซึ่งจะต้องปรับข้อสอบให้มีความเชื่อมโยงด้วย อย่างไรก็ตามการดำเนินการรื้อการสอบซ้ำซ้อนนั้นจะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในปีการศึกษานี้ และจะประกาศใช้การสอบเดียวสำหรับเด็กม.6 ในปีการศึกษา 2566 ต่อไป


รมว.ศธ.ให้ความเห็นในเรื่องนี้ด้วยเช่นกันว่าอยากจะให้ปรับการทดสอบของเด็กม.6 เหลือการสอบเดียว เพราะหลักการทดสอบที่แท้จริงคือการทดสอบเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน แต่การจะวัดมาตรฐานของเด็กให้ได้นั้นจะต้องใช้ข้อสอบแบบใดบ้างที่จะระบุได้ว่าเด็กมีทักษะ และมีสมรรถนะด้านไหน รวมถึงการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาจะมีข้อสอบแบบใดที่สามารถวัดศักยภาพเด็กได้ตรงกับสาขาที่เรียนด้วย  ซึ่งที่ประชุมจึงได้อิงการทดสอบจากต่างประเทศ เช่น การทดสอบของประเทศญี่ปุ่น อังกฤษ อเมริกา สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา เป็นต้น เพื่อนำมาเป็นต้นแบบและวิเคราะห์การทดสอบให้เหมาะสมกับเด็กมากที่สุด” ดร.อำนาจ กล่าว

ขอบคุณที่มา : เดลินิวส์ออนไลน์ https://www.dailynews.co.th/education/770047

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่