พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (Education Sandbox) ไม่ใช่พื้นที่ทดลอง แต่จะเป็นพื้นที่ปฏิบัติจริง เพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศ
พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (Education Sandbox) ไม่ใช่พื้นที่ทดลอง แต่จะเป็นพื้นที่ปฏิบัติจริง เพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศ

พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (Education Sandbox) ไม่ใช่พื้นที่ทดลอง แต่จะเป็นพื้นที่ปฏิบัติจริง เพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศ

พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (Education Sandbox) ไม่ใช่พื้นที่ทดลอง แต่จะเป็นพื้นที่ปฏิบัติจริง เพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศ 2

นายอโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรม การศึกษา สพฐ. กล่าวในงานการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ห้องประชุมโรงแรมปาร์ควิว จังหวัดปัตตานี

“ปัตตานี” เป็น 1 ในพื้นที่นวัตกรรม การศึกษาในภาคใต้ชายแดน ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีได้ร่วมรับผิดชอบ Smart People Pattani ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ Smart City ของจังหวัดปัตตานี ที่จะมีการสร้าง Digital Learning Platform โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยเทคโนโลยี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และการสร้างพื้นที่เรียนรู้ (Co-Working Space) และมีเป้าหมายให้โรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรม การศึกษาจังหวัดปัตตานีทุกโรงเข้าร่วมโครงการ OTW Free WIFI for School เพื่อเป็นพื้นที่สร้างสรรค์งานใหม่ ๆ ให้กับนักเรียน เช่น การสร้าง Application การค้าออนไลน์ เป็นต้น

นอกจากนี้ การประชุมยังได้มีข้อเสนอ แนะนำ และชี้ให้เห็นบทบาทของคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรม การศึกษาเป็นภารกิจสำคัญ คือ 1) การนำหลักสูตรแกนกลางมาปรับใช้ 2) การพัฒนาคุณภาพและศักยภาพครู 3) การออกแบบระบบการประเมินผู้เรียน

ซึ่งทั้ง 3 เรื่องต้องตอบสนองแผนยุทธศาสตร์ของพื้นที่นวัตกรรม การศึกษาของจังหวัด ขณะเดียวกัน สพฐ.ก็จะดำเนินการจัดประชุมเชิงวิชาการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถหน่วยงานทางการศึกษาในพื้นที่นวัตกรรม การศึกษา โดยเฉพาะศึกษาธิการจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และศึกษานิเทศก์ ในเดือนมีนาคม 2563 นี้อีกด้วย

ขอบคุณที่มา : ศธ 360

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่