'ณัฏฐพล' เร่งรัดการศึกษายกกำลังสอง ให้เวลา 1 เดือน สร้างมิติใหม่ด้านระบบงานราชการ
'ณัฏฐพล' เร่งรัดการศึกษายกกำลังสอง ให้เวลา 1 เดือน สร้างมิติใหม่ด้านระบบงานราชการ

‘ณัฏฐพล’ เร่งรัดการศึกษายกกำลังสอง ให้เวลา 1 เดือน สร้างมิติใหม่ด้านระบบงานราชการ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ ให้ทุกหน่วยงานเร่งรัดการดำเนินงาน แผนงานการศึกษายกกำลังสองเพื่อสร้างความเป็นเลิศทางการศึกษา ตามแผนที่มีอยู่ให้รวดเร็วมากขึ้น รวมถึงการร่วมกันหาแนวทางแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม

เมื่อวันที่ 3 ก.ย. นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ตนได้เรียกประชุมสำนักนโยบายและแผนของทุกส่วนงานในกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อทำความเข้าใจและติดตามแผนงานการศึกษายกกำลังสองเพื่อสร้างความเป็นเลิศทางการศึกษา โดยในที่ประชุม นายณัฏฐพลกล่าวขอบคุณที่ทุกส่วนงานมีความรู้ ความเข้าใจถึงนโยบายการศึกษายกกำลังสอง และมีแผนงานชัดเจนในการขับเคลื่อนเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาไทย

นายณัฏฐพล กล่าวต่อไปว่า อยากให้ทุกหน่วยงานเร่งรัดการดำเนินงานตามแผนที่มีอยู่ให้รวดเร็วมากขึ้น รวมถึงการร่วมกันหาแนวทางแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม เช่น แนวทางการสอบเพื่อคัดเลือกครูให้ได้คนที่มีความสามารถจริงมาเป็นครูสอน ผู้บริหารโรงเรียนจะมีหลักเกณฑ์ หรือแนวทางในการปรับตัวเพื่อเปลี่ยนสถานการศึกษาของตนเองให้มีความเป็นเลิศเฉพาะทางของตนเองได้อย่างไร หรือปรับวิธีการสอบโดยใช้ข้อสอบแบบสุ่ม (Random) เป็นต้น

ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้นำเสนอแผนงานที่ได้ดำเนินการแล้ว และอยู่ระหว่างดำเนินการ ตามแนวคิดด้านการศึกษายกกำลังสอง ซึ่งประกอบด้วย ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ หรือ Human Capital Excellence Center – HCEC, แฟลตฟอร์มด้านการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ หรือ Digital Education Excellence Center-DEEP และ แผนพัฒนารายบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ หรือ Excellence Individual Development Pan – EIDP โดยมีแผนงานสำคัญ อาทิ ทางสภาการศึกษาแห่งชาติ จะดำเนินการด้านหลักสูตรให้เป็นที่เรียบร้อยในเดือนพฤษภาคม 2564 และในปี 2563 จะสามารถจัดทำฐานข้อมูล และแฟ้มผลงาน (Portfolio) ของเด็กนักเรียนทั่วประเทศ ทางสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เสนอแผนงานการควบรวมโรงเรียนใน 29 จังหวัด จำนวนกว่า 2,000 โรงเรียน และแผนการโยกย้าย และพัฒนาครูผู้สอน

ด้านสำนักงานอาชีวศึกษา (สอศ.) เสนอแผนเร่งรัดและขยายความร่วมมือกับภาคเอกชนด้านหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อตอบสนองความต้องการด้านแรงงานของภาคเอกชน และเสนอแนะการสร้างแรงจูงใจให้เด็กนักเรียนชั้นมัธยมต้นหันมาศึกษาด้านอาชีวะมากขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมด้านการแรงงานที่มีความต้องการในอนาคต โดยเฉพาะสาขาสำคัญๆ เช่น โรโบติกส์ ระบบราง แม็คคาทรอนิกส์ เป็นต้น ด้านสำนักส่งเสริมวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้นำเสนอการฝึกอบรมครูด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ด้วยระบบออนไลน์ และการขออนุมัติงบประมาณในการเปลี่ยนพื้นที่ท้องฟ้าจำลอง กรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองสะเต็มศึกษา (STEM Edupolis) เพื่อเป็นศูนย์พัฒนาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ให้กับครูทั่วประเทศ ด้านสำนักงานการอาชีวศึกษา ได้นำเสนอข้อมูล  

ขอบคุณที่มาและอ่านเพิ่มเติม : เว็บไซต์ เดลินิวส์ออนไลน์ วันที่ 3 กันยายน 2563 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่