คุณหญิงกัลยา แนะใช้
คุณหญิงกัลยา แนะใช้ "สติ" และ "STI"-วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม จัดการการศึกษายุคดิจิทัล

คุณหญิงกัลยา แนะใช้ “สติ” และ “STI”-วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม จัดการการศึกษายุคดิจิทัล ควบคู่ 4 หลัก นักเรียนมีความสุข ครูมีศักดิ์ศรี ผู้ปกครองมีความสบายใจ สังคมมีส่วนร่วม

คุณหญิงกัลยา แนะใช้ "สติ" และ "STI"-วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม จัดการการศึกษายุคดิจิทัล
คุณหญิงกัลยา แนะใช้ “สติ” และ “STI”-วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม จัดการการศึกษายุคดิจิทัล

คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ได้รับเกียรติเป็นวิทยากร บรรยายหัวข้อ“Coding และการศึกษาเพื่อชีวิต” ให้กับผู้เข้ารับการพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาผู้ได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งศึกษาธิการจังหวัดและรองศึกษาธิการจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ณ ห้องพุทธรักษา อาคารอเนกประสงค์สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา อ.สามพราน จ.นครปฐม

ที่ผ่านมาได้มีการบรรจุหลักสูตรCoding ไว้ในนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลปีแรก โดยให้จัดการสอน Unplug Coding สำหรับเด็กทุกชั้นปี เพื่อสร้างทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และเมื่อถึงระดับที่สูงขึ้นก็สามารถต่อยอดไปเรียนภาษาคอมพิวเตอร์ตามความถนัด     

นอกจากนี้ได้มีการจัดอบรมครูออนไลน์ หลักสูตรการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณสำหรับครู Coding for Teacher (C4T) ภายใต้นโยบาย “การขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้โค้ดดิ้งในโรงเรียน” โดยมีครูเข้าร่วมอบรมกว่า 2 แสนคนและในระยะต่อไปจะดำเนินการจัดอบรมหลักสูตรการอบรมการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณสำหรับครู ขั้นสูง(Coding Online for Teacher Plus : C4T Plus)

ขณะที่คณะกรรมการ Coding แห่งชาติ ก็ได้พิจารณาต่อยอดหลักสูตร Coding ให้ครอบคลุมประชากรไทยทุกคน อาทิCoding สำหรับผู้ตกงาน Coding ในการเกษตร เป็นต้น เพื่อเป็นการ Upskill Reskill ให้สอดคล้องกับตลาดแรงงานยุคใหม่ สามารถติดต่อสื่อสารกับคนทั้งโลกได้ ตามแนวทาง Coding for all, All for coding

“ปัจจุบันแนวโน้มการจัดการศึกษาได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และไม่รู้ว่าจะเปลี่ยนไปในทิศทางใดบ้าง เมื่อนักเรียนจบไปแล้วจะยังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานอยู่หรือไม่ ศธ. จึงต้องนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (STI) ประกอบกับสติ มาใช้ในการจัดการศึกษาในยุคดิจิทัล ฝากให้ ศธจ. และรอง ศธจ. ผู้ได้รับการคัดเลือกใหม่ ให้ช่วยกันคิดว่าจะทำอย่างไร ให้การศึกษาของจังหวัดตนเองมีความโดดเด่น สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ ควบคู่ไปกับหลัก 4 มี ได้แก่ 1) นักเรียนมีความสุข 2) ครูมีศักดิ์ศรี 3) ผู้ปกครองมีความสบายใจ 4) สังคมมีส่วนร่วม”คุณหญิงกัลยา กล่าว

ขอบคุณที่มา : เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ 20 กันยายน 2563 | ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี ศธ.

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่