ดาวน์โหลด แนวทางการจัดกิจกรรม Active Learning ที่เสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ ประวัติศาสตร์ชาติไทย โดยสถาบันสังคมศึกษา สพฐ.
ดาวน์โหลด แนวทางการจัดกิจกรรม Active Learning ที่เสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ ประวัติศาสตร์ชาติไทย โดยสถาบันสังคมศึกษา สพฐ.

ดาวน์โหลด แนวทางการจัดกิจกรรม Active Learning ที่เสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ ประวัติศาสตร์ชาติไทย โดยสถาบันสังคมศึกษา สพฐ.

ดาวน์โหลด แนวทางการจัดกิจกรรม Active Learning ที่เสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ ประวัติศาสตร์ชาติไทย โดยสถาบันสังคมศึกษา สพฐ.
ดาวน์โหลด แนวทางการจัดกิจกรรม Active Learning ที่เสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ ประวัติศาสตร์ชาติไทย โดยสถาบันสังคมศึกษา สพฐ.

การพัฒนาผู้เรียนให้พร้อมเป็นพลเมืองที่มีความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประเทศ โดยเฉพาะเพื่อการแข่งขันทางเศรษฐกิจอย่างไรก็ตาม เพื่อธำรงไว้ซึ่งความมั่นคง สถาพรของประเทศชาติ การจัดการศึกษาเพื่อบ่มเพาะผู้เรียนให้รักและภาคภูมิใจในรากเหง้าของตนเอง ในประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของชาติในขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ก็มีความสำคัญเช่นกัน

เพื่อพัฒนาผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้พร้อมเป็นพลเมืองที่มีความรู้ ทักษะสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ เกิดความรักและภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ชาติไทยแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นแนวทางใจความสำคัญว่า

“…การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียนใน ๒ ด้าน คือ ส่งเสริมให้นักเรียนมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง และมุ่งสร้างพื้นฐานชีวิตหรืออุปนิสัยที่มั่นคง…” และรับใส่เกล้าฯกระแสพระราชดำรัส สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงที่แสดงความห่วงใยต่อการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ชาติไทย กำหนดให้โครงการการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนวิชาที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นจุดเน้นเชิงนโยบาย และได้ดำเนินโครงการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทยตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง “การเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ผ่านกิจกรรม Active Learning การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย” ซึ่งเป็นโครงการที่มุ่งเน้นพัฒนาการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจประวัติศาสตร์ชาติไทย ได้รับการเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ผ่านการลงมือปฏิบัติกิจกรรมรูปแบบActive Learning ที่บ่มเพาะและปลูกฝังความรัก ความภาคภูมิใจในชาติไทยและแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

ดังนั้น เพื่อให้ครูผู้สอนสาระประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมครูผู้นำกิจกรรมเสริมหลักสูตร มีแนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทยที่เสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ ที่ผู้เรียนได้ศึกษาและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองผ่านการลงมือปฏิบัติกิจกรรมแบบ Active Learning สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงได้จัดทำเอกสาร “แนวการจัดกิจกรรม Active Learning ที่เสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ :ประวัติศาสตร์ชาติไทย” ขึ้น เป็นชุดกิจกรรมที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะทางประวัติศาสตร์ ๓ ขั้นตอน คือ ขั้นการรู้จักหลักฐานที่หลากหลาย (Sourcing) ขั้นการประเมินคุณค่าของหลักฐาน

หรือการวิพากษ์หลักฐาน (Corroboration) และขั้นการวิเคราะห์สังเคราะห์โดยการใช้ข้อมูลที่ผ่านการวิพากษ์กับข้อมูลอื่น ๆ (Contextualizing) หรือรวมเรียกว่า “ทักษะทางประวัติศาสตร์ 1S2C” เพื่อเป็นแนวทางและแรงบันดาลใจให้แก่ครูผู้สอนที่จะมีต้นแบบในการพัฒนาและปรับเสริมรูปแบบการสอนของตนต่อไป
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อครูและผู้ที่สนใจการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ผ่านกิจกรรมรูปแบบ Active Learning ปลูกฝังความรักความภาคภูมิใจในชาติไทยและความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

ดาวน์โหลด แนวทางการจัดกิจกรรม Active Learning ที่เสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ ประวัติศาสตร์ชาติไทย โดยสถาบันสังคมศึกษา สพฐ.
ดาวน์โหลด แนวทางการจัดกิจกรรม Active Learning ที่เสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ ประวัติศาสตร์ชาติไทย โดยสถาบันสังคมศึกษา สพฐ.

เนื้อหาเอกสาร

  • ทักษะทางประวัติศาสตร์และกิจกรรมเสริมสร้างการเรียนรู้ประวัติศาสตร์
  • กิจกรรม Active Learning การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย
    • ชุดกิจกรรม ทักษะทางประวัติศาสตร์ – ลำดับกษัตริย์สุโขทัย
    • ชุดกิจกรรม เรียนรู้ภูมิปัญญาสมัยสุโขทัย
    • ชุดกิจกรรม กษัตริย์อยุธยามีหน้าที่
    • ชุดกิจกรรม เฮฮาค้าขาย สนธิสัญญาเบาว์ริง
  • ตัวอย่างแบบประเมินผลการเรียนรู้
ดาวน์โหลด แนวทางการจัดกิจกรรม Active Learning ที่เสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ ประวัติศาสตร์ชาติไทย โดยสถาบันสังคมศึกษา สพฐ.

ทักษะทางประวัติศาสตร์

ทักษะ หมายถึง ความชำนาญในการกระทำหรือการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งอาจเป็นทักษะด้านร่างกาย สติปัญญา หรือสังคม ที่เกิดขึ้นจากการฝึกฝนหรือการกระทำซ้ำ ๆ
ทักษะทางประวัติศาสตร์ หมายถึง ความสามารถ ความชำนาญในการรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ การประเมินค่าหลักฐาน การฝึกคิดวิเคราะห์ตามบริบททางประวัติศาสตร์ คือ
การต้องรู้จักบุคคล เวลา สถานที่ และรู้จักเชื่อมโยงข้อมูลจากหลักฐานที่ได้รับกับองค์ความรู้ต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน

ทักษะทางประวัติศาสตร์ เป็นทักษะการคิดวิเคราะห์ในมิติประวัติศาสตร์เน้นการตั้งคำถามตลอดเวลา ไมใช่เพียงการนำข้อมูล หลักฐานที่รวบรวมได้มาเรียงต่อกันทักษะทางประวัติศาสตร์ 152C จึงเป็นทักษะที่ผู้สอนต้องจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถอย่างเชี่ยวชาญในการใช้ความคิดที่เป็นกระบวนการ เป็นเหตุเป็นผลมีวิจารณญาณ เปิดกว้างทางความคิดเห็น เพื่อสืบสอบเรื่องราวบนพื้นฐานข้อมูลหลักฐาน ข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ประกอบด้วยทักษะที่เป็นลำดับขั้นตอน ได้แก่

๑. ขั้นการรู้จักเอกสารหลักฐานที่หลากหลาย (Sourcing) หลักฐานเป็นพื้นฐานสำคัญของการสืบค้นประวัติศาสตร์ กระบวนการรวบรวมข้อมูลหลักฐานจากแหล่งต่าง ๆจึงเป็นกระบวนการเริ่มต้นที่สำคัญของการสืบค้นเรื่องราวที่เกิดขึ้นไปแล้ว ผู้สอนจึงควรจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการสืบคันข้อมูล วางแผนรวบรวมข้อมูลหลักฐานจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งหลักฐานชั้นต้น คือ หลักฐานที่เกิดร่วมสมัยกับเหตุการณ์นั้น ๆ หรือมีการบันทึกร่วมสมัยกัน และหลักฐานชั้นรอง คือ งานเขียนที่ใช้หลักฐานชั้นตันมาศึกษาวิเคราะห์ แสดงความคิดเห็น เกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์ตัวอย่างหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ผู้เรียนอาจพบได้ใกล้ตัว เช่น เอกสารทางราชการ บทความในหนังสือพิมพ์ การสัมภาษณ์ ภาพถ่าย ข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต โบราณสถาน โบราณวัตถุ เป็นต้น

๒. ขั้นการประเมินค่าของหลักฐาน (Corroboration) คือ กระบวนการตรวจสอบประเมินค่าเนื้อหาและข้อมูลที่ปรากฏจากข้อมูลภายในหลักฐานเอง เช่น การตรวจสอบ วัน เดือน ปี ที่ผลิตหรือสร้างเอกสาร การตรวจสอบชื่อบุคคล สถานที่ที่ปรากฎ การเทียบศักราชในเอกสาร การตรวจสอบความน่าเชื่อถือ อคติของผู้เขียน ข้อเท็จจริง การบิดเบือนข้อมูล
ความหมายที่แท้จริง เป็นต้น

การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการประเมินค่าเนื้อหาและข้อมูลที่ปรากฏในหลักฐานนั้น ๆ โดยเฉพาะมิติความน่าเชื่อถืออคติของผู้เขียนข้อเท็จจริง การบิดเบือนข้อมูล ความหมายที่แท้จริง ถือเป็นขั้นตอนสำคัญที่ผู้เรียนจะได้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดพิจารณาความน่เชื่อถือ ตามตรรกะและความสมเหตุสมผล

๓. ขั้นการเปรียบเทียบข้อมูลจากหลักฐานที่หลากหลาย (Contextualizing) คือ กระบวนการสอบทานเปรียบเทียบเนื้อหาและข้อมูลที่ได้จากหลักฐานนั้น ๆ กับหลักฐาน เอกสาร
ข้อมูลแวดล้อมอื่น ๆ เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงหรือความจริงทางประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของเหตุการณ์ สาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ ความเป็นไปของเหตุการณ์ ผลของเหตุการณ์ เป็นต้นโดยอาจจัดกระบวนการให้ผู้เรียนได้เปรียบเทียบเอกสารกับหลักฐานอื่น ๆ เช่น ระหว่างหลักฐานภาพถ่าย แผนที่โบราณ ข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต ฯลฯ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ การเปรียบเทียบชุดข้อมูล และการสังเคราะห์ข้อมูลสรุปเรื่องราวที่ได้ศึกษาตามตรรกะความน่าเชื่อถือจากหลักฐานที่ปรากฏ

ขอบคุณแหล่งที่มา : สถาบันสังคมศึกษา สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่