เกณฑ์การแข่งขันทักษะภาษาไทย โครงการรักษ์ภาษาไทย เนื่องในสัปดาห์วันภาษาไทยแห่งชาติ ปี 2566
เกณฑ์การแข่งขันทักษะภาษาไทย โครงการรักษ์ภาษาไทย เนื่องในสัปดาห์วันภาษาไทยแห่งชาติ ปี 2566

เกณฑ์การแข่งขันทักษะภาษาไทย โครงการรักษ์ภาษาไทย เนื่องในสัปดาห์วันภาษาไทยแห่งชาติ ปี 2566

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะดำเนินโครงการรักษ์ภาษาไทย เนื่องในสัปดาห์วันภาษาไทยแห่งชาติ ปี ๒๕๖๖ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักให้ครู นักเรียน และผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญของภาษาไทยในฐานะเป็นภาษาประจำชาติ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จัดการแข่งขันทักษะภาษาไทย โครงการรักษ์ภาษาไทย เนื่องในสัปดาห์วันภาษาไทยแห่งขาติ ปี ๒๕๖๖ ประกอบด้วย ๕ กิจกรรม คือ การคัดลายมือ การเขียนเรียงความ การแต่งคำประพันธ์ การอ่านจับใจความสำคัญ และรอบรู้วรรณคดี

เกณฑ์การแข่งขันทักษะภาษาไทย โครงการรักษ์ภาษาไทย เนื่องในสัปดาห์วันภาษาไทยแห่งชาติ ปี 2566 9
เกณฑ์การแข่งขันทักษะภาษาไทย โครงการรักษ์ภาษาไทย เนื่องในสัปดาห์วันภาษาไทยแห่งชาติ ปี 2566 10

ประเภทการแข่งขัน การคัดลายมือ

เกณฑ์การแข่งขันทักษะภาษาไทย โครงการรักษ์ภาษาไทย เนื่องในสัปดาห์วันภาษาไทยแห่งชาติ ปี 2566 11

การดำเนินการแข่งขัน
๑. คัดลายมือตามบทอ่านที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) กำหนดให้คัดลายมือด้วยตัวบรรจง ดังนี้
๒.๑ ชั้น ป.๑ – -๓ ความยาว ๑๐ – ๑๕ บรรทัดให้คัดตัวบรรจงเต็มบรรทัด เว้นบรรทัด โดยใช้ดินสอดำ
๒.๒ ชั้น ป.๔ – ๖ ความยาว ๑๕ – ๒๐ บรรทัด
๒.๓ ชั้น ม.๑ – ๓ ความยาว ๒๐ – ๒๕ บรรทัด
๒.๔ ชั้น ม.๔ – ๖ ความยาว ๒๐ – ๒๕ บรรทัด

ให้คัดตัวบรรจงครึ่งบรรทัด ไม่เว้นบรรทัดโดยใช้ปากกาดำหรือน้ำเงิน

๓. คัดลายมือในกระดาษที่ สพฐ. กำหนดให้
๔.. ใช้เวลาในการแข่งขัน ๑ ชั่วโมง

เกณฑ์การให้คะแนน
๑. ใช้ตัวอักษรแบบกระทรวงศึกษาธิการ(๕๐ คะแนน)
๒ ถูกต้องตามอักขรวิธี (๒๕ คะแนน)
๓. อ่านง่าย เป็นระเบียบ สะอาดเรียบร้อย (๒๕ คะแนน)

กรรมการจะไม่พิจารณาผลงานในกรณี ดังนี้
๑) ความยาวไม่เป็นตามที่กำหนด
๒) ไม่เขียนตัวบรรจง ขนาดตามที่กำหนด

ประเภทการแข่งขัน การเขียนเรียงความ

เกณฑ์การแข่งขันทักษะภาษาไทย โครงการรักษ์ภาษาไทย เนื่องในสัปดาห์วันภาษาไทยแห่งชาติ ปี 2566 12
เกณฑ์การแข่งขันทักษะภาษาไทย โครงการรักษ์ภาษาไทย เนื่องในสัปดาห์วันภาษาไทยแห่งชาติ ปี 2566 13

การดำเนินการแข่งขัน
๑. เขียนเรียงความตามประเด็นที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ ) กำหนดให้เขียนด้วยลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด ไม่เว้นบรรทัดโดยใช้ปากกาดำหรือน้ำเงิน
๒.๑ ชั้น ป.๔-๖ เขียนความยาว ๑๕ – ๒๐ บรรทัด
๒.๒ ชั้น ม.๑-๓ เขียนความยาว ๒๐ – ๒๕ บรรทัด
๒.๓ ชั้น ม.๔-๖ เขียนความยาว ๒๕ – ๓๐ บรรทัด
๓. เขียนในกระดาษที่ สพฐ. กำหนดให้
๔. ใช้เวลาในการแข่งขัน ๑ ชั่วโมง

เกณฑ์การให้คะแนน
๑. การตั้งชื่อเรื่อง (๕ คะแนน)

  • ชื่อเรื่องสอดคล้องกับประเด็นที่กำหนด
  • ชื่อเรื่องสัมพันธ์กับเนื้อหาที่เขียน
  • ชื่อเรื่องมีความน่าสนใจแปลกใหม่
  • ตั้งชื่อเรื่องอย่างสร้างสรรค์ ไม่ขัดต่อหลักศีลธรรมจรรยา
  • ตั้งชื่อเรื่องได้กระชับ เข้าใจง่าย
    ๒. การเขียนส่วนนำ (๑๐ คะแนน)
  • ส่วนนำมีเนื้อหาขี้ให้เห็นความสำคัญหรือปูพื้นฐานความเข้าใจให้แก่ผู้อ่าน
  • ส่วนนำสามารถกระตุ้นและดึงดูดความสนใจของผู้อ่านได้
  • เนื้อหาในส่วนนำต้องไม่ช้ำกับส่วนสรุปปรากฏเทคนิคที่น่าสนใจในการเขียนส่วนนำ เช่นนำด้วยคำถาม นำด้วยสุภาษิตหรือบทร้อยกรอง นำด้วยความเป็นมาของเรื่อง นำด้วยจุดประสงค์ของการเขียน ฯลฯ
  • ความยาวของส่วนนำคิดเป็นประมาณร้อยละ ๒๐ ของเรียงความ

๓. การเขียนเนื้อเรื่อง (๔๐ คะแนน)

  • ลำดับข้อความและความคิดต่อเนื่องสอดคล้องกัน
  • แสดงเหตุและผลอย่างสมเหตุสมผล
  • ปรากฎใจความสำคัญ ๑ ใจความในแต่ละย่อหน้า
  • เนื้อหาที่นำเสนอเป็นข้อเท็จจริงถูกต้อง
  • ยกตัวอย่างและอ้างอิงประกอบโดยใช้สำนวน โวหาร สุภาษิต คำคม ตัวเลข สถิติ บุคคล ทฤษฎี หลักปรัชญา ฯลฯ ได้อย่างเหมาะสม
  • ความยาวของเนื้อเรื่องประมาณร้อยละ ๖๐ ของเรียงความ

๔. การเขียนส่วนสรุป (๑๐ คะแนน)

  • ส่วนสรุปมีเนื้อหาสัมพันธ์กับเนื้อหาส่วนอื่น ๆ
  • ส่วนสรุปมีเนื้อหากล่าวปีด ไม่ปรากฎรายละเอียด ที่ช้ำกับเนื้อเรื่อง
  • ส่วนสรุปไม่เสนอประเด็นใหม่ที่ไม่เกี่ยวข้อง
  • ปรากฏเทคนิคที่น่าสนใจในการเขียนส่วนสรุป เช่น เขียนสาระสำคัญทั้งหมด เน้นย้ำประเด็นหลัก ตั้งคำถามให้ผู้อ่านฉุกคิด เสนอซ้อคิดหรือคติเตือนใจ เสนอคำคมหรือบทร้อยกรอง ฯลฯ
  • ความยาวของส่วนสรุปประมาณร้อยละ ๒๐ ของเรียงความ

๕. การใช้ภาษา (๒๐ คะแนน)

  • ใช้คำได้ถูกต้องตามความหมาย
  • ใช้ระดับภาษาได้ถูกต้องเหมาะสมแก่บุคคลและสถานการณ์
  • ร้อยเรียงประโยคได้สละสลวย
  • ใช้ภาษาที่มีวรรณศิลป์
  • ใช้คำเชื่อมข้อความและย่อหน้าได้ถูกต้อง
  • ไม่ปรากฎสำนวนภาษาต่างประเทศ
  • ไม่ปรากฏการใช้คำพุ่มเฟือย
  • ใช้ภาษาได้กระชับ อ่านเข้าใจง่าย

๖. การเขียนถูกต้องตามอักขรวิธี (๑๐ คะแนน)

  • เขียนได้ถูกต้องตามระเบียบของภาษาไทย
  • สะกดคำได้ถูกต้องทุกคำ
  • เว้นวรรคตอนได้ถูกต้อง
  • ใช้เครื่องหมายวรรคตอนได้ถูกต้อง
  • ไม่พบการฉีกคำและการตัดคำ

๗. อ่านง่าย เป็นระเบียบ สะอาดเรียบร้อย (๕ คะแนน)

ประเภทการแข่งขัน การแต่งคำประพันธ์

เกณฑ์การแข่งขันทักษะภาษาไทย โครงการรักษ์ภาษาไทย เนื่องในสัปดาห์วันภาษาไทยแห่งชาติ ปี 2566
เกณฑ์การแข่งขันทักษะภาษาไทย โครงการรักษ์ภาษาไทย เนื่องในสัปดาห์วันภาษาไทยแห่งชาติ ปี 2566 14

การดำเนินการแข่งขัน

๑. แต่งคำประพันธ์ตามประเด็นและจำนวนบทที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดให้
๑.๑ ชั้น ป.๔ – ป.๖ แต่งกลอนสี่ จำนวน ๔ บท
๑.๒ ชั้น ม.๑ – ม.๓ แต่งกลอนสุภาพ จำนวน ๔ บท (กลอนแปด)
๑.๓ ชั้น ม.๔ – ม.๖ แต่งอินทรวิเชียรฉันท์ จำนวน ๔ บท
๒. เขียนด้วยลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด ไม่เว้นบรรทัดโดยใข้ปากกาดำหรือน้ำเงิน

๓. เขียนในกระดาษที่ สพฐ.กำหนดให้
๔. ใช้เวลาในการแข่งขัน ๑ ชั่วโมง

เกณฑ์การให้คะแนน

๑. ฉันทลักษณ์และอักขรวิธี (๒๐ คะแนน)

  • เขียนตัวสะกดการันต์ผิด หักคำละ ๑ คะแนน
  • มีสัมผัสซ้ำ หักตำแหน่งละ ๒ คะแนน

๒. ความคิดและเนื้อหา (๔๐ คะแนน)

  • ตรงประเด็น หมายความว่า นักเรียนจะต้องใช้หัวข้อที่กำหนดให้เป็นแกนเรื่อง
  • เสนอแนวคิดสร้างสรรค์ หมายความว่า เนื้อหาที่นักเรียนเสนอนั้นให้แง่คิดที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน เช่น แง่คิดในการดำรงชีวิต การเข้าใจสังคม การปฏิบัติให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
  • เสนอแนวคิดแปลกใหม่ หมายความว่า แนวความคิด
  • ที่เสนอในเนื้อหาไม่เป็นที่กล่าวถึงโดยปกติ เป็น
  • แนวความคิดที่มีเหตุผลและอยู่ในขอบเขตของหัวข้อ

๓. กวีโวหาร (๔๐ คะแนน)

  • เลือกใช้คำเหมาะสมแก่เนื้อหาและบริบท
  • เล่นสัมผัสอักษร เล่นคำ ไพเราะ สละสลวยและราบรื่น ช่วยให้คำประพันธ์ไพเราะยิ่งขึ้น
  • ใช้โวหารต่าง ๆ ส่งเสริมเนื้อหาให้มีความหมาย ลึกซึ้ง กินใจ เช่น ใช้อุปมา ใช้บุคคลวัต เป็นต้น

บทร้อยกรองที่ผิดฉันทลักษณ์ต่อไปนี้ กรรมการจะไม่นำไปตรวจให้คะแนน

กลอนสื่
๑) ไม่มีสัมผัสระหว่างวรรค
๒) ไม่มีสัมผัสระหว่างบท
๓ ใช้สระเสียงสั้นสัมผัสกับสระเสียงยาวเป็น สัมผัสบังคับ (เช่น ใช้ “ใจ” สัมผัส กับ “กาย”)
๔) แต่งไม่ครบตามจำนวนบทที่กำหนด

กลอนสภาพ
๑) ไม่มีสัมผัสระหว่างวรรค
๒) ไม่มีสัมผัสระหว่างบท
๓) ใช้เสียงท้ายวรรคผิด (ท้ายวรรคที่หนึ่งใช้ได้ทุกเสียงท้ายวรรคที่สองห้ามใช้เสียงสามัญหรือเสียงตรีท้ายวรรคที่สามและท้ายวรรคที่สี่ห้ามใช้เสียงเอกเสียงโท หรือเสียงจัตวา)
) ใช้สระเสียงสั้นสัมผัสกับสระเสียงยาวเป็นสัมผัสบังคับ (เช่น ใช้ “ใจ” สัมผัส กับ “กาย”)

๕) แต่งไม่ครบตามจำนวนบทที่กำหนด

อินทรวิเชียรฉันท์

๑) ไม่มีสัมผัสระหว่างวรรค
๒) ไม่มีสัมผัสระหว่างบท
๓) ใช้สระเสียงสั้นสัมผัสกับสระเสียงยาวเป็นสัมผัสบังคับ (เช่น ใช้ “ใจ” สัมผัส กับ “กาย”)
๔) วางคำครุลหุผิดตำแหน่ง
๕) แต่งไม่ครบตามจำนวนบทที่กำหนด

ประเภทการแข่งขัน การอ่านจับใจความสำคัญ

เกณฑ์การแข่งขันทักษะภาษาไทย โครงการรักษ์ภาษาไทย เนื่องในสัปดาห์วันภาษาไทยแห่งชาติ ปี 2566
เกณฑ์การแข่งขันทักษะภาษาไทย โครงการรักษ์ภาษาไทย เนื่องในสัปดาห์วันภาษาไทยแห่งชาติ ปี 2566 15

การดำเนินการแข่งขันการอ่านจับใจความสำคัญ

๑. การแข่งขันระดับเขตพื้นที่/กองกำกับการ ให้ใช้ข้อสอบตามที่ สพฐ. กำหนด (ชุดที่ ๑) (ข้อสอบปรนัย ๔ ตัวเลือก) จำนวน ๒๐ ข้อ ข้อสอบอัตนัยจำนวน ๕ ข้อ ใช้เวลาแข่งขัน ๑ ชั่วโมง โดยกรรมการระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/กองกำกับการ เป็นผู้ตรวจตามแนวทางเฉลยที่ สพฐ. ส่งให้พร้อมข้อสอบ

๒. นักเรียนที่ชนะเลิศระดับเขตพื้นที่การศึกษา/กองกำกับการ ให้ทำข้อสอบ (ชุดที่ ๒) ที่ สพฐ.กำหนด (ข้อสอบอัตนัย ๑ ข้อ) ใช้เวลาสอบ๑ ชั่วโมง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/กองกำกับการ จัดส่งกระดาษคำตอบของนักเรียนที่ชนะเลิศทางไปรษณีย์ เพื่อให้คณะกรรมการส่วนกลางเป็นผู้ตรวจ ภายใน ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๖หากเกินกำหนดจะถูกตัดสิทธิ์ทันที

เกณฑ์การให้คะแนน
ตรวจตามแนวทางเฉลยที่สพฐ. ส่งให้พร้อมข้อสอบ

ประเภทการแข่งขัน รอบรู้วรรณคดี ตอน ลิลิตตะเลงพ่าย

เกณฑ์การแข่งขันทักษะภาษาไทย โครงการรักษ์ภาษาไทย เนื่องในสัปดาห์วันภาษาไทยแห่งชาติ ปี 2566
เกณฑ์การแข่งขันทักษะภาษาไทย โครงการรักษ์ภาษาไทย เนื่องในสัปดาห์วันภาษาไทยแห่งชาติ ปี 2566 16

การดำเนินการแข่งขันรอบรู้วรรณคดี

๑. การแข่งขันระดับเขตพื้นที่/กองกำกับการ ให้ใช้ข้อสอบตามที่ สพฐ. กำหนด (ชุดที่ ๑) (ข้อสอบปรนัย ๔ ตัวเลือก) จำนวน ๒๐ ข้อ ข้อสอบอัตนัย
จำนวน ๕ ข้อ ใช้เวลาแข่งขัน ๑ ชั่วโมง โดยกรรมการระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/กองกำกับการ เป็นผู้ตรวจตามแนวทางเฉลยที่ สพฐ. ส่งให้พร้อมข้อสอบ

๒. นักเรียนที่ชนะเลิศระดับเขตพื้นที่การศึกษา/กองกำกับการ ให้ทำข้อสอบ (ชุดที่ ๒) ที่ สพฐ.กำหนด (ข้อสอบอัตนัย ๑ ข้อ) ใช้เวลาสอบ๑ ชั่วโมง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
/กองกำกับการ จัดส่งกระดาษคำตอบของนักเรียนที่ชนะเลิศทางไปรษณีย์ เพื่อให้คณะกรรมการส่วนกลางเป็นผู้ตรวจ ภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๖ หากเกินกำหนดจะถูกตัดสิทธิ์ทันที

เกณฑ์การให้คะแนน
ตรวจตามแนวทางเฉลยที่สพฐ. ส่งให้พร้อมข้อสอบ

ดาวน์โหลดเกณฑ์

รายละเอียดเพิ่มเติม :: สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่