แบบทดสอบออนไลน์ หัวข้อ “พรบ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ.2566” รับเกียรติบัตรฟรี โดย กศน.อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย

กศน.อำเภอภูเรือ ขอเชิญร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ ลำดับที่ 44 กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และการเรียนรู้ด้วยตนเอง แบบออนไลน์ ของ ห้องสมุดประชาชนอำเภอภูเรือ กศน.อำเภอภูเรือ สำนักงาน กศน.จังหวัดเลย หัวข้อ “พรบ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ.2566″

เพื่อนักเรียน-นักศึกษา และให้ประชาชน ได้เข้าถึงการอ่านและการเรียนรู้ ผู้ที่ผ่านการประเมินความรู้จะได้รับเกียรติบัตร ส่งทาง E-MAIL ที่ท่านได้ให้ไว้ กรุณาตรวจสอบความถูกต้องของ E-MAIL ก่อนเข้าศึกษาเรียนรู้ และใช้ E-MAIL ของ GMAIL เท่านั้น (แจกวันละ 100 ใบ)

พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 คืออะไร ยกระดับ กศน.เป็นกรมส่งเสริมการเรียนรู้

ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2566 เผยแพร่พระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 60 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป และให้ยกเลิกพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 โดยยกระดับจากสำนักงาน กศน. เป็น “กรมส่งเสริมการเรียนรู้” มีหน้าที่จัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ 3 รูปแบบ คือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง และการเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ

เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา 54 วรรคสาม ประกอบกับมาตรา 258 จ. ด้านการศึกษา (4) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับการศึกษาตามความต้องการในระบบต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และจัดให้มีการร่วมมือกันระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนในการจัดการศึกษา โดยสร้างโอกาสให้ผู้ซึ่งอยู่ในวัยเรียนแต่ไม่ได้รับการศึกษาในโรงเรียน หรือผู้ซึ่งพ้นวัยที่จะศึกษาในโรงเรียนหรืออยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกลหรือทุรกันดาร มีโอกาสเรียนรู้และเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึงและพัฒนาศักยภาพ ทักษะ ความเชี่ยวชาญได้ตามความถนัด สมควรปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยจัดการเรียนรู้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการเรียนรู้ตลอดชีวิต จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

โดยยกระดับจากสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) ให้เป็น “กรมส่งเสริมการเรียนรู้” มีหน้าที่จัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ ดังต่อไปนี้

  1. การเรียนรู้ตลอดชีวิต
  2. การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง
  3. การเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ

การส่งเสริมการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัตินี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคคลให้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เป็นคนดี มีวินัย รู้จักสิทธิควบคู่กับหน้าที่และความรับผิดชอบ ภูมิใจและตระหนักในความสำคัญของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รู้จักความพอเพียง มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ใฝ่เรียนรู้ มีความรอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง มีคุณธรรม และมีความซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งมีสำนึกในความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ มีความเป็นพลเมืองที่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมไทย และสังคมโลกได้อย่างผาสุก กับเพื่อให้บุคคลมีทักษะการเรียนรู้ ทักษะอาชีพ และทักษะชีวิต ที่สอดคล้องและเท่าทันพัฒนาการของโลก และมีโอกาสพัฒนาหรือเพิ่มพูนทักษะของตนให้สูงขึ้นหรือปรับเปลี่ยนทักษะของตนตามความถนัดหรือความจำเป็น

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/140A020N0000000006000.pdf

ตัวอย่างเกียรติบัตร

แบบทดสอบออนไลน์ หัวข้อ พรบ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ.2566 รับเกียรติบัตรฟรี โดย กศน.อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย
แบบทดสอบออนไลน์ หัวข้อ "พรบ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ.2566" รับเกียรติบัตรฟรี โดย กศน.อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย 4

ขอบคุณ :: ห้องสมุดประชาชนอำเภอภูเรือ กศน.อำเภอภูเรือ สำนักงาน กศน.จังหวัดเลย

สรุป พรบ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ.2566

เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ

โดยที่มาตรา 54 วรรคสาม ประกอบกับมาตรา 258 จ. ด้านการศึกษา (4) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้รัฐต้องดำเนินการให้

  • ประชาชนได้รับการศึกษาตามความต้องการในระบบต่าง ๆ
  • รวมทั้งส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  • และจัดให้มีการร่วมมือกันระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนในการจัดการศึกษา
  • โดยสร้างโอกาสให้ผู้ซึ่งอยู่ในวัยเรียนแต่ไม่ได้รับการศึกษาในโรงเรียน
  • หรือผู้ซึ่งพ้นวัยที่จะศึกษาในโรงเรียนหรืออยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกล
  • หรือทุรกันดาร มีโอกาสเรียนรู้และเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึง
  • และพัฒนาศักยภาพ ทักษะ ความเชี่ยวชาญได้ตามความถนัด

สมควรปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยจัดการเรียนรู้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการเรียนรู้ตลอดชีวิต จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

หัวใจสำคัญในมาตรา 5 การส่งเสริมการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัตินี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

  • พัฒนาบุคคลให้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
  • เป็นคนดี มีวินัย รู้จักสิทธิควบคู่กับหน้าที่ และความรับผิดชอบ
  • ภูมิใจ และตระหนักในความสำคัญของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  • รู้จักรักษาประโยชน์ส่วนรวม และของประเทศชาติ
  • รู้จักความพอเพียง มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ใฝ่เรียนรู้ มีความรอบรู้ รอบคอบระมัดระวัง
  • มีคุณธรรม และมีความซื่อสัตย์สุจริต
  • รวมทั้งมีสำนึกในความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
  • มีความเป็นพลเมืองที่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมไทย และสังคมโลกได้อย่างผาสุก
  • กับเพื่อให้บุคคลมีทักษะการเรียนรู้ ทักษะอาชีพ และทักษะชีวิตที่สอดคล้อง และเท่าทันพัฒนาการของโลก
  • และมีโอกาสพัฒนา หรือเพิ่มพูนทักษะของตนให้สูงขึ้น หรือปรับเปลี่ยนทักษะของตนตามความถนัด หรือความจำเป็น

หัวใจสำคัญในมาตรา 6 ให้กรมมีหน้าที่จัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ ดังต่อไปนี้

  1. การเรียนรู้ตลอดชีวิต
  2. การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง
  3. การเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ

นอกจากการจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ตามวรรคหนึ่ง กรมอาจจัดส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ในรูปแบบอื่นที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนได้ ทั้งนี้ ตามประกาศที่รัฐมนตรีกำหนด ประกาศดังกล่าวให้ระบุเป้าหมาย แนวทาง และวิธีการไว้ด้วย

การจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ตามวรรคหนึ่ง และวรรคสองให้คำนึงถึง

  • ความหลากหลาย
  • และความต้องการของผู้เรียน
  • และเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกเพศทุกวัยมีโอกาสเรียนรู้ และเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึง เท่าเทียม และเป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ

การเรียนรู้ตลอดชีวิต

คำจำกัดความในมาตรา 7 การเรียนรู้ตลอดชีวิต มีเป้าหมายเพื่อ

  • จัดให้มีระบบกระตุ้น ชี้แนะ หรืออำนวยความสะดวกด้วยวิธีการใด ๆ ให้บุคคลสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองในเรื่องที่ตนสนใจ หรือตามความถนัดของตน
  • สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ทุกประเภทได้ในเวลาใด ๆ ที่ตนสะดวกโดยไม่มีภาระค่าใช้จ่ายเกินสมควร
  • และเพิ่มพูนความรู้ให้กว้างขวาง รู้เท่าทันพัฒนาการของโลกอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
  • รวมทั้งนำความรู้ไปเติมเต็มชีวิตให้แก่ตนเอง หรือเกิดประโยชน์ต่อสังคม โดยอาจได้รับการรับรองคุณวุฒิตามความเหมาะสมด้วยก็ได้

การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง

ความหมายในมาตรา 9 การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง มีเป้าหมายเพื่อ

  • พัฒนาศักยภาพ ทักษะ และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านตามความถนัดของตน
  • การประกอบอาชีพ
  • การพัฒนาอาชีพ
  • การยกระดับคุณภาพชีวิตของตน ครอบครัว ชุมชน หรือสังคม
  • หรือเพื่อประโยชน์แห่งความรอบรู้ของตน โดยอาจได้รับการรับรองคุณวุฒิตามความเหมาะสม

ในการจัดการเรียนรู้ตามวรรคหนึ่ง ให้มี

  • ระบบแนะแนวการเรียนและการประกอบอาชีพเพื่อให้ผู้เรียน
    • มีโอกาสได้ทราบล่วงหน้า
    • หรือวางแผนให้สอดคล้องกับความถนัดของตนด้วย

การเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ

ความหมายสำคัญในมาตรา 11 การเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ มีเป้าหมายเพื่อ

  • จัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้ซึ่งอยู่ในวัยเรียนแต่ไม่ได้รับการศึกษาในสถานศึกษา
    • หรือผู้ซึ่งพ้นวัยที่จะศึกษาในสถานศึกษา
    • หรืออยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกลหรือทุรกันดาร
    • หรือไม่มีหน่วยงานอื่นใดไปดำเนินการ เพื่อให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ตลอดจนส่งเสริม สนับสนุน เพื่อให้ได้รับการศึกษาสูงกว่าระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามศักยภาพของผู้เรียน

การจัดการเรียนรู้ตามวรรคหนึ่งต้อง

  • ดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ทั้งนี้ โดยให้
    • ปรับอายุ และระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติให้สอดคล้องกับสภาพความจำเป็นของผู้เรียน
    • และให้นำความในมาตรา 9 วรรคสอง มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม

กรมส่งเสริมการเรียนรู้

โครงสร้างแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ตาม ม.27 พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ.2566

พรบ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ.2566
พรบ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ.2566
ที่มา :; พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 ยกระดับ กศน.เป็นกรมส่งเสริมการเรียนรู้ (sobkroo.com)

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่