ทำความรู้จักการประเมินผลการปฎิบัติงาน (Performance Agreement : PA) ในการเลื่อนวิทยฐานะ เกณฑ์ใหม่
ทำความรู้จักการประเมินผลการปฎิบัติงาน (Performance Agreement : PA) ในการเลื่อนวิทยฐานะ เกณฑ์ใหม่

ทำความรู้จักการประเมินผลการปฎิบัติงาน PA (Performance Agreement) ในการเลื่อนวิทยฐานะ เกณฑ์ใหม่

บทความนี้ ครูอาชีพดอทคอมขอแนะนำ การประเมินผลการปฎิบัติงาน (Performance Agreement : PA) ในการเลื่อนวิทยฐานะ เกณฑ์ใหม่ ซึ่งจะใช้ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 เป็นอย่างไร วันนี้เรามาลองศึกษารูปแบบการประเมินแบบใหม่นี้กันครับ

ทำความรู้จักการประเมินผลการปฎิบัติงาน (Performance Agreement : PA) ในการเลื่อนวิทยฐานะ เกณฑ์ใหม่

การประเมินผลการปฎิบัติงาน (Performance Agreement : PA) ถือเป็นเครื่องมือสำคัญขององค์กรที่ช่วยชี้วัดความสำเร็จได้ การประเมินนี้เป็นวิธีการวัดผลทางการปฎิบัติงานของบุคลากรทั้งในเรื่องความสามารถในการทำงานไปจนถึงศักยภาพที่ช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น

Performance Agreement : PA คือระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานที่มุ่งตรงสู่การบรรลุซึ่ง วิสัยทัศน์และพันธกิจ หรือความสำเร็จขององค์กร มีการทำข้อตกลงล่วงหน้าถึงกิจกรรม ตัวชี้วัดที่จะประเมิน ตลอดจนเกณฑ์ผ่าน โดยผู้ประเมินและผู้ถูกประเมินสามารถร่วมกันกำหนด และข้อตกลงต่างๆ ต้องสอดคล้องกับคำบรรยายลักษณะงาน (Job Description) ของตำแหน่งงานนั้น และ สอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงาน/องค์กร

จุดประสงค์ของการประเมินผลการปฎิบัติงาน

1.เพื่อวัดผลศักยภาพการทำงานของบุคลากร

การประเมินผลนี้จะอิงจากคำบรรยายลักษณะงาน (Job Description) ของแต่ละตำแหน่งเป็นหลัก เพื่อทราบว่าบุคลากรปฎิบัติงานได้หรือไม่ ดีกว่าหรือต่ำกว่ามาตรฐานที่วางไว้ ทำได้เกิดหรือขาดจากลักษณะงานมาตรฐาน และอาจทำให้เห็นจุดเด่นของพนักงานแต่ละคนได้มากขึ้น รวมถึงจุดด้อยด้วยเช่นกัน

2.เพื่อเลื่อนตำแหน่งหรือโยกย้าย

หากพบว่าบุคลากรมีศักยภาพสูง ฝ่าย HR อาจเลื่อนตำแหน่งให้เหมาะสมกับความสามารถ หรือท้าทายด้วยการให้ทำงานในตำแหน่งใหม่ๆ กระทั่งอาจจะโยกย้ายไปทำในตำแหน่งอื่นที่จะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรได้เช่นกัน

3.เพื่อปรับฐานเงินเดือนหรือพิจาณาเลื่อนเงินเดือน

ปฎิเสธไม่ได้ว่าเรื่องเงินเดือนเป็นเรื่องที่สำคัญต่อทุกคน และความก้าวหน้าในอาชีพอย่างหนึ่งก็คือการได้รับพิจารณาเลื่อนเงินเดือนนั่นเอง ผลประเมินการทำงานจะนำมาใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการขึ้นเงินได้อย่างสมเหตุสมผล ซึ่งมันสามารถช่วยกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจในการทำงาน และเพิ่มประสิทธิผลของงานได้เช่นกัน

4.เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน

การประเมินผลการทำงานจะทำให้ทุกคนในบริษัทรู้ถึงศักยภาพของตัวเองและรู้ถึงประสิทธิภาพของบริษัทด้วย หากไม่มีการประเมิลผลการทำงานเราอาจไม่รู้ว่าความสามารถของแต่ละคนนั้นเป็นอย่างไร แต่เมื่อเห็นผลแล้วก็จะยิ่งช่วยกระตุ้นการพัฒาศักยภาพให้สูงยิ่งขึ้นต่อไปได้ด้วย

5.เพื่อแก้ไขจุดบกพร่อง พัฒนาจุดเด่น

ประโยชน์หนึ่งของการประเมินผลการทำงานก็คือการที่ทำให้เราได้เห็นจุดด้อยในส่วนต่างๆ ตั้งแต่เรื่องของประสิทธิภาพการทำงาน ไปจนถึงเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์กร ซึ่งเราสามารถนำปัญหาเหล่านี้มาแก้ไขจุดบกพร่องให้ดีขึ้นได้ หรือหากพบจุดเด่นก็อาจช่วยส่งเสริมศักยภาพให้ดีขึ้นไปอีก อย่างเช่น การจัดอบรมพิเศษ, คอร์สเสริมทักษะ, หรือแม้แต่การส่งไปศึกษาต่อ เป็นต้น

ทำความรู้จักการประเมินผลการปฎิบัติงาน (Performance Agreement : PA) ในการเลื่อนวิทยฐานะ เกณฑ์ใหม่
ทำความรู้จักการประเมินผลการปฎิบัติงาน (Performance Agreement : PA) ในการเลื่อนวิทยฐานะ เกณฑ์ใหม่

ขั้นตอนการทำ Performance Agreement

       • ผู้ประเมินกับผู้ถูกประเมินทำข้อตกลงประเมินผลการปฏิบัติงานตั้งแต่ก่อนเริ่มรอบการประเมิน

      • เมื่อผ่านพ้นระยะการประเมินผลการปฏิบัติงาน ผู้ประเมินและ ผู้ถูกประเมิน ร่วมรับรู้ผลการประเมินพร้อมกัน รวมทั้งร่วมกัน วางแผนการพัฒนา/ฝึกอบรมผู้ถูกประเมินเมื่อมีข้อควรพัฒนา

      • ผู้ประเมินกำหนดข้อตกลงการประเมินผลการปฏิบัติงานรอบต่อไปกับผู้ถูกประเมิน โดยควรครอบคลุมจุดที่ควรพัฒนา

ประโยชน์การทำPerformance Agreement

           ผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาสามารถทบทวนลักษณะการปฏิบัติงาน ของผู้ใต้บังคับบัญชา รวมทั้งการจัดสรรปันส่วนงาน เพื่อให้การ ปฏิบัติงานของบุคลากรทั้งหน่วยงานสอดคล้องกับพันธกิจของ หน่วยงาน/องค์กร

      • การทำข้อตกลงการประเมินผลก่อนการประเมินผลจริง โดย ข้อตกลงเป็นที่ยอมรับทั้งผู้ประเมินและผู้ถูกประเมิน รวมทั้ง ข้อตกลงเป็นที่รับรู้ของบุคลากรในหน่วยงาน ส่งผลให้เกิดการ ยอมรับและสร้างความยุติธรรมในหน่วยงาน ผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาสามารถใช้การทำข้อตกลงการ ประเมินผลในการวางแผนพัฒนาบุคลากร รวมทั้งการสรรสร้าง งานใหม่ หรือคุณภาพงานที่เพิ่มขึ้นในหน่วยงาน

      • ในกรณีที่ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงาน 2 หน้าที่ (Dual Position) การทำข้อตกลงการประเมินผลจะทำให้สามารถแบ่งเวลาการ ปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับงาน รวมทั้งมีความแม่นยำมากขึ้นใน การประเมินผลการปฏิบัติงาน

           ประโยชน์ทางอ้อมก็คือ เป็นการสร้างโอกาสการสื่อสารระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา  ที่สำคัญการประเมินหัวหน้างานระดับต่างๆ ในด้านคุณสมบัติภาวะผู้นำ (Leadership)เมื่อได้รับมอบหมายให้ทำข้อตกลงกับ ผู้ใต้บังคับบัญชา (เพื่อประโยชน์ในการจัดทำ Succession Plan ในอนาคต)

ขอบคุณที่มา : มารู้จักการทำ PA กันดีกว่า จากบล็อก โอเคเนชั่น oknation.net (nationtv.tv) | การประเมินผลการปฎิบัติงาน (Performance Appraisal : PA) หนึ่งในเครื่องมือสำคัญขององค์กรที่ประสบผลสำเร็จ | HRNOTE Thailand

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่