ครม. มีมติให้แบน 'กล่องโฟม' เเละพลาสติก 3 ประเภท ห้ามใช้ในประเทศไทยอย่างถาวร ในปี 2565
ครม. มีมติให้แบน 'กล่องโฟม' เเละพลาสติก 3 ประเภท ห้ามใช้ในประเทศไทยอย่างถาวร ในปี 2565

ครม. มีมติให้แบน ‘กล่องโฟม’ เเละพลาสติก 3 ประเภท ห้ามใช้ในประเทศไทยอย่างถาวร ในปี 2565 ตั้งเป้าลดขยะพลาสติกได้ 7.8 เเสนล้านตัน/ปี

เมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2564 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ โดยมีมติให้มีการ ลด-เลิกใช้พลาสติกโดยใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แบบ “ร้อยเปอร์เซ็นต์” หรือหมายถึงการยกเลิกใช้อย่างสิ้นเชิง ภายในปี 2565 สำหรับพลาสติก 4 ประเภทดังนี้

1. ถุงพลาสติกหูหิ้วแบบบาง ความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน

2. กล่องโฟมบรรจุอาหาร ไม่รวมถึงโฟมที่ใช้กันกระแทกในภาคอุตสาหกรรม

3. แก้วพลาสติกแบบบาง ความหนาน้อยกว่า 100 ไมครอน

4. หลอดพลาสติก ยกเว้นการใช้กรณีจำเป็น ได้แก่ การใช้ในเด็ก คนชรา ผู้ป่วย เป็นต้น

มาตรการ มีรายละเอียดดังนี้ 

1. มาตรการลดการเกิดขยะพลาสติก ณ แหล่งกำเนิด โดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญในการป้องกันและควบคุมการเกิดของเสียตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต โดยการออกแบบ/ผลิตสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco-design) ลดปริมาณสารพิษในผลิตภัณฑ์ เลือกใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการ รับผิดชอบของเสียที่เกิดจากสินค้าของตนเอง ผลักดันให้มีการปรับปรุงพัฒนามาตรฐานการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ การพัฒนาระบบฉลากสิ่งแวดล้อม การพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมพลาสติก และมีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลพลาสติกให้เป็นมาตรฐานเดียวกันที่สามารถเชื่อมโยงทั้งประเทศ

2. มาตรการลด เลิกใช้พลาสติก ณ ขั้นตอนการบริโภค โดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญในการส่งเสริมการบริโภคที่ยั่งยืน โดยเสริมสร้างจิตสำนึกของประชาชนในการบริโภคที่เหมาะสม โดยเฉพาะการลด เลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (SUP) ที่มีผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม และไม่สามารถนำกลับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

3. มาตรการจัดการขยะพลาสติกหลังการบริโภค โดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ส่งเสริมให้ประชาชนลด และคัดแยกขยะ ส่งเสริมให้มีการนำขยะพลาสติกมาผลิตเชื้อเพลิงขยะ (Refuse Derived Fuel : RDF) การส่งเสริมให้อุตสาหกรรมบางประเภทต้องใช้ซ้ำหรือรีไซเคิลพลาสติก และจัดหาเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จากขยะพลาสติกอย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ตามแผนการดังกล่าว คาดว่า จะสามารถช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกได้ 780,000 ล้านตัน / ปี และลดงบประมาณการกำจัดขยะมูลฝอย 3900 ล้านบาท/ปี รวมถึงประยัดพื้นที่ฝังกลบ และกำจัดขยะมูลฝอยพลาสติก 2,500 ไร่ และลดปริมาณปล่อยก๊าซเรือนกระจก เทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ 1.2 ล้านตัน

ขอบคุณที่มาของข่าว : Facebook Korat Next Step | เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ 15 กุมภาพันธ์ 2564

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่