รมว.ศธ.ชู 3 แนวทางขับเคลื่อนการศึกษาไทยก้าวไปข้างหน้า
รมว.ศธ.ชู 3 แนวทางขับเคลื่อนการศึกษาไทยก้าวไปข้างหน้า

รมว.ศธ.ชู 3 แนวทางขับเคลื่อนการศึกษาไทยก้าวไปข้างหน้า

รมว.ศธ.ชูการศึกษายกกำลังสอง ร่วมพลิกประวัติศาสตร์ขับเคลื่อนการศึกษาไทยก้าวไปข้างหน้า ยก ‘ภูเก็ต-สมุทรสงคราม’ โมเดลยกระดับการศึกษาให้เท่าเทียม

รมว.ศธ.ชู 3 แนวทางขับเคลื่อนการศึกษาไทยก้าวไปข้างหน้า
รมว.ศธ.ชู 3 แนวทางขับเคลื่อนการศึกษาไทยก้าวไปข้างหน้า

นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบนโยบายในการประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ครั้งที่ 11/2563 โดยนายเอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธาน กพฐ. รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า นโยบายการศึกษายกกำลังสอง ของกระทรวงศึกษาธิการ ที่จะดำเนินการขับเคลื่อนในปีงบประมาณ พ.ศ.2564-2565 จะเป็นการพลิกประวัติศาสตร์ในการขับเคลื่อนการศึกษาไทยก้าวไปข้างหน้าอย่างแท้จริง ทุกคนในที่นี้ย่อมทราบปัญหาที่ผ่านมาของการศึกษาเป็นอย่างดี และหาแนวทางช่วยกันแก้ไขร่วมกันมาตลอด แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เราไม่ได้มีการลงมือทำ หรือยังลงมือทำไม่เต็มที่

ดังนั้น หากทุกภาคส่วน กล้าที่จะแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ถึงแม้จะรู้ว่ามีผลกระทบในด้านลบบ้าง แต่เราก็ต้องเดินหน้าหาแนวคิดวิธีการที่ให้ผลกระทบแก่ทุกภาคส่วนน้อยที่สุด โดยสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก คือ “เด็กและเยาวชน”

ทั้งนี้ ได้เล็งเห็นปัญหาที่สำคัญที่สุด คือ การยกระดับการศึกษาให้เท่าเทียมกัน ศธ.จึงจะนำร่องที่จังหวัดภูเก็ตและสมุทรสงคราม เพื่อวางพื้นฐาน 3 แนวทางที่สำคัญ คือ

1. การควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก เพื่อสร้างโรงเรียนคุณภาพให้ชุมชน

2. เพิ่มการลงทุนเพื่อยกระดับโรงเรียน สำหรับโรงเรียนที่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ (ทั้ง Stand Alone: โรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนไม่เกิน 120 คน มีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เป็นข้อจำกัด สภาพพื้นที่ห่างไกล/เป็นเกาะพื้นที่สูง และโรงเรียนขนาดกลาง)

3. พัฒนาโรงเรียนดีสี่มุมเมือง เพื่อลดความหนาแน่นของจำนวนนักเรียน เนื่องจากโรงเรียนที่มีมาตรฐานสูงส่วนมาก จะตั้งอยู่ในอำเภอเมือง

หลังจากนี้ จะหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัดและคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) เพื่อนำโมเดลของจังหวัดภูเก็ตและสมุทรสงคราม มาปฏิบัติเป็นต้นแบบ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะรับนโยบายไปดำเนินการสร้างโมเดลให้ครบทุกจังหวัด พร้อมรับฟังความคิดเห็นจากทุกพื้นที่ เพราะบริบทของแต่ละจังหวัดไม่เหมือนกัน

อย่างไรก็ตาม ยังมีความกังวลถึงความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข ฯลฯ ว่าจะมีการบูรณาการทำงานร่วมกันอย่างไรในพื้นที่ ดังนั้นทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องเอารายละเอียดในส่วนที่รับผิดชอบมาคุยกัน

ทั้งนี้ อยากให้ดำเนินการโดยเร็วที่สุด เพื่อจะได้มีการวางแผนงบประมาณประจำปี 2565 และจัดทำแผนการยกระดับคุณภาพของจังหวัดด้านการศึกษา ให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

ต้องยอมรับว่าระบบการศึกษาไทย มีโครงสร้างที่ใหญ่เกินไป และใช้ไม้บรรทัดเพียงอันเดียว วัดมาตรฐานการศึกษาทั้งระบบมาอย่างยาวนาน ส่งผลให้การวางแผนเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ไม่ทันต่อเหตุการณ์ที่โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งที่แท้จริงแล้วนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษามีศักยภาพ และมีความพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง เพียงแต่ต้องสร้างสิ่งแวดล้อม และระบบการศึกษาให้ตอบโจทย์ เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ทุกคนสามารถประสบความสำเร็จในแบบฉบับของตนเอง ด้วยวิธีการปลดล็อก-สิ่งที่กีดขวาง ปรับเปลี่ยน-ทัศนคติ เปิดกว้าง-ในสิ่งที่ไม่เคยทำ

ขอบคุณที่มาและอ่านต่อที่ : เว็บไซต์ ศธ 360 องศา วันที่ 13 พฤศจิกายน 2563

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่