สพฐ.ยกระดับสมรรถนะดิจิทัล (DC) สำหรับครูและบุคลกรทางการศึกษา 7 ขั้น
สพฐ.ยกระดับสมรรถนะดิจิทัล (DC) สำหรับครูและบุคลกรทางการศึกษา 7 ขั้น

สพฐ.ยกระดับสมรรถนะดิจิทัล (DC) สำหรับครูและบุคลกรทางการศึกษา 7 ขั้น

สพฐ.ยกระดับสมรรถนะดิจิทัล (DC) สำหรับครูและบุคลกรทางการศึกษา 7 ขั้น
สพฐ.ยกระดับสมรรถนะดิจิทัล (DC) สำหรับครูและบุคลกรทางการศึกษา 7 ขั้น

วันที่ 9 เมษายน 2564 นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) พร้อมด้วยผู้บริหารของ สพฐ. ร่วมประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งที่ 4/2564 ณ ห้องประชุม สพฐ. 1 อาคาร สพฐ. 4 ชั้น 2 กระทรวงศึกษาธิการ โดยมี นายเอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในการประชุม เพื่อหารือข้อราชการและติดตามความคืบหน้าในการดำเนินงานของ สพฐ.

โดยมีหัวข้อการประชุมที่น่าสนใจ อาทิ การประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานนอกสถานที่ (กพฐ. สัญจร) การดำเนินงานตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ความก้าวหน้าการพัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน การกำหนดระดับสมรรถนะดิจิทัล (Digital Competency : DC) สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมถึงเรื่องของการรวมสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และการเลิกขยายชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นต้น

การกำหนดระดับสมรรถนะดิจิทัล (Digital Competency : DC) สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งร่างออกมาได้เป็น 3 ระดับ คือระดับขั้นพื้นฐาน ขั้นกลาง และขั้นสูง โดยขั้นพื้นฐานจะมี 3 ขั้น ขั้นกลาง 2 ขั้น ขั้นสูง 2 ขั้น รวมทั้งสิ้นเป็น 7 ขั้น ซึ่งในแต่ละระดับต้องมีสมรรถนะที่จำเป็นใน 3 ด้าน คือ ความรู้ ทักษะ และการประยุกต์ใช้

โดยทาง กพฐ. ได้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา และทำการยกร่างตัวนี้จนเสร็จเรียบร้อย ต่อไปก็จะมีการกำหนดว่าในแต่ละระดับต้องมีสมรรถนะที่จำเป็นมากน้อยอย่างไร แล้วจะยกระดับขึ้นไปเรื่อยๆ ส่วนครูก็จะมี 2 กลุ่ม คือครูที่สอนทางด้านคอมพิวเตอร์และครูที่สอนวิชาทั่วไป ซึ่งหากสามารถทำได้ก็จะช่วยให้ครูในปัจจุบันและครูในอนาคต อย่างเช่นคณะครุศาสตร์หรือคณะศึกษาศาสตร์ที่ผลิตครู สามารถจัดเตรียมนักศึกษาที่เรียนทางด้านครู ให้มุ่งเน้นเข้าไปสู่ทักษะดังกล่าวนี้ได้เลย และยังสามารถเข้ารับการทดสอบที่ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (ศูนย์ HCEC) ของกระทรวงศึกษาธิการได้ และหากเป็นครูที่ยังเรียนอยู่ในระบบยังไม่จบปริญญาตรี สามารถไปเข้ารับการทดสอบแล้วเชื่อมโยงระดับกับวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาของคุรุสภาได้ หากผ่านการทดสอบของกระทรวงฯแล้ว ไม่จำเป็นต้องสอบของคุรุสภาซ้ำอีก สามารถใช้แทนกันได้เลย” ประธาน กพฐ. กล่าว

ขอบคุณที่มา : Facebook ประชาสัมพันธ์ สพฐ.

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่