ดาวน์โหลดแบบ PA4 เช็คแผนการจัดการเรียนรู้ให้ครบ 8 ตัวชี้วัดตามเกณฑ์ PA ก่อนส่งเข้าระบบ DPA
ดาวน์โหลดแบบ PA4 เช็คแผนการจัดการเรียนรู้ให้ครบ 8 ตัวชี้วัดตามเกณฑ์ PA ก่อนส่งเข้าระบบ DPA

ดาวน์โหลดแบบ PA4 เช็คแผนการจัดการเรียนรู้ให้ครบ 8 ตัวชี้วัดตามเกณฑ์ PA ก่อนส่งเข้าระบบ DPA

ครูอาชีพเชิญชวนคุณครูดาวน์โหลดแบบ PA4 เช็คแผนการจัดการเรียนรู้ให้ครบ 8 ตัวชี้วัดตามเกณฑ์ PA ก่อนส่งเข้าระบบ DPA แบบประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ ซึ่งกรรมการใช้ประเมินแผนการสอนของคุณครู นำมาประเมินตนเองเช็คแผนการจัดการเรียนรู้ให้ครบ 8 ตัวชี้วัดตามเกณฑ์ PA ก่อนส่งเข้าระบบ DPA ดาวน์โหลดไฟล์รวมแบบฟอร์ม PA1-PA5 (*.doc) แก้ไขได้ ออกแบบการสอน ตาม ว.PA อย่าลืมเหลียวดูผลลัพธ์ตามเกณฑ์ ถ้าเราออกแบบการสอนโดยให้นักเรียนแสวงหาคำตอบด้วยตนเองโดยมีครูคอยเป็นผู้อำนวยความสะดวก หรือกิจกรรมตามแนวคิด active learning นั่นแหละคือการสอนที่ต้องการให้เกิดตาม 8 ตัวชี้วัดของการประเมินแต่สิ่งสำคัญที่หลายคนไม่ค่อยกล่าวถึงมากนักคือผลลัพธ์การเรียนรู้ อีก 4 ด้านที่จำเป็นจะต้องประเมินประกอบกับ 8 ตัวชี้วัดข้างต้น จะทำยังไง

!!!ความท้าทายคือเราจะออกแบบยังไงให้มันแสดงผลลัพธ์ ดังกล่าว

ตัวอย่างเช่น ด้านความสามารถในการเรียนรู้ (cognitive ability) ที่ประกอบด้วยเกณฑ์ 1)ความยืดหยุ่นในการคิดหรือการคิดเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ 2)ความคิดสร้างสรรค์หรือการคิดเชิงนวัตกรรม 3) กระบวนการสืบเสาะหาความหมาย หรือกระบวนการตัดสินใจ 4) กระบวนการคิดเชิงเหตุผล หรือการให้เหตุผลเชิงตรรกะ 5) กระบวนการคิดเชิงระบบ (ถ้ามีโอกาสก็หาเวลาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องนี้กันครับ)

ในเกณฑ์การประเมินต้องเห็นผลลัพธ์ทั้งหมดถึงจะได้ คะแนนเต็ม ซึ่งเป็นความท้าทายของการออกแบบ กระบวนการเหล่านี้จำเป็นต้องถูกนำมาออกแบบด้วยในการสอน อาจทำได้หลายวิธีดังนี้

  1. กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์ในแผน
  2. กำหนดผลลัพธ์ให้ชัดเจนพร้อมเครื่องมือประเมิน
  3. อาจนำผลลัพธ์เหล่านี้มาเป็นแนวทางการออกแบบการสอน เช่น นำแนวกระบวนการของการคิดเชิงนวัตกรรมมาออกแบบการสอน

ที่มา :: Chowwalit Chookhampaeng

แบบประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ ตำแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ

ดาวน์โหลดแบบ PA4 เช็คแผนการจัดการเรียนรู้ให้ครบ 8 ตัวชี้วัดตามเกณฑ์ PA ก่อนส่งเข้าระบบ DPA
ดาวน์โหลดแบบ PA4 เช็คแผนการจัดการเรียนรู้ให้ครบ 8 ตัวชี้วัดตามเกณฑ์ PA ก่อนส่งเข้าระบบ DPA
ดาวน์โหลดแบบ PA4 เช็คแผนการจัดการเรียนรู้ให้ครบ 8 ตัวชี้วัดตามเกณฑ์ PA ก่อนส่งเข้าระบบ DPA

ด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน

ตัวชี้วัดที่ 1 ผู้เรียนสามารถ เข้าถึงสิ่งที่เรียนและเข้าใจบทเรียน

เกณฑ์การพิจารณาผลการปฏิบัติคะแนน
    1) เนื้อหา(content) หรือมโนทัศน์ที่จัดให้ผู้เรียนเรียนรู้หรือฝึกฝน มีความถูกต้องและตรงตามหลักสตูร
     2) ออกแบบและจัดโครงสร้างบทเรียนเป็นระบบและใช้เวลาเหมาะสม.
     3) ใช้สื่อประกอบบทเรียนได้เหมาะสมและช่วยในการเรียนรู้บรรลุวัตถุประสงค์ ของบทเรียน
     4) แสดงให้เห็นถึงการริเริ่มออกแบบโครงสร้าง กิจกรรมหรือสื่อการเรียนใหม่ ๆ ในบทเรียน
     5) แสดงให้เห็นถึงการริเริ่มออกแบบโครงสร้าง กิจกรรม หรือสื่อการเรียนใหม่ ๆ ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน (มีบันทึกหลังการสอน)  
 

          ตัวชี้วัดที่ 2 ผู้เรียนสามารถ เชื่อมโยงความรู้หรือประสบการณ์เดิมกับการเรียนรู้ใหม่

เกณฑ์การพิจารณาผลการปฏิบัติคะแนน
    1) มีการทบทวนความรู้ ทักษะ หรือประสบการณ์เดิม เช่น การใช้คําถาม แบบฝึก หรือกิจกรรม ฯลฯ
    2) มีการเข้าถึงผู้เรียนที่ยังไม่พร้อมที่จะเรียนรู้ใหม่
    3) มีการช่วยเหลือผู้เรียนที่ยังมีความรู้ ทักษะ หรือประสบการณ์เดมิ ไม่เพียง พอที่จะเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ใหม่ เช่น การอธิบาย ยกตัวอย่าง การใช้คําถาม เกม หรือกิจกรรม ฯลฯ
    4) แสดงให้เห็นถึงการริเริ่มใช้วิธีการใหม่ๆให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือประสบการณ์เดิมกับการเรียนรู้ใหม่
    5) แสดงให้เห็นถึงการใช้วิธีการใหม่ ๆ ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือประสบการณ์เดิมกับการเรียนรู้ใหม่ (มีบันทึกหลังการสอน)  
 

          ตัวชี้วัดที่ 3 ผู้เรียนได้สร้างความรู้เอง หรือได้สร้างประสบการณ์ใหม่จากการเรียนรู้

เกณฑ์การพิจารณาผลการปฏิบัติคะแนน
    1) ออกแบบงานหรือกิจกรรมให้ผู้เรียนสร้างความรู้หรือประสบการณ์ใหม่อย่างเหมาะสมกับวัย สภาพ และบริบทของผู้เรียนและชั้นเรียน
    2) ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมที่ต้องใช้ความรู้หรือทักษะหลากหลาย
    3) ใช้เทคนิคให้ผู้เรียนสรุปความรู้หรือประสบการณ์ใหม่ด้วยตนเอง เช่น แผนที่ความคิด ตารางวิเคราะห์ การทดลองปฏิบัติ การนำเสนอ ฯลฯ
    4) แสดงให้เห็นถึงการริเริ่มใช้วิธีการใหม่ ๆ ให้ผู้เรียนสร้างความรู้หรือได้ประสบการณ์ใหม่จากการเรียนรู้ด้วยตนเอง
    5) แสดงให้เห็นถึงการใช้วิธีการใหม่ๆ ส่งผลให้ผู้เรียนสร้างความรู้หรือได้ประสบการณ์ใหม่จากการเรียนรู้ด้วยตนเอง (มีบันทึกหลังการสอน)
 

          ตัวชี้วัดที่ 4 ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้

เกณฑ์การพิจารณาผลการปฏิบัติคะแนน
    1) กิจกรรมการเรียนรู้เชื่อมโยงสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน บริบทชุมชน หรือสภาพจริงของผู้เรียน
    2) วิธีการหรือกิจกรรมการเรียนรู้ มีความท้าทายและมีระดับความยากง่ายเหมาะสมกับวัย สภาพ และพัฒนาการของผู้เรียน
    3) ผู้เรียนมีโอกาสสะท้อนการเรียนรู้ นำเสนอความสำเร็จ หรืออธิบายข้อผิดพลาดหรือความล้มเหลวที่เกิดขึ้น
     4) แสดงให้เห็นถึงการริเริ่มใช้วิธีการใหม่ ๆ ในการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้
    5) แสดงให้เห็นถึงการใช้วิธีการใหม่ ๆ ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ (มีบันทึกหลัง  การสอน)
 

          ตัวชี้วัดที่ 5 ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญจากการเรียนรู้

เกณฑ์การพิจารณาผลการปฏิบัติคะแนน
    1) ผู้เรียนได้ฝึกทักษะต่าง ๆ ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้
    2) ผู้เรียนได้บูรณาการทักษะต่าง ๆ ลงสู่การปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้
    3) ผู้เรียนได้ประยุกต์ใช้ทักษะที่ได้รับการพัฒนาในสถานการณ์หรือการแก้ปัญหาใหม่ ๆ
    4) แสดงให้เห็นถึงการริเริ่มใช้วิธีการใหม่ ๆ ในการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญให้กับผู้เรียน
    5) แสดงให้เห็นถึงการใช้วิธีการใหม่ ๆ ส่งผลให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญ      (มีบันทึกหลังการสอน)
 

          ตัวชี้วัดที่ 6 ผู้เรียนได้รับข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้

เกณฑ์การพิจารณาผลการปฏิบัติคะแนน
    1) มีการสังเกตหรือค้นหาข้อผิดพลาดในการปฏิบัติหรือมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนของผู้เรียนในระหว่างการเรียนรู้
    2) มีการประเมินผลระหว่างการเรียนรู้โดยใช้วิธีการที่เหมาะสม เช่น การใช้คำถามแบบทดสอบ การปฏิบัติ ฯลฯ
    3) มีการนำผลการสังเกต หรือผลการค้นหา หรือผลการประเมินระหว่างเรียนรู้สะท้อนกลับให้ผู้เรียน
    4) แสดงให้เห็นถึงการริเริ่มใช้วิธีการใหม่ ๆ ในการให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนปรับปรุงการเรียนรู้
    5) แสดงให้เห็นถึงการใช้วิธีการใหม่ ๆ ส่งผลให้ผู้เรียนมีการปรับปรุงการเรียนรู้ (มีบันทึกหลัง   การสอน)
 

          ตัวชี้วัดที่7 ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ในบรรยากาศชั้นเรียนที่เหมาะสม

เกณฑ์การพิจารณาผลการปฏิบัติคะแนน
    1) ผู้เรียนได้รับแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษา พฤติกรรมแสดงออก และเจตคติจากครูผู้สอน
    2) กระตุ้นให้ผู้เรียนมั่นใจ มีอิสระในการคิดหรือทดลอง และรับรู้ความสามารถของตนเอง
    3) ใช้สื่อการเรียนหรือตัวอย่างประกอบที่หลากหลาย และกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ เปรียบเทียบจากสื่อการเรียนหรือตัวอย่างเหล่านั้น
    4) แสดงให้เห็นถึงการริเริ่มใช้วิธีการใหม่ ๆ ในการสร้างบรรยากาศชั้นเรียน
    5) แสดงให้เห็นถึงการใช้วิธีการใหม่ ๆ สามารถสร้างบรรยากาศชั้นเรียนที่ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน (มีบันทึกหลังการสอน)
 

          ตัวชี้วัดที่ 8 ผู้เรียนสามารถกำกับการเรียนรู้และมีการเรียนรู้แบบนำตนเอง

เกณฑ์การพิจารณาผลการปฏิบัติคะแนน
    1) ผู้เรียนได้รับโอกาสในการกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้หรือการลงมือปฏิบัติ
    2) ผู้เรียนได้ประเมินตนเองหรือถูกเพื่อนประเมินในระหว่างเรียนหรือเมื่อจบบทเรียน
    3) ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นหรือการมอบหมายงานให้ศึกษา ค้นคว้า ฝึกฝน หรือเรียนรู้ต่อเนื่องเพิ่มเติมภายหลังจบบทเรียน
    4) แสดงให้เห็นถึงการริเริ่มใช้วิธีการใหม่ ๆ ให้ผู้เรียนกำกับการเรียนรู้และมีการเรียนรู้แบบนำตนเอง
    5) แสดงให้เห็นถึงการใช้วิธีการใหม่ ๆ ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถกำกับการเรียนรู้และมีการเรียนรู้แบบนำตนเอง (มีบันทึกหลังการสอน)
 

ตัวชี้วัดที่ 2 ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อน ถึงการได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐาน (Basic Skills)                        ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน

เกณฑ์การพิจารณาผลการปฏิบัติคะแนน
    1) ทักษะการสื่อสารโดยการพูด การเขียน หรือการแสดงออกในรูปแบบอื่น ๆ
    2) ทักษะการนำเสนออย่างเป็นระบบ น่าสนใจ
    3) ทักษะการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการเรียนหรือการฝึก
    4) ความคล่องแคล่ว หรือความชำนาญ หรือความถูกต้องในการคิดหรือการปฏิบัติ
    5) ทักษะการออกแบบและการวางแผน
 

          ตัวชี้วัดที่ 3 ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนถึงความสามารถ ในการเรียนรู้ (Cognitive Abilities)                      ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน

เกณฑ์การพิจารณาผลการปฏิบัติคะแนน
    1) ความยืดหยุ่นในการคิด หรือการคิดเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ
    2) ความคิดสร้างสรรค์ หรือการคิดเชิงนวัตกรรม
    3) กระบวนการสืบเสาะหาความหมาย หรือกระบวนการตัดสินใจ
    4) กระบวนการคิดเชิงเหตุผล หรือการให้เหตุผลเชิงตรรกะ
     5) กระบวนการคิดเชิงระบบ
 

          ตัวชี้วัดที่ 4 ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนถึงการบูรณาการทักษะในการทำงาน                                            (Cross – functional Skills) ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน

เกณฑ์การพิจารณาผลการปฏิบัติคะแนน
    1) ทักษะกระบวนการ เช่น การวางแผน การวิเคราะห์วิจารณ์ การกำกับตนเอง การทดลองปฏิบัติ การนำเสนอความคิด
    2) ทักษะทางสังคม เช่น การทำงานร่วมกับผู้อื่น การโน้มน้าว การเจรจา การบริการ การสอนหรือฝึกผู้อื่น
    3) ทักษะการจัดการ เช่น การจัดการเวลา การจัดการทรัพยากรการจัดการทีมทำงาน
    4) ทักษะเฉพาะทาง เช่น ทักษะทางกายภาพ การเคลื่อนไหว การใช้กล้ามเนื้อ ดนตรี กีฬา หรือทักษะเฉพาะทางตามลักษณะรายวิชาหรือสาระการเรียนรู้
    5) ทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน เช่น การแก้ปัญหาที่ต้องใช้ทักษะหลากหลายการแก้ปัญหาหลายขั้นตอน การแก้ปัญหาที่ต้องใช้ความร่วมมือจากผู้อื่น การแก้ปัญหาเชิงซ้อนหลายระดับ
 

ดาวน์โหลดไฟล์

PA4 แบบประเมินต่ำแหน่งและวิทยฐานะ ตำแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการ
PA4 แบบประเมินต่ำแหน่งและวิทยฐานะ ต่ำาแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
PA4 แบบประเมินต่ำแหน่งและวิทยฐานะ ต่ำแหน่งครู วิทยฐานะเชี่ยวชาญ
PA4 แบบประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ ต่ำแหน่งครู วิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ

ที่มา :: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา – ก.ค.ศ., สำนักงาน ก.ค.ศ., ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, (otepc.go.th)

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่