เข้าใจง่าย สรุปขั้นตอนการทำ PA ครบกระบวนการ ตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงการประเมิน ขอบคุณ Cr. Krukaew
เข้าใจง่าย สรุปขั้นตอนการทำ PA ครบกระบวนการ ตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงการประเมิน ขอบคุณ Cr. Krukaew

เข้าใจง่าย สรุปขั้นตอนการทำ PA ครบกระบวนการ ตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงการประเมิน ขอบคุณ Cr. Krukaew

โดยภาพรวม มีข้อสรุปขั้นตอนการทำ PA การประเมิน PA มีการดำเนินการดังนี้

7 ขั้นตอนการจัดทำ PA รายปีและการประเมิน PA รายปีมีดังนี้ สำหรับทุกคน และสำหรับผู้ต้องการเพียงคงวิทยฐานะ

  1. ทำ PA กับ ผอ.โรงเรียน 3 ส่วนหลัก คือ ชั่วโมงการปฏิบัติงาน การดำเนินการตาม 3 ด้าน 15 ตัวชี้วัด และประเด็นท้าทาย
    ณ วันที่ 1 ตุลาคม ของทุกปี ไม่มียกเว้น ครู คศ.1 ขึ้นไปทุกคน ต้องทำทุกปีงบประมาณ จนกว่าเกณฑ์จะเปลี่ยนไป
  2. เก็บงาน 15 ตัวชี้วัด ตลอดปีงบประมาณ (1 ต.ค.- 30 ก.ย. ปีถัดไป) และ ดำเนินการในประเต็นท้าทายให้บรรลุเป้าหมาย
  3. สิ้นปีงบประมาณ (หลัง 30 ก.ย.ของแต่ละปี) ขอรับการประเมิน PA รายปี ต่อ ผอ.โรงเรียน
  4. ผอ.รร.ประกาศแต่งตั้งกรรมการประเมิน โดยมี ผอ.เป็นประธานการประเมินทุกคณะ (หากมีการแต่งตั้งหลายคณะ) และ
    บุคคลซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกอีก 2 คน ประกอบด้วย ศน.ชกพ. หรือ ผศ. หรือ ครู ชกพ. หรือผู้ทรงฯนอกสถานศึกษา
    (ผู้ทรงฯนอกสถานศึกษา อาจเป็นครูหรือ ผอ.ที่เกษียณ หรือ ผอ. หรือ รอง ผอ.ต่างโรงเรียน และควรมีวิทยฐานะ ชกพ)
  5. คณะกรรมการ ดำเนินการประเมิน โดยอาจสังเกตการสอนและการตรวจสอบเอกสารประกอบ หรือดูสภาพจริงในห้องเรียน
  6. กรรมการให้คะแนน ต้องได้ 70 คะแนนขึ้นไป จากกรรมการแต่ละคน จึงจะถือว่าผ่านการประเมิน PA รายปี
  7. เมื่อเสร็จสิ้นมีผลการประเมินแล้ว ผอ.นำผลการประเมินเข้าในระบบ DPA ทุกปี งบประมาณ
    ปล. การประเมินรายปี ไม่ต้องจัดทำคลิปวีดีโอใดๆ เพียงดำเนินการตามขั้นตอน 1-7 ก็มีชีวิตรอดกับ PA รายปี

8 ขั้นตอนการขอมีหรือขอเลื่อนวิทยฐานะ ในรูปแบบ PA มีดังนี้

  1. ตรวจสอบคุณสมบัติตัวเองว่า ครอง คศ.นั้น ครบ 4 ปี (หรือ 3 ปีหากลดเวลาได้) มีผลการประเมินผ่าน 3 รอบ (2 รอบหาก
    ลดเวลาได้) และไม่ถูกลงโทษทางวินัยมากกว่าภาคทัณฑ์ (หากถูกลงโทษมากกว่านั้น ผลการประเมินปีนั้นไม่ให้ใช้ ให้ใช้ปี
    ก่อนหน้าหรือหลังจากนั้น และต้องมีผลการประเมิน ครบตามกำหนด 3 รอบ หรือ 2 รอบแล้วแต่กรณี)
  2. รวบรวมผลการประเมิน 2 หรือ 3 รอบแล้วแต่กรณี หากอยู่ในช่วงเชื่อมต่อ ให้ใช้ผลการประเมินใน ว.17 หรือ ว.21
    เชื่อมต่อได้แล้วแต่กรณี แต่ต้องมีผลการประเมิน PA อย่างน้อย 1 ปี และจัดทำเป็น PDF
  3. จัดทำแผนการสอนที่ดีที่สุด 1 แผน และทำเป็น PDF
  4. นำแผนการสอนไปสอน และบันทึกคลิปวีดีโอการสอนไว้ 1 คลิป ห้ามตัดต่อ มีข้อสังเกตพิเศษคือ เมื่อเข้าปีที่ 4 ของรอบปี
    ที่ครอง คศ.นั้น ก็ให้ดำเนินการบันทึกคลิปวีดีโอการสอน เตรียมการสอนในแต่ละชั่วโมงให้ดี โดยเลือก 1 วิชาที่ถนัด แล้ว
    เตรียมการสอนใน 1 ชั่วโมง วางแผนการสอนให้ดี และสอนตามชั้นตอนที่วางแผนไว้ เมื่อสอนบ่อยขึ้น บันทึกคลิปวีดีโอให้
    บ่อยขึ้นก็จะเกิดความคุ้นเคย หลังจากนั้นก็คัดเลือกคลิปการสอนที่ดีที่สุดแล้วปรับแผนให้สอดรับกันกับการสอนในครั้งนั้น
    ก็จะเป็นอีกวิธีหนึ่งในการพัฒนาการสอน และการบันทึกวีดีโอการสอนที่ไม่ต้องสอนแผนเดียวซ้ำๆ
  5. จัดทำคลิปวีดีโอแสดงปัญหาหรือแรงบันดาลใจที่เป็นเหตุให้สอนใน 1 ชั่วโมงนั้น ไม่เกิน 10 นาที แทรกภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวได้แต่ห้ามตัดต่อ
  6. เก็บผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน หรือผลงานนักเรียนที่เกิดจาการสอนใน 1 ชั่วโมงนั้น ไม่เกิน 3 ไฟล์ หากเป็นคลิปวีดีโอได้
    ไม่เกิน 1 คลิป ตัดต่อได้ แทรกคำบรรยายได้ หรือหากเป็นไฟล์ PDF ไม่เกิน 10 หน้า หรือ เป็นไฟล์ภาพ ไม่เกิน 6 ภาพต่อ
    หน้า และไม่เกิน 10 หน้า
  7. จัดทำคำขอมีหรือขอเลื่อนวิทยฐานะ
  8. นำข้อมูลข้อ 2-7 เข้าระบบ DPA แล้วรอฟังเขตฯ กับ ศธจ.ว่าให้แก้ไขข้อมูลหรือไม่ หากให้แก้ตรงไหนก็อัพข้อมูลเข้าไปใหม่
    หากไม่แก้ไขแล้วก็รอฟังผลการประเมิน/หากผ่านก็เตรียมทำวิทยฐานะที่สูงขึ้นไป/หากไม่ผ่าน ก็จัดทำและส่งข้อ 2-7 ใหมใน
    ภาคเรียนถัดไป จนกว่าจะผ่าน
เข้าใจง่าย สรุปขั้นตอนการทำ PA ครบกระบวนการ ตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงการประเมิน ขอบคุณ Cr. Krukaew
เข้าใจง่าย สรุปขั้นตอนการทำ PA ครบกระบวนการ ตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงการประเมิน ขอบคุณ Cr. Krukaew

ตรวจสอบว่าท่านต้องทำอย่างไร ขั้นตอนใด หากพบข้อคำถาม แจ้งข้อมูลท่าน ผ่าน เพจ Krukaew ได้ครับ
ศน.วี กับทฤษฎีสอนแท้แท้ Facebook : SNV Sanumit อินบ๊อคมาได้ครับ หรือ 0892626687 หลัง 16.30 น.

ขอบคุณที่มา :: Facebook Krukaew

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่