ตัวอย่างไฟล์ เขียนย้ายครู ปี 66 ตัวชี้วัดข้อที่ 5 (5.2) สรุปผลการนำความรู้ ความสามารถ ทักษะ ที่ได้จากการอบรม สัมมนา

ตัวอย่างเอกสารประกอบการเขียนย้ายครู ปี 66 ตัวชี้วัดการย้ายครู 2566 ตามรายละเอียดตัวชี้วัดในการประเมินตามองค์ประกอบการย้ายข้าราชการครู 2566 ในตัวชี้วัดข้อที่ 5 (5.2) ที่นำผลการอบรมไปเขียนครับ ตัวอย่างของผม เผื่อคุณครูนำไปเป็นแนวทางการเขียนได้ครับ คุณครูที่เตรียมเขียนย้าย สามารถดาวน์โหลดไฟล์ไปปรับใช้ในการอ้างอิงตัวชี้วัดย้ายครู ปี 2566 สรุปผลการนำความรู้ ความสามารถ ทักษะ ที่ได้จากการอบรม สัมมนาได้เลยครับ ตามลิงก์ด้านล่าง ดาวน์โหลดฟรี

ตัวชี้วัด 5.2 การนำความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ได้ จากการอบรม สัมมนา ตามข้อ 5.1 ไปใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ ที่แสดงให้เห็นถึงความรู้ ความสามรถ ทักษะ ความรอบรู้ในการจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อผู้เรียน โดยเพจ แจกสื่อฟรี by ครูถูกต้อง ได้นำเสนอตัวอย่างไฟล์ เขียนย้ายครู ปี 66 ตัวชี้วัดข้อที่ 5 (5.2) สรุปผลการนำความรู้ ความสามารถ ทักษะ ที่ได้จากการอบรม สัมมนา ได้นำการอบรมในหลักสูตร ตลาดนัดการเรียนรู้ออนไลน์วังจันทรเกษม เฟส 2 มารายงานเพื่ออ้างอิงตัวชี้วัดครับ รายละเอียดดังนี้

ตัวอย่างไฟล์

ตัวอย่างไฟล์ เขียนย้ายครู ปี 66 ตัวชี้วัดข้อที่ 5 (5.2) สรุปผลการนำความรู้ ความสามารถ ทักษะ ที่ได้จากการอบรม สัมมนา
ตัวอย่างไฟล์ เขียนย้ายครู ปี 66 ตัวชี้วัดข้อที่ 5 (5.2) สรุปผลการนำความรู้ ความสามารถ ทักษะ ที่ได้จากการอบรม สัมมนา
ตัวอย่างไฟล์ เขียนย้ายครู ปี 66 ตัวชี้วัดข้อที่ 5 (5.2) สรุปผลการนำความรู้ ความสามารถ ทักษะ ที่ได้จากการอบรม สัมมนา
ตัวอย่างไฟล์ เขียนย้ายครู ปี 66 ตัวชี้วัดข้อที่ 5 (5.2) สรุปผลการนำความรู้ ความสามารถ ทักษะ ที่ได้จากการอบรม สัมมนา

สรุปผลการนำความรู้ ความสามารถ ทักษะ ที่ได้จากการอบรม สัมมนา

– รางวัลบุคคลแห่งการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ

โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมศักยภาพข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วยกระบวนการ Active Learning ผ่านระบบออนไลน์ ตั้งแต่ ๘ กิจกรรมขึ้นไป ได้แก่

๑) หลักสูตร คุณธรรมสร้างสุขสำหรับครูสู่ผู้เรียน

๒) หลักสูตร การสร้างวินัยสู่ความเป็นเลิศทางกีฬาของเยาวชนไทย

๓) หลักสูตร เปิดโถกการศึกษาไร้ขีดจำกัดในยุคจักรวาลนฤมิต

๔) หลักสูตร ค่านิยมที่ดีงามของเด็กและเยาวชน

๕) หลักสูตร คุณค่าทางวัฒนธรรมในความงดงามของชีวิต

๖) หลักสูตร จำอวดหน้าวัง (จันทรเกษม) “ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน รากฐานการศึกษา สุนทรียภาพทางปัญญา คุณค่ามรดกแผ่นดิน”

๗) หลักสูตร สื่อยุคใหม่ การศึกษาออนไลน์

๘) หลักสูตร การสอนให้สนุกจากครูที่มีประสบการณ์

๙) หลักสูตร หลักการปฏิบัติราชการ

๑๐) หลักสูตร Active Learning

บทความ

เรื่อง การจัดกระบวนการเรียนรู้ Active Learning กับชีวิตจริง สู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑

สิ่งที่ข้าพเจ้าได้รับการอบรม ตามข้อ ๕.๑ นั้น ข้าพเจ้านำเสนอในรูปแบบของบทความ โดยผ่าน     การเรียงร้อยถ้อยความในเชิงการเล่าแบบภาษาพูด อุปมาเหมือนเล่าสู่กันฟังครับ  

“สวัสดีครับ” “ผมชื่อ นายประวิทย์  พันธ์ศรี คุณครูโรงเรียนอนุบาลวัดอ่างทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง จังหวัดอ่างทองครับ เด็ก ๆ ชอบเรียกผมว่า ครูต้อง  วันนี้ผมจะมาเล่าประสบการณ์ในการสอนของผม ตลอดระยะเวลา ๕ ปีกว่า นับตั้งแต่ที่ผมย่างก้าวเข้ามาที่โรงเรียนแห่งนี้       ผมมีความรู้สึกว่า ทำไมโรงเรียนนี้ใหญ่จัง เด็กนักเรียนก็มีจำนวนมาก ผมจะมีความสามารถ สอนนักเรียนได้เหมือนที่ผมตั้งใจไว้หรือไม่ มันเกิดคำถามในหัวผมตลอดเวลา ว่าผมจะสอนแบบใด ที่จะให้นักเรียนมีความรู้  ทักษะ กระบวนการ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามที่ผมตั้งใจไว้ มันคือสิ่งที่ท้าทายกับการสอนของผมมาก และผมคิดในใจตลอดว่าผมต้องทำได้ หลังจากที่ผมเข้าไปสัมผัสกับนักเรียน นักเรียนตื่นเต้นมาก ที่จะได้เรียนกับคุณครูที่เข้ามาสอนคนใหม่ นั่นเป็นเหตุผลแรก ที่ผมคิดในใจของผมว่า ถ้าเราอยากให้นักเรียนรักในสิ่งที่เราจะสอน เราต้องให้ใจกับนักเรียนก่อน ผมใช้วิธีการพูดคุย ซักถาม เรื่องราวชีวิตทั่ว ๆ ไปกับเด็ก ๆ เพื่อให้เขาเกิดความไว้วางใจในตัวผม หลังจากนั้น ผมก็สอนตามปกติ โดยใช้หนังสือและแบบฝึกหัดของโรงเรียน ที่นักเรียนมีอยู่แล้ว พอสอนไปสักระยะหนึ่ง เด็กผมเกิดความเบื่อ เพราะเขาได้ทำอะไรแบบเดิม ๆ ทำให้เขาไม่เกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืน ผมก็มานอนคิดแล้วว่า ผมจะต้องทำอะไรสักอย่างแล้ว เพื่อให้เด็ก ๆ มีความสุข และเกิดกระบวนการเรียนรู้ หลังจากนั้น ผมก็ได้ศึกษาวิธีและรูปแบบการสอนของนักวิชาการหลาย ๆ ท่าน จนผมมาพบวิธีการสอน Active Learning หลังจากนั้น ผมศึกษาค้นคว้ามาโดยตลอด ว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง

จนได้รับการอบรม ในการใช้กระบวนการสอน ในรูปแบบ Active Learning ในวิธีการต่าง ๆ มากมายที่ผมคิดขึ้นมาจะว่าประสบผลสำเร็จ ผมก็ไม่กล้าพูดได้เต็มปากครับ เพราะผมจะต้องทำวิจัยเพื่อให้ได้ผลว่า เด็ก ๆ ได้พัฒนาตามจุดประสงค์ที่ผมตั้งไว้หรือไม่ ผลเป็นอย่างไร จากพื้นฐานและความรู้สึกที่ผมจัดการเรียนการสอน ในแต่ละเรื่องตามตัวชี้วัด นักเรียนมีผลการเรียนที่ดีขึ้น มีทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้แบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน และมากไปกว่านั้น ที่ผมภูมิใจมากกว่าการที่นักเรียนได้คะแนนเพิ่มขึ้น คือ ผลงานนักเรียนที่เห็นได้ชัดเจน และเป็นรูปธรรม ที่เกิดจากสื่อ นวัตกรรม ที่ผมคิดค้นขึ้นมาในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เกม แบบฝึก ใบงาน (รูปแบบงานประดิษฐ์เชิงสร้างสรรค์) และอื่น ๆ อีกมากมายครับ ผมมองว่าประสบการณ์การทำงานทั้งเดี่ยวและกลุ่ม จากกิจกรรมที่ผมจัดขึ้น จะทำให้เด็ก ๆ มีประสบการณ์ชีวิต รู้จักแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และสิ่งสำคัญไปมากกว่านั้น เด็ก ๆ แต่ละคน มีความสามารถแตกต่างกัน ผมไม่เคยมองว่าใครด้อย ใครเก่ง กิจกรรมเหล่านี้ก็จะเป็นตัวดึงศักยภาพในด้านต่าง ๆ ของแต่ละบุคคลออกมาได้อย่างเต็มที่  เช่น บางคนเด่นด้านวิชาการ แต่ไม่ถนัดด้านอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น การระบายสี งานประดิษฐ์ พูด เขียน (ลายมือ) เป็นต้น แต่ทุกคนจะต้องมาทำงานร่วมกันจากกิจกรรม Active Learning เด็ก ๆ ทุกคนก็จะได้แสดงความสามารถของตนเองออกมา ตลอดระยะเวลาในการสอนของผม ผมเห็นเด็ก ๆ มีรอยยิ้ม หัวเราะ  พูดคุย ปรึกษาหารือกัน สนุกสนาน และมีปัญหาต่าง ๆ มาปรึกษาผมอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งมันแฝงไปด้วยด้วยความรู้และความสามารถในตัวเด็ก ที่ครูอย่างผมไม่สามารถมองข้ามได้  ผมว่ามันคือคุณค่าสำหรับคำว่าครูของผม ถ้าถามผมต่ออีกว่า แล้วยังคิดจะหยุดพัฒนาการสอนนี้หรือไม่ ผมขอตอบได้เลยว่า ไม่หยุดครับ ทุกวันนี้ผมสอนไป ศึกษาเด็ก ๆ ไป ด้วยว่าเด็กแต่ละคนเขาต้องการอะไร อยากทำอะไร แล้วนำมาคิดสื่อ นวัตกรรม งานต่าง ๆ ที่เหมาะกับเด็ก ๆ    

เพื่อเด็กทุกคนจะได้เกิดการเรียนรู้ที่เท่าเทียม และไม่ให้ตัวเขาคิดว่า เขาด้อยศักยภาพในตัวเอง ถ้าเมื่อไหร่เราไม่มอบโอกาสทางความคิด เขาก็จะไม่กล้าแสดงความสามารถของเขาออกมาได้ แม้กระทั่งอาชีพยังมีหลากหลายอาชีพ  เด็กนักเรียนก็ย่อมมีความแตกต่างเช่นกัน ผมมีความเชื่อในแบบของผม เอาเป็นว่า ผมมีความสุขกับการสอนในรูปแบบที่ผมสอนมากที่สุด และใช้วิธีการผสมผสานกับรูปแบบเดิมที่มีอยู่แล้ว และผมขอให้สัญญาว่า ผมจะไม่หยุดพัฒนาตัวเอง เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ อย่างมั่นคง และยั่งยืน เป็นอย่างไรบ้างครับ ได้ฟังเรื่องราวของผมแล้ว ผมคิดว่าคุณครูทุกท่าน ก็คงไม่ต่างไปจากผม ที่จะหาวิธีการสอนต่าง ๆ  เพื่อให้นักเรียนเกิดกระบวนการ ทักษะ เช่นเดียวกับผม ก่อนที่ผมจะไป ผมขอฝากสิ่งที่ผมใช้เตือนตัวเองอยู่ตลอดเวลา ของคำว่า ครู คือ การพัฒนานักเรียน  ให้เพียรความรู้  มุ่งสู่ความดี                มีประสบการณ์  มันคือรากฐาน  เป็นจิตวิญญาณของผม สุดท้ายนี้ ผมก็รู้แล้วว่า สิ่งที่ผมตั้งคำถามไว้ตั้งแต่ต้น มันคือสิ่งที่ผมและเด็ก ๆ ต้องร่วมด้วยช่วยกันพัฒนาต่อไป และผมก็คิดเสมอว่า เด็ก ๆ ทุกคนก็เปรียบเสมือนลูกของผมคนหนึ่ง ที่อยากให้ลูกของตัวเองพัฒนาไปพร้อมกันในทุก ๆ ด้าน โดยผ่านกระบวนการ Active Learning  ถ้ามีประสบการณ์อะไรดี ๆ ใหม่ ๆ  ผมคงมีโอกาสได้มาเล่าให้ได้ฟังอีกนะครับ สวัสดีครับ”

คุณครูท่านใดที่เคยเข้าอบรม สามารถดาวน์โหลดเกียรติบัตรได้ในลิงก์ ขั้นตอนการเข้าอบรม และการรับเกียรติบัตร การอบรมออนไลน์ตลาดนัดการเรียนรู้วังจันทรเกษม เฟส2 ครับ

ตัวอย่างไฟล์ เขียนย้ายครู ปี 66 ตัวชี้วัดข้อที่ 5 (5.2) สรุปผลการนำความรู้ ความสามารถ ทักษะ ที่ได้จากการอบรม สัมมนา 5
ตัวอย่างไฟล์ เขียนย้ายครู ปี 66 ตัวชี้วัดข้อที่ 5 (5.2) สรุปผลการนำความรู้ ความสามารถ ทักษะ ที่ได้จากการอบรม สัมมนา 6

ขอบคุณที่มา :: แจกสื่อฟรี by ครูถูกต้อง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่