ดาวน์โหลด แผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ไฟล์เวิร์ด พร้อมสื่อการสอน ชั้น ม.1-6
ดาวน์โหลด แผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ไฟล์เวิร์ด พร้อมสื่อการสอน ชั้น ม.1-6

ดาวน์โหลด แผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ชั้น ม.1-6

ด่วน!! แจกฟรี แผนการจัดการเรียนรู้ แบบ Active Learning ระดับมัธยมศึกษา สามารถดาวน์โหลดไฟล์ในลิงก์ด้านล่าง ขอบคุณไฟล์หน่วยการเรียนรู้ศาสตร์พระราชา Active Learning นี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาชาติ  เป็นไปตามหลักสูตรการศึกษาแกนกลางขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑

แผนการจัดการเรียนรู้แบบ active learning doc ศาสตร์พระราชา Active Learning การยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนใต้ (จชต.) สู่คุณภาพที่ยั่งยืน Thailand ๔.๐ เป็นนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ซึ่งสร้างโดยคณะครูผู้มีจิตอาสาในเขตพื้นที่จังหวัดตรัง (สพม.๑๓) จังหวัดสุราษฏร์ธานี (สพป.สฏ.๒) และจังหวัดนครศรีธรรมราช มีการทดลองใช้จริงในพื้นที่ มีผลลัพธ์คือผลการสอบ O-NET สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นที่ประจักษ์ จนผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีนโยบายนำมาขยายผลเพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนใต้ (จชต.)

ตัวอย่างไฟล์

ดาวน์โหลด แผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ไฟล์เวิร์ด พร้อมสื่อการสอน ชั้น ม.1-6
ดาวน์โหลด แผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ไฟล์เวิร์ด พร้อมสื่อการสอน ชั้น ม.1-6

ศาสตร์พระราชา Active Learning การยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ (จชต.) สู่คุณภาพที่ยั่งยืน Thailand 4.0 เป็นนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ซึ่งสร้างโดยคณะครูผู้มีจิตอาสาในเขตพื้นที่จังหวัดตรัง (สพม.13) จังหวัดสุราษฏร์ธานี (สพป.สฏ.2) และจังหวัดนครศรีธรรมราช มีการทดลองใช้จริงในพื้นที่ มีผลลัพธ์คือผลการสอบ O-NET สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นที่ประจักษ์ จนผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีนโยบายนำมาขยายผลเพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ (จชต.) ในปีการศึกษา 2560 นี้ ซึ่งผู้นำไปใช้ต้องทำความเข้าใจในเบื้องต้นดังนี้

1.ก่อนเรียน

ครูผู้สอนต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นสำคัญต่างๆของ “ศาสตร์พระราชา” Active Learning การยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ (จชต.) สู่คุณภาพที่ยั่งยืน Thailand 4.0 ดังนี้
1.การกำหนดช่วงเวลาของจัดการเรียนรู้ในแต่ละครั้ง/ชั่วโมง (ประมาณ 50 นาที) กำหนดเวลาโดยประมาณคือ ใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบ Passive Learning ประมาณ 10 นาที และ Active Learning ประมาณ 40 นาที ดังนี้
Passive Learning (ประมาณ 10 นาที) เป็นการจัดการเรียนรู้แบบนักเรียนเป็นผู้รับเข้ามาอย่างเดียว โดยการรับฟังการบรรยาย การอธิบายหน้าชั้นเรียน จากกรวยประสบการณ์ Cone of Experience ของ เอดการ์ เดล (Edgar Dale) ได้ค้นพบว่าธรรมชาติมนุษย์สามารถจดจำความรู้ต่างๆ จากการเรียนรู้ต่างๆได้ดังนี้
1.จากการฟังคำบรรยาย การบอกเล่า Lecture มนุษย์สามารถจดจำความรู้ได้ประมาณ 5%
2.จากการอ่านด้วยตนเอง มนุษย์สามารถเก็บหรือจดจำความรู้ได้ประมาณ 10%
3.จากการฟังเสียง ดูภาพจากสื่อต่างๆ มนุษย์สามารถเก็บหรือจดจำความรู้ได้ประมาณ 20%
4.จากการดูการสาธิต การแสดงต่างๆ ซึ่งได้รับรู้ทั้งภาพ ขั้นตอน คำอธิบายหรือบรรยาย มนุษย์สามารถเก็บหรือจดจำความรู้ได้ประมาณ 30%
Passive Learning ดังกล่าวนี้เป็นขั้นตอนสำคัญที่คุณครูต้องใช้เพื่อสร้างความเข้าใจกับผู้เรียนในวัตถุประสงค์ของการเรียน วิธีการเรียนรู้ รวมทั้งข้อกำหนดหรือข้อตกลงกับนักเรียนให้ชัดเจน จึงเป็นการเรียนรู้ที่ยังมีความสำคัญที่ยังต้องคงไว้ใน “ศาสตร์พระราชา” Active Learning การยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ (จชต.) สู่คุณภาพที่ยั่งยืน Thailand 4.0
Active Learning (ประมาณ 40 นาที) นักเรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเองจากการที่ผู้เรียนเข้าไปอยู่ร่วม ปฏิบัติจริง หรือมีส่วนร่วมโดยตรงในเหตุการณ์หรือกิจกรรม สถานการณ์นั้นๆ ส่งผลให้ประสาทสัมผัสของผู้เรียนทั้ง ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ได้มีโอกาสสัมผัสและรับรู้โดยตรงนั่นเอง ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น

2.ระหว่างเรียน

1.การแบ่งกลุ่มเรียนรู้ 3-5 คน เพื่อให้ผู้เรียนได้พูดคุย ฝึกการเรียนรู้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ฝึกการอภิปราย ฝึกการโต้แย้ง ฝึกการหาเหตุผลหรือข้อสรุปอย่างมีคุณภาพและเป็นประโยชน์และมีคุณค่า เป็นการฝึกการเรียนรู้การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ Collaborative รวมทั้งการร่วมกันระดมความคิดเห็น ระดมข้อมูลในเรื่องราว ประเด็นต่างๆ Brainstorming ซึ่งวิธีการดังกล่าวนี้มนุษย์สามารถเก็บหรือจดจำความรู้ได้ประมาณ 50%

2.การลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง Learning by doing เป็นขั้นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องใช้ทักษะในทุกส่วนของประสาทสัมผัสทั้ง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จดจ่อหรือมีสมาธิอยู่กับงานที่ทำซึ่งวิธีการดังกล่าวนี้มนุษย์สามารถเก็บหรือจดจำความรู้ได้ประมาณ 75% ในขั้นตอนดังกล่าวนี้ครูต้องสร้างแรงจูงใจในการเรียน ตามหลักศาสตร์พระราชา แบบระเบิดจากข้างใน ตลอดเวลา กล่าวคือ การปฏิบัติงานทุกอย่างเกิดจากความตระหนักรู้ เห็นคุณค่าของงาน มุ่งมั่นด้วยตนเองของนักเรียน ไม่ต้องรอสั่งการ เน้นการพึ่งตนเองทุกขั้นตอน การปฏิบัติทุกอย่าง เริ่มที่ตัวนักเรียนเอง ตั้งแต่วางแผน ลงมือปฏิบัติ ประเมิน ปรับปรุงด้วยตนเองไม่ใช่คอยให้ใครมาป้อนให้ทำจนเป็นภาระแก่ผู้อื่นตลอดเวลา แนวทางรวมทั้งสื่อ วิธีการที่นำมาใช้นั้นต้องเหมาะสมกับสภาพภูมิสังคมของตนเองต้องเกิดจากความคิดของตนเป็นอันดับแรก และมีความเหมาะสมกับสภาพ บริบทของตนเอง คำนึงถึงสภาพความเป็นอยู่ ชีวิตจริง สังคมจริงเป็นสำคัญ ไม่นำวิธีการจากสังคมซึ่งแตกต่างกันมาใช้จนเด็กเกิดความรู้สึกเหลื่อมล้ำ ซึ่งต้องเน้นความประหยัดเรียบง่าย ขั้นตอน รวมทั้งสื่ออุปกรณ์ใด ๆ ที่นำมาใช้ เน้นที่สามารถทำเองได้ หาได้ในท้องถิ่นและประยุกต์ใช้สิ่งที่มีอยู่มาแก้ไขปัญหาโดยไม่ต้องลงทุนสูงหรือใช้เทคโนโลยีที่ไม่ยุ่งยากนัก เน้นความเรียบง่าย ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ควรใช้งบประมาณมหาศาล หรือกระทำโดยติดยึดกับงบประมาณเท่านั้น ถ้าไม่มีงบประมาณไม่ทำ และในการปฏิบัติงานทุกเรื่อง เน้นประโยชน์เพื่อส่วนรวมประเทศชาติเป็นหลัก ไม่เน้นเฉพาะกลุ่มเฉพาะคน รวมทั้งควรปลูกฝังความคิดในการพัฒนาเพื่อส่วนรวมเพื่อสังคมเป็นสุขมากกว่าการกระทำเพื่อตนเองเป็นสุขเท่านั้น
นอกจากนี้ในการปฏิบัติจริงด้วยตนเองของผู้เรียน Learning by doing นี้ ต้องเน้นการมีส่วนร่วมของทุกคนทุกในกลุ่มที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่เริ่มต้นเริ่มคิด วางแผน พัฒนา อย่าก้มหน้า ก้มตาทำอยู่คนเดียวจนกลายเป็นคนหนีโลกหนีสังคม ครูผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติของตนเอง กล่าวคือในการปฏิบัติงานของผู้เรียนแต่ละกลุ่มควรคำนึงถึงธรรมชาติด้านบุคคล ธรรมชาติรอบตัว ความต้องการ ความสามารถ ความสนใจ จนสามารถค้นพบวิธีการใหม่ที่เหมาะสมของตนเอง การปฏิบัติงานทุกอย่างเน้นไม่ติดตำราไม่ควรติดยึดรูปแบบใดๆจนลืมสภาพความเป็นจริง ควรมีการอนุโลมกับสภาพธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ไม่ผูกมัดติดกับวิชาการและเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมกับสภาพชีวิตจริง อาจจะประยุกต์ใช้ความคิดอื่นแต่ก็ควรคำนึงถึงความเหมาะสม

3.การสอนผู้อื่น Teach other หรือการนำเสนอหน้าชั้นเรียน หลังจากปฏิบัติงานใดๆ เสร็จสิ้นลงแล้ว ครูผู้สอนควรให้สมาชิกในกลุ่มหรือตัวแทนทุกกลุ่มนำเสนอผลการปฏิบัติงาน ผลการทดลอง การสำรวจหรือค้นคว้า ฯลฯ เป็นการฝึกการทบทวนบทเรียน ทบทวนความรู้ให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เป็นการประเมินตนเองของผู้เรียนว่างานที่ปฏิบัติไปมีส่วนใดที่ถูกต้องชัดเจน ส่วนใดต้องปรับปรุงหรือพัฒนายิ่งขึ้น ซึ่งเป็นทักษะสำคัญของผู้เรียนในศตวรรษที่ 11 อซึ่งวิธีการเรียนรู้ในลักษณะนี้มนุษย์สามารถเก็บหรือจดจำความรู้ได้ประมาณ 90%

3.หลังเรียน

ครูผู้สอนดำเนินการตรวจสอบผลงานของผู้เรียนเป็นรายกลุ่มและรายบุคคลด้วยเครื่องมือวัดผลประเมินผลที่มีอยู่ท้ายหน่วยการเรียนรู้
4.องค์ประกอบของหน่วยการเรียนรู้ “ศาสตร์พระราชา Active Learning” มี 8 องค์ประกอบดังนี้
1.มาตรฐาน/ตัวชี้วัด (ต้องรู้) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.สาระ/สาระสำคัญ
3.ชิ้นงาน/ภาระงาน ของผู้เรียน
4.เนื้อหาจำเป็น ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5.Literacy Thinking Skills (สุ จิ ปุ ลิ) หัวใจนักปราชญ์
6.กิจกรรมการเรียนรู้มี 3 ขั้น รับรู้ เชื่อมโยง ประยุกต์ใช้
7.วิธีการวัดผล เน้น Assessment for Learning (การประเมินเพื่อพัฒนา)

ลิงก์ดาวน์โหลด

การงานอาชีพ ดาวน์โหลด >> https://shorturl.asia/LPuFW

ภาษาไทย ดาวน์โหลด >> https://shorturl.asia/K0xfR

ภาษาอังกฤษ ดาวน์โหลด >> https://shorturl.asia/Kye4F

คณิตศาสตร์ ดาวน์โหลด >> https://shorturl.asia/yYsoA

วิทยาศาสตร์ ดาวน์โหลด >> https://shorturl.asia/P89ki

สังคม ดาวน์โหลด >> https://shorturl.asia/mKWgB

สุขศึกษาพลศึกษา ดาวน์โหลด >> https://shorturl.asia/j2wMG

ศิลปะ ดาวน์โหลด >> https://shorturl.asia/VF1BT

ขอบคุณที่มา : เพจ ครูสายบัว | คณะครูผู้จัดทำครูผู้มีจิตอาสาในเขตพื้นที่จังหวัดตรัง (สพม.๑๓) จังหวัดสุราษฏร์ธานี (สพป.สฏ.๒) และจังหวัดนครศรีธรรมราช

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่