29 ประการสู่ความเป็นโรงเรียนวิถีพุทธ เพื่อสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์
29 ประการสู่ความเป็นโรงเรียนวิถีพุทธ เพื่อสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์

29 ประการสู่ความเป็นโรงเรียนวิถีพุทธ เพื่อสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์

อัตลักษณ์ 29 ประการสู่ความเป็น โรงเรียนวิถีพุทธ การศึกษาและพัฒนาอัตลักษณ์โรงเรียนวิถีพุทธที่ได้ดำเนินมานั้นได้มีขั้นตอนที่ผ่านมาดังนี้

29 ประการสู่ความเป็นโรงเรียนวิถีพุทธ เพื่อสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์
29 ประการ สู่ความเป็น โรงเรียนวิถีพุทธ เพื่อสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์

๑. การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเพื่อศึกษา

เพื่อให้การศึกษาและพัฒนาอัตลักษณ์โรงเรียนวิถีพุทธครอบคลุมและเป็นตัวแทนที่ดีของโรงเรียนของประเทศไทย ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาเครื่องมือสำหรับการรับสมัครโรงเรียนทั่วไปประเทศทั้งที่เป็นโรงเรียนวิถีพุทธและไม่เป็นโรงเรียนวิถีพุทธผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตด้วยเว็บไซต์ http://www.vitheebuddha.com เพื่อให้โรงเรียนที่มีความพร้อมและสนใจได้ลงทะเบียนสมัคร โดยโรงเรียนจะต้องส่งข้อมูลเพื่อใช้ประกอบในการพิจารณาโรงเรียนวิถีพุทธประกอบด้วย ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน และข้อมูลการดำเนินงานตามแนวทาง ๒๙ ประการสู่ความเป็นโรงเรียนวิถีพุทธ แล้วทำการคัดเลือกตัวแทนโรงเรียนทั้งหมดจำนวน ๑๐๐ โรง เพื่อนำมาศึกษาต่อไป

๒. จัดทำสนทนากลุ่ม (Focus group)

โดยนำโรงเรียนทั้งหมด จำนวน ๑๐๐ โรง ที่เป็นตัวแทนของโรงเรียนวิถีพุทธทั่วประเทศมาประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รับฟังปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะการดำเนินงานตามแนวทาง ๒๙ ประการสู่ความเป็นโรงเรียนวิถีพุทธเพื่อสังเคราะห์หาข้อสรุป แนวปฏิบัติของการพัฒนาอัตลักษณ์โรงเรียนวิถีพุทธ ในขั้นตอนนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพโดยการแบ่งกลุ่มออกเป็น ๕ กลุ่มๆละ ๒๐ คน แบ่งตามประเด็นพิจารณาได้แก่ ภูมิภาคที่ตั้ง ขนาดโรงเรียน ในเมืองกับชนบท โรงเรียนแกนนำกับไม่เป็นโรงเรียนแกนนำ และโรงเรียนที่มีระดับมากที่สุดกับน้อยที่สุด

๓. ทดลองใช้ในสภาพจริง

นำแนวปฏิบัติของการพัฒนาอัตลักษณ์โรงเรียนวิถีพุทธ ไปทดลองใช้ในสภาพจริงกับโรงเรียนที่ได้สมัครใจเพื่อทดลองใช้จำนวน ๒๐ โรง จากตัวแทนโรงเรียนจำนวน ๑๐๐ โรง ใช้ระยะเวลาทดลอง ๓ เดือน

๔. ประเมินผลโดยคณะทำงานประเมินผล

เพื่อตรวจสอบผลสำเร็จของการดำเนินงานโดยใช้กรอบแนวคิด CIPP model ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) ได้แก่ การประเมินสภาพแวดล้อม การประเมินปัจจัยนำเข้า การประเมินกระบวนการ และการประเมินผลผลิตที่ได้ จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้แก่ ประชาชนในพื้นที่ บุคลากรในโรงเรียน นักเรียน ส านักงานเขตพื้นที่

๕. สรุปผลการดำเนินงานและรายงาน

สรุปผลและรายงานอัตลักษณ์โรงเรียนวิถีพุทธ การประเมินผลความสำเร็จของโครงการต่อสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปปฏิบัติ ซึ่งจากแนวทางการดำเนินการที่รับทราบร่วมกันตั้งแต่เริ่มต้น คณะผู้บริหาร ครู และพระอาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ร่วมกันวิเคราะห์ สังเคราะห์ แนวทางดำเนินการเดิม ยกร่างเป็นแนวทางดำเนินการ ที่เป็นรูปธรรมอีกครั้ง สอดคล้องกับตัวชี้วัดแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ พ.ศ. ๒๕๔๘ แบ่งเป็น ๕ ด้าน รวม ๒๙ ประการ และคณะยกร่างได้นำร่างฯไปสอบถามความเห็นของผู้เกี่ยวข้อง หลายครั้ง รวมทั้งผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๓ จึงประกาศให้โรงเรียนวิถีพุทธทราบและเป็นแนวทางในการประเมินตนเองตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นมา

แนวทางดำเนินการ ๒๙ ประการสู่ความเป็นโรงเรียนวิถีพุทธทำให้โรงเรียนมีแนวทางการพัฒนาโรงเรียนที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยร่วมกันนำอัตลักษณ์ ๒๙ ประการสู่ความเป็นโรงเรียนวิถีพุทธ ไปเป็นตัวชี้วัดในการคัดเลือกโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรับใบประกาศเกียรติคุณยกย่องจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และเพื่อให้การคัดเลือกโรงเรียนวิถีพุทธ ปี พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นอย่างเรียบร้อย ได้โรงเรียนวิถีพุทธที่มีคุณภาพจำนวน ๑๐๐ โรงเรียนจากโรงเรียนวิถีพุทธทั้งหมด ๑๒,๑๖๒ โรงเรียนให้เป็นตัวอย่างแก่โรงเรียนอื่นๆ ได้จึงเห็นควรจัดโครงการดังกล่าวและพัฒนาอัตลักษณ์ ๒๙ ประการสู่ความเป็นโรงเรียนวิถีพุทธซึ่งอัตลักษณ์ทั้ง ๒๙ ประการมี ดังนี้

ตารางที่ ๑.๑ อัตลักษณ์ ๒๙ ประการ สู่การเป็น โรงเรียนวิถีพุทธ

ด้านกายภาพด้านกิจกรรมประจำวันพระด้านการเรียนการสอนด้านพฤติกรรม นักเรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียนด้านการส่งเสริมวิถีพุทธ
๑) มีป้ายโรงเรียนวิถีพุทธ๑) ใส่เสื้อขาวทุกคน๑) บริหารจิต เจริญปัญญา ก่อนเข้าเรียน เช้า-บ่าย ทั้งครู และ นักเรียน๑) รักษาศีล ๕๑) ไม่มีอาหารขยะขายในโรงเรียน
๒)มีพระพุทธรูปบริเวณหน้าโรงเรียน๒) ทำบุญใส่บาตร ฟังเทศน์๒) บูรณาการวิถีพุทธ ทุกกลุ่มสาระ และในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา๒) ยิ้มง่าย ไหว้สวย กราบงาม๒) ไม่ดุด่า นักเรียน
๓) มีพระพุทธรูปประจำห้องเรียน๓) รับประทานอาหารมังสวิรัติในมื้อกลางวัน๓) ครู พานักเรียนทำโครงงานคุณธรรม กิจกรรมจิตอาสาสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง๓) ก่อนรับประทานอาหารจะมีการพิจารณาอาหาร รับประทานอาหารไม่ดัง ไม่หก ไม่เหลือ๓) บริหารจิต เจริญปัญญา ก่อนการประชุมทุกครั้ง
๔) มีพุทธศาสนสุภาษิต วาทะธรรม พระราชดำรัสติดตามที่ต่างๆ๔) สวดมนต์แปล๔) ครู ผู้บริหาร และนักเรียนทุกคน
ไปปฏิบัติศาสนกิจที่วัดเดือนละ ๑ ครั้ง
มีวัดเป็นแหล่งเรียนรู้
๔) ประหยัด ออม ถนอมใช้เงิน และสิ่งของ๔) ชื่นชมคุณความดีหน้าเสาธงทุกวัน
๕) มีความสะอาด สงบ ร่มรื่น ๕) ครู ผู้บริหาร และนักเรียนทุกคน
เข้าค่ายปฏิบัติธรรมอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
๕) มีนิสัยใฝ่รู้ สู้สิ่งยาก๕) โฮมรูมเพื่อสะท้อนความรู้สึก เช่น ความรู้สึกที่ได้ทำความดี
๖) มีห้องพระพุทธศาสนาหรือลานธรรม   ๖) ครู ผู้บริหารและนักเรียน มีสมุดบันทึกความดี
๗) ไม่มีสิ่งเสพติด เหล้า บุหรี่ในโรงเรียน ๑๐๐%   ๗) ครู ผู้บริหาร และนักเรียน สอบได้ธรรมะศึกษาตรีเป็นอย่างน้อย
    ๘) มีพระมาสอนอย่างสม่ำเสมอ

แนวทางดำเนินการ ๒๙ ประการ สู่ความเป็น โรงเรียนวิถีพุทธ  ประกอบด้วย

๑.  ด้านกายภาพ ๗ ประการ
๑.๑ มีป้ายโรงเรียนวิถีพุทธ
๑.๒ มีพระพุทธรูปหน้าโรงเรียน
 ๑.๓ มีพระพุทธรูปประจำห้องเรียน
 ๑.๔ มีพระพุทธศาสนสุภาษิต วาทะธรรม พระราชดำรัสติดตามที่ต่างๆ 
 ๑.๕ มีความสะอาด  สงบ ร่มรื่น        
 ๑.๖มีห้องพระพุทธศาสนาหรือลานธรรม
 ๑.๗  ไม่มีสิ่งเสพติด เหล้า บุหรี่ ๑๐๐ %๒. ด้านการเรียนการสอน   ๕ ประการ
            ๒.๑ บริหารจิต เจริญปัญญา ก่อนเข้าเรียน เช้า บ่าย ทั้งครู และ นักเรียน                
            ๒.๒ บูรณาการวิถีพุทธ ทุกกลุ่มสาระ และในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา   
            ๒.๓ ครู พานักเรียนทำโครงงานคุณธรรม กิจกรรมจิตอาสาสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง  
            ๒.๔ ครู ผู้บริหาร และ นักเรียน ทุกคน ไปปฏิบัติศาสนกิจที่วัดเดือนละ ๑ ครั้ง มีวัดเป็นแหล่งเรียนรู้     
            ๒.๕ ครู ผู้บริหาร และ นักเรียนทุกคน เข้าค่ายปฏิบัติธรรมอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
๓. ด้านพฤติกรรม ครู ผู้บริหารโรงเรียน   และนักเรียน ๕ ประการ
            ๓.๑ รักษาศีล ๕  
            ๓.๒ ยิ้มง่าย ไหว้สวย กราบงาม
            ๓.๓ ก่อนรับประทานอาหารจะมีการพิจารณาอาหารรับประทานอาหาร ไม่ดัง ไม่หก ไม่เหลือ                                               
            ๓.๔  ประหยัด ออม ถนอมใช้ เงิน และ สิ่งของ   
            ๓.๕ มีนิสัยใฝ่รู้ สู้สิ่งยาก
๔. ด้านการส่งเสริมวิถีพุทธ  ๘ ประการ
            ๔.๑   ไม่มีอาหารขยะขายในโรงเรียน
            ๔.๒  ไม่ดุ ด่า นักเรียน                        
            ๔.๓  ชื่นชมคุณความดี หน้าเสาธงทุกวัน         
            ๔.๔  โฮมรูมเพื่อสะท้อนความรู้สึก เช่นความรู้สึกที่ได้ทำความดี
            ๔.๕  ครู ผู้บริหาร และนักเรียน มีสมุดบันทึกความดี  
            ๔.๖  ครู ผู้บริหาร และนักเรียน สอบได้ธรรมศึกษาตรีเป็นอย่างน้อย
            ๔.๗  บริหารจิต เจริญปัญญา ก่อนการประชุมทุกครั้ง   
            ๔.๘ มีพระมาสอนอย่างสม่ำเสมอ
๕. ด้านกิจกรรมประจำวันพระ   ๔ ประการ
             ๕.๑.ใส่เสื้อขาวทุกคน   
             ๕.๒.ทำบุญใส่บาตร ฟังเทศน์ 
             ๕.๓. รับประทานอาหารมังสวิรัติในมื้อกลางวัน                                                                            
             ๕.๔ สวดมนต์แปล

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่