21 ธันวาคมนี้ วันเหมายัน กลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี
21 ธันวาคมนี้ วันเหมายัน กลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี

21 ธันวาคมนี้ วันเหมายัน กลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยผ่าน Facebook ว่า ในวันที่ 21 ธันวาคมนี้ เป็นวันที่เวลากลางคืนยาวที่สุดในรอบปี สำหรับประเทศไทย หรือที่คนไทยเรียกว่า “ตะวันอ้อมข้าว” เวลาช่วงกลางวันเพียง 11 ชั่วโมง 19 นาที

21 ธันวาคมนี้ วันเหมายัน กลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี
21 ธันวาคมนี้ วันเหมายัน กลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี
ขอบคุณที่มา Facebook NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

“วันเหมายัน” (เห-มา-ยัน) (Winter Solstice) วันที่เวลากลางคืนยาวที่สุดในรอบปี ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด สำหรับประเทศไทย ในวันดังกล่าวดวงอาทิตย์ขึ้น 06:36 น. และตกเวลาประมาณ 17:55 น. ส่งผลให้ช่วงเวลากลางวันสั้นที่สุดและกลางคืนยาวที่สุดในรอบปี หรือที่คนไทยเรียกว่า “ตะวันอ้อมข้าว” เวลาช่วงกลางวันเพียง 11 ชั่วโมง 19 นาที โดยประเทศทางซีกโลกเหนือจะนับเป็นวันที่เข้าสู่ฤดูหนาว

21 ธันวาคมนี้ วันเหมายัน กลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี
ขอบคุณที่มา Facebook NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ส่วนประเทศทางซีกโลกใต้จะเป็นช่วงเวลากลางวันจะยาวที่สุดในรอบปี นับเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูร้อนกลางวันและกลางคืน เกิดจากโลกหมุนรอบตัวเอง ในขณะเดียวกันโลกก็โคจรรอบดวงอาทิตย์ แกนโลกเอียงทำมุม 23.5 องศา กับแกนตั้งฉากระนาบวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้บริเวณต่าง ๆ ของโลกในแต่ละช่วงของปีได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน และเกิดเป็นฤดูกาลในระยะเวลา 1 ปี โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ จะเกิดปรากฏการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการ ขึ้น – ตก ของดวงอาทิตย์ทั้งหมด 4 ครั้ง ได้แก่ วันครีษมายัน – กลางวันยาวนานที่สุด วันเหมายัน – กลางคืนยาวนานที่สุด วันวสันตวิษุวัตและวันศารทวิษุวัต – กลางวันและกลางคืนยาวนานเท่ากันนอกจากนี้

21 ธันวาคมนี้ วันเหมายัน กลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี
ขอบคุณที่มา Facebook NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ในวันที่ 21 ธันวาคม 2563 ยังมีปรากฏการณ์ดาราศาสตร์สำคัญที่น่าติดตามในช่วงหัวค่ำวันดังกล่าวอีกด้วย คือ ปรากฏการณ์ #ดาวพฤหัสบดีเคียงดาวเสาร์ ใกล้ที่สุดในรอบ 397 ปี หรือเรียกว่า “The Great Conjunction 2020” ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ปรากฏใกล้กันที่สุดห่างเพียง 0.1 องศา สังเกตเห็นได้หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าถึงเวลาประมาณ 19:30 น. เท่านั้น ดูด้วยตาเปล่าจะเห็นเสมือนเป็นจุดสว่างเพียงจุดเดียว และหากมองผ่านกล้องโทรทรรศน์กำลังขยายไม่เกิน 200 เท่า จะเห็นดาวเคราะห์ทั้งสองพร้อมดวงจันทร์บริวารอยู่ในช่องมองภาพเดียวกัน จึงขอชวนทุกท่านติดตามปรากฏการณ์สำคัญนี้ในวันดังกล่าว

ขอบคุณที่มา Facebook NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่