เปิดเทอม'63 ระวังโรคไข้เลือดออกเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ในปี 2562 พบมีผู้ป่วยสูงถึง 128,401 ราย เสียชีวิต 133 ราย
เปิดเทอม'63 ระวังโรคไข้เลือดออกเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ในปี 2562 พบมีผู้ป่วยสูงถึง 128,401 ราย เสียชีวิต 133 ราย

เปิดเทอม’63 ระวังโรคไข้เลือดออกเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ในปี 2562 พบมีผู้ป่วยสูงถึง 128,401 ราย เสียชีวิต 133 ราย

เปิดเทอม'63 ระวังโรคไข้เลือดออกเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ในปี 2562 พบมีผู้ป่วยสูงถึง 128,401 ราย เสียชีวิต 133 ราย
ที่มา : กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
เปิดเทอม'63 ระวังโรคไข้เลือดออกเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ในปี 2562 พบมีผู้ป่วยสูงถึง 128,401 ราย เสียชีวิต 133 ราย
ที่มา : กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

จากรายงานของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ในปี 2562 พบมีผู้ป่วยสูงถึง 128,401 ราย เสียชีวิต 133 ราย โดยอัตราการป่วยพบมากในช่วงหน้าฝน ดังนั้นช่วงหน้าฝนนี้ เว็บไซต์ ครูอาชีพดอทคอม จึงนำความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกมาฝากกัน ดังต่อไปนี้

โรคไข้เลือดออก (dengue hemorrhagic fever) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (dengue virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค

การติดต่อของโรคนี้ไม่ติดต่อกันจากคนสู่คน แต่ติดต่อกันได้โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค เมื่อยุงลายตัวเมียดูดเลือดผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสเดงกี เชื้อจะเข้าไปฝังตัวภายในกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง โดยมีระยะฟักตัวประมาณ 8-10 วัน เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้คนๆ นั้นป่วยได้ โดยมีระยะฟักตัวของเชื้อไวรัสเดงกีในคนประมาณ 3-14

อาการของโรคจะแตกต่างกันไปแล้วแต่บุคคล แต่โดยส่วนใหญ่อาการที่พบ คือ

  • ไข้สูงลอย 2-7 วัน
  • มีเลือดออก ส่วนใหญ่จะพบที่ผิวหนัง เป็นจุดเลือดเล็กๆ กระจายอยู่ตามแขน ขา ลำตัว รักแร้ อาจมีเลือดกำเดา หรือเลือดออกตามไรฟัน ในรายที่รุนแรงอาจอาเจียน และถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ซึ่งมักจะเป็นสีดำ (melena)
  • บางรายอาจมีภาวะตับโต และอาจรู้สึกเจ็บเมื่อกดที่ชายโครงด้านขวา
  • มีภาวะไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ภาวะช็อก

การดำเนินโรคของโรคไข้เลือดออกเดงกี แบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ ระยะไข้ ระยะวิกฤต/ช็อก และระยะฟื้นตัว

1. ระยะไข้

– ไข้สูงเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ส่วนใหญ่ไข้จะสูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส และไข้จะสูงลอยอยู่ 2-7 วัน
– มีเลือดออก ส่วนใหญ่จะพบที่ผิวหนัง เป็นจุดเลือดเล็กๆ กระจายอยู่ตามแขน ขา ลำตัว รักแร้ อาจมีเลือดกำเดา หรือเลือดออกตามไรฟัน ในรายที่รุนแรงอาจมีอาเจียนและถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ซึ่งมักจะเป็นสีดำ (melena)
– มีภาวะตับโต โดยส่วนใหญ่จะคลำได้ว่าตับโตเมื่อผ่านไปประมาณ 3-4 วัน นับตั้งแต่เริ่มป่วย ในระยะที่ยังมีไข้อยู่ตับจะนุ่ม และกดเจ็บบริเวณชายโครงด้านขวา

2. ระยะวิกฤต/ช็อก

– ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกีจะมีอาการรุนแรง มีภาวะไหลเวียนโลหิตล้มเหลวเกิดขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นพร้อมๆ กับตอนที่มีไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว
– ภาวะช็อกที่เกิดขึ้นนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยจะมีอาการแย่ลง และจะเสียชีวิตใน 12-24 ชั่วโมง หลังเริ่มมีภาวะช็อก

3. ระยะฟื้นตัว

– ระยะฟื้นตัวของผู้ป่วยโรคนี้ค่อนข้างเร็ว ในผู้ป่วยที่ไม่ช็อกเมื่อไข้ลดส่วนใหญ่ก็จะดีขึ้น ส่วนผู้ป่วยที่มีช็อกถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงทีก็จะฟื้นตัวอย่างรวดเร็วเช่นกัน โดยการฟื้นตัวใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน ผู้ป่วยก็จะมีอาการดีขึ้นอย่างชัดเจน

การป้องกันโรค

– จัดการสิ่งแวดล้อมด้วยในบ้านและรอบบ้านให้เป็นระเบียบ ปลอดโปร่ง
– ปิดภาชนะที่ใช้จัดเก็บน้ำให้มิดชิด ป้องกันยุงลายลงไปวางไข่
– เปลี่ยนน้ำในแจกัน ถังเก็บน้ำ ทุกๆ 7 วัน และระวังไม่ให้มีน้ำขัง เพื่อตัดวงจรลูกน้ำที่จะกลายเป็นยุง

*หากมีอาการผิดปกติ หรือสงสัยป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้รีบพบแพทย์ทันที*

ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข, ฝ่ายประกันสุขภาพ เอไอเอ ประเทศไทย

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่