เปิดแล้วยื่นภาษีบุคคลปี 2563 แบบออนไลน์ ยื่นได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564
เปิดแล้วยื่นภาษีบุคคลปี 2563 แบบออนไลน์ ยื่นได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564

เปิดแล้วยื่นภาษีบุคคลปี 2563 ออนไลน์ ยื่นได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ยื่นภาษีปี 64

บุคคลที่มีรายได้ทุกคน ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งแม้จะมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี ก็ต้องยื่นแบบภาษีประจำปี ปีละ 1 ครั้ง ระหว่างวันที่ 1 ม.ค. – 31 มี.ค. เพื่อแสดงรายได้สะสมในช่วงปีที่ผ่านมา *** ล่าสุดขยายเวลายื่นผ่านออนไลน์ ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564

เปิดแล้วยื่นภาษีบุคคลปี 2563 แบบออนไลน์ ยื่นได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564
เปิดแล้วยื่นภาษีบุคคลปี 2563 แบบออนไลน์ ยื่นได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564

ถ้าอยากรู้ว่าเราจะต้องเสียภาษีเท่าไร ให้คำนวณรายได้สุทธิของตัวเองก่อนจากสูตร“เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อนภาษี = เงินได้สุทธิ”ซึ่งค่าใช้จ่ายจะเหมาจ่าย 50% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท เมื่อได้จำนวนเงินได้สุทธิแล้วจึงมาเทียบดูอัตราภาษีที่ต้องเสีย ซึ่งปีนี้กรมสรรพากรยังคงใช้อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเหมือนกับปี 2560 นั่นก็คือการเก็บภาษีตามขั้นบันได ตั้งแต่ 5-35% มีวิธีการคำนวณคือ “ภาษีที่ต้องจ่าย = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี” สามารถดูอัตราภาษีได้จากตารางด้านล่างเลยครับ

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เงินได้สุทธิต่อปีอัตราภาษีเงินได้
0-150,000 บาทได้รับการยกเว้นภาษี
150,001-300,000 บาท5%
300,001 – 500,000 บาท10%
500,001-750,000 บาท15%
750,001-1,000,000 บาท20%
1,000,001 – 2,000,000 บาท25%
2,000,001 – 5,000,000 บาท30%
5,000,001 บาทขึ้นไป35%

ค่าลดหย่อนภาษี 5 กลุ่มที่คนจ่ายภาษีต้องรู้

กลุ่มที่ 1 ค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว
ค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัวจำนวน
1ค่าลดหย่อนส่วนตัวสำหรับคนมีเงินได้ทุกคน60,000 บาท
2ค่าลดหย่อนคู่สมรส
*สำหรับคู่สมรสที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายและไม่มีเงินได้ หรือมีเงินได้แต่ยื่นแบบแสดงรายการคำนวณภาษีพร้อมกัน
60,000 บาท
3ค่าลดหย่อนบุตร ต่อ 1 คน
*หากเป็นบุตรโดยกฎหมายสามารถนำมาหักได้ไม่จำกัดจำนวนคน
*ในกรณีที่เป็นบุตรบุญธรรม หรือมีทั้งบุตรบุญธรรมและบุตรโดยกฎหมาย สามารถหักได้ไม่เกิน 3 คน ซึ่งตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบันตามนโยบายรัฐฯ ส่งเสริมให้เพิ่มประชากร คู่สมรสที่มีลูกคนที่ 2 ขึ้นไป รับสิทธิ์เพิ่มอีก 30,000 บาท ต่อคน รวมเป็น 60,000 บาท
30,000 บาท
4ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร
*หากตั้งท้องปีนี้ แต่กำหนดคลอดปีหน้า ให้ลดหย่อนตามปีที่ใช้สิทธิ แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท
ไม่เกินปีละ 60,000 บาท
5ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูพ่อแม่ และคู่สมรสอายุ 60 ปีขึ้นไป
*สูงสุดไม่เกิน 4 คน โดยสิทธิในการเลี้ยงดูจะใช้ได้ครั้งเดียว เพราะฉะนั้นพ่อแม่ต้องระบุลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองว่าลูกคนไหนเป็นคนเลี้ยงดู
คนละ 30,000 บาท
6ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูผู้พิการหรือคนทุพพลภาพ
*ในกรณีที่คนพิการหรือคนทุพพลภาพมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และต้องมีใบรับรองแพทย์ยืนยันว่าร่างกายบกพร่อง
คนละ 60,000 บาท
กลุ่มที่ 2 ค่าลดหย่อนกลุ่มประกัน เงินออมและการลงทุน
ค่าลดหย่อนกลุ่มประกัน เงินออมและการลงทุนจำนวน
1ประกันสังคมไม่เกิน 9,000 บาท
2เบี้ยประกันชีวิตไม่เกิน 100,000 บาท
3เบี้ยประกันสุขภาพไม่เกิน 15,000 บาท
*และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
4เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่
*ต้องเป็นบุตรตามกฎหมายเท่านั้น สิทธิประกันที่นำมาลดหย่อนต้องเป็นความคุ้มครองด้านใดด้านหนึ่งใน 4 กลุ่ม คือ ค่ารักษาจากการเจ็บป่วย อุบัติเหตุ โรคร้ายแรง และประกันคุ้มครองการพยาบาลสำหรับการเจ็บป่วยระยะยาว
ไม่เกิน 15,000 บาท
5เบี้ยประกันชีวิตคู่สมรส
*กรณีที่คู่สมรสไม่มีเงินได้
ไม่เกิน 10,000 บาท
6เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
*ในกรณีที่มีส่วนที่เกิน 10,000 แต่ไม่เกิน 15% ของรายได้ และไม่เกิน 490,000 บาท จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเอาไปคำนวณภาษี)
ไม่เกิน 10,000 บาท
7เงินสะสมกองทุน กบข. และกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชนไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี หรือไม่เกิน 500,000 บาท
8เงินสะสมจากกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)ไม่เกิน 13,200 บาท
9เบี้ยประกันชีวิตบำนาญ
*โดยมีเงื่อนไขคือเมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และ RMF จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท
ไม่เกิน 15% ของเงินได้ และต้องไม่เกิน 200,000 บาท
10กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
*เงื่อนไขคือต้องลงทุนต่อเนื่องถึงอายุ 55 ปี
ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 500,000 บาท
กลุ่มที่ 3 ค่าลดหย่อนอสังหาริมทรัพย์
ค่าลดหย่อนอสังหาริมทรัพย์จำนวน
1ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย
*เป็นดอกเบี้ยจากเงินกู้ซื้อบ้าน คอนโด หรือที่อยู่อาศัย หากมีการกู้อยู่อาศัยมากกว่า 1 แห่ง สามารถใช้ลดหย่อนรวมกันได้ แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท และในกรณีที่กู้ร่วมกันหลายคน สามารถแบ่งดอกเบี้ยคนละเท่า ๆ กัน โดยรวมแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท ต่อคน
ไม่เกิน 100,000 บาท
2ซื้อบ้านหลังแรก ปี พ.ศ. 2562
*ถ้าบ้านหรือคอนโดนั้นราคาไม่เกิน 5,000,000 บาท
ไม่เกิน 200,000 บาท
กลุ่มที่ 4 ค่าลดหย่อนกลุ่มเงินบริจาค
ค่าลดหย่อนกลุ่มเงินบริจาคจำนวน
1เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา สนับสนุนการกีฬา และเงินบริจาคเพื่อประโยชน์สาธารณะหักได้ 2 เท่า แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
2เงินบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐหักได้ 2 เท่า แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
3กลุ่มเงินบริจาคทั่วไป เช่น บริจาคเงินเพื่อสาธารณกุศลได้จำนวนตามที่บริจาคจริง แต่ต้องไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน และเงินบริจาค 2 กลุ่มแรก
4เงินบริจาคให้พรรคการเมืองสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
กลุ่มที่ 5 ค่าลดหย่อนตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ
  • มีด้วยกัน 1 สิทธิ ได้แก่
    1. มาตรการ “ช้อปดีมีคืน”
      จำนวนลดหย่อน: ตามที่จ่ายจริง แต่สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาทต่อ
      เงื่อนไข:
      • สำหรับการซื้อสินค้าระหว่างวันที่ 23 ตุลาคม 2563 – 31 ธันวาคม 2563
      • สินค้าที่ซื้อต้องเป็นดังนี้
        • สินค้าและบริการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม และสามารถออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปเพื่อเป็นหลักฐานได้
        • หนังสือและสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ รวมถึง eBook (ยกเว้นนิตยสารและหนังสือพิมพ์) จากร้านที่เป็นบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่สามารถออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบได้
        • สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชน และมีหลักฐานเป็นใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบ
      • สินค้าที่ไม่เข้าร่วม ได้แก่ เครื่องดื่นที่มีแอลกอฮอล์ ยาสูบ สลากกินแบ่งรัฐบาล น้ำมัน ค่าที่พักและ ค่าตั๋วเครื่องบิน

ยื่นอย่างไร ยื่นที่ไหน ยื่นเมื่อไร?

สำหรับใครที่มีรายได้จากเงินเดือนและโบนัส โดยไม่มีรายได้ประเภทอื่น ให้เตรียมหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) พร้อมเอกสารประกอบการลดหย่อนภาษี เมื่อเตรียมเอกสารครบแล้ว ให้รีบยื่นแสดงภาษีให้เร็วที่สุด ซึ่งเปิดให้ยื่นได้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 64 – 8 เมษายน 2564 โดยยื่นได้หลายช่องทาง ได้แก่

  • ยื่นแบบแสดงภาษีด้วยตัวเองที่กรมสรรพากร
  • ยื่นออนไลน์ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร https://www.rd.go.th/ ซึ่งจะสามารถยื่นได้ถึงวันที่ 8 เมษายน 2564
  • ยื่นผ่านแอปพลิเคชั่น RD Smart Tax แต่ต้องลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากรก่อน

เมื่อได้ข้อมูลอัปเดตการยื่นภาษีในปีนี้ไปแล้ว หวังว่าจะทำให้ผู้อ่านมีความเข้าใจในเรื่องของภาษี หลักการคำนวณ และการลดหย่อนภาษีต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เราวางแผนและใช้สิทธิได้คุ้มค่า จ่ายภาษีในอัตราที่ถูกลงและอาจได้รับเงินคืนอีกด้วย เพราะฉะนั้นทุกคนอย่าลืมศึกษาและใช้สิทธิลดหย่อนภาษีของตัวเองกันให้เต็มที่นะครับ

ขอบคุณที่มา : https://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/tax-2563

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่