เคล็ด(ไม่)ลับการเตรียมตัวสอบบรรจุครูผู้ช่วยให้ผ่านในรอบเดียว
เคล็ด(ไม่)ลับการเตรียมตัวสอบบรรจุครูผู้ช่วยให้ผ่านในรอบเดียว

เคล็ด(ไม่)ลับการเตรียมตัวสอบบรรจุครูผู้ช่วยให้ผ่านในรอบเดียว

ครูอสชีพดอทคอม ขอนำเสนอเคล็ด(ไม่)ลับการเตรียมสอบครูผู้ช่วย 66 วางแผนในการอ่านหนังสือสอบครูผู้ช่วย 2566 ประสบการณ์จากผู้ที่สอบติดครูผู้ช่วย สอบติดได้แน่นอนเตรียมตัวบรรจุครูได้เลย โดยสามารถศึกษาจากรายละเอียดที่แอดมินแนะนำมาฝากดังรายละเอียดต่อไปนี้ครับ

เคล็ด(ไม่)ลับการเตรียมตัวสอบบรรจุครูผู้ช่วยให้ผ่านในรอบเดียว

เคล็ด(ไม่)ลับการเตรียมตัวสอบบรรจุครูผู้ช่วยให้ผ่านในรอบเดียว

1.ทำความเข้าใจกับการสอบก่อน

ปัจจุบันการสอบเพื่อรับเข้าเป็นข้าราชการครูมีหลายสังกัด ทั้ง สพฐ กทม หรือ ท้องถิ่น ….เราควรจะเลือกว่าสิ่งไหนที่คิดว่าเหมาะสมกับเรา โดยการหาข้อมูลครับ หายังไง ตามเพจต่างๆใน Facebook website ต่างๆมีมากมายเลย แนะนำแบบครบจบในทีเดียวก็ ครูวันดี.com ครับ โดยทั่วไปเราจะสอบ 3 ภาค ซึ่งไม่แตกต่างกันมากมาย คือ
ภาค ก. วิชาความสามารถทั่วไป-วิชาความรอบรู้ -วิชาอุมดมการณ์ความเป็นครู 150 คะแนน
ภาค ข. วิชาการศึกษา และ วิชาชีพเฉพาะ/วิชาเอกที่เราเรียนมา 150 คะแนน
ภาค ค. ความเหมาะสมสำหรับตำแหน่ง ง่ายๆ คือ สัมภาษณ์ 50 คะแนน
โดยแต่ละภาคต้องมีคะแนน ผ่าน 60% ขึ้นไปจึงจะมีชื่อติดบัญชี**
ปล.จะมีรอบของครูคืนถิ่นที่สอบ 3 วิชานะครับ คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (คล้ายๆ GAT เชื่อมโญงเลย)
ซึ่งของครูคืนถิ่น จะคัดเอาคนเก่งที่มีเกรด 3.00+ ขึ้น ได้แก่ วิชาเอก 3.00+ วิชาชีพครู 3.00+ และ เกรดเฉลี่ยสะสม 3.00+ ครับจึงจะมีสิทธิ์สอบ ไม่มีขึ้นบัญชี เอาเฉพาะคนที่สอบได้แล้วได้รับการบรรจุทันทีครับ (ปัจจุบันรอบ 60 ไม่แน่ใจน่าจะให้แต่ ปี5 ที่กำลังจะจบได้สอบนะครับ)

2.เลือกหนังสือที่เป็น “สรุป”

เมื่อเรารู้ข้อมูลโดยประมาณแล้ว ว่าเราต้องอ่านอะไรบ้าง ผมแนะนำว่าให้ซื้อหนังสือที่เป็น สรุป ก่อน เพราะตัวนั้นจะมีทั้ง ภาค ก. และ ข. ครบจบในเล่มเดียว

ย้ำว่าเอาเล่มที่เป็น สรุปนะครับ และ อย่าลืม วิชาเอกที่เราจะสอบด้วย เช่น สังคม ไทย คณิต หาซื้อได้ทั่วไป แต่ถ้าอยากประหยัดก้ โหลด จาก สทศ. ที่เป็น O-net มาครับ เพราะ ข้อสอบครูมักจะออกแนววิเคราะห์แบบ O-net เลย ทั้งของ ม.3 และ ม.6 โหลดได้จากเว็บ สทศ. http://www.niets.or.th/examdownload/ เมื่อได้แล้ว เราก็ไปสู่กระบวนการข้อต่อไปครับ

3.ติวเตอร์

ทำไมเราต้องติว อ่านเองได้มั้ย? ตอบครับ ได้ แต่การติวจะช่วยให้เรารู้แนวสำหับการสอบครับ ว่า มันมีการสอบอะไรบ้าง และที่ผมให้ซื้อหนังสือแยยสรุปเอาไว้ก่อนนั้นเพราะ สำนักติวต่างๆ เค้ามีหนังสือรอให้คุรอ่านเรียบร้อย พร้อมติวอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องซื้อครับ ได้ทั้งติว ได้ทั้งหนังสืออ่านสอบ แถมได้ แนวมาสอบเยอะแยะไปหมด การติวอาจช่วยเราได้แค่ประมาณ 20-30% ครับ ที่เหือเราต้องเข้าใจ เพราะ ข้อสอบไม่ได้ออกตามติวเตอร์ครับ แต่การไปเพื่อทำให้เรารู้แนว ได้ความรู้ ได้หนังสือ ได้เหตุการณ์สำคัญๆต่างๆในการสอบ และที่สำคัญ ควรจะบันทึกเสียงไว้ด้วยเพื่อกันพลาด หรือ ยังไม่เข้าใจ เมื่อเราผ่านการติวแล้ว ขอนำไปสู่ข้อที่ 4 เลยครับ

4.จัดลำดับการอ่านหนังสือสอบ

ผมแนะนำให้อย่างนี้เลยครับ ผมจะอ่านแบบนี้

4.1 วิชาเอก

เราสามารถหาได้จากร้านหนังสือทั่วไปได้เลย ถ้าใครอยู่กทม. แถว ม.ราม1 ก็เป็นทางเลือกที่ดีครับเพราะมีแทบจะทุกวิชาเอก หรือไม่สะดวก 5 วิชาหลักก็สามารถหาโหลดได้จาก เว็บ สทศ. และ ตามเว็บไซด์อื่นๆอีกเยอะแยะเลย

4.2 ความสามารถทั่วไป (คณิตเน้นๆเยอะๆ)

ที่ให้ทบทวนรองลงมาจากวิชาเอกเพราะ คนเราจะไปตกม้าตายที่ คณิตศาสตร์ครับ สัดส่วนประมาณ 10-15 ข้อ จาก 50 ข้อ ซึ่งเยอะมากๆผมเองก็ตกม้าตายเหมือนกัน(กา ค. ดิ่งยาวเลย 10 ข้อ) ส่วนใหญ่ข้อสอบไม่พ้น หัวงู หัวหมา หัวแมว ขาไก่ ขาหมา ขาแมว โต๊ะจีนใครนั่งกับใคร คอนโดใครอยู่ใก้ลใครไม่ถูกกับใคร อนุกรมเน้นๆเลยครับ อลงทำสัก อนุกรม 2-3 ชั้น เพราะ ข้อสอบยากมาก ความน่าจะเป็น อุปมาอุปไม ประมาณนี้ครับ ภาษาไทยก็ทั่วๆไปกลางๆ และ ภาาอังกฤษ ก็กลางๆครับ หัดทำโจทย์คณิตฯบ่อยๆดีที่สุด

4.3 กฏหมาย พอสังเขปให้เรารู้และเข้าใจ

จริงๆแล้ว กฏหมายกับความรอบรู้จะรวมอยู่ใน 50 ข้อ ให้เราลองไปจำ กฏหมายการศึกษา ต่างๆ ไว้จะดีครับ ปีนี้เน้นอะไ อย่างปีที่ผ่านมา ออก ม.44 เยอะครับ กฏหมายแทบจะไม่มีเลย ประมาณ 3-5 ข้อ เพราะฉะนั้นแค่เราจำไปก็พอครับ ไม่ต้องอ่านเอาเป็นเอาตาย สุดท้ายออกนิดเดียว

4.4 ความรอบรู้ ติดตามข่าวสารอย่างน้อย 3 เดือนย้อนหลัง
ตัวนี้ออกเยอะครับ จะเน้นออก นโยบายต่างๆ ม.44 ขอ นายกฯ เน้นติดตามข่าวสารครับ อย่างน้อยๆ ทุกวันศุกร์ควรดูลุงตู่พบประาชนครับ เน้นข่าวที่ดังๆ 3 เดือนให้หลัง เพราะ พวกนี้จะออกข้อสอบท้ายสุด ต้องทันเหตุการณ์และใหม่ที่สุด (รอบ 1/59 ออก โปเกมอนโก) ประมาณนี้ครับ ไม่แน่รอบ 1/60 อาจจะออก วัดพระธรรมกาย ก็ได้ครับ!!! 5555+

4.5 วิชาชีพครู
เป็นวิชาที่ง่ายที่สุดใน ภาค ก. ครับ อ่านไปให้ขึ้นใจเลย ให้เรามีความรู้เกี่ยวกับ จรรยบรรณครูเยอะๆ ข้อสอบแนว วิเคราะห์แต่ไม่ยากครับ เราสามารถเก็บคะแนนได้จาก วิชานี้แหละ

4.6 วิชาการศึกษา
ที่ให้อ่านสุดท้ายเพราะ เนื้อหามันตายตัวไม่เปลี่ยนแปลงครับ ก็ไม่มีอะไรมาก จะเน้น ทฤษฎีต่างๆ ของนักวิทย์ การจัดการเรียนรู้ รูปแบบการสอน และ
งานวิจัย ( CIPPA model นี่ออกบ่อย ชอบถามความหมายของแต่ละตัว)

4.7 ส่วนของครูคืนถิ่นนะครับ อ่านภาษาอังกฤษเยอะๆ แนะนำให้ อ่านเป็นแบบ reading และหัดจับใจความสำคัญ หัดเขียน writing บ่อยๆ เพราะรอบที่ผ่านมา เจอข้อสอบ writing

5.แบ่งเวลาในการอ่านหนังสือและทบทวนครับ

ตอนระหว่างผมรองานนั้นผมแบ่งเวลาอ่านดังนี้
จันทร์-เสาร์ 10.00 – 12.00 อ่านหนังสือ
12.00 – 13.30 พักผ่อนครับ กินข้าว ดูหนัง ฟังเพลง
13.30 – 16.30 อ่านหนังสือ
16.30 – 19.30 พักผ่อนครับ ทำภารกิจของตัวเองให้เสร็จสิ้นทั้งหมด กินข้าว อาบน้ำ ประมาณนี้
20.00 – 21.30 อ่านหนังสือ
วันอาทิตย์ เป็นวันที่สมองเราจะได้พักผ่อนครับ เพราะเราอ่านมาเยอะแล้ว เราควรจะพักสมองครับ อยากทำอะไรวันนี้ได้เลย หนึ่งวัน!!! 5555+
หลังจากนั้นไม่เกิน 22.30 ก็พักผ่อนครับ อย่างน้อยๆให้สมองเราได้พัก 7-8 ชม. ในการนอนก็ยังดี
***สำหรับคนที่ต้องทำงาน จันทร์-ศุกร์ ก็ ควรอ่านอย่างน้อย สัก 3 ชั่วโมงครับ เช่น อ่าน 20.00 – 23.00 พอแล้ว ส่วนวันเสาร์ก็ใช้สูตรแบบด้านบน
***สำหรับคนที่ได้หยุดพัก 1 วัน/สัปดาห์ ก็ อ่านวันล่ะ 3 ชั่วโมงก็ได้ครับ ค่อยๆทบทวนไป มีวันว่างหนึ่งก็อาจจะอ่านสักครึ่งวัน หรือ พักผ่อนครับ
เพราะคนทำงานก็เหนื่อยแล้ว พอหักโหมอ่านหนังสือยิ่งหนักครับ ควรแบ่งเลาให้สมองได้พักผ่อน และร่างกายได้ฟื้นตัวเร็วๆ และ ควรนอนอย่างน้อย 6 ชั่วโมง สำหรับคนที่ทำงาน และ ต้องอ่านหนังสือสอบครับ

6.เริ่มอ่านสอบ

เมื่อเราแบ่งเวลาแล้ว ก็ทำการหาจุดสำคัญๆแล้วไฮไลท์ไว้ก่อน 1 ครั้ง ทุกวิชาที่เราอ่าน โดยอ่านให้จบเป็นวิชาๆไปนะครับ ไม่งั้นตีกันอิลุงตุงนัง
จากนั้น ก็อ่านแบบจริงๆจังครับ พร้อมทำข้อสอบไปพลางๆให้เราได้รู้แนวบ้าง เมื่ออ่านผ่านๆไป 1 รอบครบทุกวิชา อ่านแบบจริงจัง 1 รอบครบทุกวิชา ทีนี้เราเตรียมสมุดไว้ แต่ล่ะวิชาเลยครับ เพราะนำมาสรุป และจดบันทึกเป็นการอ่านแบบของเราเองเลย เมื่อสรุปครบ ก็เริ่มอ่านจากที่เราสรุปลงสมุดนั่นแหละครับอีก 1 รอบ
สรุปคือ อ่านผ่านๆ 1 รอบ
ไฮไลท์จุดสำคัญ 1 รอบ
อ่านจริงๆจังๆ 1 รอบ
สรุปลสมุด 1 รอบ
จะได้ทั้งหมด 4 รอบครับ ซึ่ง การสรุป หรือ ไฮไลท์ ก็เท่ากับเราอ่านไปแล้วครับ เพื่อเราจะได้เข้าใจมากขึ้นครับ

7.ทำข้อสอบ

เมื่อเราคิดว่าเราเชี่ยวชาญพอแล้ว ก็ทีนี้โค้งเกือสุดท้ายก่อนจะลงสนามสอบ ก็หาข้อสอบมาทำเลยครับ เอาข้อสอบเพียวๆมาทำเลย แนะนำว่า หาข้อสอบแนวคิดวิเคราะห์เยอะๆ จากเว็บไซด์ที่แชร์ๆกนมา (แต่ดูพ.ศ.ด้วยนะครับ) หรือหนังสือแนวข้อสอบต่างๆ เช่น หนังสือสำนัก hi-ed ครับ โอเคเลยสำหรับผมนะ เพราะข้อสอบมันกลางๆออกแนววิเคราะห์ให้เราด้วย ทีนี้ก็ทำเลยครับ ทำให้ครบทุกวิชาเลย แล้วต้องทำให้ได้อย่างน้อย 60% ขึ้นไปครับ ถ้าเกิน 60 แสดงว่าเราเข้าใจในเนื้อหาแล้ว ยิ่งได้สัก 70-75 ยิ่งดีครับ

8.ลงติวกับติวเตอร์รอบสุดท้าย

ทำไมต้องติวอีก บางคนอาจไม่ติวก็ได้ครับ แต่สำหรับผม ติวเพื่อไปเก็บข้อมูลครั้งสุดก่อนสอบสัก 1 สัปดาห์ครับ เพราะบางทีข้อมูลสำคัยๆหลายๆอย่างมันอยู่ที่การติวครั้งสุดท้ายนี่แหละครับ ซึ่ง แต่ละสำนักก็เปิดกันเยอะแยะ เพื่อนๆหาไม่ยากครับ // แต่ถ้าใครไม่ติวก็ทบทวนที่มีอย่แล้วก็พอครับ
เพราะบางครั้งมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับการติวแล้วเราจะขึ้นบัญชีสอบได้ อยู่ที่เราล้วนๆเลยครับ ต้องมีวินัยในตนเอง “ห้ามขี้เกียจ”

9.ก่อนสอบ 1 วัน ก็พักผ่อนครับ 5555+

10.การเลือกสนามสอบและการสมัครสอบ

โดยปกติแล้วเค้าจะมีสนามสอบแต่ล่ะจังหวัดมาให้เราได้ลองเลือกดูครับว่า ที่ไหนเปิดสอบบ้าง รับกี่อัตรา ก่อนวันสมัครประมาณ 1-2 สัปดาห์(จำไม่ได้ถ้าผิดยังไงขออภัยครับ)
10.1 ศึกษาสถานที่ที่เปิดสอบก่อนว่า มีที่ไหนเปิดบ้างแล้วรับกี่อัตรา ดูจำนวนโณชรงเรียน แต่ล่ะที่ว่ามีมากน้อยเพียงใด แล้วอัตราในการเรียกบรรจุมากน้อยแค่ไหน
10.2 ควรเลือกจังหวัด/ที่สอบที่มีคนไปสมัครน้อยๆ เพราะ คู่แข่งเราน้อย อัตราการแข่งก็น้อยตาม // หรือ เลือกที่อัตรารับเยอะ คนสอบเยอะ แต่อัตราการเรียกบรรจุสูงมาก เช่น กทม. รับ 69 คน คนสอบ 2000 เฉลี่ยแล้ว เราแข่งกับคนแค่ 28-29 คนเอง ในขณะที่บางที่รับเยอะคนสอบน้อย แต่ อัตราเรียกน้อยก็อาจจะอดได้หากเราสอบติดบัญชีไว้ เลือกจังหวัดที่เด่นๆแล้วมีอัตราสูงๆครับ จะดีที่สุด
10.3 ปกติแล้วการรับสมัครจะรับสมัคร 7 วัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ซึ่งเป็นไปได้ว่าคนจะแห่ไปสมัครวันแรกครับ แล้วแต่ล่ะที่จำนวนจะสูงมาก ให้เราไปสมัคร 3-4 วันสุดท้ายครับคือ เช่นถ้าสมัคร จ.-อา. ให้เราไปสมัครสัก พฤ.-ส. (วันสุดท้ายไม่แนะนำนะเพราะหากเราพลาดเอกสารอาจจะไม่ได้สอบ) เพื่ออะไรครับ เพื่อดูอัตราคนสมัครแต่ล่ะที่ๆเขาเปิดรับว่า มันลดลงจากวันแรกมากมมั้ย หรือ คงที่ หรือเพิ่มมากขึ้น (เหมือนกรณีศึกษา เอกสังคม นครปฐมคนสมัครวันแรก 200 วันต่อๆมาก็ 200 สรุป ยอดรวมเอกเดียว 2400 เราก็ไม่ควรไปนะครับ) ควรจะหาที่สมัครที่ง่ายต่อเรา คนไม่เยอะมาก

10 ข้อนี้ คงเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองในการสอบบรรจุเพื่อรับราชการครูได้นะครับ ผมหวังอย่างยิ่งว่าจะช่วยได้ไม่มากก็น้อย

ปล. ผมไม่ได้เก่งหรืออะไรครับ แค่มีความพยายามและตั้งเป้าหมายของตัวเองไว้เท่านั้นเอง เราอาจจะยอมลำบากไม่ได้ไปไหนต่อไหนครับ แต่พอวันประกาศผลแล้วเราสอบติด เราและครอบครัวดีใจกันมาก ยิ่งได้จดหมายเรียกตัวไปบรรจุ วันนั้นแหละครับ ลองดู สีหน้าพ่อ-กับแม่เราที่ได้เห็นเรามีหน้าที่การงานที่มั่นคงแล้ว เราจะรู้ว่า ที่เราเหนื่อยมานั้นมันคุ้มค่ามากจริงๆครับ

เคล็ด(ไม่)ลับการเตรียมตัวสอบบรรจุครูผู้ช่วย ขอบคุณที่มา :: https://pantip.com/ สมาชิกหมายเลข 1868620

เคล็ด(ไม่)ลับ สอบบรรจุครูผู้ช่วยอย่างไรให้ติด”

เนื้อหาสอบครูผู้ช่วย 2566สามารถศึกษาและ ดาวน์โหลด คู่มือการดำเนินการสอบบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2564

เนื้อหาสอบครูผู้ช่วย 2565
เคล็ด(ไม่)ลับการเตรียมตัวสอบบรรจุครูผู้ช่วยให้ผ่านในรอบเดียว

เคล็ด(ไม่)ลับการเตรียมตัวสอบบรรจุครูผู้ช่วย ครูผู้ช่วยสอบติดอันดับ 1 เอกภาษาอังกฤษ เมืองย่าโม ปี 2561 “เคล็ด(ไม่)ลับ สอบครูผู้ช่วยอย่างไรให้ติด” ฟังครูผู้ช่วยสอบติดอันดับ 1 เอกภาษาอังกฤษ เมืองย่าโม ปี 2561 และครูผู้ช่วยที่เพิ่งบรรจุแต่งตั้ง มาแนะนำ และความพร้อมของ กศจ.นครราชสีมา ในการจัดสอบปีนี้

รับชมที่นี่

นาที 1.00 ครูพัชริยา เครือบุญ
นาที 3.37 ครูภิญญา กลอนโพธิ์
นาที 4.05 ศธจ.กฤตพล ชุติกุลกีรติ

ขอขอบคุณที่มา ศธ.360 องศา

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่