แจกข้อสอบ พร้อมเฉลย ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน จำนวน 70 ข้อ
แจกข้อสอบ พร้อมเฉลย ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน จำนวน 70 ข้อ

แจกข้อสอบ พร้อมเฉลย ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน จำนวน 70 ข้อ

ครูอาชีพดอทคอม ขอนำเสนอ ข้อสอบ พร้อมเฉลย ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน จำนวน 70 ข้อ ใช้สำหรับอ่านสอบบรรจุครูผู้ช่วย ให้ฝึกทำบ่อยๆ แลทำความเข้าใจ ขอให้ทุกท่านโชคดีในการสอบครับ

สรุปสาระสําคัญของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน คือ กฎหมายที่กำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการต่าง ๆ เพื่อมิให้มีการปฏิบัติงานที่ซ้ำช้อนกัน ก่อให้เกิดการบริหารงานที่เป็นเอกภาพ รวมถึงหลักการในการมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทน และกำหนดการบริหารราชการแนวใหม่เพื่อให้ระบบบริหารราชการสามารถปฏิบัติงานตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศและการให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมีสาระสำคัญดังนี้

๑. การจัดระเบียบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งออกเป็น ๓ รูปแบบคือ

แจกข้อสอบ พร้อมเฉลย ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน จำนวน 70 ข้อ

๑.๑ ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง

๑.๑.๑ การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ได้แบ่งส่วนราชการเป็น ๔ รูปแบบ โดยส่วนราชการทั้งสี่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ในการจัดบริหารราชการส่วนกลางไก้กำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลบริหารราชการแผ่นดิน มีอำนาจในการสั่งราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และควบคุมราชการส่วนท้องถิ่น คือ

(๑) สำนักนายกรัฐมนตรี ให้แบ่งส่วนราชการเป็น ๔ รูปแบบ คือ

(๑.๑) รูปแบบที่หัวหน้าส่วนราชการเป็นข้าราชการการเมือง ได้แก่ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ซึ่งทำหน้าที่ลักษณะเดียวกันกับสำนักงานรัฐมนตรีในกระทรวงต่างๆ ส่วนราชการนี้มีเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นข้าราชการการเมืองดูแลรับผิดชอบ

(๑.๒) รูปแบบที่หัวหน้าส่วนราชการมีฐานะเทียบเท่าปลัดกระทรวงและขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ส่วนราชการเหล่านี้ได้แก่ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

(๑.๓) รูปแบบของส่วนราชการที่ทำหน้าที่กำกับดูแลราชการประจำทั่วไปของสำนักนายกรัฐมนตรี คือ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งทำหน้าที่เป็นสำนักงานปลัดกระทรวง มีปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะปลัดกระทรวงดูแลรับผิดชอบ

(๑.๔) รูปแบบที่หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้แก่ กรมประชาสัมพันธ์สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

(๒) กระทรวง หรือทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง อยู่ภายใต้การดูแลบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง มีหน้าที่โดยทั่วไปคือ การกำหนดนโยบายและวางแผนดำเนินงานของกระทรวง รวมทั้งกำกับ เร่งรัด ติดตาม การดำเนินงานตามแผนและนโยบายที่กำหนดไว้ การแบ่งส่วนราชการภายในกระทรวง กระทรวงต่างๆ แบ่งส่วนราชการภายในออกเป็นกรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นแต่มีฐานะเป็นกรม ส่วนราชการระดับกรมในกระทรวงต่างๆ อาจจำแนกได้เป็น ประเภท คือ

(๒.๑) สำนักงานรัฐมนตรี มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับราชการทางการเมืองของกระทรวงมีเลขานุการรัฐมนตรีดูแลรับผิดชอบขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

(๒.๒) สำนักงานปลัดกระทรวง มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับราชการประจำทั่วไปของกระทรวง และราชการอื่นที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรมใดกรมหนึ่งในสังกัดกระทรวงโดยเฉพาะ
รวมทั้งการกำกับเร่งรัดติดตามผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกระทรวง ทั้งนี้โดยอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของปลัดกระทรวง

(๒.๓) กรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการส่วนใดส่วนหนึ่งของกระทรวงหรือตามกฎหมายว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของกรม ทั้งนี้อยู่ภายใต้การรับผิดชอบของอธิบดี หรือตำแหน่งที่เรียกชื่อ
เป็นอย่างอื่นสำหรับส่วนราชการระดับกรมที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่น

(๓) ทบวง ซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง

(๔) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัดหรือไม่ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง การแบ่งส่วนราชการภายในกรม จะแบ่งเป็นสำนักงาน
เลขานุการกรม กอง และแผนก

๑.๒ ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค

๑.๒.๑ จังหวัด ในระดับจังหวัด ได้บัญญัติให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชน และเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหาร ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัด และรับผิดชอบในราชการจังหวัดและอำเภอ
กำหนดให้มีปลัดจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดซึ่งกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ส่งมาประจำทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือผู้ว่าราชการจังหวัด และมีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการฝ่าย บริหารส่วนภูมิภาคซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมนั้น ในจังหวัด

๑.๒.๒ อำเภอ ในระดับอำเภอ ให้มีนายอำเภอเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการในอำเภอ และรับผิดชอบงานบริหารราชการของอำเภอ

๑.๓ ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น กำหนดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ๔ รูปแบบดังนี้ คือ

๑.๓.๑ องค์การบริหารส่วนจังหวัด

๑.๓.๒ เทศบาล

๑.๓.๓ องค์การบริหารส่วนตำบล

๑.๓. ๔ ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ ๒ รูปแบบคือ กรุงเทพมหานคร ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.๒๕๒๘และเมืองพัทยา ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. ๒๕๔๒

๒. การปฏิบัติราชการแทน

ในการบริหารราชการแผ่นดินผู้มีอำนาจในการบริหารราชการอาจจะมอบอำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการอื่น โดยผู้มีอำนาจในการบริหารราชการสามารถมอบอำนาจให้แก่ผู้มีอำนาจชั้นรองเพื่อปฏิบัติราชการแทน โดยที่ผู้มอบอำนาจยังคงดำรงตำแหน่งและยังปฏิบัติหน้าที่อยู่

๒.๑ หลักในการปฏิบัติราชการแทนมีอยู่ ๕ ประการ คือ

๒.๑.๑ เป็นอำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการอื่นที่ผู้ดำรงตำแหน่งใดจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

๒.๑.๒ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น หรือมิได้ห้ามเรื่องการมอบอำนาจไว้ก็ตาม

๒.๑.๓ การมอบอำนาจต้องทำเป็นหนังสือ

๒.๑.๔ เมื่อมีการมอบอำนาจแล้ว ผู้รับมอบอำนาจมีหน้าที่ต้องรับมอบอำนาจนั้นและจะมอบอำนาจให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นต่อไปไม่ได้ (เว้นแต่กรณีการมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งกฎหมายกำหนดว่าผู้ว่าราชการจังหวัดอาจมอบอำนาจนั้นต่อไปอีกได้ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารราชการส่วนภูมิภาค)

๒.๑.๕ เมื่อมีการมอบอำนาจแล้ว ผู้มอบอำนาจมีหน้าที่กำกับติดตามผลการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอำนาจ และให้มีอำนาจแนะนำและแก้ไขการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอำนาจได้

๓. การรักษาราชการแทน

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินกำหนดให้มีการรักษาราชการแทน ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งไม่อาจปฏิบัติราชการได้ เพื่อให้การบริหารราชการมีความคล่องตัว เกิดความต่อเนื่อง อันจะเป็นผลให้การบริหารราชการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดี หลักในการรักษาราชการแทนมี ๓ ประการ คือ

๓.๑ กรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งนั้นหรือมีผู้ดำรงตำแหน่งแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ด้วยเหตุใดๆ

๓.๒ ผู้รักษาราชการแทนมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ที่ตนแทนทุกประการ

๓.๓ กรณีรักษาราชการแทนเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย

๔. กรณีรักษาราชการแทนเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน(แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาระบบราชการเพื่อให้การพัฒนาระบบราชการบรรลุประสิทธิภาพและประสิทธิผล

กฎหมายระเบียบบบริหารราชการแผ่นตื้น เป็นกฎหมายที่กำหนตการจัดโครงสร้างของส่วนราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาต ราชการส่วนท้องถิ่น และกำหนดให้มีการบริหารราชการใน กระทรวง ทบวง กรม จังหวัด อำเภอ และในต่างประเทศ ในเรื่องการมอบอำนาจ การกษาราชการแทน และกำหนดการบริหารราชการแนวใหม่ ให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

แจกข้อสอบ พร้อมเฉลย ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน จำนวน 70 ข้อ
แจกข้อสอบ พร้อมเฉลย ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน จำนวน 70 ข้อ
แจกข้อสอบ พร้อมเฉลย ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน จำนวน 70 ข้อ
แจกข้อสอบ พร้อมเฉลย ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน จำนวน 70 ข้อ
แจกข้อสอบ พร้อมเฉลย ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน จำนวน 70 ข้อ

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (opdc.go.th)

แจกข้อสอบ พร้อมเฉลย ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน จำนวน 70 ข้อ

ข้อสอบ พร้อมเฉลย ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน จำนวน 70 ข้อ

1.    ข้อใดเป็นหลักการในการบริหารราชการตาม พรบ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ก.  เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

ข.  เพื่อลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็น

ค.  เพื่อกระจายอำนาจตัดสินใจ

ง.  ข้อ ก. และ ข.

จ.  ข้อ ก. , และ ค. ถูก

2.    พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ 2534 ได้วางแนวทางการจัดสรรงบประมาณและการบรรจุแต่งตั้ง  บุคคลเข้าดำรงตำแหน่ง หรือปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ. จะต้องเป็นไปตามหลักการใด

ก.  ความยุติธรรม

ข.  ความเสมอภาค

ค.  ความเท่าเทียมกัน

ง.  ความมีประสิทธิภาพ

จ.  ถูกทุกข้อ

3.    การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินมีรูปแบบใด

ก.  กระทรวง ทบวง กรม

ข.  จังหวัด อำเภอ

ค.  จังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน

ง.  ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น

จ.  ก และ ข

4.    การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือน ของส่วนราชการต่าง ๆ ตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน   พ.ศ. 2534 จะต้องคำนึงถึง

ก.  ภารกิจที่รับผิดชอบ

ข.  ประสิทธิภาพของส่วนราชการ

ค.  คุณภาพและปริมาณของส่วนราชการนั้น ๆ

ง.  ก และ ค

จ.  ถูกทุกข้อ

5.    ข้อใดเป็นการบริหารราชการส่วนกลาง

ก.  กระทรวง

ข.  ทบวง

ค.  ส่วนราชการที่ชื่อเรียกอย่างอื่นมีฐานะเป็นกรม แต่ไม่ได้สังกัดกระทรวงหรือทบวง

ง.  ข้อ ก. ข. และ ค

6.    ส่วนราชการใด ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล

ก.  สำนักนายกรัฐมนตรี

ข.  ทบวง ซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ค.  กรมซึ่งไม่สังกัดกระทรวง

ง.  ข้อ ก. และข้อ ค. แล้วแต่กรณี

จ.  ทุกข้อมีฐานะเป็นนิติบุคคล

7.    โดยทั่วไปการจัดการจัดตั้ง การรวม การโอน กระทรวง ทบวง กรม จะต้องตราเป็นกฎหมายในลำดับใด

ก.  พระราชบัญญัติ

ข.  พระราชกำหนด

ค.  พระราชกฤษฎีกา

ง.  กฎกระทรวง

จ.  ระเบียบกระทรวง

8.    ข้อใดผิด

ก.  การโอนส่วนราชการเข้าด้วยกันถ้าไม่มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตรากำลังของส่วนราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้นให้                            ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

ข.  ให้สำนักงานข้าราชการพลเรือน และสำนักงานพัฒนาระบบราชการมีหน้าที่การตรวจสอบดูแลมิให้ส่วนราชการที่มีพระราชกฤษฎีกาให้รวมหรือโอนเข้าด้วยกัน กำหนดตำแหน่งหรืออัตรากำลังของข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มจนกว่าจะครบสามปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้

ค.  การเปลี่ยนชื่อส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

ง.  การยุบส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวงให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

จ.  ข้อ ข. และ ง.

9.    หน่วยงานใดมีหน้าที่ในการตรวจสอบดูแล ส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นใหม่ มิให้มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตรากำลังของข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้นจนกว่าจะครบสามปี

ก.  สำนักงานพัฒนาระบบราชการ

ข.  สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

ค.  สำนักงบประมาณ

ง.  ข้อ ก. ข. และ ค.

จ.  ข้อ ข. และ ค.

10.  หากกรมการปกครอง จะเปลี่ยนชื่อเป็นกรมการความมั่นคงภายใน จะต้องตราเป็นกฎหมายใด

ก.  พระราชบัญญัติ

ข.  พระราชกฤษฎีกา

ค.  พระราชกำหนด

ง.  กฎกระทรวง

จ.  ระเบียบกระทรวง

11.  กรณีที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น หมดความจำเป็น หากต้องการที่จะยุบกรมดังกล่าว จะต้องตราเป็นกฎหมายใด

ก.  พระราชบัญญัติๆ

ข.  พระราชกฤษฎีกา

ค.  พระราชกำหนด

ง.  กฎกระทรวง

จ.  ระเบียบกระทรวง

12.  การแบ่งส่วนราชการภายในกรม จะต้องตราเป็นกฎหมายข้อใด

ก.  พระราชบัญญัติ

ข.  พระราชกฤษฎีกา

ค.  พระราชกำหนด

ง.  กฎกระทรวง

จ.  ระเบียบกระทรวง

13.  ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการยุบเลิกกรม

ก.  จัดทำเป็นพระราชกฤษฎีกา

ข.  ให้งบประมาณรายจ่ายที่เหลืออยู่ของกรมนั้นตกเป็นงบกลาง

ค.  ทรัพย์สินอื่นของกรมนั้นให้โอนแก่ส่วนราชการอื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา

ง.  ข้าราชการหรือลูกจ้างซึ่งต้องพ้นจากราชการเพราะเหตุยุบตำแหน่งให้ได้รับเงินชดเชย

จ.  ข้อ ข. และ ค.

14.  หน่วยงานใดมีหน้าที่เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรี ให้แบ่งส่วนราชการภายในของกรมการปกครอง

ก.  สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

ข.  กระทรวงมหาดไทย

ค.  สำนักงานพัฒนาระบบราชการ

ง.  สำนักงบประมาณ

จ.  ข้อ ก. และ ข.

15.  บุคคลใดเป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดนโยบายเป้าหมาย และผลสำฤทธิ์ของงานในสำนักนายกรัฐมนตรี

ก.  นายกรัฐมนตรี

ข.  ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ค.  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

ง.  ข้อ ก. และ ข. ถูก

จ.  ข้อ ก. ข. และ ค. ถูก

16.  ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีตาย ขาดคุณสมบัติ ต้องคำพิพากษาให้จำคุก หรือศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าความเป็น รัฐมนตรีของนายกสิ้นสุดลงในระหว่างที่รอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ามารับหน้าที่นั้น คณะรัฐมนตรีชุดเดิม จะต้องทำอย่างไร

ก.  มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี

ข.  มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี

ค.  มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี

ง.  มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรีแล้วแต่กรณี

จ.  มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งปฏิบัติราชการแทนแล้วแต่กรณี

17.  อำนาจนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล กำหนดไว้ในมาตราใดและมีกี่ข้อ

ก.  ม. 8 11 ข้อ

ข.  ม. 11 ข้อ

ค.  ม.10 10 ข้อ

ง.  ม.11 9 ข้อ

จ.  ม.11 11 ข้อ

18.  ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล

ก.  สั่งให้ราชการส่วนกลางรายงานการปฏิบัติราชการ

ข.  สั่งให้ราชการส่วนภูมิภาคชี้แจงแสดงความคิดเห็น

ค.  สั่งให้ราชการส่วนท้องถิ่นรายงานการปฏิบัติราชการ

ง.  สั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของราชการส่วนท้องถิ่น

จ.  ค. และ ง. กล่าวผิด

19.  กรณีจำเป็นนายกรัฐมนตรีสามารถยังยั้งการปฏิบัติราชการของหน่วยงานใดบ้าง หากหน่วยงานนั้นปฏิบัติราชการขัดต่อนโยบายของรัฐบาล

ก.  ราชการส่วนกลาง

ข.  ราชการส่วนภูมิภาค

ค.  ราชการส่วนท้องถิ่น

ง.  เฉพาะข้อ ก. และ ข.

จ.  ยับยั้งได้ทั้ง ก. ข. และ ค.

20.  นายกรัฐมนตรีสามารถยับยั้งการปฏิบัติราชการของส่วนราชการท้องถิ่นได้ในกรณีใด

ก.  ไม่สามารถยับยั้งเป็นอิสระของราชการส่วนท้องถิ่นตามหลักการปกครองตนเอง

ข.  ยับยั้งได้หากราชการส่วนท้องถิ่นกระทำการก่อให้เกิดความเสียหายต่อท้องถิ่น

ค.  กรณีที่ราชการส่วนท้องถิ่นปฏิบัติราชการต่อนโยบายหรือมติของคณะรัฐมนตรี

ง.  ข้อ ข. และ ค.

จ.  ข้อ ก. และ ค.

21.  ข้อใดมิได้เป็นอำนาจการบังคับของนายกรัฐมนตรี

ก.  มีอำนาจบังคับบัญชาปลัดกระทรวงมหาดไทย

ข.  มีอำนาจบังคับบัญชาปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ค.  มีอำนาจบังคับบัญชาผู้ว่าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

ง.  ข้อ ก. และ ค. ถูก

จ.  ไม่มีข้อถูก

22.ข้อใดผิด

ก.  นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้ข้าราชการกรมการปกครองมาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิม

ข.  นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้ข้าราชการกระทรวงคมนาคม มาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยอัตราเงินเดือนไม่ขาดจากทางสังกัดเดิม

ค.  แต่งตั้งรองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ไปดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการปกครอง โดยให้รับเงินเดือนจากกรมการปกครอง

ง.  แต่งตั้งอธิบดีกรมทางหลวงชนบทไปดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการปกครองโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี

จ.  ไม่มีข้อใดผิด

23.  ระเบียบปฏิบัติราชการที่นายกรัฐมนตรีได้วางขึ้น เพื่อการบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปโดยรวดร็วและมีประสิทธิภาพตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดินกำหนดให้มีผลใช้บังคับเมื่อใด

ก.  ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว

ข.  เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว

ค.  มีผลบังคับใช้ทันทีที่นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลลงนามในคำสั่

ง.  มีผลบังคับตามที่ระบุไว้ในระเบียบ

จ.  มีผลบังคับใช้ตามวันที่ระบุไว้ในระเบียบ และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว

24.  บุคคลตามข้อใด เป็นข้าราชการเมือง

ก.  เลขาธิการนายกรัฐมนตรี

ข.  รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร

ค.  รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง

ง.  ข้อ ก. และ ค. ถูก

จ.  ข้อ ก ข และ ค

25.  สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่ในเรื่องใด

ก.  ราชการทางการเมือง

ข.  ราชการของรัฐสภา

ค.  ราชการในพระองค์

ง.  ข้อ ข. และ ค. ถูก

จ.  ถูกทุกข้อ

26.  บุคคลตามข้อใดต่อไปนี้อาจเป็นข้าราชการการเมืองหรือข้าราชการพลเรือนสามัญก็ได้

ก.  เลขาธิการคณะรัฐมนตรี

ข.  รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

ค.  ผู้ช่วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

ง.  ข้อ ข. และ ค.

จ.  ไม่มีข้อใดถูก

27.  ข้อใดมิใช่อำนาจของปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ก.  รับผิดชอบควบคุมราชการประจำในสำนักนายกรัฐมนตรี

ข.  รับผิดชอบกำหนดแนวทางและแผนปฏิบัติราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี

ค.  เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการสูงสุดของส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรียกเว้นข้าราชการของส่วนราชการซึ่งหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี

ง.  เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

จ.  ทุกข้อเป็นอำนาจของปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

28.  ตำแหน่งใดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินมิได้กำหนดไว้

ก.  ผู้ช่วยเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

ข.  ผู้ช่วยปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ค.  ผู้ช่วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

ง.  ผู้ช่วยปลัดกระทรวง                                  

29.  ส่วนราชการใดต่อไปนี้ ตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดินไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล

ก.  สำนักนายกรัฐมนตรี

ข.  สำนักงานปลัดกระทรวง

ค.  สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี

ง.  ข้อ ก. และ ข.

จ.  ข้อ ก. และ ค.

30.  การจัดตั้งสำนักนโยบายและแผน เป็นส่วนราชการภายในกระทรวง จะสามารถกระทำได้โดยวิธีใด

ก.  ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

ข.  ออกเป็นกฎกระทรวง

ค.  ออกเป็นพระราชกำหนด

ง.  ออกเป็นระเบียบบริหารราชการโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี

จ.  โดยคำสั่งรัฐมนตรีเจ้าสังกัด

31.  การจัดระเบียบราชการของกระทรวง ตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 ตำแหน่งใดไม่ได้ถูกกำหนดไว้

ก.  ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรี

ข. ผู้ช่วยปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ค.  ผู้ช่วยปลัดกระทรวง

ง.  หัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรี

จ.  ข้อ ค. และ ง.

32.  การกำหนดในส่วนราชการระดับกรมตั้งแต่สองกรมขึ้นไป อยู่ภายใต้กลุ่มภารกิจเดียวกัน สามารถกระทำได้ โดยอาศัยกฎหมายใด

ก.  พระราชกฤษฎีกา

ข.  ระเบียบกระทรวง

ค.  มติคณะรัฐมนตรี

ง.  เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม

จ.  กฎกระทรวง

33.  ในการกำหนดให้ส่วนราชการระดับกรมตั้งแต่สองกรมขึ้นไปอยู่ในกลุ่มภารกิจเดียวกันนั้น หัวหน้ากลุ่ม ภารกิจรับผิดชอบราชการและบังคับบัญชาข้าราชการ จะต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่งใด

ก.  รองปลัดกระทรวง

ข.  อธิบดี

ค.  ผู้ช่วยปลัดกระทรวง

ง.  ข้อ ก. และ ข.

จ.  ถูกทุกข้อ

34.  การปฏิบัติราชการของ หัวหน้ากลุ่มภารกิจ ขึ้นตรงต่อบุคคลใด

ก.  รัฐมนตรี                                 

ข.  ปลัดกระทรวง

ค.  รองปลัดกระทรวง

ง.  รัฐมนตรีหรือปลัดกระทรวงก็ได้ แล้วแต่จะกำหนดไว้ในกฎกระทรวง

จ.  เฉพาะข้อ ข. และ ค. เท่านั้น

35.  บุคคลที่มีหน้าที่ในการวางแผนและประสานกิจกรรมให้มีการใช้ทรัพยากรของส่วนราชการต่าง ๆ ใน กระทรวงร่วมกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ตามมติและเป้าหมายของกระทรวง ได้แก่

ก.  รัฐมนตรี

ข.  ปลัดกระทรวง

ค.  หัวหน้ากลุ่มภารกิจ

ง.  หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม

จ.  ข้อ ข. ค. และ ง.

36.  ตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 หากกระทรวงใดมิได้จัดให้มีกลุ่มภารกิจ     และปริมาณงานมาก จะสามารถมีรองปลัดกระทรวงได้กี่คน

ก.  1 คน

ข.  2 คน

ค.  3 คน

ง.  4 คน

จ.  เป็นไปตามที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการร่วมกันอนุมัติ

37.  กระทรวงใดมีการแบ่งกลุ่มภารกิจ

ก.  กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ข.  กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

ค.  กระทรวงพลังงาน

ง.  กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

จ.  ไม่มีข้อถูก

38.  กระทรวงมหาดไทยมีกลุ่มภารกิจ ดังนี้ข้อใดมิใช่

ก.  ด้านกิจการความมั่นคงภายใน

ข.  ด้านพัฒนาเมืองและส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

ค.  ด้านพัฒนาชุมชนและและส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

ง.  ด้านสาธารณภัยและพัฒนาเมือง

จ.  ข้อ ข. และ ง

39.  กลุ่มภารกิจของกระทรวงมหาดไทยมีการบังคับบัญชาในลักษณะใด

ก.  ทุกกลุ่มภารกิจปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี

ข.  ทุกกลุ่มภารกิจปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อปลัดกระทรวงแต่ให้รายงานโดยตรงต่อรัฐมนตรีอีกต่อหนึ่งด้วย

ค.  ทุกกลุ่มภารกิจปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อปลัดกระทรวงเว้นแต่ด้านกิจการความมั่นคงภายในขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี

ง.  ทุกกลุ่มภารกิจปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีเว้นแต่ด้านกิจการความมั่นคงภายในขึ้นตรงต่อปลัดกระทรวง

จ.  ผิดทุกข้อ

40.  ในการจัดระเบียบราชการของกระทรวง ส่วนราชการใดอาจมีหรือไม่มีก็ได้

ก.  สำนักนายกรัฐมนตรี

ข.  สำนักงานปลัดกระทรวง

ค.  กรม

ง.  ข้อ ก. และ ข.

จ.  ต้องมีหมดทั้งข้อ ก. และ ค.

41.  สำนักงานรัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องใด

ก.  ราชการทางเมือง

ข.  ราชการทั่วไปของกระทรวง

ค.  ราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรมหนึ่งกรมใดโดยเฉพาะ

ง.  ข้อ ก. และ ข.

จ.  ข้อ ก. และ ค.

42.  ข้อใดมิใช่อำนาจหน้าที่ของสำนักงานปลัดกระทรวง

ก.  ราชการทางเมือง

ข.  ราชการทั่วไปของกระทรวง

ค.  ราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรมหนึ่งกรมใดโดยเฉพาะ

ง.  เร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกระทรวง

จ.  ก และ ง

43.  ในการจัดระเบียบราชการในกรม โดยทั่วไปส่วนราชการใด จะต้องถูกกำหนดไว้เสมอ

ก.  สำนักงานเลขานุการกรม

ข.  กอง

ค.  ส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง

ง.  ข้อ ก. และ ข.

จ.  ถูกทุกข้อ

44.  กรณีที่มีกฎหมายอื่นกำหนดหน้าที่ของอธิบดีไว้เป็นการเฉพาะ การใช้อำนาจและการปฏิบัติหน้าที่ตาม               กฎหมายดังกล่าว อธิบดีจะต้องคำนึงถึง…

ก.  นโยบายที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา

ข.  นโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติ

ค.  นโยบาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติของกระทรวง

ง.  ก และ ค

จ.  ข้อ ก ข และ ค

45.  กระทรวงใดมีเหตุพิเศษ ต้องการแบ่งท้องที่ออกเป็นเขต และให้มีหัวหน้าส่วนราชการประจำเขต สามารถทำได้โดยอาศัยกฎหมายใด

ก.  พระราชบัญญัติ

ข.  ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี

ค.  พระราชกฤษฎีกา

ง.  กฎกระทรวง

จ.  มติคณะรัฐมนตรี

46.  การที่กรมใด จะต้องแบ่งท้องที่ออกเป็นเขตและให้มีหัวหน้าส่วนราชการประจำเขต มีวัตถุประสงค์ในการแบ่งอย่างใด

ก.  เพื่อปฏิบัติทางการเงิน

ข.  เพื่อปฏิบัติงานวิชาการ

ค.  เพื่อปฏิบัติงานตรวจสอบ

ง.  เพื่อปฏิบัติงานการวิจัย

จ.  ข้อ ข. และ ค.

47.  การแบ่งท้องที่ออกเป็นเขตเพื่อให้มีหัวหน้าส่วนราชการประจำเขตปฏิบัติงานทางวิชาการไม่บังคับใช้แก่ส่วนราชการใดต่อไปนี้

ก.  กระทรวงต่างประเทศ

ข.  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ค.  สำนักงานอัยการสูงสุด

ง.  ข้อ ข. และ ค.

จ.  ถูกทุกข้อ

48.  การที่กระทรวง ทบวง กรมใด จะกำหนดให้มีผู้ตรวจราชการของกระทรวง ทบวง กรม ต้องพิจารณาจากสิ่งใด

ก.  ลักษณะงานที่มีการตรวจสอบ

ข.  สภาพและประมาณของงาน

ค.  ภารกิจที่รับผิดชอบ

ง.  ข้อ ข. และ ค.

จ.  ถูกทุกข้อ

49.  ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน การมอบอำนาจในการปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ข้อใดถูก (ยกเลิกแล้ว)

ก.  นายกรัฐมนตรีมอบอำนาจให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ข.  นายกรัฐมนตรีมอบอำนาจให้ปลัดกระทรวง

ค.  นายกรัฐมนตรีมอบอำนาจให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

ง.  ข้อ ก. และ ค. ถูก

จ.  ถูกทุกข้อ

50.  ตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน การมอบอำนาจในการปฏิบัติราชการแทนข้อใดไม่ถูกต้อง (ความเดิม)

ก.  ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบอำนาจให้ส่วนราชการประจำอำเภอ

ข.  ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบอำนาจให้หัวหน้าส่วนราชการประจำกิ่งอำเภอ

ค.  หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดมอบอำนาจให้นายอำเภอ

ง.  ข้อ ข. และ ค. ไม่ถูกต้อง

จ.  ข้อ ก, ข และ ค. ไม่ถูกต้อง

51.  ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ (ยกเลิกแล้ว)

ก.  นายกรัฐมนตรี                                                      

ข.  รัฐมนตรีที่มิใช่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ค.  ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี                                  

ง.  ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

จ.  ก และ ค

52.  ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับกสนมอบอำนาจ(ยกเลิกแล้ว)

ก.  หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดมอบอำนาจให้นายอำเภอ

ข.  นายอำเภออาจมอบอำนาจให้หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ

ค.  หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดมอบอำนาจให้หัวหน้าส่วนราชการประจำกิ่งอำเภอ

ง.  ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบอำนาจให้หัวหน้าส่วนราชการประจำกิ่งอำเภอ

จ.  ข้อ ก. และ ง.

53.  ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการมอบอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด

ก.  การมอบอำนาจต้องทำเป็นหนังสือ

ข.  ถ้าอำนาจที่ได้รับมอบมาจากผู้อื่นผู้ว่าราชการจังหวัดจะมอบอำนาจต่อมิได้เว้นแต่มอบอำนาจให้รองผู้ว่าราชการจังหวัด

ค.  ผู้ว่าราชการจังหวัดเมื่อรับมอบอำนาจมาแล้วจะมอบอำนาจให้แก่หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้รับมอบอำนาจชั้นต้นก่อน

ง.  ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถมอบอำนาจให้หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอได้

จ.  ไม่มีข้อผิด

54.  เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทนแล้ว หากผู้ว่าราชการจังหวัดมอบอำนาจดังกล่าวให้ปลัดจังหวัดปฏิบัติราชการแทน จะต้องทำอย่างไร

ก.  สามารถมอบอำนาจได้ทันที

ข.  มอบอำนาจแล้วรายงานให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยทราบ

ค.  ไม่สามารถมอบได้เพราะเป็นอำนาจเฉพาะตัว

ง.  ขอความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก่อน เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วจึงสามารถทำการมอบอำนาจได้

จ.  ผิดทุกข้อ

55.  ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการมอบอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน(ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550

ก.  ผู้มีอำนาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นได้เฉพาะในส่วนราชการเดียวกันเว้นแต่มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด

ข.  กำหนดหลักเกณฑ์มอบอำนาจไว้ในพระราชกฤษฎีกา

ค.  อำนาจในการออกใบอนุญาตที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะอาจมอบอำนาจให้เฉพาะราชการซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้ว่าราชการจังหวัดเท่านั้น

ง.  วางหลักการสนับสนุนให้มีการมอบอำนาจกว้างขวางขึ้นเพื่อเน้นการบริการประชาชนให้มีความสะดวกและรวดเร็ว

จ.  ผู้มอบอำนาจพิจารณาถึงการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ความรวดเร็วในการปฏิบัติราชการ การกระจายความรับผิดชอบตามสภาพตำแหน่ง

56.  เมื่อมีการมอบอำนาจในการปฏิบัติราชการแทนให้แก่บุคคลใดแล้วผู้มอบอำนาจนั้น ยังคงหน้าที่อย่างไร

ก.  ยังคงมีอำนาจอยู่เช่นเดิมและแก้ไขการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอำนาจได้

ข.  มีหน้าที่กำกับติดตามผลการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอำนาจ

ค.  มีอำนาจแนะนำและแก้ไขการปฏิบัติราชการของผู้รับมอบอำนาจได้

ง.  ข้อ ข. และ ค. ถูก

จ.  ก ข และ ค

57.  การรักษาราชการแทนข้อใดถูก

ก.  กรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการแทนได้และไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทน

ข.  กรณีนายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้คณะรัฐมนตรีมอบอำนาจให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน

ค.  กรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้และมีรองนายกรัฐมนตรีหลายคนให้นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน

ง.  กรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้และมีรองนายกรัฐมนตรีหลายคนได้ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน

จ.  กรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและมีนรองนายกรัฐมนตรีหลายคนได้ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน

58.  ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไม่อาจปฏิบัติราชการแทนได้………..ข้อใดกล่าวถูกต้อง

ก.  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน

ข.  ถ้าไม่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงให้ปลัดกระทรวงเป็นผู้รักษาราชการแทน

ค.  ถ้ามีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงหลายคนให้นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน

ง.  ถ้าไม่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน

จ.  ข้อ ค. และ ง.

59.  กรณีที่ปลัดกระทรวงไม่อาจปฏิบัติราชการแทนได้และไม่มีรองปลัดกระทรวงหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการรักษาราชการแทนปลัดกระทรวง

ก.  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแต่งตั้งอธิบดีหรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่าเป็นผู้รักษาราชการแทน

ข.  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแต่งตั้งข้าราชการในกระทรวงซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าเป็นผู้รักษาราชการแทน

ค.  ให้ปลัดกระทรวงแต่งตั้งข้าราชการในกระทรวงซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือเทียบเท่าเป็นผู้รักษาราชการแทน

ง.  ก และ ค แล้วแต่กรณี

60.  ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรี หรือมีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ใครจะเป็นผู้รักษาราชการแทน ข้อใดกล่าวถูกต้อง

ก.  ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีผู้มีความอาวุโส

ข.  ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมอบหมาย

ค.  หัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรีกรณีที่ไม่มีผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรี

ง.  ถ้าไม่มีผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแต่งตั้งข้าราชการการเมืองคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน

จ.  ข้อ ข. และ ง.

61.  ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ใครจะเป็นผู้รักษาราชการ     แทน ข้อใดกล่าวถูกต้อง

ก.  พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินมิได้บัญญัติกรณีดังกล่าวนี้ไว้

ข.  ปลัดกระทรวงจะแต่งตั้งข้าราชการในกระทรวงซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือเทียบเท่าเป็นผู้รักษาราชการแทน

ค.  ปลัดกระทรวงแต่งตั้งข้าราชการในกระทรวงซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้นวยการกองหรือเทียบเท่าเป็นผู้รักษาราชการแทน

ง.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงจะแต่งตั้งข้าราชการในกระทรวงซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือเทียบเท่าเป็นผู้รักษาราชการแทน

จ.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงจะแต่งตั้งข้าราชการในกระทรวงซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้นวยการกองหรือเทียบเท่าเป็นผู้รักษาราชการแทน

62.  ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับการรักษาราชการแทน อธิบดี

ก.  กรณีที่มีรองอธิบดีหลายคนให้ปลัดกระทรวงแต่งตั้งรองอธิบดีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน

ข.  ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้ปลัดกระทรวงแต่งตั้งข้าราชการในกระทรวงซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่ารองอธิบดีหรือข้าราชการตั้งแต่หัวหน้ากองหรือเทียบเท่าขึ้นไปเป็นผู้รักษาการแทน

ค.  ถ้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเห็นสมควรเพื่อความเหมาะสมแก่การรับผิดชอบการปฏิบัติราชการในกรมนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงจะแต่งตั้งข้าราชการคนใดคนหนึ่งซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอธิบดีหรือเทียบเท่าเป็นผู้รักษาราชการแทน

ง.  ข้อ ก. และ ข.

จ.  ข้อ ข. และ ค. ผิด

63.  การรักษาราชการแทนตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ไม่ใช้บังคับแก่ส่วนราชการใด

ก.  กระทรวงศึกษาธิการ

ข.  กระทรวงการคลัง

ค.  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ง.  กระทรวงกลาโหม

จ.  ค และ ง

64.  กรณีเลขานุการกรมการปกครอง ไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ หากต้องการที่จะแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนเลขานุการปกครองจะต้องทำอย่างไร

ก.  เลขานุการกรมการปกครองออกคำสั่งแต่งตั้งหัวหน้าฝ่ายคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน

ข.  อธิบดีออกคำสั่งแต่งตั้งหัวหน้าฝ่ายคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน

ค.  อธิบดีออกคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการในกรมคนใดคนหนึ่งซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าหัวหน้ากองหรือเทียบเท่าเป็นผู้รักษาราชการแทน

ง.  ข้อ ข. และ ค. ถูก

จ.  ผิดทุกข้อ

65.  ข้อใดกล่าวเกี่ยวกับเรื่องการรักษาราชการแทนถูกต้อง

ก.  ผู้รักษาราชการแทนมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทน

ข.  กรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งใดมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทน ให้ผู้ที่ปฏิบัติราชการแทนมีหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งมอบอำนาจ

ค.  กรณีที่มีกฎหมายอื่นแต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการหรือให้มีอำนาจหน้าที่อย่างใด ผู้รักษาราชการแทนย่อมมีอำนาจหน้าที่เป็นกรรมการหรือมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งนั้น

ง.  เฉพาะข้อ ก. และ ข. ถูก

จ.  ข้อ ก. ถึง ค. ถูก

66.  “หัวหน้าคณะผู้แทน” ตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) 2545 โดยทั่วไปเป็นข้าราชการสังกัดส่วนราชการใด

ก.  สำนักนายกรัฐมนตรี

ข.  กระทรวงการต่างประเทศ

ค.  กระทรวงกลาโหม

ง.  กระทรวงใดก็ได้ที่ได้รับแต่งตั้งจากนายกรัฐมนตรี

จ.  กระทรวงพาณิชย์

67.  กรณีที่ปลัดกระทรวงมหาดไทย จะมอบอำนาจเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้หัวหน้าคณะผู้แทนในการบริหารราชการในต่างประเทศ ตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จะต้องทำอย่างไร

ก.  ทำหนังสือให้คณะรัฐมนตรีทราบ

ข.  แจ้งเรื่องมอบอำนาจให้หัวหน้าคณะผู้แทนทราบโดยตรง

ค.  ขออนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก่อนที่จะทำการมอบอำนาจ

ง.  แจ้งเรื่องการมอบอำนาจดังกล่าวผ่านกระทรวงต่างประเทศ

จ.  ไม่มีข้อใดถูก

68.  การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค เป็นไปตามข้อใด

ก.  จังหวัด อำเภอ

ข.  ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น

ค.  จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน

ง.  จังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ

จ.  ไม่มีข้อใดถูก

69.  จังหวัดสุรินทร์ มีพื้นที่ 10,000 ตารางเมตร หากต้องการจะแบ่งเขตพื้นที่ ของบางอำเภอจำนวน 1,000 ตารางเมตร ให้เป็นของจังหวัดบุรีรัมย์ จะต้องทำอย่างไร

ก.  ทำเป็นคำสั่งของกระทรวงมหาดไท

ข.  ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

ค.  ตราเป็นพระราชกำหนด

ง.  ตราเป็นพระราชบัญญัติ

จ.  ออกเป็นกฎกระทรวง

70.  หน่วยงานใดสามารถยื่นคำขอจัดตั้งงบประมาณได้ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการและงบประมาณ

ก.  จังหวัด

ข.  กลุ่มจังหวัด

ค.  อำเภอ

ง.  ก และ ข

จ.  ถูกทุกข้อ

71.  ในการบริหารราชการแผ่นดินของจังหวัดใด ใครมีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด

ก.  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัด

ข.  สภาจังหวัด

ค.  คณะกรรมการจังหวัด

ง.  คณะกรรมการธรรมภิบาลจังหวัด

จ.  ค และ ง

72.  ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2550 กำหนดให้จังหวัดมีอำนาจกี่ข้อ

ก.  6 ข้อ

ข.  7 ข้อ

ค.  8 ข้อ

ง.   9 ข้อ

จ.  5 ข้อ

73.  ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับคณะกรรมการจังหวัด

ก.  หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงต่างๆ กระทรวงละหนึ่งคนเป็นกรมการจังหวัด

ข.  ถ้ากระทรวงใดมีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดมากกว่าหนึ่งคนให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายให้หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดคนหนึ่งเป็นผู้แทนในคณะกรรมการจังหวัด

ค.  ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นสมควรจะแต่งตั้งให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นกรมการจังหวัดเพิ่มขึ้นเฉพาะการปฏิบัติหน้าที่ด้านใดด้านหนึ่งก็ได้

ง.  มีหน้าที่ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาจังหวัด

จ.  ข และ ง กล่าวผิด

74.    ข้อใดเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการจังหวัด

ก.  ให้ความเห็นชอบในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด

ข.  ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด

ค.  ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายหรือมติของคณะรัฐมนตรีกำหนด

ง.  ถูกเฉพาะข้อ ข. และ ค.

จ.  ก ข และ ค

เฉลยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และแก้ไขเพิ่มเติม

แจกข้อสอบ พร้อมเฉลย ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน จำนวน 70 ข้อ

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่