ดาวน์โหลดไฟล์ ตัวอย่างโครงสร้างรายวิชาภาษาไทย ปีการศึกษา 2565 ไฟล์เวิร์ด แก้ไขได้โดยคุณครูวรยา
ดาวน์โหลดไฟล์ ตัวอย่างโครงสร้างรายวิชาภาษาไทย ปีการศึกษา 2565 ไฟล์เวิร์ด แก้ไขได้โดยคุณครูวรยา

ดาวน์โหลดไฟล์ ตัวอย่างโครงสร้างรายวิชาภาษาไทย ปีการศึกษา 2565 ไฟล์เวิร์ด แก้ไขได้โดยคุณครูวรยา

เผยแพร่ ตัวอย่างโครงสร้างรายวิชาภาษาไทย (ท14101) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ลิงก์สำหรับดาวน์โหลด

แนวคิดหลัก

          หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กำหนดสาระการเรียนรู้ จำนวน ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูผู้สอนต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยนำความรู้ด้านเนื้อหาวิชามาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยการฝึกทักษะให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ และเกิดสมรรถนะหลัก ๖ ประการ (ใหม่) และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ ดังนี้

          สมรรถนะหลัก ๖ ด้าน (ใหม่) ได้แก่ 

          1. การจัดการตนเอง

          2. การคิดขั้นสูง

          3. การสื่อสาร

          4. การรวมพลังทำงานเป็นทีม

          5. การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง

          6. การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ และวิทยาการอย่างยั่งยืน

          คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข

ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก ดังนี้

          ๑) รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

          ๒) ซื่อสัตย์ สุจริต

          ๓) มีวินัย

          ๔) ใฝ่เรียนรู้

          5) อยู่อย่างพอเพียง

          6) มุ่งมั่นในการทำงาน

          ๗) รักความเป็นไทย

          ๘) มีจิตสาธารณะ

          กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากภาษาไทย

เป็นเอกลักษณ์ของความเป็นชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ ซึ่งเยาวชนคนไทย ใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร เพื่อสร้างความเข้าใจ และความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาความรู้ให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงทางสังคมความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนการนำไปใช้ในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และในการพัฒนาอาชีพ นอกจากนี้ ภาษาไทยยังเป็นสื่อแสดงถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรมเป็นสมบัติของชาติซึ่งคนรุ่นหลังควรอนุรักษ์ จรรโลง และสืบสานต่อไป

          แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เป็นสาระการเรียนรู้ซึ่งผู้เรียนต้องมีความรู้

ความเข้าใจ หลักภาษา การใช้ภาษาไทย วรรณคดีและวรรณกรรม เป็นการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความเป็นไทยและอัตลักษณ์ไทย และหลักการ

“สุ จิ ปุ ลิ” เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

          การจัดการเรียนการสอนภาษาไทยจึงเป็นการพัฒนาผู้เรียนทุกคนตามองค์ความรู้ ไม่จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียนเท่านั้น ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายได้อย่างมีความสุข

          หลักการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทย มีการบูรณาการด้านคุณลักษณะในแผน การจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงคุณลักษณะ ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มีทักษะด้านภาษาหลังการเรียนรู้ สอดคล้องตามเป้าหมายของหน่วยการเรียนรู้ มีเจตคติที่ดีต่อสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ และมีจิตอาสา ครูผู้สอนควรปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้แก่ผู้เรียนทุกแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์และเป็นคนดีของสังคม

กระบวนการจัดการเรียนรู้

          แนวคิดสำคัญของการจัดการศึกษา ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียน คิดและลงมือปฏิบัติด้วยกระบวนการที่หลากหลาย เพื่อเกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองเต็มตามศักยภาพ การประเมินการเรียนรู้จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียนเพราะสามารถทำให้ผู้สอนประเมินระดับพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ ให้ความสำคัญของการบูรณาการความรู้คู่คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ตามความเหมาะสมของระดับการศึกษา ได้ระบุให้ผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้

          1) สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

          (๑) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล

          (๒) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา

          (๓) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติ ให้ทำได้ คิดเป็นทำเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง

          (๔) จัดการเรียนการสอน โดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้ง

ปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา

          (๕) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ

          (๖) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

          ๒) การจัดสภาพแวดล้อมส่งเสริมการเรียนรู้

          (๑) จัดสภาพแวดล้อม ห้องเรียน หรือภายนอกห้องเรียน ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ สะอาด มีความเป็นระเบียบ ตกแต่งห้องเรียนให้น่าอยู่ มีมุมต่าง ๆ ในห้องเรียน มีที่เก็บวัสดุอุปกรณ์ และง่ายต่อการนำมาใช้ มีป้ายนิเทศให้ความรู้ ภายนอกห้องเรียนจัดบรรยากาศให้เป็นธรรมชาติน่าอยู่ ร่มรื่นและเหมาะกับกิจกรรมการเรียนรู้ ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย

          (2) จัดสภาพแวดล้อม หรือห้องให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติการ

          (๓) จัดสื่อ อุปกรณ์ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้อย่างเพียงพอ เหมาะสมจัดหาเครื่องมือแสวงหาความรู้ หรือ ช่องทางเสนอข่าวสารต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยปัจจุบันอยู่เสมอ

ครูผู้สอน

          การจัดการเรียนรู้ตามแนวดังกล่าว จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนการสอนทั้งของผู้เรียนและผู้สอน กล่าวคือลดบทบาทของครูผู้สอน จากการเป็นผู้บอกเล่า บรรยาย สาธิต เป็นการวางแผนจัดกิจกรรมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ กิจกรรมต่าง ๆ จะต้องเน้นที่บทบาทของผู้เรียนตั้งแต่เริ่ม คือ ร่วมวางแผนการเรียน การวัดผล ประเมินผล และต้องคำนึงว่ากิจกรรมการเรียนนั้น เน้นการพัฒนากระบวนการคิด วางแผน ลงมือปฏิบัติศึกษา ค้นคว้า รวบรวมข้อมูล ด้วยวิธีการต่าง ๆ จากแหล่งเรียนรู้หลากหลาย ตรวจสอบ วิเคราะห์ การแก้ปัญหา การมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน การสร้างคำอธิบายเกี่ยวกับข้อมูลที่สืบค้นได้ เพื่อนำไปสู่คำตอบของปัญหาหรือคำถามต่าง ๆ และสร้างองค์ความรู้ ทั้งนี้กิจกรรมการเรียนรู้เหล่านี้ต้องพัฒนาผู้เรียนให้มีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาหลักการจัดกระบวนการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษา มุ่งเน้นให้ผู้เรียน ฝึกทักษะทางภาษาตามมาตรฐานการเรียนรู้ และศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง นอกจากนี้ ครูผู้สอนควรใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้อย่างหลากหลาย เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Student Centered) และให้ผู้เรียนได้ลงมือกระทำ ได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป (Active learning) โดยครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีโอกาสลงมือกระทำมากกว่าการฟังเพียงอย่างเดียว โดยให้ผู้เรียนเรียนรู้โดยการอ่าน การเขียน การโต้ตอบ การวิเคราะห์ปัญหา อีกทั้งให้ผู้เรียนฝึกกระบวนการคิดอย่างหลากหลาย ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การประเมินค่า นอกจากนั้นครูผู้สอนต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยการร่วมมือระหว่างครูกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียน ครูต้องลดบทบาทในการสอนโดยเป็นผู้ชี้แนะ กระตุ้นให้ผู้เรียนกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ และปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ มากขึ้นและอย่างหลากหลาย ดังนี้

          (๑) ควรให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดเวลาด้วยการกระตุ้นให้นักเรียนลงมือปฏิบัติและอภิปรายผล โดยใช้เทคนิคต่าง ( ของการสอน เช่น การนำเข้าสู่บทเรียน การใช้คำถาม ที่จะทำให้การเรียนการสอนน่าสนใจและมีชีวิตชีวา

          (๒) ครูควรมีการวางแผนการใช้คำถามอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจะนำนักเรียนเข้าสู่บทเรียนและนำสู่ข้อสรุปได้โดยที่ไม่ใช้เวลานานเกินไป ครูควรเลือกใช้คำถามที่มีความยากง่ายพอเหมาะกับความสามารถของนักเรียน

          (๓) เมื่อนักเรียนถาม อย่าบอกคำตอบทันที ควรให้คำแนะนำที่จะช่วยให้นักเรียนหาคำตอบได้เอง

ครูควรให้ความสนใจต่อคำถามของนักเรียนทุก ๆ คน แม้ว่าคำถามนั้น ๆ อาจจะไม่เกี่ยวกับเรื่องที่กำลังเรียนอยู่ก็ตาม ครูควรจะชี้แจงให้ทราบและเบนความสนใจของนักเรียนกลับมาสู่เรื่องที่กำลังอภิปรายอยู่ สำหรับปัญหาที่นักเรียนถามมานั้น ควรจะได้หยิบยกมาอภิปรายในภายหลัง

          (๔) การสำรวจตรวจสอบซ้ำ เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ดังนั้น ในการจัดการเรียนรู้

ครูควรย้ำให้นักเรียนได้สำรวจตรวจสอบช้ำเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปที่ถูกต้องและเชื่อถือได้

กระบวนการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

          (๑) การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ ได้แก่ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ทัศนศึกษานอกสถานที่การเรียนรู้จากห้องสมุด แหล่งเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน งานวิเคราะห์จากการศึกษาภาคสนาม พิเคราะห์แหล่งข้อมูล การสอนแบบให้ผู้เรียนเรียนรู้โดยอิสระจากศูนย์การเรียนรู้และการเรียนรู้

ตามความสนใจ

          (๒) การเรียนรู้โดยผู้เรียนลงมือปฏิบัติ ได้แก่ เกม การศึกษาสถานการณ์จำลอง กรณีตัวอย่างบทบาทสมมุติ โครงงาน การทดลอง ศิลป์สร้างสรรค์การสอน เขียนบุคลาธิษฐาน คือ โวหารชนิดหนึ่งในโวหารภาพพจน์ที่มีลักษณะการสมมุติให้สิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ให้มีอากัปกิริยาท่าทางความรู้สึกเหมือนมนุษย์

การเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการกลุ่ม ประกอบด้วย การอภิปรายกลุ่มย่อย การแก้ปัญหากลุ่ม สืบค้น

ความรู้ กลุ่มสัมพันธ์ การเรียนรู้แบบร่วมมือ การอภิปราย การเรียนการสอนโดยใช้หัวเรื่อง

          (๓) การเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิด ได้แก่ การแก้สถานการณ์ การถามตอบ การสืบสอบความคิดรวบยอด การพัฒนากระบวนการคิด การใช้ทักษะกระบวนการ การสอนการอ่านโดยใช้วิธีการตั้งคำถามผู้เรียน การเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิก (Graphic Organizers) การเรียนการสอนด้วยกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดเปรียบเทียบ การคิดสังเคราะห์ การคิดประยุกต์ การคิดสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์ การคิดกลยุทธ์ การคิดบูรณาการ การคิดมโนทัศน์ และการคิดวิพากษ์

          (๔) การเรียนรู้ผ่านสื่อเทคโนโลยี ได้แก่ โปรแกรมสำเร็จรูป ชุดการสอน ชุดการสอนรายบุคคล

ชุดการสอนสำหรับการเรียนเป็นกลุ่มย่อย ชุดการสอนประกอบคำบรรยายของครู คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

และ การนำเสนอโดยวีดิทัศน์

สื่อการจัดการเรียนรู้/ แหล่งเรียนรู้

          สื่อการจัดการเรียนรู้

          สื่อการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือส่งเสริมสนับสนุนการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้นักเรียนได้รับความรู้ ทักษะกระบวนการได้ง่ายในระยะเวลาสั้นและช่วยให้เกิดความคิดรวบยอดอย่างถูกต้องและรวดเร็ว สื่อที่ปรากฏในแผนการจัดการเรียนรู้ มีดังนี้

          ๑) ใบความรู้ ใบงาน แผนภาพนำเสนอข้อมูล

          ๒) คลิป/วีดิทัศน์/ภาพข่าวสถานการณ์ปัจจุบัน

          ๓) สถานการณ์สมมุติ

          ๔) สื่อบุคคล

          แหล่งเรียนรู้

แหล่งเรียนรู้เป็นเครื่องมือสร้างคุณลักษณะการใฝ่เรียนรู้ที่ทุกคนต้องใฝ่รู้ตลอดชีวิต ดังนี้

          ๑) แหล่งเรียนรู้ภายห้องเรียน

          ๒) แหล่งเรียนรู้ภายนอกห้องเรียน ได้แก่ ชุมชน ท้องถิ่น พิพิธภัณฑ์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ห้องสมุด

ประชาชน ห้องสมุดแห่งชาติ

          ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญและเป็นหัวใจสำคัญของผู้เรียนในการศึกษาค้นคว้า โรงเรียนควรจัดห้องสมุดกลาง ห้องสมุดหมวดวิชา มุมหนังสือในห้องเรียน ห้องสมุดเคลื่อนที่ รถเคลื่อนที่ ห้องสมุดประชาชน ล้วนเป็นแหล่งเรียนรู้จะทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดีในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน

          ๓) แหล่งเรียนรู้ออนไลน์

          – สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

          – สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยต่าง ๆ

          – กระทรวงวัฒนธรรม

                   ฯลฯ

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

          จุดประสงค์สำคัญของการประเมินการเรียนรู้คือ การช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์

ที่ผู้สอนหรือหลักสูตรวางไว้ ปัญหาที่พบในปัจจุบันก็คือ ผู้บริหาร ผู้สอน ตลอดจนผู้ปกครองเป็นจำนวนมาก

ยังให้ความสำคัญการเรียนรู้แบบท่องจำเพื่อสอบ หรือการเรียนรู้เพื่อแข่งขัน ซึ่งถือเป็นการเรียนรู้แบบผิวเผิน

มากกว่า การประเมินการเรียนรู้ระหว่างเรียน การเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง ซึ่งผลลัพธ์ของการเรียนรู้จะยั่งยืนกว่า (กุศลิน มุสิกุล, ๒๕๕๕; ขจรศักดิ์, เพ็ญจันทร์ และวรรณทิพา รอดแรงค้า, ๒๕๔๘)

          ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านต่าง ๆ ของผู้เรียนนั้น จำเป็นต้องมีการประเมินการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มต้นระหว่างและสิ้นสุดกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้การประเมินในรูปแบบที่หลากหลายสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ รูปแบบการประเมินการเรียนรู้ได้แก่ การประเมินการเรียนรู้ระหว่างเรียน (Formative Assessment) การประเมินการเรียนรู้สรุปรวม (Summative Assessment) และการประเมินการเรียนรู้ตามสภาพจริง (Authentic Assessment) ในการประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ และการประเมินตามสภาพจริงนั้น ผู้สอนจำเป็นต้องสะท้อนการประเมิน ให้ผู้เรียนรับทราบเพื่อปรับปรุงและพัฒนาตนเอง และผู้สอนต้องนำผลการประเมินมาพิจารณาเพื่อทบทวนและปรับ

แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อให้สามารถดำเนินการแก้ไข ช่วยเหลือ หรือหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนแต่ละคนเกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ตามแต่ละจุดประสงค์การเรียนรู้หรือเป้าหมายของตัวชี้วัดต่าง ๆ

(กุศลิน มุสิกุล, ๒๕๕๕ )

          การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

          การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนต้องอยู่บนหลักการพื้นฐานสองประการคือ การประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนและการตัดสินผลการเรียน ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ประสบความสำเร็จนั้น ผู้เรียนจะต้องได้รับการพัฒนาและประเมินตามตัวชี้วัด เพื่อให้บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้

สะท้อนสมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักในการวัด

และประเมินการเรียนรู้ในทุกระดับ (กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๕๒)

          การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่ปรากฏในแผนการจัดการเรียนรู้ ให้ความสำคัญของการประเมิน

พฤติกรรมการปฏิบัติดังนี้

          ๑) วิธีการประเมิน

          (๑) การวัดและประเมินก่อนเรียน เพื่อตรวจสอบความพร้อม และความรู้เดิมของผู้เรียน (ผสมผสานในกิจกรรมการเรียนรู้ขั้นนำ)

          (๒) การวัดและประเมินระหว่างเรียน ได้แก่ ด้านความรู้ ทักษะการปฏิบัติ และคุณลักษณะโดย วิธีการสังเกตพฤติกรรม ถามตอบพร้อมแสดงเหตุผล ตรวจชิ้นงาน การนำเสนอผสมผสานในกิจกรรม การเรียนรู้ขั้นสอน จุดมุ่งหมายของการประเมินระหว่างเรียน มีดังนี้

          (๒.๑) เพื่อค้นหาและวินิจฉัยว่าผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเนื้อหา มีทักษะความชำนาญรวมถึงมีเจตคติทางการเรียนรู้อย่างไรและในระดับใด เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้สอนสามารถวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ

          (๒.๒) เพื่อใช้เป็นข้อมูลป้อนกลับให้กับผู้เรียนว่ามีผลการเรียนรู้อย่างไร

          (๒.๓) เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการสรุปผลการเรียนรู้และเปรียบเทียบระดับพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน

          (๓) การวัดและประเมินหลังเรียน เพื่อตรวจสอบความสำเร็จตามจุดประสงค์รายแผนเป็นการพัฒนาในจุดที่ผู้เรียนอาจจะเข้าใจคลาดเคลื่อนหรือปฏิบัติไม่ถูกต้อง (ผสมผสานในกิจกรรมขั้นสรุป) และเพื่อตัดสินผลการจัดการเรียนรู้ เป็นการประเมินหลังจากผู้เรียนได้เรียนไปแล้ว ผลจากการประเมินประเภทนี้ใช้ประกอบการตัดสินผลการจัดการเรียนการสอน หรือตัดสินใจว่าผู้เรียนคนใดควรจะได้รับระดับคะแนนใด

          (๔) ประเมินรวบยอดเมื่อสิ้นสุดหน่วยการเรียนรู้ ดำเนินการดังนี้ การประเมินโดยครูผู้สอน เพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียนว่าบรรลุเป้าหมายของหน่วยการเรียนรู้ตามมาตรฐาน ตัวชี้วัด สมรรถนะ คุณลักษณะ และ เจตคติหรือไม่ เช่น การทำโครงงาน การนำความรู้ไปใช้เพื่อพัฒนาสังคมในรูปแบบต่าง ๆ

การประเมินโดยผู้เรียนแต่ละคน โดยการทำแบบบันทึกการเรียนรู้ (Learning log) ควรให้ผู้เรียนได้ประเมินการเรียนรู้ของตนเอง เพื่อเปิดโอกาสได้สะท้อนคิดสิ่งที่เรียนรู้ทั้งที่ทำได้ดีและยังต้องพัฒนา (ตัวอย่างแบบบันทึกการเรียนรู้ ดูภาคผนวก ค) ควรให้ผู้เรียนได้ประเมินการเรียนรู้หลังจบการเรียนรู้แต่ละหน่วยการเรียนรู้ และประเมินการเรียนรู้รวมในช่วงกลางภาคเรียน และปลายภาคเรียน โดยครูสามารถเลือกใช้ชุดคำถามและจำนวนข้อให้เหมาะสมกับบริบทของผู้เรียน ช่วงเวลาและธรรมชาติของแต่ละวิซา ทั้งนี้ ในครั้งแรกครูควรทำร่วมกับนักเรียนเพื่อแนะนำวิธีการเขียนแบบสะท้อนคิด และควรอ่านสิ่งที่นักเรียนบันทึกพร้อมให้ข้อมูลย้อนกลับ เสนอแนะในเชิงบวกและสร้างสรรค์ รวมทั้งใช้ประโยชน์จากข้อมูลในแบบบันทึกเพื่อพัฒนาการสอนของตัวเองและช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายบุคคลต่อไป

          ๒) ผู้ประเมิน ได้แก่ เพื่อนประเมินเพื่อน ครูประเมินผู้เรียน ผู้เรียนประเมินตนเอง และผู้ปกครองร่วมประเมิน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านภาษา การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านภาษา เป็นงานที่ต้องการความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษา ดังนั้น ครูผู้สอนจะวัดผลการเรียนรู้ด้านภาษาจำเป็นต้องเข้าใจหลักการของการเรียนรู้ภาษาเพื่อการดำเนินการดังนี้

          ๑) ทักษะทางภาษาทั้งการอ่าน การเขียน การฟัง ดูและการพูดมีความสำคัญเท่า ๆ กัน และทักษะ

เหล่านี้ครูผู้สอนควรบูรณาการในการจัดการเรียนการสอน ไม่ควรฝึกทักษะทีละอย่างแต่ควรฝึกทักษะไปพร้อม ๆ กันซึ่งทักษะทางภาษาหนึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาทักษะทางภาษาอื่น ๆ ด้วย

          ๒) ผู้เรียนต้องได้รับการพัฒนาความสามารถทางภาษาพร้อมกับการพัฒนาความคิดเพราะสื่อภาษาเป็นสื่อของความคิดผู้ที่มีทักษะความสามารถในการใช้ภาษา มีคลังคำมากจะช่วยให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิด

          ๓) ผู้เรียนต้องเรียนรู้การใช้ภาษาพูดและภาษาเขียนอย่างถูกต้องด้วยการใช้ภาษาไม่ใช่เรียนรู้กฎเกณฑ์ทางภาษาอย่างเดียว การเรียนภาษาต้องเรียนรู้ไวยากรณ์หรือหลักภาษา การสะกดคำ การใช้เครื่องหมายวรรคตอน และนำความรู้ดังกล่าวไปฝึกฝน

          ๔) ผู้เรียนทุกคนจะได้รับการพัฒนาทักษาทางภาษาเท่ากันแต่พัฒนาทักษะทางภาษาไม่เท่ากันและวิธีการเรียนรู้ต่างกัน

          ๕) ภาษากับวัฒนธรรมมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด การจัดกิจกรรมภูมิหลังของภาษาและการใช้ภาษาถิ่นของผู้เรียนและช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาภาษาไทยของตนและพัฒนาความรู้สึกที่ดีเกี่ยวกับภาษาไทย

          ๖) ภาษาไทยเป็นเครื่องมือของการเรียนรู้ ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ต้องใช้ภาษาไทยเป็นเครื่องมือการสื่อสาร ดังนั้น ครูผู้สอนจะต้องใช้ภาษาที่เป็นแบบแผนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน

ตัวอย่างไฟล์

ดาวน์โหลดไฟล์ ตัวอย่างโครงสร้างรายวิชาภาษาไทย ไฟล์เวิร์ด แก้ไขได้โดยคุณครูวรยา
ดาวน์โหลดไฟล์ ตัวอย่างโครงสร้างรายวิชาภาษาไทย ไฟล์เวิร์ด แก้ไขได้โดยคุณครูวรยา
ดาวน์โหลดไฟล์ ตัวอย่างโครงสร้างรายวิชาภาษาไทย ปีการศึกษา 2565 ไฟล์เวิร์ด แก้ไขได้โดยคุณครูวรยา
ดาวน์โหลดไฟล์ ตัวอย่างโครงสร้างรายวิชาภาษาไทย ปีการศึกษา 2565 ไฟล์เวิร์ด แก้ไขได้โดยคุณครูวรยา

ดาวน์โหลดไฟล์ที่นี่

ขอบคุณไฟล์จากเพจ : วร ยา

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่