ดาวน์โหลดไฟล์ แผนเผชิญเหตุ ความปลอดภัยสถานศึกษา โดย สพฐ.
ดาวน์โหลดไฟล์ แผนเผชิญเหตุ ความปลอดภัยสถานศึกษา โดย สพฐ.

ดาวน์โหลดไฟล์ แผนเผชิญเหตุ ความปลอดภัยสถานศึกษา โดย สพฐ.

บทความนี้ ครูอาชีพดอทคอม ขอนำเสนอไฟล์ แผนเผชิญเหตุความปลอดภัยในสถานศึกษา แผนความปลอดภัยในสถานศึกษา 2565 แผนเผชิญเหตุความปลอดภัยสถานศึกษา สพฐ. pdf จัดทำโดย สพฐ. สามารถดาวน์โหลดไฟล์ในลิงก์ด้านล่างครับ

แผนเผชิญหตุความปลอดภัยสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดทำขึ้นเพื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และหน่วยงานทางการศึกษาในลังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเมื่อเผชิญหตุความไม่ปลอดภัย ต่อนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาระหว่างที่จัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับนโบายและจุดเนั้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ข้อ 1. การจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย 1.1 เร่งสร้างสถานศึกษาปลอดภัยเพื่อเพิ่มความเชื่อมันของสังคมและป้องกันจากภัยคุกคามในชีวิตรูปแบบใหม่และภัยอื่น ๆ

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่า แผนเผชิญเหตุความปลอดภัยลถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เล่มนี้จะช่วยอำนวยความละดวกให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในสถานศึกษา และในหน่วยงานทางการศึกษา ล้งกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้เป็นอย่างดี ขอบคุณคณะทำงาน ทุกท่านที่ได้ร่วมกันจัดทำจนสำร็จบรรสุตามวัตถุประสงค์

หลักการ

สถานการณ์ความไม่ปลอดภัยในสถานศึกษาในปัจจุบัน ยังเกิดขึ้นใน ๔ กลุ่มภัย ได้แก่

๑) ภัยที่เกิดจากการใช้ความรุนแรงของมนุษย์ (Violence)

๒) ภัยที่เกิดจากอุบัติเหตุ (Accident)

๓) ภัยที่เกิดจากการถูกละเมิดสิทธิ์ (Right)

๔) ภัยที่เกิดจากผลกระทบทางสุขภาวะทางกายและจิตใจ(Unhealthiness) เกิดความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ มีความชับซ้อนรุนแรงมากขึ้น และเกิดขึ้นช้ำ ๆ ส่งผลกระทบต่อสภาพร่างกายและจิตใจในหลายปีที่ผ่านมา เช่น ภัยจากการคุกคามทางเพศ ภัยจากการกลั่นแกล้งรังแก (Bully) รวมถึงภัยที่เกิดจากโรคอุบัติใหม่ อันได้แก่ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดสถานการณ์ความไม่ปลอดภัยในสถานศึกษาที่เกิดแก่นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา

กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้กำหนดนโยบาย Quick Win ๗ วาระเร่งด่วน ข้อที่ ๑ ความปลอดภัยของผู้เรียน ให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการนำไปปฏิบัติให้เกิดความปลอดภัยในสถานศึกษา และได้บูรณาการความร่วมมือจาก ๘ กระทรวงและอีก ๒ หน่วยงาน ประกอบด้วย กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงยุติธรรม และ
สำนักนายกรัฐมนตรี โดยได้จัดทำข้อตกลงความร่วมมือโครงการเสริมสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ(MOE Safety Center) เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ณ หอประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งมั่นในการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็น “การศึกษาขั้นพื้นฐานวิถีใหม่วิถีคุณภาพ” มุ่งเน้นความปลอดภัยในสถานศึกษา ส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและบริหารจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นพัฒนาระบบและกลไกในการดูแลความปลอดภัยให้แก่ผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา และสถานศึกษา จากภัยพิบัติและภัยคุกคามทุกรูปแบบ เพื่อคุ้มครองความปลอดภัย การป้องกัน ดูแล ช่วยเหลือหรือเยียวยา และแก้ไขปัญหา แก่นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ให้สามารถแก้ไขปัญหาและบริหารจัดการความเสี่ยงได้อย่างยั่งยืนด้วยการบริหารจัดการตามมาตรการ ป ได้แก่ ป้องกัน ปลูกฝัง และปราบปราม ให้เกิดความปลอดภัยให้มากที่สุด และไม่ให้เกิดเหตุการณ์นั้นซ้ำอีก

เพื่อสร้างความมั่นใจ และความเชื่อมั่นให้แก่นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองและประชาชนทั่วไป ในการที่จะได้เรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และเกิดความปลอดภัยอย่างมั่นคง
และยั่งยืน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้จัดทำ แผนเผชิญเหตุความปลอดภัยสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้สำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษา สถานศึกษา และหน่วยงานในสังกัดใช้เป็นแนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัย ต่อนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อลดระดับความรุนแรง ระงับเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัย หรือแก้ไขปัญหา

ดาวน์โหลดไฟล์ แผนเผชิญเหตุ ความปลอดภัยสถานศึกษา โดย สพฐ.
ดาวน์โหลดไฟล์ แผนเผชิญเหตุ ความปลอดภัยสถานศึกษา โดย สพฐ.

มาตรการความปลอดภัย

กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนด มาตรการ ๓ ป ได้แก่ ป้องกัน ปลูกฝัง และปราบปราม เป็นมาตรการความปลอดภัยของสถานศึกษา มุ่งเน้นให้เกิดความปลอดภัยต่อนักเรียน ครูและ
บุคลากรทางการศึกษา และไม่ให้เกิดเหตุการณ์นั้นซ้ำอีก เพื่อสร้างความมั่นใจ และความเชื่อมั่น ให้แก่นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไป ดังนี้

๑. การป้องกัน

การป้องกัน หมายถึง การดำเนินการเกี่ยวกับการวางแผนความปลอดภัย การจัดโครงสร้าง การบริหาร การวิเคราะห์ และการประเมินความเสี่ยงอย่างรอบด้าน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในสถานศึกษา ดังนี้

๑) ประเมินปัจจัยเสี่ยงความไม่ปลอดภัยของสถานศึกษา
๒) กำหนดพื้นที่ความปลอดภัย
๓) จัดทำแผนความปลอดภัยของสถานศึกษา
๔) การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศของสถานศึกษา
๕) จัดระบบโครงสร้างบริหารจัดการความปลอดภัยของสถานศึกษา
๖) จัดระบบข้อมูลสารสนเทศความปลอดภัยของสถานศึกษา
๗) สร้างระบบการมีส่วนร่วมของสถนศึกษาและภาคีเครือข่าย
๘) จัดระบบช่องทางการสื่อสารด้านความปลอดภัยของสถานศึกษา
๙) การคัดกรองและดูแลช่วยเหลือนักเรียน
๑๐) การประเมินนักเรียนรายบุคคล ด้านร่างกาย จิตใจ สังคม สติปัญญา และความต้องการช่วยเหลือ

ดาวน์โหลดไฟล์ แผนเผชิญเหตุ ความปลอดภัยสถานศึกษา โดย สพฐ.
ดาวน์โหลดไฟล์ แผนเผชิญเหตุ ความปลอดภัยสถานศึกษา โดย สพฐ.

๒. การปลูกฝัง

การปลูกฝัง หมายถึง การดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาองค์ความรู้ การสร้างเจตคติที่ดี การมีจิตบริการ และเสริมสร้างทักษะ ความปลอดภัย ให้แก่ นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เกิดความยั่งยืน

๑) พัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยให้แก่นักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครอง

๒) จัดกิจกรรมการสร้างเจตคติที่ดี การมีจิตบริการ และเสริมสร้างทักษะ ความปลอดภัยให้แก่ นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา

ดาวน์โหลดไฟล์ แผนเผชิญเหตุ ความปลอดภัยสถานศึกษา โดย สพฐ.
ดาวน์โหลดไฟล์ แผนเผชิญเหตุ ความปลอดภัยสถานศึกษา โดย สพฐ.

๓. การปราบปราม

การปราบปราม หมายถึง การดำเนินงานเกี่ยวกับการเผชิญเหตุ การเข้าถึงสถานการณ์ การแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัย และการดำเนินการกับบุคคลที่ละเมิด หรือประพฤติไม่เหมาะสมด้วยความรอบคอบ รวดเร็ว และเป็นธรรม รวมถึงการช่วยเหลือ เยียวยา ฟื้นฟู ดังนี้

๑) การเผชิญเหตุ การเข้าถึงสถานการณ์ และการจัดการแก้ไขปัญหา กรณีเกิดเหตุความ ไม่ปลอดภัยขั้นวิกฤติ

๒) การช่วยเหลือ เยียวยา ฟื้นฟู สภาพร่างกายและจิตใจให้กับผู้ประสบเหตุความไม่ปลอดภัย

๓) ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และรวดเร็ว

ขอบคุณที่มา : สำนักงานคณะกรรมการภารศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิภาร

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่