ดาวน์โหลด คู่มือแนวทางการดำเนินการป้องกัน การบูลลี่ในสถานศึกษา โดย สพฐ.
ดาวน์โหลด คู่มือแนวทางการดำเนินการป้องกัน การบูลลี่ในสถานศึกษา โดย สพฐ.

ดาวน์โหลด คู่มือแนวทางการดำเนินการป้องกัน การบูลลี่ในสถานศึกษา โดย สพฐ.

กระทรวงศึกษาธิการเห็นถึงความสำคัญจึงได้กำหนดนโยบายความปลอดภัยของสถานศึกษาเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการให้เกิดความปลอดภัยแก่นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาในทุกมิติจากสถานการณ์เด็กและเยาวชนในปัจจุบันยังมีนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาได้รับผลกระทบจากความไม่ปลอดภัยเกิดขึ้น โดยเฉพาะด้านความรุนแรง ทั้งทางร่างกายและจิตใจ เด็กจำนวนมากกำลังเผชิญการถูกรังแก ล้อเลียน ส่งผลให้เกิดความเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล ไม่อยากไปโรงเรียนมากขึ้นและยังพบปัญหาใหม่มีการรังแกกันผ่านสื่อออนไลน์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีความห่วงใย และตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพของเด็กนักเรียนที่ถูกกระทำ เพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยในสถานศึกษาโดยมุ่งเน้นให้สถานศึกษาดำเนินการตามมาตรการ 3 ป. คือ ป้องกัน ปลูกฝัง ปราบปราม

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีมาตรการและแนวทางในการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและแก้ไขการล้อ กลั่นแกล้งรังแก ดูหมิ่น เหยียดหยามผู้อื่น จึงได้จัดทำแนวทางการดำเนินการป้องกันการบูลลี่ในสถานศึกษาเพื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานำไปขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การกลั่นแกล้ง (Bullying) คือ พฤติกรรมที่แสดงออกทางร่างกาย คำพูด สังคม หรือ ทางไซเบอร์ ซึ่งมักเกิดขึ้นในสังคมที่มีช่องว่างระหว่างผู้ที่มีพละกำลัง หรืออำนาจมากกว่า แสดงออกแก่ผู้ที่อ่อนแอกว่า ทำให้เกิดความเจ็บปวดทางร่างกายหรือทางจิตใจ รู้สึกด้อยคุณค่า และมีโอกาสเกิดขึ้นซ้ำ ๆ

ดาวน์โหลด คู่มือแนวทางการดำเนินการป้องกัน การบูลลี่ในสถานศึกษา โดย สพฐ.

ขั้นตอนในการดำเนินการแก้ปัญหาการบูลลี่ในสถานศึกษา

สถานการณ์การแก้ไขปัญหาบูลลี่ในสถานศึกษามีขั้นตอนสรุปได้เป็น 6 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1 ตรวจสอบข้อเท็จจริง เมื่อมีการเผชิญเหตุการณ์บูลลี่ในสถานศึกษาเริ่มต้นด้วยการตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วยการพูดคุย ซักถาม ปัญหาที่เกิดขึ้น แก้ไขปัญหา ณ ปัจจุบัน
ขั้นที่ 2 แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การแก้ปีญหาเฉพาะหน้าแยกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนของผู้ถูกรังแกควรได้รับการดูแลช่วยเหลือ, บันทึกเหตุการณ์และติดตาม, ประเมินความรุนแรง, ให้ความช่วยเหลือและความปลอดภัย ส่งเสริมจุดแข็งและสังคมที่เหมาะสม ส่วนของผู้รังแกต้องประเมินปัญหา,แก้ไขความรับผิดชอบของตน, ได้รับผลตามกฎของสถานศึกษา, ให้ความรู้และช่วยเหลือแล้วแต่กรณี บันทึกเหตุการณ์และติดตาม, ส่งเสริมจุดแข็งทักษะทางอารมณ์และสังคมอย่างเหมาะสม

ขั้นที่ 3 รายงาน – เมื่อผู้พบเหตุประเมินความรุนแรงแล้วรายงานตามลำดับ คือ นักเรียนพบเหตุรายงานครู, ครูพบเหตุ – ร้ายงานครูประจำชั้น, ครูประจำชั้นพบเหตุ รายงานผู้ปกครอง,
ครูประจำชั้นพบเหตุ – รายงานผู้บริหาร, ผู้บริหารทราบเหตุ กรณี ถ้าไม่ร้ายแรง บันทึกความผิด เก็บรวบรวมข้อมูล ถ้ากรณีร้ายแรง รายงานเขตพื้นที่การศึกษาแล้วแต่กรณี

ขั้นที่ 4 ให้ความช่วยเหลือ/เยียวยา – เมื่อพิจารณาเหตุแล้วแก้ไขสถานการณ์ให้ความช่วยเหลือเยียวยาแล้วแต่กรณีตามความเสียหายที่ผู้ถูกกระทำต้องการได้รับ

ขั้นที่ 5 ประสานความร่วมมือ เมื่อให้ความช่วยเหลือเยียวยาตามกรณีแล้วจำเป็นต้องประสานความร่วมมือภายในหน่วยงานทางการศึกษา เช่น ระหว่างครูประจำชั้น ครูที่ปรึกษา ระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครอง ระหว่างสถานศีกษากับสถานศึกษา สถานศึกษากับเขตพื้นที่ เป็นต้น

ขั้นที่ 6 ส่งต่อ เมื่อให้ความช่วยเหลือเยียวยาตามกรณีแล้วจำเป็นต้องส่งต่อเพื่อการดูแลช่วยเหลือ ไปยังหน่วยงานภายนอกในกรณีต่าง ๆ เช่น ส่งผู้บาดเจ็บไปรับการที่โรงพยาบาล หรือส่งสถานพินิจ พบจิตแพทย์หรือแผนกจิตเวทย์หรือบางกรณีจำเป็นต้องส่งต่อถึงฝ่ายปกครองเช่นสถานีตำรวจ เป็นต้น

ดาวน์โหลด คู่มือแนวทางการดำเนินการป้องกัน การบูลลี่ในสถานศึกษา โดย สพฐ.
ดาวน์โหลด คู่มือแนวทางการดำเนินการป้องกัน การบูลลี่ในสถานศึกษา โดย สพฐ. 3

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่