แนวทางการนิเทศภายใน โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน โดย หน่วยศึกษานิเทศก์ สพฐ.
แนวทางการนิเทศภายใน โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน โดย หน่วยศึกษานิเทศก์ สพฐ.

แนวทางการนิเทศภายใน โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน โดย หน่วยศึกษานิเทศก์ สพฐ.

การนิเทศ ภายในมีความสำคัญมาก เพราะสามารถแก้ปัญหาด้านทรัพยากรหลาย ๆ ประการ โรงเรียนสามารถใช้ทรัพยากรมนุษย์ในโรงเรียนให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ จัดการนิเทศได้เป็นระยะ ๆ กระทำได้ทั้งการป้องกัน การแก้ไข และการพัฒนาไม่แพ้การนิเทศภายนอกและถือว่าได้เปรียบมากคือ  ไม่ต้องเสียเวลาสร้างสายสัมพันธ์หรือสมานจิต  และทุกฝ่ายต่างรู้และเข้าใจในปัญหาอยู่แล้วไม่ต้องเสียเวลาทำความเข้าใจกับปัญหามากนัก  ก็ดำเนินการนิเทศกันได้  ช่วยให้บุคลากรในโรงเรียนรู้สึกภูมิใจว่าตนมีความสำคัญ  ตนได้มีส่วนร่วมในการบริหารงานด้านวิชาการของโรงเรียน และตนได้ทำงานในบรรยากาศการบริหารโรงเรียนที่เป็นประชาธิปไตย (ที่มา การนิเทศ ภายใน – GotoKnow) ครูอาชีพดอทคอม ขอนำเสนอแนวทาง การนิเทศ ภายใน เพื่อเป็นองค์ความรู้สำหรับคุณครูที่ปฏิบัติหน้าที่ผู้นิเทศ ศึกษาและวางแผนต่อไป โดยอ้างอิงจากแนวทาง การนิเทศ ภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐาน ดังรายละเอียดต่อไปนี้ครับ

การพัฒนาคุณภาพการศึกษา

กระบวนการนิเทศเป็นกระบวนการหนึ่งที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ดังนี้

แนวทางการนิเทศภายใน โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน โดย หน่วยศึกษานิเทศก์ สพฐ.
แนวทางการนิเทศภายใน โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน โดย หน่วยศึกษานิเทศก์ สพฐ. 12

การพัฒนาคุณภาพการศึกษา จะสำเร็จได้ตามเป้าหมาย จำเป็นต้องมีองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนา คือกระบวนการบริหาร กระบวนการจัดการเรียนรู้ และกระบวนการนิเทศ ที่ต้องร่วมกันสนับสนุนส่งเสริมไปด้วยกันในลักษณะของ “เกลียวเชือก ” กระบวนการนิเทศการศึกษา (supervision) เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการพัฒนาและปรับปรุง กระบวนการเรียนการสอนของครู โดยมุ่งให้เกิดการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพส่งผลถึงคุณภาพของผู้เรียนกระบวนการนิเทศการศึกษาช่วยทำให้เกิดการพัฒนาคน พัฒนางาน สร้างการประสานสัมพันธ์ และขวัญกำลังใจ ซึ่งต้องดำเนินงานให้ประสานสัมพันธ์กับกระบวนการอื่นในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้บรรลุตามเป้าหมาย ทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนถาวร ดังที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาชั้นพื้นฐาน (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาชั้นพื้นฐาน,๒๕๔๙ : ๕๒) กล่าวว่า “การจัดการที่ดีเป็นกุญแจนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กร การนิเทศที่ดีนำไปสู่การจัดการที่ดี”

การนิเทศภายในโรงเรียน

การนิเทศ ภายใน โรงเรียน เป็นกิจกรรมสำคัญที่สุดในการสนับสนุนการเรียนการสอนภายในโรงเรียน ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นหน้าที่ที่สำคัญของผู้บริหารสถานศึกษาต้องดำเนินการให้เกิดขึ้นภายในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และครูได้ปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนภายในชั้นเรียน รวมทั้งเป็นกระบวนการประกันคุณภาพของโรงเรียนว่า โรงเรียนสามารถบริกรจัดกรภายในโรงเรียน จนถึงเป้าหมายสุดท้าย คือ คุณภาพผู้เรียนที่มีคุณภาพตามมาตรฐานหลักสูตรและเป้าหมายที่ตั้งไว้ รวมทั้งโรงเรียนและบุคลากรในโรงเรียนเป็นที่ยอมรับจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องซึ่งไทลาฮัน (Tilahun, 1998 : 2168 : A ได้ทำกรวิจัยเรื่อง การจัดกิจกรรมกรนิเทศภายในที่พึงประสงค์ของประเทศเอธิโอเปีย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ครู ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการ ผลการวิจัย พบว่า การจัดกิจกรรมการนิเทศ ภายในสถานศึกษาเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ การฝึกอบรม แนะนำ การฝึกปฏิบัติการสาธิตการสอนโดยศึกษานิเทศก์การประชุมกลุ่มยอยของครู การเยี่ยม ชั้นเรียน การสังเกตการสอน ครู ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการมีความเห็นสอดคล้องกันว่า การจัดกิจกรรมการนิเทศ ภายในสถานศึกษาจัดอยู่ในระดับปานกลาง

บัลลิส (Bullis, 1980 : 35) ได้วิจัยเรื่อง การรับรู้บทบาทการนิเทศของครูใหญ่ในโรงเรียนประถมศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาบทบาทของการนิเทศ วิธีการนิเทศโดยใช้แบบสอบถาม พบว่า ผู้รับผิดชอบมาก คือ ครูใหญ่และผู้ช่วยครูใหญ่ ครูผู้สอนทำหน้าที่ส่วนนี้น้อย ส่วนเทคนิคที่ได้ผลได้แก่ วิธีเยี่ยมชั้นเรียน การประชุมร่วมกับคณะครูเชสเตอร์ (Chester, 1996 : 284 – 288) ได้ศึกษา การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารการศึกษาทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า พฤติกรรมที่ทำให้การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารมีสมรรถะสูง เนื่องมาจากการส่งเสริมให้ครูมีความรู้ ความสามารถเพิ่มขึ้น ได้แก่ การส่งเสริมให้ครูใช้เทคนิคการสอนหลากหลายวิธี อภิปรายปัญหาการปรับปรุงการสอนในที่ประชุม จัดปฐมนิเทศเพื่อช่วยครูใหม่ จัดให้มีการอบรมความรู้เกี่ยวกับวิชาการศึกษาเพิ่มเติมแก่ครู เพื่อปรับปรุงเทคนิคการสอน

เชมัว และลี (Seymour and Lee, 1999 : บทคัดย่อ) ศึกษาเกี่ยวกับคู่มือนิเทศการสอนในชั้นเรียนของครูใหญ่พบว่า ครูใหญ่หรือผู้บริหารควรนิเทศการสอน และควรเพิ่มทักษะเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรให้กับครูผู้สอน รวมใช้กลยุทธในการร่วมมือกันในการนิเทศการสอนการนิเทศ ภายในรงเรียน ศึกษานิเทศก็จะเป็นส่วนสำคัญในกรขับเคลื่อนให้ระบบการนิเทศ ภายในโรงเรียนเกิดขึ้นด้วยภารกิจบทบาทหน้าที่ของศึกษานิเทศก์ และจำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถและทักษะในการสร้างระบบนิเทศภายในโรงเรียน ในเรื่อง ๑) ความหมายของกรนิเทศภายในโรงเรียน ๒) จุดมุ่งหมายของการนิเทศ ภายในโรงเรียน ๓) หลักการของกรนิเทศภายในโรงเรียน ๔) ขอบข่ายของการนิเทศ ภายในโรงเรียน ๕) กระบวนการและขั้นตอนการ นิเทศภายในโรงเรียน ๖) เทคนิค/วิธีการนิทศภายในโรงเรียน ๗) กิจกรรมการนิเทศ ภายในโรงเรียน

ความหมายของการนิเทศภายในโรงเรียน

การนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียน เป็นกิจกรรมสำคัญที่สุดในการสนับสนุนการเรียนการสอนภายในโรงเรียนให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการยั่วยุให้ผู้บริหารสถานศึกษาซึ่งเป็นหน้าที่ที่สำคัญอย่างหนึ่งของผู้บริหารสถานศึกษาต้องดำเนินการให้เกิดขึ้นภายในโรงเรียนและครูปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนภายในชั้นเรียนและโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

คำว่า “การนิเทศ” มาจากภาษาอังกฤษว่า “Supervision” ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ หมายถึง ชี้แจงแสดง จำแนก (ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๒ : ๔๔๑)

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (๒๕๓๖ : ๑๑๘ ให้ความหมายว่า การนิเทศ ภายในโรงเรียน หมายถึงการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างผู้บริหารกับครูในโรงเรียนในการปรับปรุงพัฒนาการทำงานของครูให้มีประสิทธิภาพ เพื่อส่งผลให้นักเรียนมีคุณภาพตามกรอบที่หลักสูตรกำหนด

สาโรช บัวศรี (๒๕๔- : ๖๘) ได้ให้ความหมายของการนิเทศว่า การนิเทศเป็นการช่วยเหลือดูแล และตรวจตราแนะนำสนับสนุนส่งเสริมและเกื้อกูล เพื่อให้งานฝ่ายวิชาการและธุรการในโรงเรียนหรือแต่ละลักษณะงานเกิดผลดีซึ่งไม่เกี่ยวกับการบังคับบัญชาแต่ประการใด แต่เป็นการแนะนำช่วยเหลืออย่างเปิดเผย

สาย ภานุรัตน์ (๒๕๓0 : ๑๑) ให้ความหมายของการนิเทศว่า เป็นความพยายามอย่างหนึ่งในหลายๆ อย่างที่จะช่วยให้การส่งเสริมให้การศึกษามีคุณภาพด้านการเรียนการสอน

สงัด อุทรานันท์ (๒๕๒๙ : ๗) มองการนิเทศเป็นกระบวนการทางวิชาการในการสร้างสรรค์และในการทำงานร่วมกับครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อปรับปรุงตัวของเขาให้เกิดความมั่นใจจะปฏิบัติได้ถูกต้องก้าวหน้าเกิดประโยชน์สูงสุดและบรรลุเป้าหมายทางการศึกษาที่พึงประสงค์

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (๒๕๒๙ : ๗) ให้ความหมายการนิเทศการศึกษาหมายถึงความพยายามทุกชนิดของผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่นิเทศการศึกษาให้คำแนะนำเป็นที่ปรึกษาครูและ/หรือผู้อื่นที่ทำงานการศึกษาเพื่อช่วยให้เกิดสิ่งต่อไปนี้

๑. ครูรู้จักวิธีปรับปรุงการสอนและการให้การศึกษาให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น

๒. ช่วยให้เกิดความงอกงามในวิชาชีพทางการศึกษา

๓. ช่วยพัฒนาครู

๔. ช่วยเหลือและปรับปรุงวัตถุประสงค์ของการศึกษา

๕. ช่วยเหลือและปรับปรุงวิธีสอน

๖. ช่วยเหลือและปรับปรุงการประเมินผลการสอน

กราสกี้, มาร์ติน และวาลเดน (Kragewski, Martin and Walden, 1983 : 97 ได้กล่าวถึง ความหมายของการนิเทศ ภายในโรงเรียนว่าเป็นส่วนหนึ่งของการนิเทศการศึกษาที่ทำให้บุคลากร ในโรงเรียนดำเนินการเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนของครูให้เหมาะสมขึ้นเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ การเรียนการสอนให้สูงขึ้น

จุดมุ่งหมายของการนิเทศภายในโรงเรียน

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดจุดมุ่งหมายของการนิเทศภายในโรงเรียนไว้ดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ๒๕๔๗ : ๑๘๐-๑๘๑ ก)

แนวทางการนิเทศภายใน โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน โดย หน่วยศึกษานิเทศก์ สพฐ. 13

๑. เพื่อให้การศึกษามีศักยภาพในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้สอดคล้องกับมาตรฐานหลักสูตรและให้เป็นไปตามแนวทางของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕

๒. เพื่อให้สถานศึกษาสามารถบริหารและจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ

๓. เพื่อพัฒนาหลักสูตรและการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนสังคมทันต่อการเปลี่ยนแปลงทุกด้าน

๔. เพื่อให้บุคลากรในสถานศึกษาได้เพิ่มพูนความรู้ทักษะและประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการปฏิบัติงาน ตลอดจนความต้องการในวิชาชีพ

๖. เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษาปฏิรูประบบบริหาร โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจและร่วมรับผิดชอบ ชื่นชมในผลงาน

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (๒๕๔๑ : ๕๕) ได้กำหนดจุดหมายการนิเทศ ภายในไว้ว่า

๑. เป็นการช่วยให้ครูผู้สอนสามารถปรับปรุงตนเอง และกิจกรรมการเรียนการสอน

๒. สามารถพัฒนาพฤติกรรม บุคลิกภาพการสอนของครูให้ดีขึ้น

๓. สนับสนุนความรู้ความสามารถของครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

๔. กำกับ ควบคุม ติดตามผลการปฏิบัติของครูในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง

๕. ส่งเสริมความสร้างสรรค์และการทำงานร่วมกันเป็นคณะ

หลักการของการนิเทศภายในโรงเรียน

หลักการนิเทศการศึกษา เป็นแนวทางหรือกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น เพื่องานนิเทศการศึกษาตามความคิดเห็นความเชื่อและประสบการณ์ของนักการศึกษา ดังนี้

สงัด อุทรานันท์ (๒๕๒๙ : ๘) กล่าวว่าหลักการนิเทศการศึกษา มีดังนี้

๑. การนิเทศการศึกษา เป็นกระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างผู้บริหาร ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ

๒. การนิทศมีเป้าหมายอยู่ที่คุณภาพของนักเรียน แต่การดำเนินงานนั้นจะกระทำโดยผ่าน “ตัวกลาง” คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษา

๓. การนิเทศการศึกษา (ในประเทศไทย) เป็นบรรยากาศแห่งความเป็นประชาธิปไตย

ชารี มณีศรี (๒๕๒๑ : ๓๑-๓๙) ให้ความเห็นว่าหลักการเบื้องต้นของการนิเทศการศึกษา มีดังนี้

๑. เป็นการช่วยกระตุ้นการประสานงานและแนะนำ

๒. ตั้งอยู่บนรากฐานของประชาธิปไตย

๓. เป็นกระบวนการส่งเสริมสร้างสรรค์

๔. เกี่ยวกับการปรับปรุงหลักสูตร

๕. เป็นการสร้างมนุษยสัมพันธ์

๖. มุ่งส่งเสริมบำรุงขวัญ

๗. มีจุดมุ่งหมายขจัดช่องว่างระหว่างโรงเรียนกับชุมชน

วัชรา เล่าเรียนดี (๒๕๕๓ : ๑๑๖-๑๑๗) กล่าวถึงหลักการสำคัญของการนิเทศ ภายในสถานศึกษา ดังนี้

๑. การให้ความร่วมมือร่วมใจสอน

๒. การสร้างความผูกพันต่อภาระหน้าที่ ด้วยความเต็มใจของบุคลากรในโรงเรียนและครู

๓. การประสานสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

๔. การประสานกันทุกฝ่าย

๕. เป็นประชาธิปไตย

๖. การยึดความแตกต่งของมนุษย์และพัฒนาการของมนุษย์แต่ละวัย

๗. การมีเป้าหมายเดียวกัน คือคุณภาพการศึกษาของผู้เรียน

ดังนั้น ผู้นิเทศจึงต้องยึดหลักการนิเทศ ดังต่อไปนี้

๑. ผู้นิเทศต้องมีความรู้ความเข้าใจในหลักการนิเทศอย่างถูกต้อง ตรงประเด็น มีระบบและขั้นตอนที่ชัดเจนในกระบวนการนิเทศ

๒. กระบวนการนิเทศที่เกิดขึ้นต้องเกิดจากความร่วมมือของคณะครูทุกคนที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในโรงเรียน และการนิเทศ

๓. ต้องเป็นไปเพื่อการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนของครู และการนิเทศการศึกษาควรมีการบริหารเป็นกระบวนการเชิงระบบ มีการวางแผนการดำเนินงาน มีขั้นตอนในการปฏิบัติงาน ถือหลักการมีส่วนร่วมในการทำงานมีความเป็นประชาธิปตย มีการดำเนินงานอย่างสร้างสรรค์ มีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเรียนการสอน

๔. สร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ดีขึ้น สร้างความผูกพันและความมั่นคงต่องานอาชีพ รวมทั้งพัฒนาและส่งเสริมวิชาชีพครูให้มีความรู้สึกภาคภูมิใจในวิชาชีพของตนเองพร้อมที่จะรับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (๒๕๔๑ : ๕๒ – ๕๓ ได้ให้หลักการนิเทศ ภายในโรงเรียนประถมศึกษาที่น่าจะนำไปสู่ความสำเร็จ ดังนี้

๑. การนิเทศ ภายในโรงเรียน จะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องตามขั้นตอนกระบวนการนิเทศ

๒. บุคลากรที่เป็นหลักสำคัญในการดำเนินการพัฒนาระบบการนิเทศ ภายในโรงเรียน คือ ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องดำเนินการโดยเปิดโอกาสให้คณะครูในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินการ การนิเทศ ภายในโรงเรียนจะต้องสอดคล้องกับความต้องการ ความจำเป็นในการพัฒนาครูในโรงเรียนและสอดคล้องกับระดับพัฒนาการของครูจากแนวคิดของนักการศึกษาและและหน่วยงานทางการศึกษา สรุปได้ว่า หลักการของการนิเทศ ภายในโรงเรียน เป็นการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ ตามความต้องการและความจำเป็นในการพัฒนาโดยมีเป้าหมายเดียวกัน

กระบวนการและขั้นตอนนิเทศภายในโรงเรียน

สงัด อุทรานันท์ (๒๕๓0 : ๘๔ – ๘๕) กล่าวถึง กระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนเพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย

๑. การวางแผน (Planning-P)

๒. การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ (Informing-I)

๓. การปฏิบัติการนิเทศ (Doing-D)

๔. การสร้างเสริมขวัญกำลังใจ (Reinforcing-R)

๕.การประเมินผลการนิเทศ (Evaluating-E)

๖. การรายงานผลการนิเทศ (Reporting-R)

๑. การวางแผน (planning-P) เป็นขั้นตอนที่ผู้บริหาร ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศจะทำการประชุม ปรึกษาหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งปัญหาและความต้องการจำเป็นที่ต้องมีการนิเทศ รวมทั้งวางแผนถึงขั้นตอนการประชุม ปรึกษาหารือเพื่อให้ได้มาซึ่งปัญหาและความต้องการจำเป็นที่ต้องมีการนิเทศ รวมทั้งวางแผนถึงขั้นตอนการปฏิบัติเกี่ยวกับการนิเทศ

๒. การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ (Informing-I) เป็นขั้นตอนของการให้ความรู้ ความเข้าใจถึงสิ่งที่จะดำเนินการว่าต้องอาศัยความรู้ ความสามารถอย่างไรบ้าง จะมีขั้นตอนในการดำเนินการอย่างไร และจะดำเนินการอย่างไรให้ผลงานออกมาอย่างมีคุณภาพ ขั้นตอนนี้จำเป็นทุกครั้งสำหรับเริ่มการนิเทศที่จัดขึ้นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม และมีความจำเป็นสำหรับงนนิเทศที่ยังเป็นไปไม่ได้ผล หรือได้ผลไม่ถึงขั้นที่พอใจ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องทบทวนให้วามรู้ในการปฏิบัติงานที่ถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง

๓. การปฏิบัติการนิเทศ (Doing-D) ประกอบด้วยการปฏิบัติงาน ลักษณะ คือ การปฏิบัติงานขิงผู้รับการนิเทศ (ครู) การปฏิบัติงานของผู้ให้การนิเทศ (ผู้นิเทศ) การปฏิบัติงานของผู้ให้การนิเทศ ผู้นิเทศ) การปฏิบัติงานของผู้สนับสนุนการนิเทศ (ผู้บริหาร)

๔. การสร้างเสริมขวัญกำลังใจ (Reinforcing-R) เป็นขั้นตอนของการเสริมแรงของผู้บริหาร เพื่อให้ผู้รับการนิเทศมีความมั่นใจและบังเกิดความพึงพอใจในการปฏิบัติงานขั้นนี้อาจดำเนินไปพร้อม ๆ กับผู้รับการนิเทศที่กำลังปฏิบัติงานหรือการปฏิบัติงานได้เสร็จสิ้นแล้วก็ได้

๕. การประเมินผลการนิเทศ (Evaluating-E) เป็นขั้นตอนที่ผู้นิเทศทำการประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านไปแล้วว่าเป็นอย่างไร หลังจากการประเมินผลการนิเทศ หากพบว่ามีปัญหาหรือมีอุปสรรคอย่างใดอย่างหนึ่งทำให้การดำเนินงานไม่ได้ผล จะต้องมีการปรับปรุง แก้ไข ซึ่งการปรับปรุงแก้ไข อาจทำได้โดยการให้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่ปฏิบัติใหม่อีกครั้ง ในกรรีที่ผลงานยังไม่ถึงขั้นน่าพอใจหรือได้ดำเนินการปรับปรุงการดำเนินงานทั้งหมดไปแล้ว ยังไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องการ สมควรที่จะต้องวางแผนร่วมกันวิเคราะห์หาจุดที่ควรพัฒนา หลังใช้นวัตกรรมด้านการเรียนรู้เข้ามานิเทศ

เทคนิค/วิธีการนิเทศภายในโรงเรียน

เทคนิคหรือวิธีการจัดการนิทศภายในโรงเรียน มุ่งน้นการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนและการปฏิบัติงานการจัดการนิเทศ ภายในโรงเรียนเป็นงนสำคัญที่โรงเรียนต้องดำเนินการ โดยเลือกวิธีการจัดการนิเทศให้เหมาะสมกับสภาพการณ์และบุคลากรภายในโรงเรียนซึ่ง วไลรัตน์ บุญสวัสดิ์ (๒๕๓๘ : ๔๓) ได้กล่าวไว้ว่าการนิเทศการศึกษาจะประสบความสำเร็จด้วยดีนั้น ผู้นิเทศจำเป็นจะต้องทราบเทคนิคในการนิเทศการศึกษาเป็นอย่างดีเทคนิคหรือวิธีการจัดการนิเทศ ภายในโรงเรียนซึ่งมีนักการศึกษาได้เสนอไว้ ดังนี้

Glatthorn (1984 อ้างถึงในวัชรา เล่าเรียนดี, ๒๕๔๘ : ๑๐๒-๑๐๙) ได้เสนอเทคนิค/วิธีการนิเทศที่หลากหลายวิธี คือ

๑. การนิเทศแบบคลินิก (Clinical Supervision)

หลักการนิเทศแบบคลินิก เป็นการนิเทศที่เน้นกระบวนการปรับปรุงการสอนของครูอย่างเข้มข้น ที่ต้องวางแผนอย่างเป็นระบบ มีการกระทำอย่างรอบคอบทุกขั้นตอน และทำให้ครบวงจร ในการนิเทศซี่งประกอบด้วย การประชุมก่อนการสังเกตการสังเกตการสอน กรวิเคราะห์ข้อมูลหลังการสังเกตการสอนการประชุมหลังการวิเคราะห์ข้อมูลและการประเมินผลโดยวงจรการนิเทศจะต้องกระทำช้ำ ๆ หลาย ๆ ครั้งตลอดปีสำหรับผู้ที่ทำหน้าที่นิเทศ ควรได้รับการฝึกฝนวิธีการและเทคนิคการนิเทศแบบนี้ โดยเฉพาะและควรมีสัมพันธภาพอันดีกับผู้รับการนิเทศการนิทศแบบคลินิกเริ่มจากแนวคิดของ Goldhammer and Gogan (1969, 1973,quoted in Glickman and others 1995 : 287-290)

การนิทศแบบคลินิกเป็นทั้งความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการนิเทศ (Concept และโครงสร้างของการดำเนินการนิเทศ(Structure) Goldhammer, Andersonand Krajewski (1993, quoted in Glickman and others 1995 : 288)ได้เสนอลักษณะสำคัญของการนิเทศแบบคลินิกสรุปได้ดังนี้ คือ

๑. การนิเทศแบบคลินิก เป็นเทคโนโลยีในการปรับปรุงการเรียนการสอนโดยตรง

๒. การนิเทศแบบคลินิก เป็นส่วนสำคัญที่แทรกอยู่ในกระบวนการจัดการเรียนการสอน

๓. การนิทศแบบคลินิก เป็นกระบวนการที่มีเป้าหมายวัตถุประสงค์ชัดเจน โดยเชื่อมโยงระหว่างความต้องการของโรงเรียนและความต้องการในความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพของครูในโรงเรียน

๔. การนิทศแบบคลินิก เป็นกระบวนการที่สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในการทำงานในวิชาชีพระหว่างครูและ

๕. การนิเทศแบบคลินิก เป็นกระบวนการที่จะต้องมีความเชื่อใจเชื่อถือซึ่งกันและกัน โดยสะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจสนับสนุนกันและกันและความผูกพันในการที่จะพัฒนาตนเองให้เจริญก้าวหน้า

๖. กรนิทศแบบคลินิก เป็นกระบวนการที่ เป็นระบบถึงแม้ว่าการดำเนินการจะต้องยึดหยุ่นมีการปรับเปลี่ยนวิธีการอย่างต่อเนื่อง

๗. การนิเทศแบบคลินิก เป็นกระบวนกรที่สร้งสรรค์เชื่อมโยงช่องว่างระหว่างความจริงกับอุดมการณ์

๘. การนิเทศแบบคลินิก เป็นกระบวนการที่อยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า ผู้นิเทศคือผู้ที่มีความรู้อย่างแท้จริงเกี่ยวกับการวิเคราะห์การสอนและการเรียนรู้ รวมทั้งการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างเพื่อนมนุษย์

๙. การนิทศแบบคลินิก เป็นกระบวนการที่ต้องมีการให้กรฝึกอบรมสำหรับผู้ที่จะทำหน้าที่นิเทศก่อนที่จะนำการนิเทศแบบคลินิกไปใช้ โดยเฉพาะในเรื่องเทคนิคกรสังเกตการสอนและการดำเนินการนิเทศแบบคลินิกที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

๒. การนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ (Cooperative professional Development)

การนิทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ จัดเป็นวิธีนิเทศการสอนแบบหนึ่งของระบบการนิทศแบบหลากหลายวิธีการของ Glatthorn (1984, อ้างใน วัชรา เล่าเรียนดี ๒๕๔๕ : ๑๓๗) การนิทศแบบร่วมมือพัฒนาวิชาชีพเป็นกระบวนการนิเทศที่ครูตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติงาน เพื่อปรับปรุงความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพของตนเองโดยปกติจะมีการสังเกตการสอนกันและกันในชั้นเรียนแลกเปลี่ยนกัน ให้ข้อมูลย้อนกลับจากการสังเกตการสอนกันและอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน Glatthorn (1984 : 40-41) ได้กล่าวถึง ลักษณะพิเศษของการนิทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ ดังต่อไปนี้

๑. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับการนิเทศมีความเป็นทางการและเป็นเรื่องของสถานศึกษาระดับหนึ่งนั่นคือมีการดำเนินการในโรงเรียนโดยบุคลากรในโรงเรียนตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป มีกระบวนการการทำงาน มีการแลกเปลี่ยนการสังเกตการสอนในชั้นเรียนกันและกัน และมีความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อนที่ใกล้ชิดกัน

๒. การจับคู่กันสังเกตการสอนอย่างน้อย ๒ ครั้ง หรือมากกว่า ๒ ครั้ง ตามความจำเป็นและมีการให้ข้อมูลย้อนกลับภายหลังการสังเกตการสอน

๓. เน้นความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน ถึงแม้ว่าผู้บริหารหรือผู้นิเทศอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดดำเนินการและติดตามดูแลโครงการเป็นบางครั้ง หรือเข้าสังเกตการสอนในชั้นเรียน จัดประชุมกับอภิปราย โดยเข้าร่วมโครงการโดยตลอดก็ได้

๔. เน้นความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ไม่มีการประเมินมาเกี่ยวข้องการนิเทศในแบบดังกล่าว เพื่อให้การชมเชยผู้ปฏิบัติ ไม่ใช้ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานด้วยมาตรฐาน ดังนั้น ข้อมูลจากผลการสังเกตการสอนหรือจากการประชุมจะไม่ควรนำไปใช้ในกระบวนการประเมินผลครูของผู้บริหารลักษณะสำคัญ ๔ ประการ ของการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ เป็นลักษณะที่สำคัญของวิธีการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการ แต่อย่างไรก็ตามจากความหมายของคำว่า การนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพซึ่งมีความหมายกว้างขึ้นทำให้เกิดความหลากหลายในการปฏิบัติในกรนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ การนิทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลายตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๖๘ ได้นำวิธีการนิเทศแบบดังกล่าวไปใช้ แต่ค่อนข้างจะเป็นทางการ สรุปปัญหาที่เกิดขึ้น (Glatthorn, 1984 : 88) คือ ครูที่ร่วมโครงการประสบปัญหาด้านเวลาในการสังเกต การสอนกันและกัน แต่ที่สำคัญข้อดีของการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพเกิดขึ้นกล่าว คือ ครูมีโอกาสแลกเปลี่ยนวิธีสอนซึ่งกันและกัน ครูเกิดแรงจูงใจทางบวกเกี่ยวกับการสอนของตนเอง ครูเกิดความเข้าใจในงานของเพื่อนร่วมงานมากขึ้น และครูเกิดความเข้าในตัวนักเรียนของตนเองมากยิ่งขึ้น

๓. การนิเทศแบบเพื่อนนิเทศเพื่อน (Peer Coaching)

การนิเทศแบบเพื่อนนิเทศเพื่อน เป็นการนิเทศภายในรูปแบบหนึ่งที่เน้นการพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนของครู และเพื่อส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูและบุคลากรอื่น ๆ ในโรงเรียน

วัชรา เล่าเรียนดี (๒๕๔๕ : ๑๕๖-๑๕๘) ได้กล่าวถึงการนิเทศแบบเพื่อนนิเทศเพื่อน ว่าเป็นวิธีการที่ครูและเพื่อนครูหรือครูในสาขาอื่นหรือบุคลากรที่ไม่ใช่บุคคลในสายผู้สอนตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ร่วมกันมาปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หรือร่วมกันพัฒนาโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นจะต้องมีการวางแผนการปฏิบัติร่วมกัน มีการสังเกตการสอน วิเคราะห์การสอน และการให้ข้อมูลป้อนกลับ(Feedback รูปแบบต่าง ๆ ของเพื่อนนิเทศเพื่อน (Peer Coaching) ได้จำแนกการนิเทศแบบเพื่อนนิเทศเพื่อน (Peer Coaching เป็น ประเภทซี่งแต่ละประเภทจะมีจุดเน้นหรือจุดมุ่งหมายในการพัฒนาต่างกัน ดังนี้
๑. Technical Coaching เป็นการนิเทศที่ช่วยและส่งสริมการถ่ายโยงความรู้ทักษะและวิธีการสู่การปฏิบัติจริงให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด (หลังการฝึกอบรมเทคนิควิธีการใหม่ ๆ หรือนวัตกรรมใหม่ ๆ
๒. Collegial Coaching เป็นการนิเทศที่ช่วยให้ครูได้พัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน ของตนเองด้วยตัวเอง เป็นการปฏิบัติงานพร้อมกันระหว่างผู้นิเทศกับครูหรือครูกับเพื่อนครูหรือครูกับบุคลากรอื่น ๆ ในโรงเรียน
๓. Challenge Coaching เป็นการนิเทศที่ช่วยเหลือและให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหาการสอน ที่เกิดขึ้นเสมอและยังไม่ได้รับการแก้ไขซึ่งเป็นงานที่ท้าทายความสามารถในการแก้ปัญหาของบุคคลที่เกี่ยวข้อง

ข้อดีของการเพื่อนนิเทศเพื่อน (Peer Coaching)
๑. ช่วยให้มีการช่วยเหลือแนะนำซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่องทำให้มีการปรับปรุงพัฒนาการจัด
การเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอ
๒. เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ครูได้ปรับปรุงและพัฒนาการสอนของตนเองอย่างต่อเนื่อง
๓. เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดทักษะวิธีสอนซึ่งกันและกัน
๔. ส่งเสริมการทำงานร่วมกันในสายเดียวกันหรือต่างสาขากัน
๕. สร้างเสริมสภาพแวดล้อมที่ดีในโรงเรียนสร้างบรรยากาศที่ดีในการร่วมมือกันปฏิบัติงาน
๖. ช่วยให้ครูได้ตระหนักถึงความสำคัญและเป้าหมายในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
๗. ช่วยเติมช่องว่างระหว่างครูด้วยกันช่วยสลายกฎแห่งความโดดเดี่ยวของครูแต่ละคน ช่วยทำให้ครูรู้สึกว่า
ตนเองมีเพื่อนหัวอกเดียวกันประสบปัญหาคล้ายกัน

ข้อเสนอแนะในการเริ่มต้นโครงการเพื่อนนิเทศเพื่อน (Peer Coaching)
๑. เปิดโอกาสจัดเวลาให้มีการสังเกตการสอนเพื่อนร่วมงานทั้งในโรงเรียนเดียวกัน และโรงเรียนอื่นที่มี
ชื่อเสียงขณะเดียวกันเปิดโอกาสให้รับการสังเกตการสอนจากเพื่อน
๒. จัดประชุมปฏิบัติการเพื่อสำรวจจุดเด่นจุดบกพร่องในการจัดการเรียนการสอนของตนเอง
๓. ให้ความรู้ทบทวนหลักการและวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพหรือวิธีที่จะนำมาใช้ทดลองปฏิบัติ
๔. ให้การฝึกอบรมฝึกปฏิบัติทักษะที่จำเป็นเช่นทักษะการสังเกตการสอน

๔. การนิเทศภายในแบบพัฒนาการ (Supervisory Approach in Developmental Supervision)

ในการนิเทศแบบพัฒนาการนั้น Glickman and others (1995 : 135-171) ได้กำหนดวิธีการนิเทศหรือพฤติกรรมการนิเทศ ๔ แบบ คือ
๑. วิธีให้การนิเทศแบบชี้นำควบคุม (Directive Control Approach) เป็นพฤติกรรมการนิเทศ ภายในที่เน้นการประพฤติปฏิบัติด้วยการพูด การใช้ภาษา ท่าทางต่าง ๆ ในการให้คำแนะนำช่วยเหลือครูในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ซึ่งสามารถที่กระทำได้กับครูเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม

๒.วิธีให้การนิเทศแบบชี้นำให้ข้อมูล (Directive Informational Approach) เป็นพฤติกรรมการนิเทศ ภายในแบบชี้นำให้ข้อมูลมีลักษณะเช่นเดียวกันกับกรนิเทศแบบชี้นำควบคุม เพียงแต่ไม่ชี้นำหรือไม่แนะนำวิธีการปฏิบัติให้ครูโดยตรง แตให้ข้อมูลและวิธีการหลายวิธีให้ครูได้เลือกปฏิบัติ ซึ่งผู้นิเทศควรจะต้องพยายามลดพฤติกรรมการนิเทศแบบชี้นำควบคุมให้น้อยลง และพยายามส่งเสริมครูในการตัดสินใจมากขึ้นเรื่อย ๆ จนครูสามารถที่จะร่วมคิดร่วมปฏิบัติงานได้กับบุคคลอื่น โดยไม่ต้องอาศัยผู้นิเทศช่วยแนะนำตลอดเวลา
๓. วิธีให้การนิเทศแบบร่วมมือ (Collaborative Approach) เป็นพฤติกรรมการนิเทศ ภายในที่เน้นทั้งผู้นิเทศและครูจะร่วมกันตัดสินใจในวิธีการแก้ปัญหาและการปฏิบัติงานตลอดเวลา ทั้งครูและผู้นิเทศจะให้ข้อเสนอแนะแก่กันและกัน เพื่อร่วมกันพิจารณาหาข้อตกลงร่วมกันในการปฏิบัติ
๔. วิธีให้การนิเทศแบบไม่ชี้นำ (Non – directive Approach) เป็นพฤติกรรมกรนิเทศภายในที่ผู้นิเทศจะใช้พฤติกรรมในการพูดคุยทำงานร่วมกับครู โดยที่ครูจะเป็นผู้ที่ตัดสินใจด้วยตัวเอง ผู้นิเทศเป็นเพียงผู้ช่วยในการสนับสนุนในเรื่องต่าง ๆ ที่ครูร้องขอเท่านั้น

จากแนวคิดของนักการศึกษาและและหน่วยงานทางการศึกษา สรุปได้ว่า เทคนิคและวิธีการนิเทศ ภายในโรงเรียน เป็นการกำหนดแนวทางการพัฒนางานร่วมกันอย่างเป็นระบบเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน.

กิจกรรมการนิเทศภายในโรงเรียน

กิจกรรมต่าง ๆ ที่ใช้ในการนิเทศการศึกษา เป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการปฏิบัติงานของครูซึ่งจะช่วยให้การดำเนินการนิเทศบรรลุเป้าหมาย กิจกรรมการนิเทศมีหลากหลาย ซึ่งผู้นิเทศสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายของการนิเทศแต่ละครั้ง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ครูและนักเรียน ดังนั้นผู้นิเทศจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมการนิทศ โดยจะขอนำเสนอกิจกรรมกรนิเทศที่สำคัญและใช้มาก ๒๓ กิจกรรม ดังนี้

๑. การบรรยาย (Lecturing) เป็นกิจกรรมที่เน้นการถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจของผู้นิเทศไปสู่รับการนิเทศ ใช้เพียงการพูดและการฟังเท่านั้น

๒. การบรรยายโดยใช้สื่อประกอบ (Visualized Lecturing) เป็นการบรรยายที่ใช้สื่อเข้ามาช่วย เช่น สไลด์ แผนภูมิ แผนภาพ มัลติมีเดีย อินโฟกราฟฟิก เป็นตัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ฟังมีความสนใจมากยิ่งขึ้น

๓. การบรรยายเป็นกลุ่ม (Panel presenting) เป็นกิจกรรมการให้ข้อมูลเป็นกลุ่มที่มีจุดเน้นที่การให้ข้อมูลตามแนวความคิดหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

๔. การให้ดูภาพยนตร์หรือโทรทัศน์ (Viewing flm and television) เป็นการใช้เครื่องมือที่สื่อทางสายตาได้แก่ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ วิดีโอเทป เพื่อทำให้ผู้รับการนิเทศได้รับความรู้และเกิดความสนใจมากขึ้น

๕. การฟังคำบรรยายจากสื่อผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สื่อสังคมออนไลน์ การถ่ายทอดสด (Live) การประชุมทางไกล (Conference) ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นการใช้วิธีการบันทึกในรูปแบบดิจิทัลเพื่อนำเสนอแนวความคิดของบุคคลหนึ่งไปสู่ผู้ฟังคนอื่น

๖. การจัดนิทรรศการเกี่ยวกับวัสดุและเครื่องมือต่าง ๆ (Exhibiting materials and equipment) เป็นกิจกรรมที่ช่วยในการฝึกอบรมหรือเป็นกิจกรรมสำหรับงานพัฒนาสื่อต่าง ๆ

๗. การสังเกตในชั้นเรียน (Observing in classroom) เป็นกิจกรรมที่ทำการสังเกตการปฏิบัติงานในสถานการณ์จริงของบุคลากร เพื่อวิเคราะห์สภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร ซึ่งจะช่วยให้ทราบจุดหรือจุดบกพร่องของบุคลากร เพื่อใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานและใช้ในการพัฒนาบุคลากร

๘. การสาธิต (Demonstrating เป็นกิจกรรมการให้ความรู้ที่มุ่งให้ผู้อื่นเห็นกระบวนการและวิธีการดำเนินการ

๙. การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured interviewing) เป็นกิจกรรมสัมภาษณ์ที่กำหนดจุดประสงค์ชัดเจนเพื่อให้ได้ข้อมูลต่าง ๆ ตามต้องการ

๑๐. การสัมภาษณ์เฉพาะเรื่อง (Focused inteviewing) เป็นกิจกรรมการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างโดยจะทำกรสัมภาษณ์ฉพาะรงเรียนที่ผู้ตอบมีความสามารถจะตอบได้เท่านั้น

๑๑. การสัมภาษณ์แบบไม่ชี้นำ (Non-directive interview) เป็นการพูดคุยและอภิปราย หรือการแสดงแนวความคิดของบุคคลที่สนทนาด้วย ลักษณะการของการสัมภาษณ์จะสนใจกับปัญหาและความสนใจของผู้รับการสัมภาษณ์

๑๒. การอภิปราย (Discussing) เป็นกิจกรรมที่ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศปฏิบัติร่วมกัน ซึ่งเหมาะสมกับกลุ่มขนาดเล็ก มักใช้ร่วมกับกิจกรรมอื่น ๆ

๑๓. การอ่าน (Reading) เป็นกิจกรรมที่ใช้มากกิจกรรมหนึ่ง สามารถใช้ได้กับคนจำนวนมาก เช่น การอ่านข้อความจากวารสาร มักใช้ร่วมกับกิจกรรมอื่น

๑๔. การวิเคราะห์ข้อมูลและการคิดคำนวณ (Analyzing and calculating) เป็นกิจกรรมที่ใช้ในการติดตามประเมินผล การวิจัยเชิงปฏิบัติการและการควบคุมประสิทธิภาพการสอน

๑๕. การระดมสมอง (Brainstorming) เป็นกิจกรรรมที่เกี่ยวข้องกับการเสนอแนว ความคิดวิธีการแก้ปัญหาหรือใช้ข้อแนะนำต่าง ๆ โดยให้สมาชิกแต่ละคนแสดงความคิดโดยเสรี ไม่มีการวิเคราะห์หรือวิพากษ์วิจารณ์แต่อย่างใด

๑๖. การบันทึกวิดี้โอและการถ่ายภาพ (Videotaping and photographing) วิดีโอเทปเป็นเครื่องมือที่แสดงให้เห็นรายละเอียดทั้งภาพและเสียง ส่วนการถ่ายภาพมีประโยชน์มากในการจัดนิทรรศการ กิจกรรมนี้มีประโยชน์ในการประเมินผลงานและการประชาสัมพันธ์

๑๗. การจัดทําเครื่องมือและแบบทดสอบ (Instrumenting and testing) กิจกรรมนี้เกี่ยวข้องกับการใช้แบบทดสอบและแบบประเมินต่าง ๆ

๑๘. การประชุมกลุ่มย่อย (Buzz session) เป็นกิจกรรมการประชุมกลุ่มเพื่ออภิปรายในหัวข้อเรื่องที่เฉพาะเจาะจง มุ่งเน้นการปฏิสัมพันธ์ภายในกลุ่มมากที่สุด

๑๙. การจัดทัศนศึกษา (Field trip) กิจกรรมนี้เป็นการเดินทางไปสถานที่แห่งอื่น เพื่อศึกษาดูงานที่สัมพันธ์กับงานที่ตนปฏิบัติ

๒๐. การเยี่ยมเยียน (Inter visiting เป็นกิจกรรมที่บุคคลหนึ่งไปเยี่ยมและสังเกตการทำงานของอีกบุคคลหนึ่ง

๒๑. การแสดงบทบาทสมมติ (Roleplaying) เป็นกิจกรรมที่สะท้อนให้เห็นความรู้สึกนึกคิดของบุคคลกำหนดสถานการณ์ขึ้นแล้วให้ผู้ทำกิจกรรมตอบสนองหรือปฏิบัติตนเองไปตามธรรมชาติที่ควรจะเป็น

๒๒. การเขียน (Witing เป็นกิจกรรมที่ใช้เป็นสื่อกลางในการนิเทศเกือบทุกชนิด เช่น การเขียนโครงการนิเทศ การบันทึกข้อมูล การเขียนรายงาน การเขียนบันทึก ฯลฯ

๒๓. การปฏิบัติตามคำแนะนำ (Guided practice) เป็นกิจกรรมที่เน้นการปฏิบัติในขณะที่ปฏิบัติ มีการคอยดูแลช่วยเหลือ มักใช้กับรายบุคคล

การดำเนินการนิเทศภายในระดับโรงเรียน

การดำเนินการนิเทศภายในโดยให้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในระดับโรงเรียนมีแนวทางการดำเนินการ ดังนี้

แนวทางการนิเทศภายใน โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน โดย หน่วยศึกษานิเทศก์ สพฐ.
แนวทางการนิเทศภายใน โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน โดย หน่วยศึกษานิเทศก์ สพฐ. 14

จากแผนภาพการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีรายละเอียดการดำเนินงาน

๑. ประเด็นการนิเทศ

๑.๑ การพัฒนาและใช้หลักสูตรสถานศึกษา

๑.๒ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

๑.๓ การจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อเทคโนโลยีทางไกล (DLTV/DLIT)

๑.๔ การอ่านออกเขียนได้

๑.๕ การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน

๑.๖ การประกันคุณภาพการศึกษา

๒. กระบวนการนิเทศ

๒.๑ การศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการ

๒.๑.๑ การจัดทำข้อมูลสารสนเทศพื้นฐานรอบด้านทั้งของผู้บริหาร ครูและนักเรียน เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาวางแผนการดำเนินงานตามประเด็นการนิเทศ ได้แก่

๑) การพัฒนาและการใช้หลักสูตรสถานศึกษา

๒) การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

๓) การจัดการเรียนรู้โดยสื่อเทคโนโลยีทางไกล (DLTV/DLIT)

๔) การอ่านออกเขียนได้

๕) การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

๖) การประกันคุณภาพการศึกษา

๒.๑.๒ ประชุมแลกเปลี่ยนระดมความคิดของผู้บริหารและบุคลากรในโรงเรียน เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาตามบริบทของโรงเรียน

๒.๑.๓ จัดลำดับความสำคัญของปัญหาหรือความต้องการเร่งด่วนหรือที่เห็นว่าสำคัญที่สุดก่อน

๒.๑.๔ นำผลการวิเคราะห์จากประเด็นการนิเทศมากำหนดค่าเป้าหมายการพัฒนาที่เชื่อมโยงกับมาตรฐานและประเด็นพิจารณาของมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

๒.๑.๕ การสร้างกรรับรู้ระหว่างผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้มีเป้าหมายในการดำเนินงานร่วมกันด้วยการใช้สื่อและวิธีการที่หลากหลาย เช่น การประชุม สัมมนา การประชาสัมพันธ์ โดยการจัดทำเอกสาร หรือเผยแพร่ในเว็บไซต์ของโรงเรียน

ตัวอย่างเครื่องมือนิเทศภายในโรงเรียน

แบบประเมินการนิเทศภายในสถานศึกษา

แนวทางการนิเทศภายใน โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน โดย หน่วยศึกษานิเทศก์ สพฐ. 15

แบบบันทึกการนิเทศภายในโรงเรียน

แนวทางการนิเทศภายใน โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน โดย หน่วยศึกษานิเทศก์ สพฐ. 16
แนวทางการนิเทศภายใน โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน โดย หน่วยศึกษานิเทศก์ สพฐ. 17
แนวทางการนิเทศภายใน โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน โดย หน่วยศึกษานิเทศก์ สพฐ. 18
แนวทางการนิเทศภายใน โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน โดย หน่วยศึกษานิเทศก์ สพฐ. 19

แบบบันทึกการสังเกตการจัดเรียนการสอนในชั้นเรียน

แนวทางการนิเทศภายใน โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน โดย หน่วยศึกษานิเทศก์ สพฐ. 20
แนวทางการนิเทศภายใน โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน โดย หน่วยศึกษานิเทศก์ สพฐ. 21
แนวทางการนิเทศภายใน โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน โดย หน่วยศึกษานิเทศก์ สพฐ. 22

ดาวน์โหลดไฟล์ที่นี่

ที่มา : หน่วยศึกษานิเทศก์ สพฐ.

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่