หมอยง ย้ำไม่แนะนำให้ผู้สูงอายุเกิน 60 ปี ฉีดวัคซีนซิโนแวค
หมอยง ย้ำไม่แนะนำให้ผู้สูงอายุเกิน 60 ปี ฉีดวัคซีนซิโนแวค

หมอยง ย้ำไม่แนะนำให้ผู้สูงอายุเกิน 60 ปี ฉีดวัคซีนซิโนแวค หมอยง บอกผู้สูงอายุ ที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ขอให้อดใจรอวัคซีนโควิด-19 ที่มีการรับรองความปลอดภัยอย่างถูกต้อง ย้ำยังไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนซิโนแวค เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลรับรองความปลอดภัย

หมอยง ย้ำไม่แนะนำให้ผู้สูงอายุเกิน 60 ปี ฉีดวัคซีนซิโนแวค
หมอยง ย้ำไม่แนะนำให้ผู้สูงอายุเกิน 60 ปี ฉีดวัคซีนซิโนแวค

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ย้ำถึงกรณีที่วัคซีนโควิด-19 ของซิโนแวค จำกัดการฉีดให้กับผู้ที่อายุ 18-59 ปี เพราะวัคซีนซิโนแวคยังไม่มีข้อมูลรับรองความปลอดภัยสำหรับผู้ที่อายุ 60 ปี ขึ้นไป

โดย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีสาธารณสุข กล่าวว่า ส่วนของนายกรัฐมนตรี เป็นเพียงแค่แสดงเจตนารมณ์ว่าจะฉีดเข็มแรก เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นในความปลอดภัยของวัคซีนเท่านั้น ซึ่งทุกอย่างต้องเป็นไปตามข้อกำหนด ไม่มียกเว้น

นายแพย์ยงให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และมีความเสี่ยงสูง ที่จะติดเชื้อหรือป่วยเป็นโรคโควิด-19 เช่น กรณีคุณหมอที่จังหวัดมหาสารคาม ก็สามารถฉีดได้ แต่จะต้องประเมินประโยชน์ที่จะได้จากวัคซีน มากกว่าอาการข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น โดยแพทย์จะให้ข้อมูลทั้งหมด หากผู้ที่จะฉีดวัคซีนยินดีรับความเสี่ยง ก็สามารถทำได้

ขณะเดียวกันนายแพทย์ยง ได้แสดงความเห็นแนะนำให้กลุ่มผู้ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป อดใจรอข้อมูลความปลอดภัยอีกสักนิด ซึ่งคาดว่าน่าจะมีผลการศึกษารองรับออกมาในเร็ว ๆ นี้

โควิด-19 วัคซีน อาการไม่พึงประสงค์ อาการแทรกซ้อนของวัคซีน

สาเหตุที่คนไม่กล้าฉีดวัคซีน กล้ากล้ากลัวกลัวก็เพราะกลัวอาการแทรกซ้อนของวัคซีน จากการศึกษาในสหรัฐอเมริกาหลังให้วัคซีนไปแล้ว 1 เดือน วัคซีนที่ใช้จะเป็นของ Pfizer และ Modena ได้ฉีดวัคซีนไปแล้ว 13.7 ล้านโดส พบอาการแพ้แบบรุนแรง Ansphylaxis 4.5 คนใน 1 ล้านโดส ไม่มีผู้เสียชีวิตจาก Anaphylaxis แต่พบว่ามีผู้เสียชีวิต 113 คน แต่เมื่อตรวจจากการผ่าศพและจากรายงานของแพทย์ผู้ดูแลรักษาการเสียชีวิตไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีน (US CDC, MMWR report) โดยหลักการวัคซีน mRNA เป็นวัคซีนใหม่ มีการติดตามอาการไม่พึงประสงค์เป็นจำนวนมากและขณะนี้วัคซีนในกลุ่มนี้มีการฉีดมากที่สุด

วัคซีนไวรัสเวกเตอร์ เช่น AstraZeneca ในการศึกษาระยะที่ 3 จะเห็นว่าอาการข้างเคียงไม่ว่าเฉพาะที่หรือตามระบบของร่างกายพบน้อยกว่า.

ส่วนวัคซีนเชื้อตายเช่นของจีน Sinovac Sinopharm โดยหลักการกระบวนวิธีการทำเหมือนวัคซีนอีกหลายชนิดในอดีตเช่น วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า วัคซีนโปลิโอ วัคซีนตับอักเสบเอ ด้วยกระบวนการดังกล่าว อาการข้างเคียงก็น่าจะสบายใจได้.สำหรับคนที่กลัวอาการข้างเคียงของวัคซีน Sinovac ที่กำลังจะเข้ามาฉีดในประเทศไทยก็ขอให้สบายใจได้ ฉีดวัคซีนให้ประชากรไทยมีภูมิต้านทานกันมากๆ เพื่อให้พ้นวิกฤตหรือฉีดวัคซีนเพื่อชาติและขอให้ทุกภาคส่วนพยายามนำเข้าวัคซีนมาให้มากและเร็วที่สุด เพื่อให้ภาวะต่างๆกลับคืนมาให้ได้โดยเร็ว

ขอบคุณภาพจาก : Facebook Yong Poovorawan | ข่าวช่อง 7

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่