ศธ.เปิดแผนเตรียมความพร้อม ทดสอบระบบ ก่อนเปิดเทอม 2 มาตรการ 4 ระยะ เผย 1 ก.ค. เปิดภาคเรียน นักเรียนจะได้เรียนครบตามหลักสูตร
ศธ.เปิดแผนเตรียมความพร้อม ทดสอบระบบ ก่อนเปิดเทอม 2 มาตรการ 4 ระยะ เผย 1 ก.ค. เปิดภาคเรียน นักเรียนจะได้เรียนครบตามหลักสูตร

ศธ.เปิดแผนเตรียมความพร้อม ทดสอบระบบ ก่อนเปิดเทอม 2 มาตรการ 4 ระยะ เผย 1 ก.ค. เปิดภาคเรียน นักเรียนจะได้เรียนครบตามหลักสูตร เรียนทางไกล 18 พ.ค. – 30 มิ.ย. ทดสอบระบบ เตรียมความพร้อม ก่อนเปิดภาคเรียน 1 ก.ค. เปิดภาคเรียน นักเรียนจะได้เรียนครบตามหลักสูตร

ศธ.เปิดแผนเตรียมความพร้อม ทดสอบระบบ ก่อนเปิดเทอม 2 มาตรการ 4 ระยะ เผย 1 ก.ค. เปิดภาคเรียน นักเรียนจะได้เรียนครบตามหลักสูตร
ศธ.เปิดแผนเตรียมความพร้อม ทดสอบระบบ ก่อนเปิดเทอม 2 มาตรการ 4 ระยะ เผย 1 ก.ค. เปิดภาคเรียน นักเรียนจะได้เรียนครบตามหลักสูตร

เปิดแผนเตรียมความพร้อม ทดสอบระบบ ก่อนเปิดเทอม 1 ก.ค.2563

  • มาตรการที่ 1 เปิดการเรียนการสอนที่โรงเรียน 1 ก.ค. 2563
  • มาตรการที่ 2 หากไวรัสโควิด-19 ยังแพร่ระบาด เรียนที่บ้าน ใช้สื่อโทรทัศน์ดาวเทียม-ดิจิทัล

18 พ.ค.-30 มิ.ย. ทดสอบระบบ เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ปกครองและนักเรียน ในการเข้าถึงสื่อการเรียนการสอนผ่านโทรทัศน์ DTV (ไม่ใช่วันเรียนจริง)

ช่องทางออนไลน์ เป็นเพียงมาตรการเสริม ใช้สำหรับ ม.ปลาย เพราะมีศักยภาพการใช้อุปกรณ์

ลูกหลานหลายคนไม่ต้องมีทีวีหลายเครื่อง เพราะการสอนจะมีระบบรีรัน วนในรอบวัน

หากไม่มีโทรทัศน์ ไม่มีโทรศัพท์ ไม่มีอินเทอร์เน็ต มีปัญหาเรื่องกล่องรับสัญญาณ ไม่ต้องซื้อ ให้แจ้งโรงเรียน ทางโรงเรียนจะแก้ ไข ปัญหาให้ หรือ โทรสายด่วน (1579)

กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการกำหนดแนวทางการจัดการเรียนการสอนระบบทางไกล โดยแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 การเตรียมความพร้อม (7 เมษายน – 17 พฤษภาคม 2563) สำรวจความพร้อมในด้านอุปกรณ์การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ของนักเรียน ผู้ปกครอง ครู และระบบการบริหารจัดการการเรียนการสอน รวมถึงขออนุมัติใช้ช่องรายการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล จากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับปฐมวัยถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พร้อมขออนุมัติเผยแพร่การเรียนการสอนจากห้องเรียนต้นทาง ในระดับปฐมวัยถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของสถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) จากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดทำสื่อวีดิทัศน์การสอน โดยครูต้นแบบ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และรวบรวมสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ใน OBEC Content Center ชุดโปรแกรมและแพลตฟอร์มการเรียนรู้ครบวงจรของกระทรวงศึกษาธิการ เช่น Tutor ติวฟรี.com, e-Book เป็นต้น รวมถึงเตรียมโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบเครือข่าย เพื่อรองรับการให้บริการ แพลตฟอร์มการเรียนรู้ให้เชื่อมโยงกับระบบ Digital e-Learning ของกระทรวงศึกษาธิการ

ระยะที่ 2 การทดลองจัดการเรียนการสอนทางไกล (18 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2563) จะทดลองจัดการเรียนการสอนทางไกล ในระดับปฐมวัยถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ผ่านช่องรายการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล โดยการเผยแพร่สัญญาณจากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ (DLTV) ในระดับปฐมวัยเน้นกิจกรรมเตรียมความพร้อมเด็ก และระดับประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ผ่านช่องรายการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลและระบบออนไลน์โดยครูต้นแบบ ด้วยเครื่องมือการเรียนรู้ตามความเหมาะสมและบริบทของสถานศึกษา รวมทั้งเปิดศูนย์รับฟังความคิดเห็นการเรียนการสอนทางไกล จากผู้ปกครอง ประชาชน และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางการปรับปรุงและพัฒนา และประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ ความเข้าใจ แนะนำช่องทางการเรียนทางไกลให้กับผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้อง

ระยะที่ 3 การจัดการเรียนการสอน (1 กรกฎาคม 2563 – 30 เมษายน 2564) ได้วางแผนไว้สำหรับ 2 สถานการณ์ นั่นคือ สถานการณ์ที่ 1 กรณีที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ยังไม่คลี่คลาย จะจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัยถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ด้วยระบบทางไกลผ่าน DLTV และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ด้วยวีดิทัศน์การสอนโดยครูต้นแบบ และระบบออนไลน์ด้วยเครื่องมือการเรียนรู้ตามความเหมาะสมและบริบทของสถานศึกษา และสถานการณ์ที่ 2 กรณีที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid–19) คลี่คลาย จะจัดการเรียนการสอนปกติในโรงเรียน โดยให้เว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และมีแผนเตรียมการเพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ โดยจะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน 

ระยะที่ 4 การทดสอบและการศึกษาต่อ (1 เมษายน – 15 พฤษภาคม 2564) จะประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบและคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ นั่นคือ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เกี่ยวกับระบบคัดเลือกเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (TCAS GAT PAT) และ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ เกี่ยวกับการทดสอบ O-net ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ขอบคุณที่มา : ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี – PMOC

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่