แนวปฏิบัติในการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๖ สังกัด สพฐ.
แนวปฏิบัติในการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๖ สังกัด สพฐ.

แนวปฏิบัติในการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๖ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

1. กำหนดระยะเวลาการส่งเรื่องเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๖ ให้แก่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำและพนักงานราชการในสังกัด

๑. ให้ สพท/สศศ. และสำนัก/หน่วยงาน ส่งเรื่องพร้อมเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณาเสนอขอพระราชทานไปยัง สพธู. (สพร.) ภายในวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
๒. กรณีมีผู้ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ ชั้น ชั้นยศ สูงขึ้น และมีคุณสมบัติอื่นครบตามหลักเกณฑ์ที่จะเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย ให้ส่งเรื่อง
พร้อมเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมไปยัง สพฐ (สพร.) ภายในวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๖

2. การนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งหรือการรับราชการ จนถึงวันก่อนวันพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทานไม่น้อยกว่า ๖๐ วัน

ให้นับระยะเวลาถึงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๖

3. การได้รับเงินเดือนขั้นต่ำหรือเงินเดือนขั้นสูง ตามบัญชีเงินเดือนขั้นด่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ

ต้องเป็นเงินเดือนขั้นต่ำหรือเงินเดือนขั้นสูงที่ได้รับภายในวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๖

4. การนับระยะเวลารับราชการครบ ๒๕ ปีเพื่อเสนอขอพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา

การนับระยะเวลารับราชการ ครบ ๒๕ ปี หมายถึงผู้ที่ได้รับการบรรจุไม่หลังวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๑

5.การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เลื่อนขั้นตราสูงขึ้น ให้แก่ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ กรณีครบระยะเวลาการได้รับพระราชทานฯ มาแล้ว ไม่น้อยกว่า
๓ ปีบริบูรณ์ หรือ ๕ ปีบริบูรณ์

6. ในการเสนอขอพระราชทานในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ให้นับระยะเวลา ดังนี้

๑. กรณีครบ ๓ ปี บริบูรณ์ หมายถึง ผู้ได้รับพระราชทานฯ ไม่หลังปี ๒๕๖๓
๒. กรณีครบ ๕ ปี บริบูรณ์ หมายถึง ผู้ได้รับพระราชทานฯ ไม่หลังปี ๒๕๖๑

7. การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์กรณีเป็นผู้เคยมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๑๒ (๖) ตามระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๖๔ ซึ่งต่อมาปรากฎผลการสอบสวน ไต่สวน หรือมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่าไม่มีความผิด (คนละกรณีกับงดโทษเนื่องจากการเกษียณอายุราชการ ที่ถือว่าความผิดยังคงอยู่)

ต้องส่งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณานอกเหนือจากหลักฐานที่แสดงถึงการเป็นผู้มีคุณสมบัติ เช่น สำเนาคำสั่งเกี่ยวกับความผิด และผลการพิจารณาความผิด การพิพากษา อันถึงที่สุดแล้วว่าไม่มีความผิด เป็นต้น

8. ไม่ควรเสนอขอพระราชทานให้กับบุคคล ดังนี้

ผู้มีลักษณะต้องห้ามตามระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๖๔ เช่น กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรืออยู่ระหว่างพิจารณาโทษทางวินัยหรืออยู่ระหว่างอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยหรือกระทำความผิดทางอาญา ฯลฯ

ผู้ถูกลงโทษทางวินัย (ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือนลดเงินเดือน ปลดออก ไล่ออก) หรือมีผลการประเมินการปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงานตามภารกิจที่กฎหมายกำหนดต่ำกว่าระดับดี (พอใช้/ต้องปรับปรุง) ให้เพิ่มระยะเวลาการเสนอขอพระราชทานจากที่ระเบียบฯ กำหนดไปอีกกรณีละหนึ่งปี

ตรวจสอบได้จากระเบียบๆ พ.ศ. ๒๕๖๔ ข้อ ๑๒ และ ข้อ ๑๘

แนวปฏิบัติในการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๖ สังกัด สพฐ.
แนวปฏิบัติในการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๖ สังกัด สพฐ.
แนวปฏิบัติในการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๖ สังกัด สพฐ.
แนวปฏิบัติในการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๖ สังกัด สพฐ.

หมายเหตุ การลงนามรับรองเอกสารทุกฉบับ ต้องใช้ปากกา “หมึกสีน้ำเงิน” ลงนาม เท่านั้น

หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๖ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

เครื่องราชอิสริยากรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งข้างเผือกและเครื่องราชอิสริยากรณ์อันมีเกียรติยสยิ่งมงกูฎไทย

๑. คุณสมบัติของบุคคลที่พึงได้รับการพิจารณาเสนอขอพระราชทานเครื่องราซอิสริยาภรณ์

๑.๑ เป็นผู้มีสัญชาติไทย
๑.๒ เป็นผู้ประพฤติดี และปฏิบัติงานราชการหรือปฏิบัติงานที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน ด้วยความอุตสาหะ ชื่อสัตย์ และเอาใจใส่ต่อหน้าที่อย่างดียิ่ง
๑.๓ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในบัญชีท้ายระเบียบฯ พ.ศ. ๒๕๖๔
๑.๔ เป็นผู้ไม่เคยมีพระบรมราชโองการหรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานราซานุญาตให้เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือต้องโทษจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก หรืออยู่ระหว่างถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย ผิดทางอาญา ผิดตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

๑.๕ หากเป็นลูกจ้างประจำ ต้องเป็นลูกจ้างประจำของส่วนราชการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยลูกจ้างประจำของส่วนราชการ (แต่ไม่หมายความถึงลูกจ้างเงินทุนหมุนเวียน) และเป็นลูกจ้างประจำที่มีชื่อและลักษณะงานเป็นลูกจ้างโดยตรงหมวดฝีมือ หรือลูกจ้างประจำที่มีชื่อและลักษณะงานเหมือนข้าราชการ

๒. หลักเกณฑ์การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

ให้เริ่มขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยสยิ่งมงกุฎไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกสลับกัน โดยเลื่อนชั้นตราตามลำตับจากชั้นล่างสุด (ชั้นที่ ๗) จนถึงชั้นสูงสุดตามลำดับ โดยให้พิจารณาถึงตำแหน่ง ระดับ ความดีความชอบของผู้เสนอขอพระราชทานฯ ดังต่อไปนี้

แนวปฏิบัติในการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๖ สังกัด สพฐ.
แนวปฏิบัติในการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๖ สังกัด สพฐ.

๒.๒ ขอพระราชทานในปีติดกันหรือกรณีอื่นใดที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในระเบียบจะกระทำมิได้
๒.๓ เพิ่มกำหนดระยะเวลาการขอพระราชทานอีกกรณีละหนึ่งปี กรณีที่ (๑) เป็นผู้ถูกลงโทษทางวินัย (ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดเงินเดือน ปลดออก ไล่ออก) และกรณีที่ (๒) มีผลการประเมินการปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงานตามภารกิจที่กฎหมายกำหนดต่ำกว่าระดับดี (พอใช้/ต้องปรับปรุง)
๒.๔ หากเสนอรายชื่อผู้ขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แล้ว ต่อมาพบว่าถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดทางวินัย ถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรือกระทำผิดอาญา และอยู่ระหว่างสอบสวนของพนักงานสอบสวนหรืออยู่ระหว่างการดำเนินคดีอาญาในชั้นศาล ให้แจ้งพฤติการณ์ดังกล่าวให้ ทราบด้วยโดยคณะกรรมการอาจมีมติให้รอการพิจารณาการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับผู้นั้นไว้ก่อนก็ได้

ข. การเสนอขอพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)

เหรียญจักรพรรดิมาลา เป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์ที่พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานแก่ข้าราชการฝ่ายพลเรือนที่รับราชการมาด้วยความเรียบร้อยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๒๕ ปี (ตามพระราชบัญญัติเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา พุทธศักราช ๒๔๘๔)

๑. หลักเกณฑ์ในการเสนอขอพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา

๑.๑ เป็นข้าราชการและรับราชการเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๒๕ ปี หมายถึง ข้าราชการที่ได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ และปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการด้วยความอุตสาหะ เอาใจใส่ ไม่ละทิ้งหรือทอดทิ้งราชการ
๑.๒ เป็นผู้ที่รับราชการมาด้วยความเรียบร้อยมาโดยตลอด หมายถึง ข้าราชการที่ได้ปฏิบัติหน้าที่และปฏิบัติตนเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบแบบเผนของทางราชการ ตั้งแต่เริ่มเข้ารับราชการจนถึงปีที่เสนอขอพระราชทาน โดยมีแนวทางการพิจารณา ดังนี้

๑) ต้องเป็นผู้ไม่เคยกระทำผิดวินัย ถูกทำทัณฑ์บน หรือมีหนังสือว่ากล่าวตักเตือน
๒) ผู้ที่กระทำความผิดและได้รับการล้างมลทินตามกฎหมายล้างมลทิน (ซึ่งเป็นการล้างเฉพาะโทษที่ได้รับ ไม่ใช่การล้างความผิด ขาดคุณสมบัติในการเสนอขอพระราชทาน และจะเริ่มนับระยะเวลาราชการ ๒๕ ปีใหม่ เพื่อเสนอขอพระราชทาน ร.จ.พ. ไม่ได้
๓) ผู้ที่เคยถูกลงโทษไล่ออก ให้ออก หรือปลดออกจากราชการ แต่ได้อุทธรณ์จนกลับเข้ารับราชการ หากปรากฏว่าบุคคลดังกล่าวไม่ได้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหา สามารถเสนอขอพระราชทานได้ แต่หากได้กระทำความผิดแต่มีเหตุให้ได้รับการยกโทษ ไม่ถือว่าเป็นผู้ที่รับราชการมาด้วยความเรียบร้อย
๔) กรณีผลการสอบสวนทางวินัยสิ้นสุดแล้วปรากฎว่าไม่มีความผิด หากไม่มีมลทินมัวหมองในกรณีถูกสอบสวน สามารถเสนอขอพระราชทานได้

๕) กรณีข้าราชการไม่ได้รับการเลื่อนเงินเดือน ต้องพิจารณาว่าเกิดจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการปฏิบัติราชการหรือไม่ เช่น ลาป่วย ลากิจ หรือมาสาย เกินกำหนด
๖) หากต้องคำพิพากษาว่ากระทำผิดอาญโดยเจตนา ถือว่าขาดคุณสมบัติในการเสนอขอพระราชทาน รวมถึงกรณีกระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ และเข้าข่ายว่า
มิได้เป็นการรับราชการมาด้วยความเรียบร้อย
๗) กรณีข้าราชการถูกร้องเรียน ซึ่งไม่เกี่ยวหรือสืบเนื่องจากการปฏิบัติราชการ หากส่วนราชการพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นผู้ที่รับราชการมาด้วยความเรียบร้อยก็สามารถเสนอขอ
พระราชทานได้
๘)กรณีถูกกล่าวหาหรืออยู่ระหว่างดำเนินคดี หากข้อเท็จจริงยังไม่เป็นที่ยุติว่าเป็นผู้ที่กระทำความผิดหรือไม่ ให้ส่วนราชการต้นสังกัดชะลอการเสนอขอพระราชทานไว้ก่อน
หากต่อมามีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี หรือเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วปรากฎว่าไม่เป็นผู้กระทำความผิด สามารถเสนอขอพระราชทานได้
๙) ผู้ที่เคยได้รับการประเมินผลการปฏิบัติราชการต่ำกว่าระดับดี (พอใช้/ต้องปรับปรุง)ไม่สมควรเสนอขอพระราชทาน ยกเว้น กรณี แรกบรรจุ ลาศึกษาต่อ ฝึกอบรม ดูงาน
ทัศนศึกษา หรือลาป่วยซึ่งอยู่ในดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชา หากพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นผู้ที่รับราชการมาด้วยความเรียบร้อยก็สามารถเสนอขอพระราชทานได้

๑.๓ การนับเวลาราชการ ๒๕ ปี ให้นับเวลาราชการทั้งหมดของผู้นั้นรวมกันครบ ๒๕ ปีบริบูรณ์โดยให้เริ่มนับจากวันบรรจุเข้ารับราชการจนถึงวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ของปีที่เสนอขอ
พระราชทานฯ (กรณีที่ลาออกแล้วกลับเข้าปฏิบัติราชการ ให้นับเวลาราชการก่อนลาออกและเวลาที่กลับเข้าปฏิบัติราชการรวมกันให้ได้ครบเวลา ๒๕ ปีบริบูรณ์)

๒. การดำเนินการ

๒.๑ ให้ข้าราชการที่มีคุณสมบัติครบถ้วนแต่ละคนกรอกรายละเอียดในแบบประวัติสำหรับเสนอขอพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา (แบบ ร.จ.พ. ลงนามเจ้าของประวัติด้วยปากกา
หมึกสีน้ำเงิน จำนวนคนละ ㆍ ฉบับ ให้ถูกต้องครบถ้วนตามตัวอย่างที่กำหนด
ทั้งนี้ การกรอกรายละเอียดของผู้ขอฯ จะต้องเป็นความจริงและถูกต้องตรงกับ ก.พ.๗หรือ ก.ค.ศ. ๑๖ หรือสมุดประวัติ มิฉะนั้นจะถือว่ารายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา
๒.๒ ให้สถานศึกษา รวบรวมแบบประวัติฯ (แบบ ร.จ.พ.) และตรวจสอบคุณสมบัติของข้าราชการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และจัดส่งข้อมูลให้ สพท/สศศ. เพื่อดำเนินการ
๒.๓ ให้ สพท./สศศ. รวบรวม ตรวจสอบคุณสมบัติ พร้อมจัดทำแบบบัญชีแสดงคุณสมบัติของข้าราชการที่เสนอขอพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา (แบบ ขร ๗) พร้อมดำเนินการ
รวมเรื่องกับการเสนอขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในข้อ ๓.๑ การดำเนินการ ข้อ (๒) ถึง (๖) ด้วยกัน (บันทึกข้อมูลในโปรแกรม / ตั้งคณะกรรมการกลั่นกรอง / เสนอลงนาม/ จัดส่งเอกสาร /บันทึกข้อมูลลงในแฟ้มประวัติ)

๓. เอกสารประกอบการพิจารณาเสนอขอพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)
๓.๑ แบบประวัติสำหรับเสนอขอพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา (แบบ ร.จ.พ.) จำนวน ๓ ชุด
๓.๒ สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน ๑ ชุด
๓.๓ สำเนา ก.พ. ๗ หรือ ก.ค.ศ. ๑๖ (ตั้งแต่บรรจุ จนถึงปัจจุบัน) จำนวน ๑ ชุด
๓.๔ แบบเสนอขอพระราชทานและรับรองคุณสมบัติ (แบบ คส.๒)

แบบเสนอขอพระราชทานและรับรองคุณสมบัติบุคคลประกอบการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๖ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

แบบเสนอขอพระราชทานและรับรองคุณสมบัติบุคคลประกอบการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๖ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
แนวปฏิบัติในการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๖ สังกัด สพฐ. 6

ดาวน์โหลดไฟล์ : ว5970.pdf (obec.go.th)

กลุ่มงานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สพร. / สพฐ
ข้อมูล ๓ ตุลาคม ๒๕๖๕

ขอบคุณที่มา : สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ (obec.go.th)

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่