เลขาฯ กพฐ. ไม่ห่วง!! หากเรียน ON-SITE ไม่ได้ทั้งปี ย้ำสพฐ. คำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยของนักเรียน ครู และทุกภาคส่วนเป็นหลัก
เลขาฯ กพฐ. ไม่ห่วง!! หากเรียน ON-SITE ไม่ได้ทั้งปี ย้ำสพฐ. คำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยของนักเรียน ครู และทุกภาคส่วนเป็นหลัก

เลขาฯ กพฐ. ไม่ห่วง!! หากเรียน ON-SITE ไม่ได้ทั้งปี ย้ำสพฐ. คำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยของนักเรียน ครู และทุกภาคส่วนเป็นหลัก

นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ที่ประเทศไทยกำลังประสบอยู่ในขณะนี้ ส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนในหลายพื้นที่จะต้องจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ ONLINE และ ON-AIR เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) คำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยของนักเรียน ครู และทุกภาคส่วน จึงจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการเรียนแบบ ON-SITE หรือเรียนในห้องเรียนในพื้นที่ที่ยังมีความเสี่ยงโควิด-19

ซึ่ง สพฐ.มีความห่วงใยในมิติของเรื่องคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ไม่ว่าจะในรูปแบบใดภายใต้ข้อจำกัดที่มีอยู่ตอนนี้ และแม้ว่าการเรียนการสอนจะไม่สามารถจัดภายในห้องเรียนได้ แต่หากนักเรียนมีข้อสงสัย หรือไม่เข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาในการเรียน ONLINE แต่ละโรงเรียนก็มีช่องทางให้นักเรียนได้สื่อสารกับครู หรือสามารถเรียนซ่อมเสริมเพิ่มเติมเนื้อหาได้ เมื่อนักเรียนกลับมาเรียนที่ห้องเรียน ซึ่งตนยอมรับการคุณภาพการเรียนการสอนในรูปแบบ ONLINE ไม่เท่าการจัดการเรียนการสอนรูปแบบ ON-SITE อยู่แล้ว

เลขาธิการ กพฐ. กล่าวอีกว่า สพฐ.มีความพยายามอย่างเต็มที่ที่จะทำให้การจัดการเรียนการสอนในทุกรูปแบบมีประสิทธิภาพมากที่สุด อย่างการเรียนในรูปแบบ ON-AIR จะมีการฉายซ้ำถึง 3 รอบ ซึ่งนักเรียนสามารถที่เรียนหรือรับชมซ้ำได้ สำหรับการเรียนรูปแบบ ONLINE เราก็ไม่ได้ให้เรียนกับครูตามชั่วโมงที่กำหนดเท่านั้น แต่ยังมีการทำคลิปวีดีโอ สื่อการเรียนต่าง ๆ ให้นักเรียนสามารถค้นคว้าด้วยตัวเองได้ด้วย ดังนั้นจึงอยู่ที่ตัวนักเรียนเองว่าจะมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการศึกษาเรียนรู้ขนาดไหน

“ขณะนี้ สพฐ.ไม่ห่วงหากไม่สามารถจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ ON-SITE ได้ทั้งปี เพราะเราได้เตรียมความพร้อมรูปแบบการจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียน และมีการนับเวลาเรียนให้ ขณะเดียวกัน สพฐ.ยังมีแนวคิดเพิ่มเติมในส่วนของการเรียนการสอนที่จะต้องมีการลงมือปฏิบัติจะทำในรูปแบบ ONLINE ออกมาอย่างไร โดยอาจจะมีคลิปวีดีโอตัวอย่างจากโรงเรียน และให้นักเรียนทำตาม ทั้งในเรื่องการเรียนที่เกี่ยวข้องกับการทดลองวิทยาศาสตร์ หรือ การเรียนวิชาพละศึกษา รวมถึงมีการวัดและประเมินผลด้วยวิธีอื่นให้ด้วย เช่น การสอบรูปแบบ ONLINE ผ่านแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ซึ่งเราจะใช้ตัวชี้วัดเดิม แต่จะต้องเปลี่ยนวิธีการ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน” นายอัมพร กล่าว.

ขอบคุณที่มา : Facebook At_HeaR ข่าวจริงเข้าหู

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่