สภาการศึกษาจับเข่า “เด็ก-ครู” ชูทางแก้-แชร์ไอเดีย ปั้นร่างแผนการศึกษาแห่งชาติ ลดภาระงานเอกสารครู
สภาการศึกษาจับเข่า “เด็ก-ครู” ชูทางแก้-แชร์ไอเดีย ปั้นร่างแผนการศึกษาแห่งชาติ ลดภาระงานเอกสารครู

สภาการศึกษาจับเข่า “เด็ก-ครู” ชูทางแก้-แชร์ไอเดีย ปั้นร่างแผนการศึกษาแห่งชาติ ลดภาระงานเอกสารครู

เลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ) เป็นประธานการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อพิจารณากรอบแนวทางการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ ครั้งที่ ๑ โดยมี รองเลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.พีรศักดิ์ รัตนะ) ที่ปรึกษาสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) (ดร.สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์) ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการศึกษา (นายกวิน เสือสกุล) ผู้แทนนักเรียน นิสิตนักศึกษา และอาจารย์จากสถานศึกษาต่าง ๆ ร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ณ ห้องประชุมกำแหง พลางกูร ชั้น ๓ อาคาร ๕๖ ปี สกศ

สภาการศึกษาจับเข่า “เด็ก-ครู” ชูทางแก้-แชร์ไอเดีย ปั้นร่างแผนการศึกษาแห่งชาติ ลดภาระงานเอกสารครู
สภาการศึกษาจับเข่า “เด็ก-ครู” ชูทางแก้-แชร์ไอเดีย ปั้นร่างแผนการศึกษาแห่งชาติ ลดภาระงานเอกสารครู

การประชุมในครั้งนี้เป็นการเปิดเวทีให้ผู้เรียนซึ่งเป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการจัดการศึกษา ได้มีพื้นที่แบ่งปันประสบการณ์ แสดงความคิดเห็น และให้ข้อเสนอแนะ เพื่อร่วมกำหนดทิศทางการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ภายใต้วิถีใหม่ของการเรียนรู้ (New Normal) ซึ่ง สกศ. มุ่งมั่นที่จะพัฒนาแผนการศึกษาแห่งชาติให้เป็นธรรมนูญทางการศึกษาที่เกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่าย โดยแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่นี้มีจะมีการปรับให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปของสังคมไทยและพลวัตโลก เยาวชนจากหลากหลายสถาบันได้ร่วมให้ข้อเสนอแนะในประเด็นที่น่าสนใจต่าง ๆ อาทิ

ด้านการจัดการเรียนการสอน – ส่งเสริมความสำคัญของวิชาแนะแนว เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้รู้จักตนเอง และทราบถึงแนวทางในการพัฒนาทักษะเพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยในคณะที่ตรงกับความสนใจ ซึ่งจะช่วยลดปัญหา “การซิ่ว” หรือ การเปลี่ยนคณะหรือเปลี่ยนสถาบัน หลังจากเข้าเรียนระดับมหาวิทยาลัยไปในปีการศึกษาก่อนหน้า

ด้านบุคลากร – ลดภาระการทำงานด้านเอกสารปรับขึ้นตำแหน่งของครูอาจารย์ เพื่อช่วยให้ครูอาจารย์สามารถทุ่มเทเวลาการสอนได้เต็มที่ และครูอาจารย์ควรได้รับการพัฒนาทักษะอื่น ๆ นอกจากการสอน เช่น ทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อนำไปใช้ในช่วงการเรียนการสอนทางไกลในช่วงโควิด-๑๙ และทักษะทางจิตวิทยา หรือการเข้าใจพฤติกรรมของเด็ก ช่วยดึงศักยภาพของนักเรียนให้โดดเด่นและต่อยอดไปสู่การประกอบอาชีพในอนาคต

ด้านงบประมาณ – เยาวชนเสนอให้มีการจัดสรรงบประมาณสำหรับการสอบความถนัดทั่วไป (GAT) สอบความถนัดด้านวิชาการ (PAT) โดยไม่มีการเก็บค่าใช้จ่าย รวมถึงปรับอัตราเงินอุดหนุนรายหัวให้มีความเท่าเทียมกันทั้งในโรงเรียนขนาดเล็กและขนาดใหญ่ รวมถึงสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน

ทั้งนี้ สกศ. จะนำข้อคิดเห็นที่ได้มาปรับปรุงแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ และใช้เป็นกรอบแนวทางการพัฒนาการศึกษาของประเทศให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากลต่อไป

ขอบคุณที่มา : ข่าวสภาการศึกษา

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่