สพฐ.เตรียมแผนรองรับเพิ่มเขต สพม.ย้ำชัดไม่มีเพิ่มคนแต่เป็นการเกลี่ยกำลังคน
สพฐ.เตรียมแผนรองรับเพิ่มเขต สพม.ย้ำชัดไม่มีเพิ่มคนแต่เป็นการเกลี่ยกำลังคน

สพฐ.เตรียมแผนรองรับเพิ่มเขต สพม.ย้ำชัดไม่มีเพิ่มคนแต่เป็นการเกลี่ยกำลังคน

นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(เลขา กพฐ.) เปิดเผยความคืบหน้าการจัดตั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา(สพม.) เพิ่มขึ้น 20 เขต ว่า ตนได้ประชุมผู้อำนวยการสำนัก ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อเตรียมการรองรับและจัดตั้งสพม.เพิ่มอีก 20 เขต เพราะทราบว่านายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ลงนามอนุมัติเพิ่ม สพม.อีก 20 เขตแล้ว หากประกาศลงราชกิจจานุเบกษา ก็จะมีผลบังคับใช้ทันที ดังนั้นเพื่อเตรียมการรับมือให้สามารถจัดตั้ง สพม.ได้ทันที ตนจึงมอบหมายให้สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย (สมป.) เป็นผู้รับผิดชอบในการเตรียมสถานที่ บุคลากร วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ รวมถึงการวางแผนการบริหารจัดการด้วย

สพฐ.เตรียมแผนรองรับเพิ่มเขต สพม.ย้ำชัดไม่มีเพิ่มคนแต่เป็นการเกลี่ยกำลังคน
สพฐ.เตรียมแผนรองรับเพิ่มเขต สพม.ย้ำชัดไม่มีเพิ่มคนแต่เป็นการเกลี่ยกำลังคน

เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อไปว่า การเพิ่มสพม. ครั้งนี้ สพฐ.จะไม่ได้ขอตำแหน่งเพิ่ม และจะไม่ของบประมาณในการดำเนินการเพิ่มจากสำนักงบประมาณ แต่จะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่มาบริหารจัดสรร เช่น การเกลี่ยกำลังคน อาจจะนำบุคลากรจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) และ สพม. มาทำงานก่อน ส่วนงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการจัดการตั้ง สพม.ใหม่ ก็จะใช้งบพื้นฐานของ สมป.มาบริหารจัดการไปก่อนเช่นกัน

“การเพิ่ม สพม.ไม่อยากให้มองว่า ดีหรือไม่ดี แต่อยากให้มองว่าปัจจุบันการมีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) นั้น ดีอยู่แล้ว เพราะ สพท.ถือเป็นหน่วยงานที่มาช่วย สพฐ.กำกับส่งเสริมสนับสนุนทำให้โรงเรียนมีคุณภาพ และการเพิ่ม สพม.ขึ้นมาจะช่วยให้ประสิทธิภาพการบริหารจัดการของ สพม.ดีขึ้น เพราะปัจจุบัน สพม.บางเขต ต้องดูแลถึง 4 จังหวัด จึงยากที่จะทำให้การศึกษามีคุณภาพ แต่ถ้าแบ่งพื้นที่ใหม่จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ และมีความคล่องตัวมากขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์และสามารถทำงานบูรณาการได้ดียิ่งขึ้น”

อย่างไรก็ตาม การเพิ่ม สพม.ครั้งนี้ สพฐ.วิเคราะห์ 3 ปัจจัย คือ ความห่างไกลของพื้นที่, จำนวนโรงเรียนที่กำกับดูแล และมีจำนวนจังหวัดที่ต้องดูแลมากเกินไปหรือไม่ เมื่อนำปัจจัยเหล่านี้มาประกอบจึงทำให้ สพฐ.วิเคราะห์ได้ว่าจะไม่เพิ่ม สพม.ครบทั้ง 77 จังหวัด เพราะเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากบางจังหวัดมีโรงเรียนมัธยมเพียง 7 แห่งเท่านั้น ดังนั้นการเพิ่ม สพม. 20 เขต ถือว่าเป็นการเพิ่มอย่างเต็มที่แล้ว ถ้ามากกว่านี้อาจจะไม่เหมาะสม

ขอบคุณที่มา : Facebook อีทีวีแม็ค เวทีสาธารณะเพื่อการศึกษา

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่