สกศ. หารือเพิ่มเติมการจัดตั้ง สพม.-จัดทำ job description ให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษา
สกศ. หารือเพิ่มเติมการจัดตั้ง สพม.-จัดทำ job description ให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษา

สกศ. หารือเพิ่มเติมการจัดตั้ง สพม.-จัดทำ job description ให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษา

สกศ. หารือเพิ่มเติมการจัดตั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา-จัดทำ job description ให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษา
สกศ. หารือเพิ่มเติมการจัดตั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา-จัดทำ job description ให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษา

ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการสภาการศึกษา เป็นประธานในการประชุม เรื่อง หารือนำเรียนข้อมูลเพิ่มเติมการจัดตั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (เพิ่มเติม) และมีรองเลขาธิการสภาการศึกษา (ดร.อุษณีย์ ธโนศวรรย์) ผู้อำนวยการสำนักพัฒนากฎหมายการศึกษา รักษาการที่ปรึกษาด้านระบบการศึกษา (ดร.สวัสดิ์ ภู่ทอง) พร้อมทั้ง ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ผู้อำนวยการกลุ่มแผนและอัตรากำลัง สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย และผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร เข้าร่วมประชุมดังกล่าว เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนข้อมูลอันนำไปสู่แนวทางการจัดตั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

โดยในที่ประชุมมีมติให้หน่วยงานดังกล่าวนำประเด็นตามข้อสังเกตและเงื่อนไขตามมติที่ประชุมสภาการศึกษา ครั้งที่ ๒/๒๕๖๑ เมื่อวันพุธที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๓๐ น. ณ ห้องประชุมกำแหง พลางกูร อาคาร ๕๖ ปี สกศ.

สกศ. หารือเพิ่มเติมการจัดตั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา-จัดทำ job description ให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษา
สกศ. หารือเพิ่มเติมการจัดตั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา-จัดทำ job description ให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษา

จำนวน ๕ ประเด็น ได้แก่

๑. จัดทำข้อมูลเพื่อยืนยันว่าบุคลากร ทรัพยากร และอาคารสถานที่ต่างๆ จะไม่เพิ่มขึ้น

๒. จัดทำแผนการปฏิบัติงานให้ชัดเจน เกี่ยวกับคุณภาพของการศึกษา การเตรียมบุคลากร การเตรียมโรงเรียนสำหรับอนาคตของเด็กยุคนี้ โดยเฉพาะเรื่องครูแนะแนวที่จะดึงศักยภาพความถนัดของเด็กมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

๓. จัดทำรายงานผลการดำเนินงานเสนอสภาการศึกษาเป็นระยะๆ ว่ามีการดำเนินงานให้เป็นไปตามสมมติฐานที่วิเคราะห์ไว้หรือไม่

๔. จัดทำรายละเอียดของงาน (job description) ให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาเพื่อให้นักเรียนได้รู้จักตนเองเร็วขึ้น และคัดกรองให้นักเรียนได้รู้ว่าในอนาคตจะไปศึกษาต่อสายสามัญหรือสายอาชีวะ

๕. การจัดทำแผนหรือแนวทางในการกำหนดกรอบอัตรากำลังบุคลากรทางด้านการเงินของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ เพื่อรองรับการตัดโอนงบประมาณจากกรมบัญชีกลางและเพื่อให้โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่มีศักยภาพยิ่งขึ้น ไปดำเนินการให้ครบถ้วน และรายงานกลับมายังสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา เพื่อรวบรวมและเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาพิจารณาต่อไป

ขอบคุณที่มาและอ่านต่อ : Facebook อีทีวีแม็ค เวทีสาธารณะเพื่อการศึกษา

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่