ผลการประชุมผู้บริหารสป.ศธ. เร่งดำเนินการจัดทำ Mapping ข้อมูลสถานศึกษา แก้ปัญหา การศึกษาชายแดนไทย-เมียนมา
ผลการประชุมผู้บริหารสป.ศธ. เร่งดำเนินการจัดทำ Mapping ข้อมูลสถานศึกษา แก้ปัญหา การศึกษาชายแดนไทย-เมียนมา

ผลการประชุมผู้บริหารสป.ศธ. เร่งดำเนินการจัดทำ Mapping ข้อมูลสถานศึกษา แก้ปัญหา การศึกษาชายแดนไทย-เมียนมา นายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมผู้บริหารสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 2/2563 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ เพื่อติดตามผลการดำเนินงาน และเร่งขับเคลื่อนนโยบายที่สำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)

ผลการประชุมผู้บริหารสป.ศธ. เร่งดำเนินการจัดทำ Mapping ข้อมูลสถานศึกษา แก้ปัญหา การศึกษาชายแดนไทย-เมียนมา
ผลการประชุมผู้บริหารสป.ศธ. เร่งดำเนินการจัดทำ Mapping ข้อมูลสถานศึกษา แก้ปัญหา การศึกษาชายแดนไทย-เมียนมา

ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ที่ประชุมได้รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานตามนโยบาย นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ ในการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กให้มีคุณภาพสูงขึ้น โดยให้ศึกษาธิการจังหวัดประสานงานการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อจัดทำแผนการดำเนินงานตามความจำเป็น พร้อมทั้งเร่งดำเนินการจัดทำ Mapping สถานศึกษาทุกสังกัดของ ศธ. รวมทั้งสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด จาก Google Map รวมทั้งจัดทำข้อมูลสถานศึกษาเพื่อ Mapping Software ต่อไป

ผลการประชุมผู้บริหารสป.ศธ. เร่งดำเนินการจัดทำ Mapping ข้อมูลสถานศึกษา แก้ปัญหา การศึกษาชายแดนไทย-เมียนมา 4

นอกจากนี้ ที่ประชุมรับทราบการจัดกิจกรรมกีฬาสานสัมพันธ์“กระทรวงศึกษาธิการเกมส์ (MOE Games)” ครั้งที่ 1 กำหนดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในวันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม 2563 เวลา 17.00 น. ณ สนามกีฬาศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ โดยนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธาน

ในการประชุมครั้งนี้ นายวีระ แข็งกสิการ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบการแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาชายแดนไทย-เมียนมา เนื่องมีเด็กชาวเมียนมาเข้ามาอยู่กับพ่อแม่ตามชายแดนไทย-เมียนมา  ศึกษาอยู่ในศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตชายแดนไทย-เมียนมา จำนวน  10 ศูนย์ ต่อมาเจ้าหน้าที่ไทยได้เข้าจับกุมครูผู้สอน 1 ศูนย์ ทำให้อีก 9 ศูนย์กลัวการทำความผิดทั้งสองด้านคือ ครูไม่ได้รับอนุญาตให้จัดการเรียนการสอนตาม พ.ร.บ.การทำงานคนต่างด้าว อีกทั้งศูนย์ก็ไม่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งตามพ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน จึงไม่ได้เป็นศูนย์การเรียนตามพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ดังนั้นศูนย์ดังกล่าวจึงต้องยุติการดำเนินการ ส่งผลให้เด็กชาวพม่ากว่า 2,500 คน ไม่ได้รับการศึกษาชั่วคราว ศธ.จึงได้วางแนวทางการแก้ไขปัญหานี้ไว้ 4 ข้อ คือ 1) ผลักดันเด็กชาวเมียนมาดังกล่าว เข้าศึกษาในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทย 2) ให้ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตชายแดนไทย-เมียนมา สามารถจดทะเบียนเป็นศูนย์ที่ถูก​ต้อง​ตามกฎหมาย  3) สำหรับเด็กก่อนเกณฑ์ภาคบังคับ คืออายุต่ำกว่า 7 ปี ให้สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์     เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ 4) สำหรับเด็กที่ตกหล่น อยู่นอกระบบการศึกษา มอบหมายให้ ศธจ.ระนอง พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สาธารณสุขจังหวัด ปกครองจังหวัด ร่วมกันสำรวจข้อมูลและนำเด็กเข้าสู่ระบบการศึกษาต่อไป

ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่า ที่ประชุมได้รับทราบผลการดำเนินงานในการส่งเสริมสิทธินักเรียน นักศึกษา ในการเรียกร้องและแสดงความเห็นทางการเมือง ซึ่งคณะทำงานได้มีการประชุมพิจารณาข้อร้องเรียนจากการเปิดรับฟังความคิดเห็นและสรุปประเด็นที่ต้องการดำเนินงานเร่งด่วน ในด้านทรงผมนักเรียน มีการประชุมไปแล้ว 2 ครั้ง ให้มีการปรับแก้ไขระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการไว้ทรงผมนักเรียน พ.ศ.2563 โดยให้คณะกรรมการสถานศึกษา ดำเนินการเปิดรับฟังความคิดเห็นของนักเรียนก่อนจึงจะสามารถกำหนดระเบียบสถานศึกษาได้และเน้นความเสมอภาคทางเพศ ส่วนการพิจารณาเรื่องการแต่งเครื่องแบบนักเรียนนั้น ที่ประชุมเห็นว่าควรเปิดโอกาสให้สถานศึกษาดำเนินการได้ โดยคำนึงถึงความประหยัดและความเหมาะสม สามารถพิจารณายกเว้นหรือผ่อนผันได้ แต่ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นร่วมกันก่อน

ผลการประชุมผู้บริหารสป.ศธ. เร่งดำเนินการจัดทำ Mapping ข้อมูลสถานศึกษา แก้ปัญหา การศึกษาชายแดนไทย-เมียนมา 5

อีกประเด็นที่สำคัญในการประชุมครั้งนี้ คือ คู่มือการบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศ ‘INTERSECT model’ และคู่มือการบริหารจัดการสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สู่สำนักงานคุณธรรม ความโปร่งใส ตามหลักนิติธรรม คุณธรรม ความโปร่งใส การมีส่วนร่วม ความรับผิดชอบ และความคุ้มค่า

ขอบคุณที่มาของข่าวและอ่านต่อ : เว็บไซต์ ศธ360องศา

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่