"ปลัด ศธ." เผยมี ครู-นร. ไม่มีความสุขจากการเรียนออนไลน์ ถึงขั้นเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพจิต

“ปลัด ศธ.” เผยมี ครู-นร. ไม่มีความสุขจากการเรียนออนไลน์ ถึงขั้นเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพจิต

เมื่อวันที่ 14ก.ค.64 กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ร่วมกับ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้จัดงานเสวนาเรื่อง “เรียน/สอน/WFH Online อย่างไร ให้สุขภาพดี” พร้อมมอบแนวทางการดำเนินการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ และกำชับนักจิตวิทยาประจำโรงเรียนให้คำแนะนำ เพื่อให้ทุกคนผ่านสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ได้อย่างปลอดภัย โดยมีนายสุภัทร จำปาทอง ปลัด ศธ.พร้อมด้วย พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมสุขภาพจิต และนพ.สราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย ร่วมวงเสวนา

โดยนายสุภัทร กล่าวว่า จากการเปิดภาคเรียนของสถานศึกษาในช่วงที่ผ่านมาพบว่า สถานศึกษาส่วนใหญ่เลือกรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ซึ่งผู้เรียน ผู้สอน และบุคลากร อาจได้รับผลกระทบจากการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบดังกล่าว รวมทั้งจากการปฏิบัติงานแบบ Work from Home เป็นระยะเวลานาน เช่น สภาพแวดล้อมที่ ไม่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนหรือปฏิบัติงาน ส่งผลให้เกิดความเครียด รวมถึงความกดดันที่ได้รับจากระบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

"ปลัด ศธ." เผยมี ครู-นร. ไม่มีความสุขจากการเรียนออนไลน์ ถึงขั้นเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพจิต
“ปลัด ศธ.” เผยมี ครู-นร. ไม่มีความสุข จากการเรียนออนไลน์ ถึงขั้นเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพจิต

นายสุภัทร กล่าวต่อว่า  สำหรับประเด็นปัญหาที่น่าสนใจในการเสวนาครั้งนี้มีทั้งเรื่องครูและนักเรียนที่ไม่มีความสุขจากการเรียนออนไลน์ จนถึงขั้นเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพจิต อีกทั้งผู้สอนและผู้เรียนไม่พร้อมในหลายด้าน ทำให้คุณภาพการศึกษามีผลสัมฤทธิ์ต่ำ เกิดความกดดันจากการเรียนและการสอบจนมีนักเรียนที่ทำร้ายร่างกายตัวเองด้วยความเครียดสะสม ขณะที่ครูก็มีความเครียดกับกระบวนการในการจัดการเรียนการสอนที่ดำเนินงานบนความเสี่ยง ซึ่งทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะร่วมกันทำงานเชิงรุกมากขึ้น โดยเข้าให้ถึงครูและนักเรียน

"ปลัด ศธ." เผยมี ครู-นร. ไม่มีความสุขจากการเรียนออนไลน์ ถึงขั้นเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพจิต
"ปลัด ศธ." เผยมี ครู-นร. ไม่มีความสุขจากการเรียนออนไลน์ ถึงขั้นเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพจิต 3

โดยจะต้องเปลี่ยนการประเมินผลการเรียนการสอนไปเป็นการประเมินผลจากการเรียนรู้ โดยสิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ คุณภาพชีวิตของเด็กนักเรียนที่ตกอยู่ในสถานการณ์วิกฤติ ไม่ควรได้รับความเครียดเพิ่มขึ้นอีกจากการเรียน ใช้วิธีคิดและวิธีการที่ยืดหยุ่น ไม่มุ่งเน้นไปที่ผลเป็นเลิศทางวิชาการเพียงอย่างเดียว แต่เปลี่ยนมาให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวิกฤติการณ์ในปัจจุบัน และเปิดช่องทางให้ผู้เรียนและผู้สอนได้เข้ามาแจ้งปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเรียนออนไลน์ได้ รวมทั้งกำหนดเป้าหมายของการปฏิบัติการออนไลน์อย่างไรให้สุขภาพดี เพื่อป้องกันผลกระทบระยะยาวที่จะเกิดขึ้นกับสุขภาพของทุกคน โดยเป็นการเรียนรู้ปฏิบัติงานแบบมีประสิทธิภาพได้อย่างปลอดภัย

ขอบคุณที่มาของข่าว : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่