ครม.อนุมัติ 606 ล้านบาท ผลิตคนสาขาขาดแคลนเร่งด่วน ตามกรอบคุณวุฒิ
ครม.อนุมัติ 606 ล้านบาท ผลิตคนสาขาขาดแคลนเร่งด่วน ตามกรอบคุณวุฒิ

ครม.อนุมัติ 606 ล้านบาท ผลิตคนสาขาขาดแคลนเร่งด่วน ตามกรอบคุณวุฒิ เมื่อวันที่ 29 ธ.ค. นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนในสายอาชีพที่มีความจำเป็นเร่งด่วนต่อการพัฒนาประเทศตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ พ.ศ.2562-2565 จำนวน 7 สาขาอาชีพ ได้แก่ 1.โลจิสติกส์โครงสร้างพื้นฐาน 2.โลจิสติกส์ซัพพลายเซน 3.หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ 4.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและดิจิทัลคอนเทนท์ 5.อาหารและเกษตร 6.ปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ พลังงานและพลังงานทดแทน และ7.แม่พิมพ์

โดยจะมีแผนการดำเนินการใน 3 แนวทาง คือ ศึกษาความต้องการกำลังคนทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพโดยร่วมมือกับสถานประกอบการอย่างใกล้ชิด เพื่อให้พัฒนากำลังคนสามารถปรับตัวรับกับทักษะสมรรถนะที่ทันสมัยตามความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกำหนดระบบพัฒนากำลังคนโดยการนำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพมาเป็นแกนหลักในการกำหนดหลักสูตรทั้งในภาคการศึกษาและหลักสูตรการอบรมในภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการออกแบบการพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติที่สอดคล้องกับกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ เพื่อพัฒนากำลังคนให้ไปในทิศทางเดียวกัน และการพัฒนาเชื่อมโยงมาตรฐานอาชีพกับระดับคุณวุฒิการศึกษาและการอบรม เช่น วิเคราะห์มาตรฐานอาชีพที่มีอยู่เดิมและปรับปรุงเพิ่มเติมตามความต้องการกำลังคน

“ในแต่ละสาขาอาชีพได้มีการประมาณความต้องการกำลังคน เช่น สาขาวิชาโลจิสติกส์ซัพพลายเซน มีความต้องการกำลังคนถึง 6.6 ล้านคน แต่ขณะนี้มีความสามารถในการผลิตกำลังคนสาขาวิชานี้ได้เพียง 38,000 คนเท่านั้น ซึ่งยังมีความจำเป็นที่ต้องการจะผลิตเพิ่มเติมอีก 6.5 ล้านคน เป็นต้น ทั้งนี้จะใช้งบประมาณในการดำเนินการเบื้องต้น 606.94 ล้านบาท” รมว.ศึกษาธิการ กล่าวและว่า สำหรับการจัดทำร่างฉบับดังกล่าวเป็นเรื่องที่มีการดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2562-2565 แต่ต้องนำแผนฉบับนี้กลับมาทบทวนใหม่และนำเข้าสู่ที่ประชุมครม.พิจารณาอีกครั้ง โดยตนได้ทบทวนและมองถึงปัญหาเรื่องการผลิตและการพัฒนากำลัง เนื่องจากพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กำชับถึงการวางแผนและการพัฒนากำลังคนต้องคำนึงถึงความต้องการของตลาดให้มากที่สุด โดยจะต้องทำให้เชื่อมโยงกับเขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือ อีอีซี และหลักเกณฑ์ส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชน หรือ บีโอไอด้วย.

ขอบคุณที่มาและอ่านต่อ : เว็บไซต์ At_HeaR ข่าวจริงเข้าหู

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่