กมว. ไฟเขียว หลักสูตรพัฒนาความเป็นครู แทน ป.บัณฑิต
กมว. ไฟเขียว หลักสูตรพัฒนาความเป็นครู แทน ป.บัณฑิต

กมว. ไฟเขียว หลักสูตรพัฒนาความเป็นครู แทน ป.บัณฑิต

วันนี้ครูอาชีพดอทคอม ขอเสนอกรณี ไฟเขียว เสนอใช้ หลักสูตรพัฒนาความเป็นครู แทน ป.บัณฑิต หลังจากที่ได้มีการจัดการประชุมเกี่ยวกับ การพิจารณากำหนดให้ยกเลิกหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู หรือ ป.บัณฑิต เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมา รศ.ดร.เอกชัย กี่สุขพันธ์ประธานกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ( กมว. ) ได้ออกมาเปิดเผยผลการประชุมดังกล่าวหลังเป็นประธานการประชุม กมว. โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ที่ประชุมได้มีการพิจารณา กำหนดให้ยกเลิกหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู หรือ ป.บัณฑิต โดยให้เปิดสอน ปีการศึกษา 2562 เป็นปีสุดท้าย และที่ประชุมได้มีการเห็นชอบในหลักการขั้นตอนการเข้าสู่วิชาชีพครู ของผู้ที่ไม่ได้เรียนปริญญาทางการศึกษา โดยให้สถาบันผลิตครูเปิดสอน “หลักสูตรพัฒนาความเป็นครู” แทนหลักสูตร ป.บัณฑิต ให้กับผู้เรียน 2 กลุ่ม ได้แก่

1. ผู้ที่ไม่ได้เรียนจบปริญญาทางด้านการศึกษา

2. นิสิต นักศึกษาระดับชั้นปีที่ 3 หรือ 4 ที่ไม่ได้เรียนสาขาการศึกษา

กมว. ไฟเขียว หลักสูตรพัฒนาความเป็นครู แทน ป.บัณฑิต
กมว. ไฟเขียว หลักสูตรพัฒนาความเป็นครู แทน ป.บัณฑิต

โดยผู้เรียนทั้ง 2 กลุ่ม สามารถเข้ามาเรียนในหลักสูตรพัฒนาความเป็นครูได้ โดยที่ กมว. จะจัดทำหลักสูตรต้นแบบ ซึ่งอิงจากมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (มคอ.1) เพื่อให้สถาบันผลิตครูไปปรับใช้ เมื่อผู้เรียนหลักสูตรพัฒนาความเป็นครูจบ จะต้องเข้ารับการทดสอบความเป็นครูจากสถาบันผลิตครู

รศ.ดร.เอกชัย ยังได้กล่าวต่อด้วยว่า เมื่อผู้เรียนผ่านการทดสอบความเป็นครูจากสถาบันผลิตครูแล้ว จะต้องเข้าสอบขอรับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน (เฉพาะวิชาชีพครู) ซึ่งสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา จะเป็นผู้ที่ออกข้อสอบเอง เมื่อผู้เรียนสอบผ่านจะได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน จากคุรุสภา

ซึ่งใบอนุญาตปฏิบัติการสอนนี้จะมีอายุ 2 ปี โดยภายในระยะเวลา 2 ปีนี้ ผู้เรียนจะต้องหาสถานศึกษาไปปฏิบัติการสอนวิชาเอก เป็นเวลา 1 ปี และอาจารย์ในสถาบันผลิตครูจะต้องส่งอาจารย์เข้ามานิเทศการสอน เมื่ออาจารย์นิเทศออกใบรับรองว่าผู้เรียนนั้นปฏิบัติการสอนผ่านแล้ว ผู้เรียนจึงจะสามารถขอสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู (วิชาเอก) ได้

เมื่อผ่านการทดสอบแล้ว ผู้เรียนจะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู จากคุรุสภา ซึ่งกระบวนการดังกล่าวคาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 2 ปี โดยจะมีความสอดคล้องกับหลักของคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ)

ทั้งหมดนี้ เป็นหลักการขั้นตอนการเข้าสู่วิชาชีพครู ของผู้ที่ไม่ได้เรียนปริญญาทางการศึกษา อย่างไรก็ตามการเปิดสอนหลักสูตรพัฒนาความเป็นครู สถาบันผลิตครูจะต้องเปิดสอนวิชาเอกด้วย ไม่ใช่เฉพาะวิชาครูเพียงอย่างเดียว

ดังนั้น มหาวิทยาลัยต้องไปประกาศ และทำความเข้าใจกับผู้เรียนต่อไปด้วยว่า หากต้องการเข้าสู่วิชาชีพครู จะต้องทำอย่างไรบ้าง และจะต้องสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูด้วย ซึ่งหลักการเหล่านี้จะถูกนำไปปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับกฎหมาย ระเบียบการที่กำหนดไว้

เมื่อเรียบร้อยแล้วจะเชิญมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนด้านศึกษาศาสตร์หรือครุศาสตร์มาให้ความเห็นว่าหลักสูตรพัฒนาความเป็นครูต้นแบบ ที่คุรุสภาทำนั้นสมควรปรับแก้ในจุดใดบ้าง แล้วนำเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการคุรุสภา ที่มีรัฐมตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) พิจารณาอนุมัติเห็นชอบต่อไปในอนาคต

ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน, คุรุสภา

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่