กมว.เห็นชอบหลักการปรับปรุงหลักสูตรป.บัณฑิต ตัดปฎิบัติการสอน 12 หน่วยกิต
กมว.เห็นชอบหลักการปรับปรุงหลักสูตรป.บัณฑิต ตัดปฎิบัติการสอน 12 หน่วยกิต

กมว.เห็นชอบหลักการปรับปรุงหลักสูตรป.บัณฑิต ตัดปฎิบัติการสอน 12 หน่วยกิต ดังนั้นจะเหลือวิชาที่ต้องเรียนเพียง 21 หน่วยกิต พร้อมทั้งบริหารจัดการวิชาอีก 9 หน่วยกิตที่เหลือ โดยให้มหาวิทยาลัยนำจุดเด่นของตัวเองมาทำเป็นวิชาเสริม

กมว.เห็นชอบหลักการปรับปรุงหลักสูตรป.บัณฑิต ตัดปฎิบัติการสอน 12 หน่วยกิต
กมว.เห็นชอบหลักการปรับปรุงหลักสูตรป.บัณฑิต ตัดปฎิบัติการสอน 12 หน่วยกิต

นายเอกชัย กี่สุขพันธุ์ ประธานคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ (กมว.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุม กมว. ได้เห็นชอบในหลักการเกี่ยวกับแนวทางปรับปรุงประสิทธิภาพของหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต (ป.บัณฑิต) ที่ทางคณะอนุกรรมการปรับปรุงประสิทธิภาพของป.บัณฑิต เสนอ โดยแนวทางดังกล่าว จะให้สถาบันผลิตครูที่จะเปิดสอนหลักสูตรนี้ นำวิชาครู ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (มคอ.) 2 โดยตัดในส่วนของหน่วยกิตที่เกี่ยวข้องกับการฝึกปฏิบัติการสอน จำนวน 12 หน่วยกิตออกไป ดังนั้นจะเหลือวิชาที่ต้องเรียนเพียง 21 หน่วยกิต พร้อมทั้งบริหารจัดการวิชาอีก 9 หน่วยกิตที่เหลือ โดยให้มหาวิทยาลัยนำจุดเด่นของตัวเองมาทำเป็นวิชาเสริม เช่น มหาวิทยาลัยสวนดุสิต มีความเชี่ยวชาญเรื่องหลักสูตรการสอนเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) เป็นต้น ซึ่งในส่วนนี้จะทำให้หลักสูตรแตกต่างกันตามบริบทของมหาวิทยาลัย แต่ยังคงเรียนวิชาครูที่ยึดตาม มคอ. 2 อยู่ และผู้ที่เรียนในหลักสูตรใหม่นี้จะเรียนประมาณ 30 หน่วยกิต ทั้งนี้เมื่อผู้เรียนเข้ารับการศึกษาจบหลักสูตรดังกล่าวแล้ว จะต้องเข้ารับการทดสอบเมื่อสอบผ่านก็จะได้รับใบประกาศนียบัตรวิชาชีพครู สามารถนำไปใช้ในสมัครเป็นครูได้ และเมื่อสอนตามวิชาเอกระยะเวลาครบตามที่หลักสูตรฯ กำหนด ก็จะมีอาจารย์จากหลักสูตรฯ มาประเมิน และได้ใบรับรองมาใช้ในการทดสอบในส่วนของวิชาเอกต่อไป เมื่อสอบผ่านครบแล้วจึงจะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

นายเอกชัย กล่าวต่อว่า จากนี้ทางสำนักมาตรฐานวิชาชีพ สังกัดสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ก็จะดำเนินการจัดทำรายละเอียด เพื่อเสนอให้ที่ประชุม กมว.พิจารณาในครั้งต่อไป อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะเข้าเรียนในหลักสูตรใหม่นี้ ผู้ที่สามารถเข้าเรียนได้จะมีทั้งสิ้น 4 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มครูที่สอนหนังสือแต่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ 2.กลุ่มผู้ที่จบสาขาอื่นแต่ต้องการเป็นครู 3.กลุ่มนักศึกษาสาขาอื่นที่ไม่ใช่ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ และ 4.กลุ่มนีกเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่ต้องการเก็บเป็นเครดิตแบงค์ ซึ่งตนเชื่อว่าเรื่องนี้จะช่วยแก้ปัญหาที่มหาวิทยาลัยไม่ได้เปิดหลักสูตรครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ในระดับปริญญาตรี แต่ก็มีการเปิดหลักสูตร ป.บัณฑิต เพราะหลักสูตรนี้จะเปิดได้เฉพาะมหาวิทยาลัยที่มีการเปิดสอนหลักสูตรครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ อีกทั้งนี้ยังจะช่วยแก้ปัญหาผู้ที่เรียน ป.บัณฑิต จบแล้วได้ไปฝึกสอนไม่ตรงกับวิชาเอกที่เรียนมา หรือเรียนจบแล้วแต่ไม่ที่ฝึกสอนด้วย

ขอบคุณที่มาและอ่านเพิ่ม : เว็บไซต์ ไทยโพสต์ วันที่ 21ก.ย.63

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่