สร้างแผนการสอนให้ Active ตาม 8 องค์ประกอบ สู่ ว9 PA
สร้างแผนการสอนให้ Active ตาม 8 องค์ประกอบ สู่ ว9 PA

สร้างแผนการสอนให้ Active ตาม 8 องค์ประกอบ สู่ ว9 PA

จากการนำ 8 องค์ประกอบ สอดแทรกในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามที่ทาง กคศ. กำหนดใช้เป็นเกณฑ์ในการวัดของครู เพื่อขอมี/เลื่อนวิทยฐานะในสายการสอน หรือ ว9 นั้น เป็นการส่งเสริมให้ครูได้พัฒนาตนเองในด้านของความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) ความรู้สายวิชาชีพที่ชำนาญ ทักษะในการสอน หรือความเชี่ยวชาญในเรื่องที่สอน และเจตคติ จนเกิดเป็นสมรรถนะและใช้ความสามารถของสมรรถนะในการแสดงออกมาในห้องเรียน (Performance) ที่ส่งผลต่อผู้เรียน อีกทั้ง ก.ค.ศ. ต้องการให้วิทยฐานะของครูมีความน่าเชื่อถือและเชี่ยวชาญตามระดับวิทยฐานะ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ ก.ค.ศ. ที่ต้องการปรับมุมมองและพัฒนาวิชาชีพครูกลับสู่ห้องเรียน (Focus on classroom) จากการจัดการเรียนรู้ 8 ตัวชี้วัด เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าถึงสิ่งที่เรียน เข้าใจบทเรียนจากเนื้อหามโนทัศน์ที่ถูกต้อง ตรงตามจุดประสงค์และตัวชี้วัดที่หลักสูตรกำหนดไว้

สำหรับรูปแบบการสอน Active Learning ได้มีการเริ่มสอนมานานเพียงแต่ว่าวิธีการสอนของแต่ละคนจะมีวิธีการของตนเอง ทาง ก.ค.ศ. จึงได้นำกระบวนการเหล่านี้มาใช้ในการประเมินวิทยฐานะของครู เพื่อเป็นแนวทางถ้าครูอยากพัฒนาตนเองให้มีวิทยฐานะสูงขึ้นควรจะทำแบบใด ในรูปแบบที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อที่ครูจะได้รู้ตนเองในการออกแบบกระบวนการสอนที่จะตอบโจทย์และเป็น Active Learning ที่แท้จริง และสามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนาตนเองและวิทยฐานะในอนาคต ทั้งนี้ การออกแบบการเรียนรู้แบบ Active ตาม 8 องค์ประกอบ เริ่มจากแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี โดยครูต้องเริ่มจากการนำประสบการณ์ของครู ความเข้าใจในเรื่องของ Active Learning, Passive Learning และ Action/Activity-based Learning มาสร้างแผนแบบ Active Learning แล้วนำ 8 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย

สร้างแผนการสอนให้ Active ตาม 8 องค์ประกอบ สู่ ว9 PA
สร้างแผนการสอนให้ Active ตาม 8 องค์ประกอบ สู่ ว9 PA

การสอนตาม 8 องค์ประกอบ ได้แก่

1.ผู้เรียนสามารถเข้าถึงสิ่งที่เรียนและเข้าใจบทเรียน

2. ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือประสบการณ์เดิมกับการเรียนรู้ใหม่

3. ผู้เรียนได้สร้างความรู้เอง หรือได้สร้างประสบการณ์ใหม่จากการเรียนรู้

4. ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้

5. ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญจากการเรียนรู้

6. ผู้เรียนได้รับข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้

7. ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ในบรรยากาศชั้นเรียนที่เหมาะสม

8. ผู้เรียนสามารถกำกับการเรียนรู้และมีการเรียนรู้แบบนำตนเอง และองค์ประกอบย่อยมาจัดแผนการเรียนรู้

สร้างแผนการสอนให้ Active ตาม 8 องค์ประกอบ สู่ ว9 PA

หลักสำคัญในการสอนที่มีประสิทธิภาพ 8 ข้อ 8 ขั้นตอนที่ต้องมีในแผนการจัดการเรียนรู้ ที่จะใช้ประเมินเลื่อนวิทยฐานะตามหลักเกณฑ์ PA ซึ่งจะใช้ในการประเมินคลิปการสอนของครู ได้แก่

  1. การสอนของครูมีการเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ที่จะเรียนรู้หรือไม่ ?
  2. การสอนครั้งนั้น เด็กได้มีโอกาสในการสร้างความรู้ขึ้นมาใหม่หรือไม่ ?
  3. วิธีการสร้างแรงจูงใจให้เด็กสนใจในการเรียนเป็นอย่างไร ?
  4. ครูมีวิธีการออกแบบให้เด็กได้สืบค้นข้อมูล หาความรู้ด้วยตัวเองอย่างไร ?
  5. ครูให้เด็กฝึกปฏิบัติ และสร้างปฏิสัมพันธ์กับเด็กเพื่อเพิ่มการเรียนรู้อย่างไร ?
  6. ครูออกแบบสิ่งแวดล้อมในการจัดการเรียนการสอน การใช้สื่อเพื่อให้เด็กพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองอย่างไร ?
  7. เด็กได้ฝึกการกำกับตัวเองในการเรียนรู้หรือไม่ ?
  8. ความถูกต้อง ความเชี่ยวชาญในเนื้อหาที่ใช้สอนเป็นอย่างไร ?

สร้างแผนการสอนให้ Active ตาม 8 องค์ประกอบ สู่ ว9 PA ซึ่งในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning, Passive Learning และ Action/Activity-based Learning มีความเหมือนหรือต่างกันดังนี้ Active Learning เป็นการเน้นให้นักเรียนฝึกการคิดวิเคราะห์ หรือแนวคิดต่างๆ การระดมความคิด การที่นักเรียนได้ใช้ทักษะการคิดเป็นหลักในการนำเสนอความคิดต่างๆ Passive Learning เป็นการเรียนบรรยายผ่านครู และ Action/Activity-based Learning เป็นการที่ครูจัดกิจกรรมให้ผู้เรียน การทดลอง การประดิษฐ์ การทำกิจกรรม บทบาทสมมติ ซึ่งเกิดจากการกระทำ โดยแผนของครูจะต้องมีทั้ง 3 ส่วนนี้ เนื่องจากมีตัวชี้วัดว่าครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องของสหวิชาของครู กล่าวคือ Active Learning ประกอบด้วย Passive Learning และ Action/Activity-based Learning ฉะนั้น หากครูต้องการขอประเมินในการขอเลื่อนหรือขอมีวิทยฐานะ สิ่งที่ครูจะต้องจัดเตรียมประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ คลิปวิดีทัศน์การสอน และคลิปที่แสดงถึงปัญหา ที่มา และแรงบันดาลใจ ประกอบการประเมิน

สำหรับองค์ประกอบที่สำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์ ว9/2564 ประกอบด้วย จุดประสงค์ต้องชัดเจน สาระการเรียนรู้ กิจกรรม(ขั้นนำ/ขั้นสอน/โค้ช/ขั้นสรุป) สื่อประกอบ การวัดและประเมินผล การบันทึกหลังสอน ผลงาน/ผลลัพธ์ของผู้เรียน (ปรากฎในด้านที่ 2) แบบประเมินต่าง ๆ ทั้งนี้ สิ่งที่จะช่วยให้เห็นตัวชี้วัดมากขึ้น เช่น การใช้คำพูดและคำถามที่ตอบโจทย์ตัวชี้วัด การใช้คำถามปลายเปิด การใช้คำถามตรวจสอบความเข้าใจ การตั้งคำถามที่นักเรียนพอจะตอบได้ เป็นต้น สำหรับคุณลักษณะเสริมของครูจะต้อง มีความยืดหยุ่น ผ่อนคลายแต่ทรงพลัง เช่น เข้าใจ เข้าถึงและช่วยเหลือเมื่อนักเรียนตอบผิด ใส่ใจนักเรียนทุกคนในห้อง ใช้น้ำเสียงและสีหน้าท่าทางอย่างเหมาะสม แม่นยำในเนื้อหา เป็นต้น เพื่อเป็นการพัฒนาการสอน และเข้ากับบริบทของเด็กได้มากขึ้น

ยกตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้มีการวิเคราะห์และเก็บคะแนนแต่ละตัวชี้วัด โดยการบันทึกแต่ละตัวชี้วัดหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นผลการจัดการเรียนรู้ ปัญหา/อุปสรรค แนวทางแก้ไข และผลการแก้ไขปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน ภาพรวมของแผนประกอบด้วย ขั้นการจัดการเรียนรู้ (ขั้นกระตุ้นเตรียมความพร้อมและนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นโค้ช ขั้นฝึกปฏิบัติ) ขั้นนำเสนอ ขั้นอภิปรายและสรุป เวลาที่ใช้ บทบาทของครู/นักเรียน และกระบวนการจัดการเรียนรู้

สำหรับผลลัพธ์จากการจัดการเรียนการสอนแบบ Active ตาม 8 องค์ประกอบที่เกิดขึ้นกับนักเรียน ก่อให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ มีความสามารถในการดำเนินการต่าง ๆ และนำความรู้ไปใช้แก้ไขปัญหาในอนาคตได้

ดังนั้น การจัดการเรียนรู้เพื่อตอบโจทย์ ครูจะต้องมีการตรวจสอบความรู้เดิม เข้าถึงนักเรียนที่ยังไม่พร้อม และให้การช่วยเหลือ ครูจะต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนฝึกคิด ฝึกทำงานกลุ่ม ใช้ทักษะที่ตรงกับวิชาเอกที่ครูสอน และทักษะอื่น ๆ แบบบูรณาการ ให้นักเรียนได้สะท้อนคิด ให้นักเรียนได้นำเสนอ ครูมีการสังเกตระหว่างสอนและนำสิ่งเหล่านั้นสะท้อนกลับในภาพรวม ครูจะต้องให้นักเรียนประเมินตนเองหรือเพื่อนประเมินเพื่อน รวมถึงการมอบหมายงานให้นักเรียนศึกษา ค้นคว้าเพิ่มเติม และใช้คำถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียน

วิทยากรโดย

ครูตะวัน แสงทอง โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ จังหวัดกาญจนบุรี

ครูอัษฎาวุธ สุขสวัสดิ์ โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์

ครูชนาธิป โหตรภวานนท์ โรงเรียนบ้านแซววิทยาคม

สามารถรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ www.StarfishLabz.com

ขอบคุณที่มา : Kru Tony English – English and Inspiration

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่