คู่มือ การจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ในสถานศึกษา (คู่มือสหกรณ์ ป.1-ม.6)
คู่มือ การจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ในสถานศึกษา (คู่มือสหกรณ์ ป.1-ม.6)

คู่มือ การจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ในสถานศึกษา (คู่มือสหกรณ์ ป.1-ม.6)

การสหกรณ์ หรือการทำงานร่วมกันมีอยู่เป็นอยู่จริงในการดำเนินชีวิตของทุกคนที่ดำรงตนอยู่ในสังคม เพียงแต่ใช้ถ้อยคำกล่าวถึงการอยู่ร่วมกันด้วยพยางค์หรือประ โยคหรือกำที่แตกต่างกัน กรมส่งเสริมสหกรณ์มีการกิจในการส่งเสริมเผยแพร่การทำงานร่วมกันตามระบบงานสหกรณ์สู่ประชาชนหลากหลายรูปแบบ สำหรับในการดำเนินการนำการสหกรณ์สู่สถานศึกษามีความเด่นชัดเมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับสั่งในวันที่ 7 มิถุนายน 2534 กับอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ (นายเสงี่ยม มาหมื่นไวย ให้สอนสหกรณ์ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในขณะที่สถานศึกษาในเมืองมีการจัดกิจกรรมสหกรณ์เพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ตามกระแสแห่งการให้ความสำคัญ บางโรงเรียนมีกิจกรรมสหกรณ์ต่อเนื่องมาตลอดด้วยการเห็นประ โยชน์ต่อการเรียนรู้การอยู่ร่วมกัน บางโรงเรียนจัดกิจกรรมสหกรณ์ตามสถานการณ์ของสภาพจริง การเรียนรู้การสหกรณ์จึงหลากหลาย ความเจริญก้าวหน้าครั้งสำคัญคือได้มีการผลิตครูที่จบเอกสหกรณ์ของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพื่อเป็นครูประจำการสอนในโรงเรียนคู่มือเล่มนี้มีความเป็นมาจากความร่วมมือในจังหวัดเพชรบุรี ระหว่างบุคลากรของกระทรวงศึกษาธิการ และกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2545โดยนางมาลีพันธุ์ ชีระพันธุ์ สหกรณ์จังหวัดเพชรบุรี (ปัจจุบันเกษียณอายุราชการในตำแหน่งผู้ตรวจราชการกรม) นายวินัย ศรีเจริญ ผู้อำนวยการประถมศึกษาจังหวัดเพชรบุรี (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 1 ) และนายเสนอผู้อำนวยการศูนย์ฝึกอบรมสหกรณ์ที่ 8 (ปัจจุบันคำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่) ได้ร่วมมือกันเพื่อให้มีการจัดการเรียนการสอนสหกรณ์ในสถานศึกษา โดยดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

  1. สำรวจความสมัครใจของครูในจังหวัดเพชรบุรี เพื่อจัดการเรียนการสอนวิชาการสหกรณ์ในสถานศึกษา
  2. สร้างคู่มือการสอนวิชาการสหกรณ์ โดยถือใช้คู่มือภายใต้แผนพัฒนาเค็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สขามบรมราชกุมารีเป็นต้นแบบ
  3. จัดอบรมครูที่สมักรเข้าอบรม 1 18 คน เป็นระยะเวลา 2 วัน โดยจัดเป็นสถานีเรียนรู้ให้นักส่งเสริมสหกรณ์อธิบายเนื้อหาวิชากรสหกรณ์ ให้ศึกษานิเทศก็อธิบายเทคนิควิธี จัดการเรียนการสอน
  4. ครูผู้ผ่านการอบรมนำไปคำเนินการจัดการเรียนรู้วิชาการสหกรณ์ในโรงเรียน
  5. จัดประกวดโรงเรียนสอนวิชาการสหกรณ์ดีเด่นและมอบรางวัลในวันสหกรณ์แห่งชาติ

กระบวนการจัดการเรียนรู้การสหกรณ์
การจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ สามารถจัดการเรียนรู้ในแต่ละระดับชั้น หรือจัดการเรียนรู้รวมเป็นช่วงชั้น โดขมีผู้เรียนร่วมกันเรียนรู้ จำนวน 15 – 50 คน จำนวนผู้เรียนกับจำนวนครูผู้สอน
กวรมีความสอดคล้องกันในอัตราส่วน 1 : I5 – 20 การจัดการเรียนรู้เน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ มีเทคนิค/กระบวนการ ดังนี้

  1. กระตุ้นความสนใจ ด้วยสื่อเสียง สื่อสายตา สื่ออื่นๆให้เกิดความต้องการเรียนรู้ซึ่งคู่มือจะมีคำแนะนำรูปแบบต่างๆ
  2. ครูผู้สอนจัดกิจกรรมในบทบาทของผู้จัดรายการ ผู้อำนายความสะดวก ผู้กระตุ้น(Facilitator) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนดำเนินการกิจกรรมด้วยตนเอง
  3. การดำเนินกิจกรรมเน้นกระบวนการกลุ่ม (Group process) โดยมีขั้นตอนการ ทำงานด้วยกระบวนการ 2 (TW) คือ
    3.1 Think to myself คิดก่อนทำ โดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถของตนเอง ของแต่ละคน
    3.2 Talk together ประชุมพูดคุยตกลงกันอย่างประชาธิปไตย กำหนดเป้าหมายของงาน
    3.3 Walk on two legs and help together กำหนดขอบเขตการทำงานร่วมกันด้วยการพึ่งตนเอง ยืนด้วยขาตนเอง ทุกคนต้องมีบทบาทหน้าที่ และต้องร่วมมือช่วยเหลือกันในการทำงานร่วมกัน
    3.4 Work together ลงมือปฏิบัติงานร่วมกัน

สำหรับการเรียนรู้นอกสถานที่ หรือการเรียนรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการสหกรณ์ควรมีการจัดเสริมในช่วงเวลาที่เหมาะสม ครูผู้สอนสามารถประยุกต์วิธีการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับ
วัฒนธรรมท้องถิ่น สภาพผู้เรียน และออกแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกันไปจากที่นำเสนอได้

  1. วิเคราะห์ อภิปราชผลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกิจกรรม
  2. สรุปและประเมินผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด ดประสงค์การเรียนรู้

การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงโดยการจัดกิจกรรมสหกรณ์ในสถานศึกษา อาจจัดกิจกรรมรวมกันซื้อ การผลิต การออมทรัพย์ การสวัสดิการ อันเป็นกิจกรรมสำคัญในการจัดการเรียนรู้การ
สหกรณ์ เพราะเป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ให้ผู้เรียนรวมกลุ่มดำเนินการกันเอง ครูทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำโคยไม่ครอบงำความคิด หากมีการทำงานผิดพลาด ก็ไม่นำมาเป็นปัญหา แต่ควรนำความผิดมาเป็นปัญญา ไม่เน้นระบบเอกสารแต่ควรให้ผู้เรียนจัดการ ได้ด้วยความเข้าใจภายใต้คุณธรรม ความซื่อสัตข์ เสียสละ สามัดดี มีวินัข เป็นประชาธิปไตย และตรวจสอบได้ ซึ่งมีกระบวนการจัดกิจกรรมสหกรณ์ คือ

  1. ให้ความรู้แล้วรวมคน ที่ศรัทธาเชื่อมั่น
  2. ให้ผู้เรียนเรียนรู้ ร่วมคิด กำหนด เป้าหมาย แนวทาง
  3. จัดองค์กร ตามโครงสร้าง มอบหมายหน้าที่
  4. รามทุน เพื่อดำเนินกิจกรรมสหกรณ์
  5. ดำเนินกิจกรรม โดยความร่วมมือกัน
  6. ตรวจสอบ ควบคุม ตามแนวทางของการจัดกิจกรรมสหกรณ์
  7. ประเมิน แสดงผล เพื่อรายงานผลงาน

เพลงสหกรณ์ร่วมใจ
โดย ดร.วัฒนา มัคคสมัน

สหกรณ์ คือ การทำงานร่วมกัน
เกิดปัญหาพลัน เราช่วยกันแก้ไข
ร่วมกาย ร่วมจิต ร่วมคิดร่วมแรงร่วมใจ
แก้ปัญหาได้ เพราะเราใช้สหกรณ์
ปัญหาแก้ได้ หากเราใช้ สหกรณ์

วันสหกรณ์นักเรียน
ครั้งแรกในประเทศไทย
วันที่ 7 มิถุนายน 2552

ตัวอย่างไฟล์

คู่มือ การจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ในสถานศึกษา (คู่มือสหกรณ์ ป.1-ม.6)
คู่มือ การจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ในสถานศึกษา (คู่มือสหกรณ์ ป.1-ม.6)

ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักการเพิ่มพูนปัญญา พัฒนาความคิดเพื่อใช้เป็นแนวทางจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ในสถานศึกษา ดังนี้

คู่มือ การจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ในสถานศึกษา (คู่มือสหกรณ์ ป.1-ม.6)
คู่มือ การจัดการเรียนรู้การสหกรณ์ในสถานศึกษา (คู่มือสหกรณ์ ป.1-ม.6)

ที่มา :: สหกรณ์โรงเรียน สพฐ.

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่