เทคนิคการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบมองย้อนกลับ (BACKWARD DESIGN)
เทคนิคการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบมองย้อนกลับ (BACKWARD DESIGN)

เทคนิคการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบมองย้อนกลับ (BACKWARD DESIGN)

บทความนี้ ครูอาชีพดอทคอม ขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมเรียนรู้เกี่ยวกับ การออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบมองย้อนกลับ (Backward Design) เป็นแนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมและมีคุณค่ายิ่งอีกเรื่องหนึ่งในวงการศึกษาในศตวรรษใหม่ ตั้งแต่ ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา โดยเกิดจากแนวคิดของ Grant Wiggins และ Jay McTighe ซึ่งได้เผยแพร่แนวคิดในเรื่องดังกล่าวมาตั้งแต่ ค.ศ. 1998 เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ดังนี้ครับ

ความหมายของการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design

การออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design ได้มีผู้แปลเป็นภาษาไทยไว้หลากหลาย เช่น การออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบมองย้อนกลับ การออกแบบการจัดการเรียนรู้
แบบถอยหลัง การออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบสะท้อนกลับการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบย้อนรอย ในที่นี้ขอเรียกว่า”การออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบมองย้อนกลับ” ซึ่งดูเหมือนว่าจะตรงกับความหมายที่ผู้นำเสนอแนวคิดได้กล่าวไว้ ดังนี้

“กระบวนการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบมองย้อนกลับ ให้เริ่มจากมองให้เห็นภาพว่าเมื่อสิ้นสุดกระบวนการจัดการเรียนการสอน นักเรียนควรทิ้งร่องรอยหลักฐานอะไรที่จะบ่งบอกว่าได้
บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ในครั้งนั้น แล้วจึงมาวางแผนการจัดการเรี่ยนรู้เพื่อให้นักเรียนสร้างผลงานหลักฐานการเรียนรู้อันเป็นสิ่งที่สะท้อนว่าเขาได้บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้แล้ว”

ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบมองย้อนกลับก็คือ การจัดการเรียนรู้ที่นำมาตรฐานการเรียนรู้และตัวขี้วัดที่กำหนดไว้ในหลักสูตร เป็นเป้าหมายสำคัญที่นักเรียน
ต้องเดินทางไปให้ถึงเป้าหมายนั้น (จุดจบเรื่อง) ส่วนครูมีบทบาทสำคัญที่ต้องหาหนทางนำพานักเรียนไปให้ถึงตอนจบแบบ Happy Ending (ดี-เก่ง-สุข-พึ่งตนเองได้)

ขั้นตอนของการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Back ward Design

Grant Wiggins และ Jay McTighe ได้นำเสนอขั้นตอนของ”Backward Design” ไว้ดังนี้

  1. ขั้นตอนที่ 1 กำหนดผลการเรียนรู้
    คำถาม : อะไรคือสิ่งที่นักเรียนต้องทำความเข้าใจ สามารถทำได้หรือเกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์
  2. ขั้นตอนที่ 2 กำหนดหลักฐานผลการเรียนรู้
    คำถาม : อะไรคือพยานหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนเข้าใจมีความสามารถหรือมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์แล้ว
  3. ขั้นตอนที่ 3 ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
    คำถาม : ประสบการณ์การเรียนรู้และการสอนอะไรที่จะสนับสนุน ส่งเสริม จนทำให้นักเรียนเข้าใจ มีความสามารถหรือมีคุณลักษณะที่พึงประลงค์ตามที่ต้องการในขั้นตอนที่ 1

สิ่งที่ทำให้ “Back ward Design” แตกต่างจากกระบวนการวางแผนที่เคยปฏิบัติเป็นประเพณีมาตั้งแต่ดั้งเดิมก็คือก่อนการวางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของนักเรียนตามเป้าหมายการเรียนรู้ที่กำหนดครูจำเป็นต้องวางแผนเพื่อกำหนดแนวทางการประเมินผลขึ้นก่อน โดยแผนการประเมินผลจะเน้นความชัดเจนในการพัฒนาผลงาน/ภาระงานที่สะท้อนความสามารถที่แท้จริง (Performance Tasks) รวมถึงวิธีการประเมินผลอื่นๆ ที่เหมาะสม เช่นการสังเกต การสอบอย่างไม่เป็นทางการ การสื่อสารส่วนบุคคลและการใช้แบบสอบถาม

ทั้งนี้ การกำหนดผลงานหรือภาระงานต่างๆ และการแสดงความสามารถต่าง ๆ จะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

  • งานนั้นๆ ควรเอื้อให้นักเรียนได้มีการพัฒนาความรู้ความสามารถ ความเข้าใจ (Developing Understand)
  • ให้โอกาสกับนักเรียนได้นำเสนอ อธิบายถึงกระบวนการทำงานที่สะท้อนความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
  • การประเมินผลเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้และควรควบคู่ไปกับการเรียนการสอน มิใช่แยกการประเมินผลออกมาเมื่อเรียนจบหน่วยการเรียนรู้

ดังนั้น การออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design จึงเป็นการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีความเข้มขัน มุ่งผลสัมฤทธิ์อย่างจริงจัง โดยก่อนที่จะออกแบบการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวจะต้องมีการกำหนดสิ่งเหล่านี้ไว้อย่างชัดเจน ได้แก่ การกำหนดพฤติกรรมการแสดงออกถึงความสามารถของนักเรียน และการกำหนดกิจกรรมการประเมินผลนักเรียนที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้

ดังได้กล่าวมาแล้วว่า Backward Design เป็นกระบวนการออกแบบการเรียนรู้ที่นำมาตรฐานการเรียนรู้มาเป็นเป้าหมายการจัดการเรียนการสอน โดยที่ครูจะต้องกำหนดหลักฐานการเรียนรู้ที่จะแสดงให้เห็นว่านักเรียนได้บรรลุผลการเรียนรู้ในรายวิชานั้น ๆ และนอกจากนั้นครูจะต้องสามารถออกแบบกิจกรรมที่หลากหลาย ให้สอดคล้องกับภาระงาน ชิ้นงาน หรือหลักฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้สำหรับการนำแนวทางการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design ไปวางแผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีขั้นตอนดังนี้

การออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Back ward Design สามารถดำเนินการได้ดังแผนภูมิ

1.การจัดทำโครงสร้างรายวิขา

2.การจัดทำหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐานตาม

แนวทางของ Backward Design ประกอบไปตัวย

ขั้นตอนที่ 1 : การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 2 : การกำหนดขึ้นงานหรือภาระงานที่สะท้อนการบรรลุผลการเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 3 : การออกแบบการเรียนรู้

3.การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ละเอียด

เทคนิคการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบมองย้อนกลับ (BACKWARD DESIGN) 3

1 การจัดทำโครงสร้างรายวิชา

โครงสร้างรายวิชาคืออะไร

รายวิชาเป็นการกำหนดขอบข่ายของรายวิขาที่จะจัดสอนเพื่อช่วยให้ครูและผู้เกี่ยวข้องเห็นภาพรวมของแต่ละรายวิชาว่าประกอบตัวยหน่วยการเรียนรู้จำนวนเท่าใด เรื่องใดบ้าง แต่ละหน่วย การเรียนรู้พัฒนาให้นักเรียนบรรลุตัวชี้วัดใด เวลาที่ใช้จัดการเรียนการสอน และสัดส่วนการเก็บคะแนนของรายวิชานั้นเป็นอย่างไร ทำไมจึงต้องจัดทำโครงสร้างรายวิชา การจัดทำโครงสร้างรายวิชาจะช่วยให้ครูเห็นความสอดคล้อง เชื่อมโยงของลำดับการเรียนรู้ของรายวิชาหนึ่ง ๆ ว่าครูจะสอนอะไร ใช้เวลาสอนเรื่องนั้นเท่าใด และจัดเรียงลำดับสาระการเรียนรู้ต่างๆ อย่างไร ทำให้มองเห็นภาพรวมของรายวิขาอย่างชัดเจน

โครงสร้างรายวิชาประกอบด้วยอะไรบ้าง

โครงสร้างรายวิชามีองค์ประกอบหลัก ดังนี้

  1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ที่เป็นเป้าหมายการเรียนรู้ ในการพัฒนานักเรียนสำหรับหน่วยการเรียนรู้นั้นๆ ซึ่งอาจมาจากกลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกันหรือต่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอดคล้องกัน มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวขี้วัด อาจมีการสอนหรือฝึกช้ำให้เกิดความชำนาญ และมีความรู้กว้างขวางขึ้นในหน่วยการเรียนรู้มากกว่า 1 หน่วยการเรียนรู้ก็ได้
  2. าระสำคัญ เป็นความรู้ ความคิด ความเข้าใจที่ลึกซึ้งหรือความรู้ที่เป็นแก่น เป็นหลักการของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่เกิดจากการหลอมรวมของ งมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัตในหน่วยการเรียนรู้
  3. ชื่อหน่วยการเรียนรู้ ควรตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ให้สะท้อนสาระสำคัญของหน่วยการเรียนรู้ และตั้งชื่อให้น่าสนใจ ทำให้อยากเรียน
  4. เวลา การกำหนดเวลาเรียนควรกำหนดให้เหมาะสมและเพียงพอกับการจัตกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาให้นักเรียนมีความสามารถตามที่ระบุไว้ในมาตรฐานการเรียนรู้และตัวขี้วัดควรพิจารณาเวลาเรียนในภาพรวมทุกหน่วยการเรียนรู้ โดยยึดหลักว่า หน่วยการเรียนรู้ที่มีเนื้อหามากและยากต่อการเรียนรู้ควรกำหนดเวลาเรียนมากกว่าหน่วยการเรียนรู้อื่น
  1. น้ำหนักคะแนน การกำหนดน้ำหนักคะแนนควรกำหนดให้สอดคล้องกับเวลาเรียนในแต่ละหน่วยการเรียนรู้และความสำคัญของมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดในหน่วยการเรียนรู้นั้นโดยยึดหลักว่าหน่วยการเรียนรู้ใดใช้เวลาเรียนมากและมีความสำคัญมาก ควรกำหนดน้ำหนักคะแนนให้มากตามสัดส่วนของเวลาและความสำคัญหรือความยากด้วย

ขั้นตอนการจัดทำโครงสร้างรายวิชา

ขั้นตอนการจัดทำโครงสร้างรายวิชามีดังนี้

1.วิเคราะห์ตัวชี้วัดในคำอธิบายรายวิชา สาระการเรียนรู้แกนกลาง/ท้องถิ่น และกำหนดตัวขี้วัดที่จะใช้ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ โดยมีหลักการดังนี้

1.1 แต่ละหน่วยการเรียนรู้ควรมีการกำหนดจำนวนตัวชี้วัดให้เหมาะสมกับธรรมชาติรายวิชา

1.2 บางตัวชี้วัดที่มีความสำคัญและเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ในเรื่องอื่น ๆ สามารถนำตัวขี้วัดนั้นมากำหนดซ้ำไว้ในหน่วยการเรียนรู้อื่นได้

1.3 แต่ละหน่วยการเรียนรู้อาจนำตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้จากต่างสาระภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกันหรือต่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีความเชื่อมโยงกันมาไว้ด้วยกัน
เป็นหน่วยบูรณาการได้

2. กำหนดชื่อหน่วยการเรียนรู้ เวลาที่ใช้สอน และน้ำหนักคะแนนของแต่ละหน่วยการเรียนรู้ตลอดรายวิชา

2 การจัดทำหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐานตามแนวทางของ Backward Design

การจัดทำหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐานตามแนวทางของ Backward Design ที่สำคัญมีดังนี้

การออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ Backward Design การออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Backward Design เป็นการวางแผนการจัดการเรียนรู้ในระดับหน่วยการเรียนรู้ ผลที่ได้จากการออกแบบการเรียนรู้ เรียกว่า หน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน (Standard-based Unit)

หน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน คือ หน่วยการเรียนรู้ที่มีมาตรฐาน การเรียนรู้/ตัวชี้วัด เป็นเป้าหมายของหน่วยการเรียนรู้ และองค์ประกอบภายในหน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ มาตรฐานการเรียนรู้/ ตัวชี้วัด สาระสำคัญ สาระการเรียนรู้ ชิ้นงานหรือภาระงาน ที่กำหนดให้นักเรียนปฏิบัติ กิจกรรมการเรียนการสอน และเกณฑ์การปร ะเมินผล ทุกองค์ประกอบของหน่วยการเรียนรู้จะต้อง
เชื่อมโยงกับมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดที่เป็นเป้าหมายของหน่วยการเรียนรู้

การออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐานเป็นขั้นตอนสำคัญที่สุดของการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา เพราะเป็นส่วนที่นำมาตรฐานการเรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติในการเรียนการสอนอย่างแท้จริง นักเรียนจะบรรลุมาตรฐานหรือไม่ อย่างไร ขึ้นอยู่กับขั้นตอนนี้

ประเด็นหนึ่งที่พึงเข้าใจเป็นเบื้องต้น คือ การจัดทำหน่วยการเรียนรู้โดยใช้การออกแบบการเรียนรู้แบบ Backward Design นั้น เป็นการกำหนดแนวทางการวัดผลประเมินผลควบคู่ไปกับการจัดการเรียนรู้ตลอดทั้งหน่วยการเรียนรู้ มิใช่การวางแผนการจัดการเรียนรู้อย่างละเอียดในการสอนแต่ละครั้ง ต่อไปนี้ขอนำเสนอแนวปฏิบัติโดยละเอียดแต่ละขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ (Identify Desired Results)

แนวทางการกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ มีดังนี้

  1. หลักการ การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ คือ การระบุความรู้ความสามารถและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านคุณธรรมจริยธรรม เจตคติ ค่านิยม ที่ต้องการให้เกิดขึ้นแก่นักเรียนเมื่อเรียนจบหน่วยการเรียนรู้ ซึ่งสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
  2. หลักปฏิบัติ การดำเนินการของครูในขั้นตอนนี้ควรดำเนินการ ดังนี้
    2.1 ครูต้องระบุขัดเจนว่าหน่วยการเรียนรู้แต่ละหน่วยการเรียนรู้ที่จัดทำนั้น ต้องการให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องอะไรบ้าง มีความสามารถทำอะไรได้บ้าง มีความรู้ความสามารถที่นักเรียนจะต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ยั่งยืนหรือคงทน (Enduring Understandings) คือสิ่งใด ทั้งนี้ยังรวมถึงพฤติกรรมที่เหมาะสมที่นักเรียนต้องมีอยู่ในตนด้วย
    2.2 ศึกษาหน่วยการเรียนรู้จากหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้ที่แต่ละโรงเรียนจัดทำขึ้น โดยนำตัวชี้วัดมากำหนดเป็นเป้าหมายการเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดขึ้นงานหรือภาระงานที่สะท้อนการบรรลุผลการเรียนรู้ (Determine Acceptable Evidence of Leaming)

แนวทางการกำหนดชิ้นงานหรือภาระงานที่สะท้อนการบรรลุผลการเรียนรู้ มีดังนี้

1.หลักการ การกำหนดชิ้นงานหรือภาระงานที่เป็นหลักฐานการบรรลุผลการเรียนรู้ให้พิจารณาจากพฤติกรรมการแสดงออก (Performance) ของนักเรียนที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน จนสามารถใช้เป็นหลักฐานสำคัญว่านักเรียนมีความรู้มีความสามารถตามที่ได้กำหนดไว้ในเป้าหมายการเรียนรู้

2. หลักคิด ได้แก่
2.1 ชิ้นงานหรือภาระงานคืออะไร
ขึ้นงาน หมายถึง ผลผลิตที่ได้จากการปฏิบัติงาน เช่น
ㆍ งานเขียน เช่น เรียงความ จดหมาย โคลงกลอนการบรรยาย การเขียนตอบ
ㆍภาพ/แผนภูมิ เช่น แผนผัง แผนภูมิ ภาพวาด กราฟตาราง
ㆍ สิ่งประดิษฐ์ เช่น งานประดิษฐ์ งานแสดงนิทรรศการหุ่นจำลอง

ภาระงาน หมายถึง การปฏิบัติงานที่แสดงให้เห็นถึงกระบวนการทำงานอย่างชัดเจน เช่น การพูด การรายงานปากเปล่าการอ่าน การกล่าวรายงาน การโต้วาที การร้องเพลง การสัมภาษณ์การแสดงบทบาทสมมติ การเล่นดนตรี การเคลื่อนไหวร่างกายรวมถึงการเข้ารับการทดสอบและการฝึกปฏิบัติตามแบบฝึกต่างๆ

งานที่มีลักษณะผสมผสานกันระหว่างขึ้นงาน/ภาระงานหมายถึง การปฏิบัติงานที่แสดงให้เห็นถึงกระบวนการทำงานและขึ้นงาน เช่น การทดลอง การทำร้ายงาน ดังนั้น ในบางครั้งการใช้คำว่าภาระงานจะครอบคลุมทั้งการปฏิบัติงานและขึ้นงานด้วย

2.2 ชิ้นงานหรือภาระงานของหน่วยการเรียนรู้กำหนดขึ้นเพื่ออะ ไรและกำหนดได้อย่าง ไร ขึ้นงานหรือภาระงานเป็นหลักฐาน/ร่องรอยว่านักเรียนบรรลุมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
ในหน่วยการเรียนรู้นั้นๆ อาจเกิดจากครูกำหนดให้ หรืออาจให้นักเรียนร่วมกันกำหนดขึ้นจากการวิเคราะห์ตัวขี้วัดในหน่วยการเรียนรู้

หลักการกำหนดขึ้นงานหรือภาระงาน มีดังนี้

1) ดูจากมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดในหน่วยการเรียนรู้ระบุไว้ชัดเจนหรือไม่
2) ภาระงานหรือชิ้นงานครอบคลุมตัวชี้วัดที่ระบุไว้หรือไม่ อาจระดมความคิดจากเพื่อนครู หรือนักเรียน หรืออาจปรับเพิ่มกิจกรรมให้เกิดชิ้นงานหรือภาระงานที่ครอบคลุมตัวชี้วัดที่ระบุไว้
3) ชิ้นงานชิ้นหนึ่งหรือภาระงาน 1 อย่าง อาจเชื่อมโยงกับมาตรฐานการเรียนรู้เดียวกัน และ/หรือตัวชี้วัดต่างมาตรฐานการเรียนรู้กันได้
4) ควรเลือกตัวชี้วัดที่จะให้เกิดงานที่จะส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาสดิปัญญาหลาย ๆ ด้านไปพร้อมกัน เช่นการแสดงละคร บทบาทสมมติ การเคลื่อนไหวร่างกาย การเล่นดนตรี
5) เลือกงานที่นักเรียนมีโอกาสเรียนรู้และทำงานที่ชอบ โดยใช้วิธีทำที่หลากหลาย
6) เป็นงานที่ให้ทางเลือกในการประเมินผลที่หลากหลาย โดยบุคคลต่างๆ เช่น ผู้ปกครอง ครู และตนเอง

ขึ้นงานหรือภาระงานที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของนักเรียน
ที่ได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ของแต่ละเรื่อง หรือแต่ละขั้นตอน
ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นำไปสู่การประเมินเพื่อปรับปรุง
เพิ่มพูนคุณภาพนักเรียน/วิธีการสอนที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

3.หลักปฏิบัติ การดำเนินการของครูในขั้นตอนนี้ควรดำเนินการ ดังนี้

3.1 กำหนดหลักฐานที่จะถูกประเมินผล (Assessment Evidence) ได้แก่ ภาระงาน/ชิ้นงานที่แสดงถึงการบรรลุผลสำเร็จ (Performance Tasks) โดยอาจใช้คำถาม 2 คำถาม ดังต่อไปนี้
ㆍ ผลงานที่แสดงถึงการบรรลุผลสำเร็จตามสภาพจริงที่นักเรียนจะแสดงให้เห็นว่าเขามีความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจที่แท้จริง และพฤติกรรมที่เหมาะสมตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมายการเรียนรู้คือผลงานอะไร
ㆍ เกณฑ์ (Criteria) ที่จะประเมินผลเพื่อตัดสิน”ผลสำเร็จในภาระงานนั้น” จะใช้เกณฑ์อะไร

3.2 กำหนดหลักฐานผลงานหลักฐานอื่นๆ (Other Evidence) ผลงานหลักฐานอื่น ๆ เช่น ผลการสอบย่อย การทำแบบทดสอบ การตรวจสอบทางวิชาการ การสังเกต การบ้าน การจัดทำเอกสารวิชาการอื่น ๆ ที่นักเรียนจะต้องแสดงถึงสัมฤทธิผลเป็นผลลัพธ์ตามที่ต้องการคือหลักฐานอื่นๆ อะไรบ้าง

ขั้นตอนที่ 3 การออกแบบการเรียนรู้ (Plan Learning Experiences and Instruction)

การออกแบบการเรียนรู้แก่นักเรียนนับเป็นขั้นตอนที่สำคัญ อีกขั้นตอนหนึ่งสำหรับครูที่ต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนได้เกิดการพัฒนาจนบรรลุผลตามเป้าหมายการเรียนรู้มีความรู้ความสามารถ คุณลักษณะที่คงทนถาวรยั่งยืน และมีร่องรอยหลักฐานปรากฎชัดเจนตามที่ได้กำหนดไว้ในขั้นตอนที่ 2

ขั้นตอนการออกแบบการเรียนรู้ มีดังนี้

1.หลักคิด การเรียนรู้เป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้นักเรียนเกิดการพัฒนา ทำให้นักเรียนมีความรู้และทักษะตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ รวมทั้งช่วยในการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประลงค์ให้เกิดแก่นักเรียน ดังนั้น ครูจึงควรทราบหลักการและขั้นตอนในการจัดกิจกรรม ดังนี้

1 หลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่

1) เป็นกิจกรรมที่พัฒนานักเรียนไปสู่มาตรฐานการเรียนรู้และตัวขี้วัดที่กำหนดไว้ในหน่วยการเรียนรู้
2) นำไปสู่การเกิดหลักฐานการเรียนรู้ ขึ้นงานหรือภาระงานที่แสดงถึงการบรรลุมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของนักเรียน

3) นักเรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนรู้
4) เป็นกิจกรรมที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ
5) มีความหลากหลายและเหมาะสมกับนักเรียนและเนื้อหาสาระ
6) สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
7) ช่วยให้นักเรียนเข้าสู่แหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ที่หลากหลาย
8) เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง

1.2 ขั้นตอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีศักยภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวขี้วัดที่กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ไว้แล้วนั้น ครูต้องคิดทบทวนย้อนกลับว่ามีกระบวนการหรือขั้นตอนกิจกรรมตั้งแต่ต้นจนจบอย่างไร จึงจะทำให้นักเรียนมีขั้นตอนการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ ทักษะ ความสามารถต่างๆ
รวมถึงคุณลักษณะที่พึงประสงค์จนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ และเกิดหลักฐานของการเรียนรู้ที่กำหนด

2. หลักปฏิบัติ ในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ Wiggins ได้เสนอแนวทางที่มีชื่อย่อว่า WHERE โดยเริ่มจาก

W (Where are we heading ?) เป้าหมายหรือทิศทางของหน่วยการเรียนรู้ ทิศทางจะไปทางใดเมื่อเรียนจบแล้ว นักเรียนเข้าใจเรื่องอะไร นักเรียนจะต้องมีความรู้ความสามารถอย่างไร หน่วยการเรียนรู้นี้เชื่อมโยงกับหน่วยการเรียนรู้ที่ผ่านมาอย่างไร จะแบ่งเวลาและเตรียมแผนการจัดการเรียนรู้อย่างไร และจะพัฒนาต่อยอดเติมเต็มอย่างไร

H (Hook the student through engaging and provocative entry points) ตรึงนักเรียนไว้ให้ได้ด้วยกิจกรรมที่ดึงดูดและท้าทาย วิธีที่จะสร้างแรงจูงใจสามารถทำได้โดยการออกแบบการเรียนรู้ที่น่าสนใจ สนุกสนาน โดยไม่ต้องลดความเข้มข้นของเนื้อหาสาระ และหากครูสามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้สู่ประเด็นที่มีความหมายในชีวิตจริงและน่าสนใจก็น่าจะตรึงนักเรียนไว้ได้

อย่างไรก็ดี ประเด็นหลักที่ต้องทำให้ได้ คือ การจัดการเรียนการสอนที่ไม่เพียงแต่สนุกสนานแต่ได้สาระด้วยวิธีหนึ่งคือ เริ่มจากการปฏิบัติกิจกรรมที่ดึงดูดความสนใจของนักเรียนมากที่สุด เช่นการลงมือปฏิบัติจริง การเล่าเรื่องลึกลับ การใช้สถานการณ์จริงการแข่งขัน หรือการแสดงบทบาทสมมติกิจกรรมที่จะกระตุ้นการเรียนรู้และความสนใจของนักเรียนมีลักษณะดังนี้

ㆍ มีสถานการณ์ที่นักเรียนต้องใช้ความรู้ ความสามารถไหวพริบ มากกว่าความรู้จากหนังสือเรียน
ㆍกระตุ้นความคิดที่ท้าทาย
ㆍ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เผชิญปัญหาที่แปลกใหม่ ท้าทาย
ㆍ นักเรียนได้สัมผัสมุมมองที่หลากหลาย
ㆍ เน้นเป้าหมายที่ชัดเจนและมีคุณค่ามีแบบอย่างและข้อมูลป้อนกลับให้ศึกษานักเรียนเข้าใจเหตุผลที่ทำงานขึ้นนี้
ㆍ มีเกณฑ์ในการประเมินที่ชัดเจนที่นักเรียนสามารถติดตามและประเมินตนเองได้
ㆍ แนวคิดมีความชัดเจนและเสมือนจริงเพราะเชื่อมโยงไปสู่ประสบการณ์ตรงของนักเรียนและโลกภายนอกห้องเรียน
ㆍ นักเรียนสามารถประเมินและปรับปรุงตนเอง

E (Explore and Enable/Equip) การวิเคราะห์และส่งเสริม ขั้นตอนต่อไปในการออกแบบคือ การคัดเลือกเนื้อหาที่จะช่วยให้นักเรียนมีความเข้าใจที่ลุ่มลึกและกว้างไกล โดยพิจารณา
ㆍ เนื้อหาที่ยังไม่ขัดเจนหรือเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไข
ㆍ เนื้อหาที่จะกระตุ้นให้นักเรียนศึกษาให้ลึกและกว้างยิ่งขึ้น
ㆍ ช่วยให้ศึกษาจากมุมมองที่หลากหลาย
ㆍ วิเคราะห์ประเด็นหลักอย่างลึกซึ้ง
ㆍ ช่วยให้เรียนรู้ข้อมูลที่จำเป็น ศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และพัฒนาทักษะที่จำเป็น
ㆍ กำหนดแผนงานที่เป็นเป้าหมายปลายทาง
ㆍ ส่งเสริมให้มีโอกาสได้ประสบการณ์ตรงเพื่อให้สาระที่เรียนรู้มีความหมายต่อนักเรียน

R (Reflection and Rethink) การใคร่ครวญและทบทวน นักเรียนจะพัฒนาความเข้าใจไปสู่ระดับสูงขึ้น จำเป็นต้องมีโอกาสหวนกลับมาวิเคราะห์และทบทวนสาระหลักที่ได้เรียนรู้
ไปแล้วซึ่งอาจดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้

ㆍ เริ่มจากการให้นักเรียนเขียนแสดงความเข้าใจของตนเองต่อเรื่องที่กำลังจะเรียน เพื่อตรวจสอบว่านักเรียนมีพื้นฐานความเข้าใจเดิมอย่างไร
ㆍ จากนั้นให้ศึกษาหาความรู้ตามแนวทางที่ครูวางแผนไว้ให้นักเรียนสร้างข้อสรุปเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา แล้วนำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนเพื่อให้เพื่อนให้ข้อเสนอแนะ
ㆍ ให้นักเรียนแต่ละคนนำข้อเสนอแนะที่ได้รับมาปรับปรุงแล้วนำไปแลกเปลี่ยนกับเพื่ออีกครั้ง
ㆍ ให้นักเรียนนำเสนอผลงานต่อชั้นเรียน โดยมีเพื่อนๆ ชักถาม วิพากษ์วิจารณ์ และครูช่วยสรุป
ㆍ ให้นักเรียนเปรียบเทียบข้อสรุปของตนเองกับของครู
ㆍ ท้ายสุดให้นักเรียนเขียนบันทึกวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้

ด้วยวิธีการนี้ นักเรียนจะเรียนรู้โดยได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน ได้สังเคราะห์ข้อมูลไปสู่องค์ความรู้ที่มีความลุ่มลึกยิ่งขึ้นตามลำดับ ได้เรียนรู้วิธีจัดระบบข้อมูล วิธีน้ำเสนอ ได้ประเมิน
ผลงานของตนเองโดยเปรียบเทียบกับผู้เชี่ยวชาญ ที่สำคัญคือได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้

E (Exhibit and Evaluate) การนำเสนอและประเมินผลการเตรียมการเรื่องการนำเสนอผลงานและการประเมินผลตั้งแต่ต้น จะช่วยให้ครูได้ตรวจสอบว่าสิ่งที่ประเมินผลสอดคล้องกับเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ ทั้งยังเป็นการส่งสัญญาณให้นักเรียนได้ทราบว่า อะไรคือประเด็นหลักในการสอนในหน่วยการเรียนรู้นี้ผลงานระดับใดถือว่าผ่าน ดี และดีเยี่ยม บ่อยครั้งนักเรียนมักถามว่า ถ้าจะทำคะแนนให้ได้ดีจะต้องทำอย่างไร ในมุมกลับกันเราอาจย้อนถามนักเรียนว่า หากนักเรียนมีความเข้าใจในเรื่องนี้จะมีผลงานหรือข้อบ่งชี้อะไร

ในการนำเสนอผลงานและการประเมินผลจะต้องพยายามเน้นสภาพความเป็นจริง ความสามารถที่ปฏิบัติจริง และผลงานจริงที่มีบริบท มีเป้าหมายชัดเจน โดยที่ผู้ชมผลงานมีส่วนร่วมใน
การประเมินผลด้วย

3 การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ละเอียด

การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ละเอียดดำเนินการโดยนำกิจกรรมการเรียนรู้และภาระงานที่ได้กำหนดไว้ในหน่วยการเรียนรู้มาวางแผนจัดการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนได้บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ในแต่ละภาระงานภายในเวลาที่กำหนดโดยใช้วิธีการสอน (Instruction) และสื่อการเรียนรู้ (Medias)อย่างเหมาะสม ทั้งนี้การวัดผลประเมินผลก็ต้องระบุเครื่องมือ
วัดและเกณฑ์การประเมินผลอย่างชัดเจน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วแผนการจัดการเรียนรู้ที่ละเอียดควรประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้

  1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
  2. สาระสำคัญ
  3. จุดประสงค์การเรียนรู้
  4. สาระการเรียนรู้
  5. ชิ้นงาน
  6. คำถามสำคัญ
  7. กิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อการเรียนรู้
  8. สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้
  9. การวัดผลและการประเมินผลการเรียนรู้
  10. บันทึกหลังสอน

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี ทุกหัวข้อควรมีรายละเอียดที่ชัดเจนสอดคล้องกัน และนำไปปฏิบัติได้จริง

สรุปขั้นตอนการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Backward Design

เทคนิคการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบมองย้อนกลับ (BACKWARD DESIGN) 4

ที่มา : เว็บไซต์ อ.พีระ พนาสุภน | รวมบทความ (peerapanasupon.com)

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่