5 ตัวอย่าง เทคนิคการจัดการเรียนรู้ แบบ Active Learning!
5 ตัวอย่าง เทคนิคการจัดการเรียนรู้ แบบ Active Learning!

ครูอาชีพดอทคอม ขอนำเสนอ 5 ตัวอย่าง เทคนิคการจัดการเรียนรู้ แบบ Active Learning! มาฝากคุณครูทุกคนกัน สำหรับใครที่ต้องการยื่นขอ วPA สามารถนำไปปรับใช้กันได้เลยครับ

ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้แบบ active learning สามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน รวมทั้งสามารถใช้ได้กับนักเรียนทุกระดับ ทั้งการเรียนรู้เป็นรายบุคคล การเรียนรู้แบบกลุ่มเล็ก และการเรียนรู้แบบกลุ่มใหญ่  McKinney (2008) ได้เสนอตัวอย่างรูปแบบหรือเทคนิค การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบ Active Learning ได้ดี 5 ตัวอย่าง เทคนิคการสอนที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้แบบ active learning ได้แก่

5 ตัวอย่าง เทคนิคการจัดการเรียนรู้ แบบ Active Learning!
5 ตัวอย่าง เทคนิคการจัดการเรียนรู้ แบบ Active Learning!

การเรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิด (Think-Pair-Share) 

คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนคิดเกี่ยวกับประเด็นที่กำหนดแต่ละคน ประมาณ 2-3 นาที (Think) จากนั้นให้แลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนอีกคน 3-5 นาที (Pair) และนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้เรียนทั้งหมด (Share)

5 ตัวอย่าง เทคนิคการจัดการเรียนรู้ แบบ Active Learning! 7

เทคนิคการทำกิจกรรมแบบแลกเปลี่ยนความคิด (Think-Pair-Share) 

  • คิด (Think) ผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดโดยการ ตั้งคำถาม กำหนดหัวข้อให้คิด หรือ ให้สังเกตผู้เรียนใช้เวลาในการคิดเกี่ยวกับคำถามหรือหัวข้อนั้น ๆ ประมาณไม่เกิน 2-3 นาที
  • จับคู่ ( Pair ) ให้ผู้เรียนจับคู่กัน (ใช้ Clock Buddies หรือวิธีอื่นก็ได้ เมื่อผู้เรียนจับคู่กันแล้วให้คุยกันกี่ยวกับคำตอบที่แต่ละคนคิดได้ และให้เปรียบเทียบคำตอบของแต่ละคนที่ได้คิดหรือเขียนมาแล้ว ให้วิเคราะห์คำตอบเหล่านั้นว่าคำตอบใดเป็นคำตอบที่ผู้รียนคิดว่าดีที่สุด เข้าใจได้ง่ายที่สุดหรือโดดเด่นที่สุด
  • แบ่งปัน (Share ) หลังจากให้ผู้เรียนจับคู่คุขกันแล้ว (ไม่ควรให้เวลานาน) ผู้สอนเรียกผู้เรียนแต่ละคู่ให้แบ่งปันความคิดของผู้เรียนกับเพื่อนๆ ในชั้นเรียน โดยการให้ผู้เรียนหมุนเวียนแต่ละกู่ไปรอบๆ หรือเรียกผู้เรียนแต่ละคู่ออกมา หรืออาจจะถามผู้เรียนแต่ละกู่โดขตรง แล้วผู้สอนหรือผู้ช่วยเขียนคำตอบของคู่ที่ถูกถามลงกระดานหรือบนแผ่นใส

เครื่องมือดิจิทัลที่สามารถใช้ได้

  • Padlet
  • Classpoint
  • google whiteboard
  • Mentimeter

การเรียนรู้แบบใช้เกม (Games) 

5 ตัวอย่าง เทคนิคการจัดการเรียนรู้ แบบ Active Learning! 8

คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้สอนนำเกมเข้าบูรณาการในการเรียนการสอน ซึ่งใช้ได้ทั้งในขั้นการนำเข้าสู่บทเรียน การสอน การมอบหมายงาน และหรือขั้นการประเมินผล

เทคนิคการเรียนรู้แบบใช้เกม (Games) 

การเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน (Game-based Learning) ต้องอาศัยการเลือกใช้เกม หรือการประยุกต์เกม หรือการออกแบบเกมที่กระตุ้นเราความสนใจของผู้เรียน เป็นเกมที่ไม่ยากหรือง่ายจนเกินไป อีกทั้งต้องสอดคล้องกับเนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และความพร้อมในการใช้สื่อดิจิตอลของผู้เรียนด้วย ดังนั้นผู้สอนจึงต้องวิเคราะห์ในประเด็นเหล่านี้อย่างรอบคอบ นอกจากนี้ ในบางครั้งผู้เรียนอาจเกิดความสับสนในขั้นตอนการเล่น หรือไม่สามารถควบคุมเวลาในกลุ่มได้ ดังนั้นผู้สอนจำเป็นที่จะต้องจัดทำคู่มือการเล่นเกมเพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาก่อนการเล่นหรือระหว่างการเล่มเกม โดยอาจเป็นคู่มือที่อยู่ในรูปแบบไฟล์เอกสาร หรือสื่อวีดิทัศน์ ที่ผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้ง่าย ที่สำคัญการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานไม่ใช่เพียงการเล่มเกมเพื่อความสนุกสนาน ผู้สอนจำเป็นต้องชี้ให้ผู้เรียนเห็นว่าเกมเพื่อการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ร่วมเล่นไปนั้นมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กลยุทธ์ในการเอาชนะปัญหาอุปสรรคโดยเครารพกฎกติกา และจำเป็นต้องชี้ชวนให้ผู้เรียนเชื่อมโยงสิ่งที่ได้เรียนรู้จากเกมสู่เนื้อหารายวิชาและแนวทางการนำไปปรับใช้ในอนาคต

เครื่องมือดิจิทัลที่สามารถใช้ได้

  • Google Classroom
  • Microsoft Teams
  • Quizlet
  • Nearpod
  • Socrative
  • Kahoot
  • Quizizz
  • Quizalize
  • Poll Everywhere
  • Mentimeter
  • Formative
  • Edpuzzle

การเรียนรู้แบบวิเคราะห์วีดีโอ (Analysis or reactions to videos) 

5 ตัวอย่าง เทคนิคการจัดการเรียนรู้ แบบ Active Learning! 9

การเรียนรู้แบบวิเคราะห์วีดีโอ คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ดูวีดีโอ 5-20 นาที แล้วให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น หรือสะท้อนความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู อาจโดยวิธีการพูดโต้ตอบกัน การเขียน หรือ การร่วมกันสรุปเป็นรายกลุ่ม

เครื่องมือดิจิทัลที่สามารถใช้ได้

  • YouTube

การเรียนรู้แบบผู้เรียนสร้างแบบทดสอบ (Student generated exam questions) 

5 ตัวอย่าง เทคนิคการจัดการเรียนรู้ แบบ Active Learning! 10

คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนสร้างแบบทดสอบจากสิ่งที่ได้เรียนรู้มาแล้ว

เครื่องมือดิจิทัลที่สามารถใช้ได้

  • Quizlet
  • Kahoot
  • Quizizz
  • Quizalize
  • Plicker

การเรียนรู้แบบแผนผังความคิด (Concept mapping) 

5 ตัวอย่าง เทคนิคการจัดการเรียนรู้ แบบ Active Learning! 11

คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนออกแบบแผนผังความคิด เพื่อนำเสนอความคิดรวบยอด และความเชื่อมโยงกันของกรอบความคิด โดยการใช้เส้นเป็นตัวเชื่อมโยง อาจจัดทำเป็นรายบุคคลหรืองานกลุ่ม แล้วนำเสนอผลงานต่อผู้เรียนอื่นๆ จากนั้นเปิดโอกาสให้ผู้เรียนคนอื่นได้ซักถามและแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

เครื่องมือดิจิทัลที่สามารถใช้ได้

  • Canva
  • Draw.io
  • MindMup
  • Edraw Mindmaster

ขอบคุณที่มา : Possatorn Pongwattanaporn

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่