สรุปเทคนิคการทำข้อสอบอัตนัย วิชาภาษาไทย O-NET ชั้น ม.3 จากเอกสารที่เผยแพร่โดย สทศ. เครดิต ครูวรยา
สรุปเทคนิคการทำข้อสอบอัตนัย วิชาภาษาไทย O-NET ชั้น ม.3 จากเอกสารที่เผยแพร่โดย สทศ. เครดิต ครูวรยา

สรุปเทคนิคการทำข้อสอบอัตนัย วิชาภาษาไทย O-NET ชั้น ม.3 จากเอกสารที่เผยแพร่โดย สทศ. เครดิต ครูวรยา

สรุปเทคนิคบางส่วน จากเอกสารที่เผยแพร่โดย สทศ. สำหรับนักเรียนที่จะนำไปใช้ทำข้อสอบ ภาษาไทย อัตนัย ม.3 (สอบอัตนัยปีแรก)

เตรียมพร้อมสอบ O-NET ม.3 วิชาภาษาไทย (รูปแบบข้อสอบอัตนัย)

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เริ่มดําเนินการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาภาษาไทย ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยรูปแบบข้อสอบอัตนัย ในปีการศึกษา 2564 โดยในการเตรียม ความพร้อมการสอบ O-NET ม.3 ภาษาไทย (รูปแบบข้อสอบอัตนัยแบบเขียนตอบ) นักเรียนไม่จําเป็นต้องกวดวิชา และขอให้ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู อาจารย์ ไม่ต้องกังวล เนื่องจากเป็นการวัดสาระการเขียนตามหลักสูตรฯ เอกสารฉบับนี้ ได้แนะนํา ลักษณะเฉพาะของแบบทดสอบ (Test Specification) ที่มีลักษณะเฉพาะของข้อสอบ (Item Specification) O-NET วิชาภาษาไทย ม.3 ตัวอย่างข้อสอบ และเกณฑ์การตรวจกระดาษคําตอบดังนี้
ลักษณะเฉพาะของแบบทดสอบ (Test Specification)

ลักษณะเฉพาะของแบบทดสอบ (Test Specification) ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ของการทดสอบ ขอบเขต ของแบบทดสอบ โครงสร้างและรูปแบบของแบบทดสอบ รวมทั้งขอบเขตเนื้อหาของแบบทดสอบที่สอดคล้องกับคุณภาพ ผู้เรียน สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และลักษณะเฉพาะของข้อสอบ (Item Specification)

1. วัตถุประสงค์ของการทดสอบ (Purpose of the Test)
เป็นการวัดความรู้ ความคิดรวบยอดตามมาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อนําผลการทดสอบไปใช้ในการปรับปรุงและ พัฒนาการเรียนการสอน ใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษา ใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชาติและระดับ นานาชาติ และใช้ในการวิจัยพัฒนาองค์ความรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

  1. ขอบเขตของแบบทดสอบ (Scope of Test)
    เป็นการวัดคุณภาพผู้เรียนในด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) ในสาระ มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดที่สําคัญของ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งมี 5 สาระ คือ สาระที่ 1 การอ่าน สาระที่ 2 การเขียน สาระที่ 3 การฟัง การดู และการพูด สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษาไทย และสาระที่ 5 วรรณคดีและวรรณกรรม
  2. โครงสร้างและรูปแบบของแบบทดสอบ (Test Structure and Test Format)
    แบบทดสอบมุ่งวัดด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) ในมาตรฐาน ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง ซึ่งประกอบด้วยรูปแบบข้อสอบ (Item Format) จํานวน 2 รูปแบบ คือ 1. ข้อสอบปรนัยแบบเลือกตอบที่มีคําตอบที่ถูก ที่สุดเพียง 1 ตัวเลือก (ร้อยละ 70) และ 2. ข้อสอบอัตนัยแบบเขียนตอบ (ร้อยละ 30) คะแนนเต็ม 100 คะแนน ใช้เวลาในการทดสอบ 90 นาที
    3.1 ข้อสอบปรนัยแบบเลือกตอบที่มีคําตอบที่ถูกที่สุดเพียง 1 ตัวเลือก จํานวน 29 ข้อ คะแนน 70 คะแนน ใช้เวลาในการทดสอบ 60 นาที
    3.2 ข้อสอบอัตนัยแบบเขียนตอบ จํานวน 1 ข้อ คะแนน 30 คะแนน ใช้เวลาในการทดสอบ 30 นาที ประกอบด้วย สาระ มาตรฐาน ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง จํานวนข้อสอบและคะแนน ดังนี้
สรุปเทคนิคการทำข้อสอบอัตนัย วิชาภาษาไทย O-NET ชั้น ม.3 จากเอกสารที่เผยแพร่โดย สทศ. เครดิต ครูวรยา
สรุปเทคนิคการทำข้อสอบ ภาษาไทย อัตนัย ม.3 จากเอกสารที่เผยแพร่โดย สทศ. เครดิต ครูวรยา
สรุปเทคนิคการทำข้อสอบ ภาษาไทย อัตนัย ม.3 จากเอกสารที่เผยแพร่โดย สทศ. เครดิต ครูวรยา

ตัวอย่างข้อสอบ

เทคนิคการทำข้อสอบอัตนัย ภาษาไทย O-NET

ขอบคุณที่มา : Facebook วร ยา

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่