ลิงก์เข้าระบบ ปพ.3 ออนไลน์ พร้อมคู่มือการใช้งาน ปพ.3 ออนไลน์
ลิงก์เข้าระบบ ปพ.3 ออนไลน์ พร้อมคู่มือการใช้งาน ปพ.3 ออนไลน์

ลิงก์เข้าระบบ ปพ.3 ออนไลน์ พร้อมคู่มือการใช้งาน ปพ.3 ออนไลน์

สพฐ.จัดทำระบบประมวลผลและจัดการ ปพ.3 ปพ.3 ออนไลน์ ระบบการรายงาน ตรวจสอบ และจัดเก็บแบบรายงานผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ปพ.3) เป็นหลักฐานสำหรับอนุมัติการจบการศึกษาตามหลักสูตรของผู้เรียนในแต่ละรุ่นโดยบันทึกรายงานชื่อและข้อมูลของผู้จบการศึกษา ระดับประถมศึกษา (ป.๖) ผู้จบการศึกษาภาคบังคับ (ม.๓) ผู้จบการศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลั่กสูตร (ม.๖) เพื่อใช้เป็นหลักฐานสำหรับการตัดสินและอนุมัติผลการเรียนให้เป็นผู้สำเร็จการศึกษาและใช้ในการตรวจสอบ ยืนยัน และรับรองความสำเร็จและวุฒิการศึกษาของผู้สำเร็จการศึกษาแต่ละคน

ข้อกำหนดของเอกสาร ป.พ. 3

มีดังนี้

๑. เป็นเอกสารสำหรับรายงานข้อมูลผู้สำร็จหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแต่ละระดับการศึกษาได้แก่ ระดับประถมศึกษา (ป.๖) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๓) และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๖)

๒. ให้สถานศึกษาใช้แบบพิมพ์เอกสารตามรูปแบบที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด

๓. ให้สถานศึกษาจัดทำเอกสารนี้สำหรับระดับประถมศึกษา (ป.๖) จำนวน ๒ ชุด โดยเก็บรักษาไว้ที่สถานศึกษา ๑ ชุด ส่งเก็บที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน ๑ ชุด สำหรับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๓)และชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้สถานศึกษาจัดทำ จำนวน ๓ ชุด โดยเก็บรักษาไว้ที่สถานศึกษา ๑ ชุด ส่งเก็บรักษาที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน ๑ ชุด และส่งเก็บรักษาที่กระทรวงศึกษาธิการอีก ๑ ชุด ชุดที่เก็บรักษาที่กระทรวงศึกษาธิการถือเป็นเอกสารต้นฉบับ ทั้งนี้ให้จัดทำเป็นฉบับตัวจริงในแบบ ปพ.๓ ที่ซื้อจาก สกสค. ด้วยตัวพิมพ์หรือลายมือให้เหมือนกันทุกชุดโดยไม่ใช้การถ่ายเอกสาร

๔. สถานศึกษาและหน่วยงานที่จัดเก็บรักษาเอกสารนี้ จะต้องดูแลรักษาเอกสารอย่าให้ชำรุดเสียหายสูญหาย หรือข้อมูลถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขเป็นอันขาด และต้องเก็บรักษาไว้ในสถานศึกษาที่ที่มีความปลอดภัยไว้ตลอดไป เพื่อความสะดวกในการค้นหาข้อมูลในเอกสารนี้ไว้ในรูปของ ซีดีรอม หรือเทคโนโลยีอื่นใดอีกทางหนึ่งก็ได้

๕. สถานศึกษาจะต้องจัดส่งเอกสารที่จัดทำเรียบร้อยแล้วไปให้หน่วยงานที่กำหนดภายในเวลา ๓๐วัน หลังจากผู้เรียนได้รับการอนุมัติให้สำเร็จการศึกษา การจัดส่งเอกสารไม่ตรงกับเวลาหรือล่าช้าถือว่าเป็นความบกพร่องต่อหน้าที่ของผู้รับผิดชอบ

การสั่งซื้อ ควบคุม และการจัดเก็บรักษาแบบรายงานผู้สำเร็จการศึกษา (ปพ.๓)

แบบรายงานผู้สำเร็จการศึกษา (ปพ.๓) เป็นหลักฐานที่โรงเรียนทุกแห่งทุกสังกัดในระดับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะต้องดำเนินการจัดทำให้เป็นแนวทางเดียวกัน โรงเรียนสามารถสั่งซื้อโดยตรงได้ที่องค์การค้าของ สกสค. โดยหัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดซื้อวิธีการตรวจสอบความถูกต้องของรายงานที่กรอกใน ปพ.๓

๑. ใช้แบบพิมพ์ที่จัดซื้อจาก องค์การค้า สกสค. พิมพ์ด้วยหมึก Prit ชนิดพ่นหรือหัวฉีดสีดำหรือเขียนด้วยหมึกซึม/หมึกเจลสีดำ ตัวหนังสือคมชัด (ห้ามใช้ปากกาลูกลื่นสีดำ) เป็นระเบียบ อ่านง่าย ตัวเลขที่เขียนหรือพิมพ์ควรเป็นเลขฮินดูอารบิก เพื่อสะดวกในการตรวจสอบและจัดทำเอกสารทางการศึกษาเป็นภาษาอังกฤษ

๒. กรอก ปพ.๓ โดยใช้แผ่น ปพ.๓ ด้านหน้า (๑0 คน) ซึ่งมีตราครฑสีดำเป็นที่สังเกตและด้านหลัง (๑๔ คน) แล้วจึงเริ่มแผ่นต่อไปในลักษณะเดียวกัน กรณีนักเรียนจบในหน้าที่ ๑ ไม่ถึง ๑๐ คน ในแบบพิมพ์ชนิดคอมพิวเตอร์ ต้องมีช่องตารางตามฟอร์ม ทั้งหมด ๑๐ ช่องใหญ่ และหน้าที่ ๒ ต้องมีตาราง ๑๔ ช่องใหญ่เสมอ

๓. “หน้า” กรอกเลขลำดับ จากหน้าแรกจนถึงหน้าสุดท้ายของจำนวนหน้า ปพ.๓ ที่กรอกข้อมูลผู้ที่สำเร็จการศึกษาในแต่ละครั้งหรือแต่ละรุ่นที่อนุมัติการจบหลักสูตร

๔. “สำเร็จการศึกษาภาคเรียนที่ ………….ปีการศึกษา………………กรอกภาคเรียนโดยระบุว่าเป็นภาคเรียนที่ ๑ หรือ ๒ (รวมภาคเรียนฤดูร้อน ปีการศึกษาให้เขียนตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ.๒๕๔๙ ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวข้องกับการกรอก ปพ.๓ ซึ่งสรุปว่าในรอบปีการศึกษาหนึ่ง วันเริ่มต้นปีการศึกษา คือวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ของ พ.ศ.หนึ่ง จนถึง วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ของ พ.ศ.ถัดไป สถานศึกษาสามารถอนุมัติการจบการศึกษาได้ตลอดปีที่มีผู้จบการศึกษา จึงมีทั้งผู้จบการศึกษาใน
รุ่นปกติ และไม่พร้อมรุ่น สามารถพิจารณาได้ ดังนี้

๔.๑ การอนุมัติจบการศึกษาพร้อมรุ่นสถานศึกษาอนุมัติจบการศึกษารุ่นปกติในช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี เป็นการจบการศึกษาในภาคเรียนที่ ๒ ของปีการศึกษา
๔.๒ การอนุมัติจบการศึกษาไม่พร้อมรุ่นผู้เรียนที่มีคุณสมบัติยังไม่ครบตามเกณฑ์การจบการศึกษาในรุ่นปกติ จำเป็นต้องเรียนต่อเพื่อให้จบหลักสูตร หรือต้องแก้ไขผลการเรียน เนื่องจากสอบไม่ผ่านหรือด้วยเหตุจำเป็นบางประการ และเมื่อได้เปลี่ยนผลการเรียนหรือเรียนช้ำตามกรณี และมีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์การจบการศึกษาแล้ว สถานศึกษาสามารถอนุมัติจบการศึกษาให้ผู้เรียนได้ตลอดปีที่มีผู้จบการศึกษาจริงโดยไม่ต้องรอจนถึงปลายภาคหรือปลายปีการศึกษา ตามช่วงเวลาของภาคเรียนที่ ๑ และภาคเรียนที่ ๒ ดังนี้

๑) ช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคมของทุกปี (๑ พฤศจิกายน – ๓๑ มีนาคม) เป็นการจบการศึกษาในภาคเรียนที่ ๒
๒) ช่วงเดือนเมษายนของทุกปี (๑-๓0 เมษายน) หรือภาคฤดูร้อน เป็นการจบ การศึกษาในภาคเรียนที่ ๒
๓) ช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี (๑-๑๕ พฤษภาคม) เป็นการจบการศึกษาในภาคเรียนที่ ๒
๔) ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมของทุกปี (๑๖ พฤษภาคม – ๓๑ ตุลาคม)เป็นการจบการศึกษาในภาคเรียนที่ ๑

ตารางตัวอย่างการระบุภาคเรียนและปีการศึกษาที่อนุมัติจบการศึกษา

ลิงก์เข้าระบบ ปพ.3 ออนไลน์ พร้อมคู่มือการใช้งาน ปพ.3 ออนไลน์ 10

ดังนั้น ผู้สำเร็จการศึกษาในช่วงตั้งแต่วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ จึงถึงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ที่ตกรุ่นมาจากรุ่นที่แล้วจะได้รับการอนุมัติจบหลักสูตรในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ภาคเรียนฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่วันปิดภาคเรียนที่สอง (๑ เมษายน) จนถึงวันก่อนเปิดภาคเรียนที่หนึ่ง (๑๕ พฤษภาคม) ซึ่งภาคเรียนฤดูร้อนนับเป็นการเรียนในช่วงเวลาของภาคเรียนที่ ๒

๕. “โรงเรียน .ตำบล/แขวง. .อำเภอ/เขต. .จังหวัด” กรอกให้ถูกต้องครบถ้วนชัดเจนตรงบรรทัด
๖. “ลำดับที่. .” กรอกเลขลำดับ ๑,๒,๓. .จากน้อยไปมาก ของผู้จบหลักสูตรเรียงลำดับจากคนแรกถึงคนสุดท้ายของการอนุมัติการจบหลักสูตรแต่ละครั้ง
๗. “เลขประจำตัวนักเรียน” เรียงลำดับเลขที่ จากน้อยไปหามาก ตามเลขที่ในทะเบียนนักเรียนเลขประจำตัวประชาชนให้ลงตามทะเบียนบ้าน (ทร.๑๔) ดังนี้ ๓ ๖๓๐๕ ๐๐๐๒๕๒ ๒๕ ๕ ไม่ต้องขีด –
๘. “ชุดที่ ปพ.๑. เลขที่ ปพ.๑ .เลขที่การศึกษาแต่ละคนมากรอกลงใน ปพ.๓ ให้ถูกต้องตรงกันทุกราย โดยชุดที่ต้องเป็นเลข ๕ หลัก เช่น ชุดที่ ( นำเลข” ชุดที่. .จากปพ.ดของผู้ที่สำเร็จ ๐๐๐๐๗ เลขที่ ปพ.ด ต้องเป็นเลข ๖ หลัก เช่น ๐๕๖๒๓๑
๙.”เลขที่ ปพ.๒:บ” ใน ปพ.ต ระดับ ม.๓ และม.๖ กรอกเลขที่ตามลำดับ ๑,๒,๓.. ..โดยเริ่มจากคนแรกเป็นเลขที่ ๑ จนถึงคนสุดท้ายของการอนุมัติการจบหลักสูตรในแต่ละครั้งหรือแต่ละรุ่น การอนุมัติแต่ละครั้งให้ขึ้นเลขที่ ๑ ใหม่ทุกครั้ง และเลขที่ประกาศนียบัตร จะมีจำนวนเท่ากับจำนวนผู้จบการศึกษาไม่ต้องมีเลข ๐ นำหน้า และไม่มี/พ.ศ.ตามหลัง
๑๐ .”ชื่อ ชื่อสกุล” ของนักเรียนและบิดาต้องกรอกให้ถูกต้องชัดเจน คำนำหน้านาม ฐานันดรศักดิ์ราชทินนาม ศ ให้ใช้คำเต็ม เช่น เด็กชาย เด็กหญิง นาย นางสาว หม่อมหลวง ร้อยตำรวจโท เป็นต้น

๑๑. นักเรียนที่มีอายุครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์ (โดยนับจากวัน เดือน ปีเกิด ถึงวันอนุมัติการจบหลักสูตร)จะต้องเปลี่ยนคำนำหน้านามจากเด็กชาย……เด็กหญิง เป็น นาย. ..นางสาว การพิมพ์คำนำหน้าให้พิมพ์ตัวเต็มและติดกันไม่เว้นารรค เช่น เด็กชายวสุ ใจภูผา
๑๒. “วัน เดือน ปีเกิด” จะต้องพิมพ์หรือเขียนเต็ม เช่น “๒๐ เมษายน ๒๕๔๕”
๑๓. หากนักเรียนที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎรหรือมีแต่ไม่ครบถ้วนทำให้การกรอกข้อมูลไม่สมบูรณ์ ให้ขีดเครื่องหมาย – ห้ามกรอกชื่อบิดาบุญธรรมหรือมารดาบุญธรรม หรือผู้ที่มิใช่บิดา มารดา ผู้ให้กำหนดผู้เรียน และต้องมีหัวหน้าสถานศึกษาบันทึก ด้วยหมึกสีแดงและลงลายมือชื่อรับรอง ข้อความในช่อง หมายเหตุว่า “ไม่มีหลักฐานตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร”
๑๔. ช่อง “สรุปผลการเรียน. ” ประกอบด้วย “หน่วยการเรียนที่เรียน” และ “หน่วยการเรียนที่ได้” ต้องกรอกแต่ละช่องให้ชัดเจนและถูกต้องตรงตาม ปพ. และเป็นไปตามเกณฑ์การจบหลักสูตร (ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์การจบหลักสูตรที่โรงเรียนกำหนด) กรณีการโอนผลการเรียนมาจากที่อื่น ต้องนำมารวมในช่องสรุปผลการเรียนด้วย
๑๕. “ช่องหมายเหตุ” มีไว้สำหรับบันทึกรายละเอียดการแก้ไขเปลี่ยนแปลง รายการใน ปพ.๓ เช่น กรณีการเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลระหว่างเรียน ต้องระบุชื่อ ชื่อสกุลเดิมไว้ด้วย
๑๖. “จำนวนนักเรียนที่จบตามหลักสูตร” โรงเรียนจะต้องกรอกยอดรวมของจำนวนนักเรียนที่จบหลักสูตรทั้งหมดของการอนุมัติการจบหลักสูตรแต่ละครั้ง/แต่ละรุ่น ในช่องที่ระบุ ชาย หญิง และรวมในทุกแผ่นและจะเป็นตัวเลขตรงกันทุกแผ่น
๑๗. “ผู้เขียน/ผู้พิมพ์ ผู้ทาน ผู้ตรวจ นายทะเบียน” ต้องลงลายมือชื่อ (ลายเซ็น) ให้ครบทุกแผ่นด้วยปากกาหมึกสีดำหรือน้ำเงิน ไม่ใช้ปากกาลูกลื่นสีดำ ผู้เขียนและผู้ทาน ผู้ตรวจควรเป็นคนละคนกัน
๑๘. “วันอนุมัติการจบหลักสูตร” สำหรับวัน .เดือน. ..พ.ศ. .ให้กรอก วันที่ เดือน และปี พ.ศ.ที่อนุมัติการจบหลักสูตรให้เต็ม เช่น วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖ㆍ ในช่องนี้ และให้ดูวันด้วยว่าไม่ตรงกันกับวันหยุดราชการห้ามกรอกวันเดือนปี อื่น “ ลงไป หากจัดทำ ปพ.๓ เสร็จสิ้นภายหลังให้กรอก วันเดือนปี ย้อนกลับไปซึ่งเป็นวันเดือนปีที่อนุมัติการจบหลักสูตรเท่านั้น

……………………..บรรทัดให้ลงลายมือชื่อของผู้อนุมัติการจบหลักสูตร
(……………………)ให้กรอกชื่อและชื่อสกุลเต็มของผู้อนุมัติการจบหลักสูตรและระบุตำแหน่งของผู้อนุมัติการจบหลักสูตร
๑๙. “วันที่……เดือน……..พ.ศ……. .อนุมัติการจบหลักสูตร” จะต้องกรอกให้ถูกต้องตามความเป็นจริง สถานศึกษาจะต้องอนุมัติการจบทันทีหลังจากที่ได้ป ระเมินผลการเรียนจนนักเรียนมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์การจบหลักสูตรแล้ว หากโรงเรียนกรอกวันอนุมัติไม่ถูกต้อง อนุมัติล่าช้า หรือวันอนุมัติการจบหลักสูตรซ้ำซ้อนกันหลายฉบับ ต้องส่งไปให้แก้ไขให้ถูกต้อง
๒๐. การแก้ไขข้อผิดพลาดใน ปพ. ผู้อนุมัติการจบหลักสูตรจะต้องขีดฆ่าด้วยหมึกแดงและเขียนใหม่ด้วยหมึกแดงเท่านั้น แล้วลงลายมือชื่อรับรองทุกแห่งด้วยหมึกสีดำ
๒๑. ข้อมูลที่มีข้อความซ้ำกัน ให้กรอกทุกบรรทัดไมใช้บุพสัญญา (“)
๒๒. เมื่อกรอกข้อมูลใน ปพ.๓ ครบถ้วนตามจำนวนของนักเรียนที่จบหลักสูตรแล้ว โรงเรียนจะต้องขีดเส้นแดงใต้ชื่อนักเรียนคนสุดท้ายกลางช่องไฟใต้ชื่อนักเรียนคนสุดท้ายโดยไม่เว้นบรรทัด เพื่อมิให้มีการเติมข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเพิ่มเข้าไป แล้วให้ผู้อนุมัติลงลายมือชื่อกำกับใต้เส้นแดงด้วยหมึกซึมสีดำอีกครั้งหนึ่ง

การเข้าระบบ ปพ.3 ออนไลน์ พร้อมคู่มือการใช้งาน ปพ.3 ออนไลน์

ลิงก์เข้าระบบ ปพ.3 ออนไลน์ พร้อมคู่มือการใช้งาน ปพ.3 ออนไลน์
ลิงก์เข้าระบบ ปพ.3 ออนไลน์ พร้อมคู่มือการใช้งาน ปพ.3 ออนไลน์

รวมลิงก์ปพ.3 ออนไลน์

เข้าระบบ ปพ.3 ออนไลน์

https://gpa.obec.go.th/login

ไฟล์ต้นฉบับนำเข้า ปพ.3

https://gpa.obec.go.th/pp3/files/BookPP2564.xlsx

คลิปวีดิโอสาธิต สพฐ.

https://drive.google.com/drive/u/0/folders/1kOlTVvD6Fwr0BHS4xrnLqME0mRbTzfzE

คู่มือการใช้งาน ปพ.3 ออนไลน์

ส่วนของผู้ใช้งานสถานศึกษา

ส่วนขั้นตอนการลงทะเบียน

1. เปิดบราวเชอร์ สำหรับเข้าสู่อินเตอร์เน็ต เช่น Microsoft Edge, Chrome, Firefox ฯลฯ

2. ที่ Address Bar (ช่องสำหรับกรอกที่ อยู่ของเว็บ) ให้พิมพ์ https://gpa.obec.go.th ลงไปใน Address Bar ตังภาพที่ 1

ลิงก์เข้าระบบ ปพ.3 ออนไลน์ พร้อมคู่มือการใช้งาน ปพ.3 ออนไลน์
ลิงก์เข้าระบบ ปพ.3 ออนไลน์ พร้อมคู่มือการใช้งาน ปพ.3 ออนไลน์

ส่วนการเตรียมการเข้าสู่ระบบ

ผู้ใช้งานโหลดไฟล์ต้นฉบับจากเมนูทางด้ายซ้ายมือคำว่า ไฟล์ต้นฉบับนำเข้า ปพ.3 แล้วนำข้อมูลกรอกลงใน ไฟล์ต้นฉบับนำเข้า ปพ.3 ในรูปแบบ Excel ดังภาพที่ 12 ให้ถูกต้องตามคำแนะนำในการกรอกข้อมูลตาม ภาคผนวก

ลิงก์เข้าระบบ ปพ.3 ออนไลน์ พร้อมคู่มือการใช้งาน ปพ.3 ออนไลน์ 11

ส่วนการเข้าสู่ระบบ ปพ.3 ออนไลน์
ระบบจะแสดงหน้าต่าง เพื่อให้ผู้ใช้งาน ลงชื่อเข้าใช้เพื่อเข้าสู่ระบบ ตามที่ได้สมัครลงทะเบียนเป็นสมาชิกในระบบเรียบร้อยแล้ว และทำการกรอกข้อมูลตามรายละเอียดดังภาพที่ 13

ส่วนการนำเข้าข้อมูล ของสถานศึกษา

1. ขั้นตอนในการนำเข้าข้อมูล ให้คลิกที่เมนูด้านข้ายมือ “จัดการ ปพ.3 [ โรงเรียน” ตังภาพที่ 16

2. เมื่อคลิกที่เมนู จัดการ ปพ.3 โรงเรียน จะปรากฎหน้าต่างด้านขวามือสำหรับทำการนำเข้าข้อมูลดังภาพที่ 17

ลิงก์เข้าระบบ ปพ.3 ออนไลน์ พร้อมคู่มือการใช้งาน ปพ.3 ออนไลน์ 12

3. จากนั้นให้ทำการคลิกที่ปุมสีน้ำเงินคำว่า เพิ่มข้อมูลนักเรียน xlsx ดังภาพที่ 18 จะปรากฎหน้าต่าง แสดงผลสำหรับนำเข้าไฟล์ดังภาพที่ 19

  1. จากนั้นให้กรอกข้อมูลให้ถูกต้อง หลังจากนั้นให้คลิกที่ปุ่มสีน้ำเงินคำว่า Browse …เพื่อเลือกไฟล์ที่ต้องการนำเข้าข้อมูล
  2. รายละเอียดการกรอกข้อมูล มีดังนี้
  • ระดับชั้น เลือกได้ 2 ระดับ คือ มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • เลือกวันที่อนุมัติการจบที่โรงเรียนอนุมัติการจบ
    หมายเหตุ ข้อมูล วันที่อนุมัติจบ ให้ลิกเลือกจากปฏิทิน ที่ปรากฏเท่านั้น ห้ามใช้การพิมพ์เพื่อกรอกข้อมูล ดังภาพที่ 20
  • ระบุปีการศึกษาที่จบ
  • ชื่อผู้อนุมัติ (ผู้อำนวยการโรงเรียน)
  • เลือกตำแหน่งของผู้อนุมัติ
  • เลือกไฟล์ที่จะนำเข้าระบบ (เฉพาะฟล์นามสกุล xlsx เท่านั้น) ดังภาพที่ 20
ลิงก์เข้าระบบ ปพ.3 ออนไลน์ พร้อมคู่มือการใช้งาน ปพ.3 ออนไลน์ 13
ลิงก์เข้าระบบ ปพ.3 ออนไลน์ พร้อมคู่มือการใช้งาน ปพ.3 ออนไลน์ 14
ลิงก์เข้าระบบ ปพ.3 ออนไลน์ พร้อมคู่มือการใช้งาน ปพ.3 ออนไลน์ 15

ดาวน์โหลดคู่มือการใช้งาน https://gpa.obec.go.th/pp3/files/Manual.pdf

ขอบคุณที่มา :: สำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ. (obec.go.th)

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่