แนวทางการป้องกันการกลั่นแกล้ง (Bullying) ในโรงเรียน
แนวทางการป้องกันการกลั่นแกล้ง (Bullying) ในโรงเรียน

แนวทางการป้องกันการกลั่นแกล้ง (Bullying) ในโรงเรียน

ปัญหาการกลั่นแกล้ง (Bullying) ถือเป็นปัญหาสังคมที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะการกลั่นแกล้งในเด็กและเยาวชนที่เกิดขึ้นในรั้วโรงเรียน ซึ่งมักจะส่งผลระยะยาวต่อตัวเด็กทั้งทางร่างกายและจิตใจ หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจึงต้องเร่งหามาตรการป้องกันและแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน

หนึ่งในมาตรการหลักในการป้องกันการกลั่นแกล้งในโรงเรียน คือ การสร้างบรรยากาศเชิงบวกในโรงเรียน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้บริหาร ครู และผู้ปกครอง โดยมีแนวทางดังต่อไปนี้

  1. ปลูกฝังความเมตตาและความเห็นอกเห็นใจต่อผู้อื่น โดยการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม เช่น การบริหารจัดการอารมณ์ การเข้าใจตนเองและผู้อื่น เป็นต้น
  2. สร้างความรู้สึกเชื่อมโยงเป็นสังคมเดียวกัน โดยส่งเสริมบรรยากาศความเป็นสังคมในห้องเรียน/โรงเรียน ผ่านกิจกรรมที่ทำให้เด็กได้ใกล้ชิด เชื่อมโยงเป็นกลุ่มเดียวกัน.
  3. ให้รางวัลสำหรับพฤติกรรมเชิงบวก เพื่อให้เด็กรู้ว่าไม่ได้มีแค่การกลั่นแกล้งที่จะได้รับความสนใจและพฤติกรรมเชิงบวกจะได้รับความสนใจเช่นกัน และเป็นความสนใจที่มาพร้อมรางวัล
  4. การสื่อสารอย่างเปิดเผย โดยส่งเสริมความสัมพันธ์เชิงบวกของเด็กและผู้ใหญ่ในชุมชน เพื่อให้เด็กเชื่อใจ และไว้วางใจจนสามารถสื่อสารได้อย่างเปิดเผย ด้วยการระบายความรู้สึกต่าง ๆ ให้ผู้ใหญ่ฟัง
  5. สังเกตพฤติกรรมและสัญญาณเตือนโดยสังเกตความเป็นไปในชั้นห้องเรียน/โรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งสังเกตสัญญาณเตือนและพฤติกรรมบ่งชี้การกลั่นแกล้ง และหยุดพฤติกรรมเหล่านั้นก่อนที่จะพัฒนาไปสู่การกลั่นแกล้ง
  6. แก้ปัญหาด้วยสันติวิธีโดยใช้งานศิลปะช่วยในการสะท้อนอารมณ์และความคิดของผู้กลั่นแกล้งเน้นแก้พฤติกรรมการกลั่นแกล้ง มากกว่าการลงโทษหรือดุด่า ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความโกรธและเกลียดชัง
  7. ตั้งกฎที่ชัดเจนเพื่อป้องกันการกลั่นแกล้งโดยตั้งกฎระเบียบของห้องเรียน/โรงเรียนที่ชัดเจน ซึ่งควรจะเป็นข้อความในเชิงบวก ครอบคลุมสถานการณ์ที่หลากหลาย และเหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย
แนวทางการป้องกันการกลั่นแกล้ง (Bullying) ในโรงเรียน

เอกสารฉบับเต็ม https://bit.ly/3JXh1H7

สอบถามความรู้เพิ่มเติมได้ที่
0 2668 7123 ต่อ สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

ขอบคุณที่มา :: Facebook OEC News สภาการศึกษา

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่